space
space
space
<<
มิถุนายน 2565
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
2 มิถุนายน 2565
space
space
space

โรคหัวใจ เกิดขึ้นจากสาเหตุใด?

โรคหัวใจ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทย เนื่องจากคนไทยมีพฤติกรรมที่เสี่ยงกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การไม่ดูแลสุขภาพร่างกาย แต่ในบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจเพราะอาการบางอย่างอาจจะคล้ายคลึงกับหลายโรค ดังนั้นเราจึงควรมีความรู้ และ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง รวมถึงการป้องกัน เพื่อช่วยในการสำรวจตัวเองว่ามีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจหรือไม่

โรคหัวใจ กับสิ่งที่เราควรรู้?

ประเภทของโรคหัวใจ

ภาวะหัวใจล้มเหลวหัวใจอ่อนกำลัง

  • ในภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ได้หมายความว่าหัวใจจะหยุดทำงาน แต่เกิดขึ้นจากภาวะที่หัวใจนั้นไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็นภาวะหัวใจอ่อนแอหรืออ่อนกำลังจะทำให้การทำสิ่งต่างๆที่เป็นเรื่องปกตินั้นกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น แต่ก็ยังมีวิธีต่างๆที่ผู้ป่วย และแพทย์จะร่วมมือกันเพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ดีขึ้น

 

หลอดเลือดหัวใจตีบตัน

  • เป็นโรคหัวใจที่มักพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญได้แก่ อายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่จัด ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง และ การไม่ออกกำลังกาย จึงทำให้มีการตีบตันในหลอดเลือด และ ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

 

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • เป็นภาวะที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ ซึ่งเกิดขึ้นจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ การนำไฟฟ้าหัวใจ หรือทั้ง 2 อย่างรวมกัน ซึ่งภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเกิดจากโรคหัวใจหลายชนิด เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือ เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ เช่น การส่งกระแสลัดวงจร มีแผลเป็นหรือก้อนไขมัน ทำให้หัวใจมีจุดที่สร้างกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ

 

หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

  • หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในร่างกายของคนเรานั้นมีหน้าที่ในการนำเลือดแดงจากหัวใจส่งไปหล่อเลี้ยงยังอวัยวะต่างๆในร่างกายซึ่งมีความยาวตั้งแต่ในช่วงอกจากหัวใจไปจนถึงช่องท้อง โดยความผิดปกติที่ทำให้เกิดความอ่อนแอของผนังหลอดเลือดไม่ว่าจะเกิดจากความเสื่อมตามอายุหรือความผิดปกติอื่นๆ ก็จะส่งผลทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นเกิดการโป่งพอง และ แตกออกได้ ซึ่งตำแหน่งที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด คือ หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้อง และ ในช่องปาก

 

หัวใจพิการแต่กำเนิด

  • เกิดขึ้นจากความผิดปกติในการเจริญเติบโตของหัวใจในขนาดที่อยู่ในครรภ์มารดา โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โรคหัวใจพิการที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากมีรูโหว่ที่ผนังกั้นภายในห้องหัวใจ ลิ้นหัวใจตีบตันหรือรั่ว หลอดเลือดออกผิดจากตำแหน่งปกติซึ่งสามารถวิเคราะห์ความผิดปกติได้ตั้งแต่ขนาดอยู่ในครรภ์มารดา โดยทำการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ

 

หัวใจรูมาติก

  • สามารถพบได้ในเด็กอายุ 7-15 ปี เกิดจากสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด beta-hemolytic streptococcus ที่ลำคอ ซึ่งทำให้ลำคอเกิดการอักเสบ มีไข้สูง ร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคนี้ แต่ถ้าได้รับเชื้อโรคนี้ซ้ำอีกก็จะเกิดอาการอักเสบที่หัวใจ โดยเฉพาะลิ้นหัวใจ ปวดบวมที่ข้อ และ มีอาการผื่นตามตัว ซึ่งในรายที่เป็นมากนั้นทำให้หัวใจวาย และ เสียชีวิตได้ หากมีอาการอักเสบซ้ำ หลายๆครั้งก็จะเกิดผังผืดขึ้นที่ลิ้นหัวใจจนเปิดไม่เต็มหรือปิดไม่สนิท และ ทำให้ลิ้นหัวใจตีบแคบลงหรือรั่วได้

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ

  • อายุ โดยผู้ที่มีอายุมากขึ้นอวัยวะภายในร่างกายต่างๆก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง จึงทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบ
  • กรรมพันธุ์ เนื่องจากโรคหัวใจบางชนิดสามารถถ่ายทอดผ่านทางกรรมพันธุ์ได้ ดังนั้นหากในบ้านมีสมาชิกครอบครัวเป็นโรคหัวใจก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย
  • พฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ เนื่องจากสารพิษในบุหรี่มีผลทำให้หลอดเลือดหัวใจเกิดความผิดปกติ การรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยไขมัน เกลือ น้ำตาล หรือ อาหารประเภทที่มีคอเลสเตอรอลสูง รวมไปจนถึงการไม่ออกกำลังกาย ถือได้ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกประเภทหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจได้
  • ความเคลียด เป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อหัวใจ และ หลอดเลือดหัวใจ เพราะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทซิมพาเทติก โดยจะทำการเร่งให้เกิดการทำลายชั้นเซลล์ของผนังหลอดเลือดแดง และ นอกจากนี้ความเครียดฉับพลันก็ยังมีผลอย่างมากต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะอีกด้วย

 

วิธีการป้องกันและการรักษา

  • ให้เราทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต และ พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้เราหันมาออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น
  • การใช้ยาซึ่งในบางรายที่อาการไม่ดี แพทย์ก็จะทำการจ่ายยาเพื่อควบคุม และ บรรเทาอาการของโรค ซึ่งยาที่ให้นั้นจะแตกต่างไปตามประเภท และ อาการของผู้ป่วย
  • การผ่าตัดเป็นอีกวิธีการรักษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคที่ผู้ป่วยเป็น เช่น การผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านลิ้นหัวใจทํางานผิดปกติ



Create Date : 02 มิถุนายน 2565
Last Update : 2 มิถุนายน 2565 13:33:47 น. 0 comments
Counter : 306 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6918524
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6918524's blog to your web]
space
space
space
space
space