space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
12 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ประเพณีกำฟ้า มีความเป็นมาอย่างไร?
ประเพณีกำฟ้า ได้ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ คำว่า “กำ” ในภาษาพวนหมายถึงการถือสักการะ คำว่า “ฟ้า” หมายถึงเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน หรือ ผู้ที่อยู่สูงเทียมฟ้า คือ เทวดา และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจมองเห็นได้ คำว่า “กำฟ้า” หมายถึงการนับถือฟ้า การสักการะบูชาฟ้า ซึ่งเป็นงานบุญพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวน โดยเชื่อกันว่าหากเมื่อใดมีการทำบุญ และ ประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรี โดยทำการประกาศขอพรจากเทวดาผู้รักษาฟ้า เทวดาก็จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดู

เนื่องจากชาวพรวนเป็นกลุ่มชนที่ทำการประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นหลักโดยเฉพาะการทำนา ซึ่งในสมัยดังเดิมการทำนานั้นต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเป็นหลัก ชาวนาในสมัยนั้นจึงมีการเกรงกลัวฟ้าเป็นอย่างมาก ไม่กล้าที่จะทำให้ฟ้าพิโรธ เพราะหากฟ้าพิโรธก็ย่อมหมายถึงความแห้งแล้ง ความอดอยาก หรือ ฟ้าอาจผ่าคนตายได้ ประชาชนจึงมีความหวาดกลัว และ ได้รับความทุกข์ยากเป็นอย่างมาก อันเป็นภัยจากฟ้า จึงได้มีการเซ่นสรวง และ สักการะบูชาผีฟ้าขึ้น เพื่อที่จะทำให้ผีฟ้า เทวดา มีความพึงพอใจ และ ยังเป็นการแสดงความขอบคุณพี่ฟ้าที่ประทานฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งนั่นก็หมายถึงความชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ ความมีชีวิตของคนสัตว์ และ พืชต่างๆ จึงเกิดเป็นประเพณีกำฟ้าขึ้น

แต่เดิมวันกำฟ้าจะถือกำหนดเอาวันที่มีผู้ได้ยินเสียงฟ้าร้องเป็นครั้งแรกในเดือน 3 ซึ่งจะถือเป็นวันเริ่มประเพณีกำฟ้า เพราะเชื่อกันว่าเป็นวันที่ ฟ้าเปิดประตูน้ำ แต่การยึดถือในวันดังกล่าวก็มักจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เนื่องจากบางคนไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง แต่มากำหนดเอาวันขึ้น 2 ค่ำเดือน 3 เป็นวันเตรียมงานวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 เป็นวันกำฟ้า โดยสัตว์เลี้ยงที่เคยใช้งานก็จะต้องหยุดการทำงานในวันนี้และ หากใครทำงานชาวไทยพวนก็เชื่อกันว่าจะเกิดภัยพิบัติต่างๆ ฟ้าจะลงโทษ โดยการถูกฟ้าผ่า ห้ามไม่ให้พูดคำหยาบในช่วงเวลากำฟ้า ผู้สูงอายุในครอบครัวก็จะคอยฟังเสียงฟ้าร้องเพื่อทำการพยากรณ์ความเป็นอยู่ และ การประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้านโดยมีการยึดคำทำนายดังต่อไปนี้

  • เสียงฟ้าร้องหมายถึงการเปิดประตูน้ำ
 
  • หากเกิดเสียงฟ้าร้องในทางทิศเหนือ หรือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ก็จะทำนายได้ว่าฝนจะตกดี หากทำนาก็จะได้ข่าวบริบรูณ์ จะมั้งมีศรีสุข

 

  • หากเกิดเสียงฟ้าร้องในทางทิศใต้ ก็จะทำนายได้ว่าฝนจะแล้ง นำท่าไม่บริบรูณ ข้าวกล้าในนาจะเกิดความเสียหาย ชาวบ้านจะอดอยาก

 

  • หากเกิดฟ้าร้องในทางทิศตะวันตก ก็จะทำนายได้ว่าฝนจะน้อย เกิดความแห้งแล้ง ฝนตกไม่แน่นอน ทำนาก็จะไม่ได้ผล นาในที่กลุ่มดี นาในที่ดอนจะเกิดความเสียหาย ข้าวยากหมากแพง ชาวบ้านจะเกิดความเดือดร้อน เกิดการทะเลาะวิวาท และ รบราฆ่าฟันกัน

 

  • หากฟ้าร้องในทิศตะวันออก ก็จะทำนายได้ว่าชาวบ้านจะอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ไม่มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่มีโจรผู้ร้าย

พิธีกำฟ้าในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 ในวันขึ้น 5 ค่ำเดือน 3 ก่อนการทำพิธี 1 วันจะมีการทำข้าวปุ้นไว้เลี้ยง และ ทำข้าวจี่เตรียมไว้เพื่อทำการทำบุญตักบาตรในเช้าวันรุ่งขึ้น แต่ในบางท้องที่อาจเลิกทำข้าวปุ้นเพราะเห็นว่ายุ่งยาก ซึ่งจะหันมาทำข้าวหลามตามประเพณีบุญข้าวหลามในเดือนยี่แทน จึงทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่าประเพณีกำฟ้ามีการทำข้าวหลามด้วย

ในช่วงตอนเย็นชาวบ้านจะนำข้าวสารเหนียว น้ำตาล ไข่ ไปทำการรวมกันที่วัดในหมู่บ้าน เพื่อให้พระสงฆ์ทำการเจริญพระพุทธมนต์และ ทำการเก็บไว้ทำข้าวจี่ในตอนกลางคืน ตกกลางคืนหนุ่มสาวก็จะพากันไปวัด โดยจะมีการร่วมร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานเรียกตามประเพณีว่าไปงานข้าวจี่ พอตกดึกก็จะร่วมกันทำข้าวเหนียว พอข้าวเหนียวสุกก็จะเขากับเกลือแล้วขูดมะพร้าวกวนกับน้ำตาลปั้นเป็นไส้ (ซึ่งบางท้องที่ก็ทำแปลกออกไปโดยการใช้ถั่วลิสงคั่วป่นผสมกับน้ำตาลกวนเป็นไส้) จากนั้นให้ทำการปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนสอดไส้ข้างในแล้วเสียบในง่ามไม้ไผ่ และ นำไปปิ้งไฟให้เหลืองกรอบทาเคลือบด้วยไข่แดงแล้วปิ้งอีกครั้ง และ ในบางที่ต้องการความรวดเร็วก็นำข้าวเหนียวปั้นสอดไส้ชุบไข่ให้เสร็จไปในทีเดียว

ในวันรุ่งขึ้น คือ วันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 ชาวบ้านก็จะนำไทยทาน และ อาหารไปร่วมกันทำบุญที่วัดโดยเฉพาะข้าวจี่ที่ต้องทำการใส่ให้ครบตามจำนวนพระสงฆ์ที่อาราธนามา ซึ่งชาวไทยพวนทุกคนจะหยุดงาน เพื่อกลับมาพบญาติพี่น้อง และ ไปร่วมงานกันอย่างพร้อมเพรียง





Create Date : 12 พฤษภาคม 2565
Last Update : 12 พฤษภาคม 2565 3:59:11 น. 0 comments
Counter : 386 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6918524
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6918524's blog to your web]
space
space
space
space
space