space
space
space
<<
กรกฏาคม 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
7 กรกฏาคม 2565
space
space
space

ภูมิแพ้ตัวเอง ( SLE ) โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผิดปกติ

ภูมิแพ้ตัวเอง เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผิดปกติ โดยระบบภูมิคุ้มกันจะทำการต่อต้าน และ ทําลายเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆจนเกิดการอักเสบเรื้อรัง ทําให้เกิดอาการป่วย รู้สึดเมื่อยล้า มีผืนแดงตมใบหน้า ตาแห้ง ตัวบวม ขาบวม ปวดหัว ปวดบวมตามข้อต่อกระดูก ผมร่วง ฯลฯ ส่วนสาเหตุที่คนไทยเรียกว่า โรคพุ่มพวง เป็นเพราะเป็นโรคนี้เป็นโรคที่ พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องชื่อดังของไทยได้ป่วย และ เสียชีวิตลงด้วยโรคนี้ (Systemic Lupus Erythematosus: SLE) จากนั้นโรคแพ้ภูมิตัวเองจึงเป็นที่รู้จัก และ ถูกเรียกต่อกันมาว่า โรคพุ่มพวงนั่นเอง

 

ภูมิแพ้ตัวเอง ( SLE ) โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผิดปกติ

 

อาการของโรคนี้จะมีการแสดงความผิดปกติในร่างกายในหนึ่งอวัยวะ หรือ หลายอวัยวะ

  • ปวดข้อ
  • เป็นไข้ต่ำ จนถึงไข้สูง
  • มีอาการออ่นเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • เกิดผื่นบนใบหน้า มือ เท้า และ บริเวณนอกเสื้อผ้า
  • ผมร่วง
  • รู้สึกมึนงง และ สูญเสียความทรงจำ
  • ผิวไวต่อแสง
  • ปากเป็นแผล
  • หายใจช่วงสั้นๆ มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อหายใจเข้าลึกๆ
  • มีสภาวะเลือดจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ หากโรครุนแรงอาจมีเม็ดเลือดแดงแตก ปอดอักแสบ ไตอักแสบ

การตรวจวินิจฉัยโรค

  • การวินิจฉัยโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ โรค SLE ต้องใช้ประสบการณ์ และ ความรู้ของแพทย์ที่ทําการรักษา ส่วนใหญ่แพทย์ทําการวินิจฉัยตามประวัติของผู้ป่วย การตรวจร่างกายพบรอยโรคร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์หัวใจ และ ปอด

การรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเอง

  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องเฝ้าระวังการรักษาเป็นประจํา เพราะการรักษาเป็นประจําช่วยทำให้โรคสงบลงได้ แพทย์จะเริ่มการรักษาโดยการประเมินความรุนแรงของอาการของผู้ป่วย เพราะแต่ละคนมีความรุนแรงของโรคไม่เท่ากัน หลังจากนั้นมีการวางแผนการรักษา และ ให้ยา ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก เกิดการอักเสบของร่างกายในหลายระบบ แพทย์อาจพิจารณาใช้เตียรอยด์หรือ ยาลดภูมิเพื่อควบคุมโรค ผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับยาที่แตกต่างกันตามความรุนแรงของโรค

การปฎิบัติตัวของผู้ป่วย

แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสําหรับผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE)

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการออกไปตากแดด
  • ลด และ หลีกเลี่ยงการติดเชื้อโดยการรับประทานอาหารที่สะอาด
  • รับประทานยาตามใบสั่งแพทย์เป็นประจํา อย่าลดหรือเพิ่มยาเอง
  • ควรมาตรวจหรือไปพบแพทย์ตามใบนัดอย่าให้ขาด เนื่องจากการไปพบแพทย์ และ รับการรักษาที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจําวันตามปกติ




 

Create Date : 07 กรกฎาคม 2565
0 comments
Last Update : 7 กรกฎาคม 2565 23:54:01 น.
Counter : 210 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6918524
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6918524's blog to your web]
space
space
space
space
space