สุภารัตถะ บล็อก
Group Blog
 
<<
กันยายน 2548
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
17 กันยายน 2548
 
All Blogs
 

เ ห็ น ต า ม จ ริ ง


คนที่คิดอะไรในแง่ดี..มองโลกในด้านบวก กับคนที่คิดอะไรในแง่ร้าย..มองโลกในด้านลบ บางทีก็ทำให้ตัวเองเจ็บปวดได้ไม่ต่างกัน

คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าการมองโลกในด้านดี น่าจะมีความสุข มันอาจจะเป็นจริงในบางกรณี แต่การต้องข้องเกี่ยวกับบุคคล ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าหลีกเลี่ยงได้ยากตามระบบสังคม การคิดอะไรด้านดีหรือร้ายเกินไป ย่อมนำความผิดหวังหรือความผิดพลาดมาให้ไม่น้อย ดีไม่ดี พวกที่ชอบคิดดีเหล่านี้นี่เอง ที่จะกลายมาเป็นคนคิดร้ายหรือมองโลกในด้านลบภายหลัง จากประสบการณ์พลาดหวังที่ตัวเองได้รับอยู่บ่อยๆ

เราอาจจะเคยดูหนังที่ผู้ร้ายในเรื่อง เคยเป็นคนดี แต่มาทำผิดเพราะหมดศรัทธาต่อความดีงาม รับผลของการทำความดีที่มีแต่ความผิดหวัง พ่ายแพ้คนชั่ว สู้มาเป็นคนชั่วเสียเอง ภายใต้สังคมที่มีแต่ความอยุติธรรม มันน่าจะคุ้มค่ากว่า

ความผิดหวังกับผลที่ได้รับจากการทำดีเกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก ถ้าไม่กลายเป็นคนเฉื่อยชา ไม่อยากเข้าไปหาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว ก็จะทำดีด้วยวิธีง่ายขึ้น เช่นให้เงิน ให้ทาน แต่ไม่อยากเข้าไปพัวพันมากกว่านั้น หรือไม่ก็ลุกขึ้นทำไม่ดีเองเสียเลย จะได้ไม่ต้องเสียเปรียบกันรอบตัว นี่เป็นเพราะไม่เห็นอะไรตามจริงหรือเปล่า..

แต่ถ้าเราจะมองอะไรตามความเป็นจริงหละ มันจะดีกว่าไหม? ทำแล้วไม่ต้องหวังผล เพราะผลมันได้กับตัวอยู่แล้ว กรรมนั้นย่อมไม่สูญหาย แม้ไม่ต้องการรับผล ผลก็ย่อมเกิดกับผู้ทำอยู่แล้ว เพียงแต่การคาดหวังผลไปตามคิดอาจทำให้ผิดหวังเปล่าๆ

การเข้าใจถึงภาวะมนุษย์ซึ่งเป็นปุถุชนผู้หนาไปด้วยกิเลส จะทำให้มีความเข้าใจในตัวเองและคนอื่นมากขึ้น การมองเห็นว่าอะไรดีเท่าที่มันดี อะไรเลวเท่าที่มันเลว หรือมองเข้าไปให้เห็นถึงด้านดีและด้านเสียของคนๆ หนึ่ง เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย จิตต้องเป็นกลางและไร้อคติชอบชังพอสมควร

และการเห็นอะไรตามจริงนี้ ไม่ว่าจะนำมาประยุกต์ใช้กับคน หรือเรื่องราวต่างๆ จะช่วยให้เกิดความผิดหวังภายหลังน้อยลง อีกทั้งสามารถคลี่คลายปัญหาและรอบคอบกับสิ่งต่างๆ ขึ้น นอกจากจะพบว่าคนเราเอง..ก็แปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่ต่างกัน เวลาที่ต่างกัน บางคนไปดีตอนแก่ บางคนกลับไปเลวตอนแก่ก็ได้ ไม่มีอะไรแน่นอน.. ยังอาจค้นพบ ความจริงที่ซ่อนอยู่ในแต่ละระดับ ที่ทำให้เข้าใจสัจธรรมได้มากขึ้น

การมีจิตที่นิ่ง มีสติหรือมีการกำหนด (ภาวนาสมาธิ-ปัญญา) หมายถึงการเห็นอะไรตามธรรมชาติ ตามที่มันเป็นอยู่เช่นนั้น หากภาวนาให้จิตนิ่งจนมีพลังมากพอที่จะทันจับความคิดความจำของการปรุงมายาภาพให้หลงไป .. กระทั่งสามารถให้การฟุ้งไปในความคิดน้อยลงได้ เมื่อน้อยลง การเห็นจริงหรือเข้าใจความจริงย่อมแจ่มชัดขึ้น มีการพิจารณาสาวไปถึงเหตุและผลของเรื่องราวต่างๆ ได้ถูกทางมากขึ้น

เช่น.. การถูกใครทำร้าย หากพิจารณาสาวไปให้ลึก ไม่พาลโกรธตอบเสียก่อน อาจพบสาเหตุและเข้าใจปัญหาจริงๆ รู้ว่าจะแก้ได้ขนาดไหนหรือควรทำอะไรให้ดีที่สุด การปรับความเข้าใจผิดกับคนดี นอกจากจะไม่พาลโกรธกันอาจยังได้เพื่อนใหม่เพิ่ม หรือการดันทุรังทำดีกับคนเลว บางครั้งก็ไม่ได้ช่วยอะไรขึ้นมานอกจากจะเป็นผลเสีย

และหากจิตมีพลังมากขึ้นๆ การเข้าใจในความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ย่อมปรากฏขึ้น ทางสมมุติก็รู้ว่าใครช่วยชาติใครโกงชาติ รู้ว่าใครพูดถูกพูดควร..ใครพูดไม่ถูกไม่ควร คนส่วนใหญ่ทำไมถึงเชื่อคนที่พูดหลอก (ตัวคนพูดก็อาจคิดว่าจริง) อาจเพราะเป็นเรื่องน่าสนใจ เป็นเรื่องผลประโยชน์ เป็นเรื่องน่าสนุกท้าทาย เห็นว่าเป็นเรื่องกล้าเรื่องแปลกใหม่ทันสมัย ฯลฯ มีอคติไม่รู้ตัว แต่คนมีปัญญาย่อมเท่าทัน เห็นไปถึงทางปรมัตถ์ด้วย เช่นเห็นว่าสรรพสิ่งล้วนอยู่ในกฎไตรลักษณ์ อะไรที่ยังอยู่ในกฎไตรลักษณ์ย่อมเป็นทุกข์ เห็นการเกิดแก่เจ็บตายและความทุกข์ในสังสารวัฏ วิบากกรรมที่กระทบและการมาเกิดตามเหตุปัจจัย อริสัจสี่คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ฯลฯ และการเห็นที่ดีทีสุด ก็คือเห็นทางดับทุกข์ และดำเนินไปตามเส้นทางนี้ได้..




 

Create Date : 17 กันยายน 2548
13 comments
Last Update : 17 กันยายน 2548 20:04:33 น.
Counter : 946 Pageviews.

 

ต้องทางสายกลางล่ะนะ

 

โดย: Bluejade 17 กันยายน 2548 20:22:57 น.  

 

สวัสดีค่ะ คุณสุภาฯ

กำลังจะปิดคอมพ์พอดีเพิ่งมาเห็นบล็อกของคุณสุภาฯ

อ่านงานเขียนวันนี้แล้วยอมรับว่าโดนใจเต็มๆ

มีบางเรื่องราวเกิดขึ้นกับรักดี ( เมื่อสองวันก่อน )

การไม่โกรธตอบ การเข้าใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

ทำให้รักดีคิดว่า ความดี สามารถชนะทุกสิ่งได้จริงๆ

รักดีดีใจค่ะ ที่มีแนวความคิด และเดินไปตามแนวทาง พุทธศาสนา

ธรรม ย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม

คำกล่าวนี้ ใช้ได้ดีจริงๆค่ะ



 

โดย: รักดี 17 กันยายน 2548 20:34:18 น.  

 

 

โดย: rebel 17 กันยายน 2548 21:05:42 น.  

 

มีสติ และสัมปชัญญะจะเกิด
แต่จะควบคุมตัวเองไม่ได้หลงเพลิดกับกิเลสได้แค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนอ่ะค่ะ เฮ้อออ....

 

โดย: jan_tanoshii 17 กันยายน 2548 22:43:23 น.  

 

เดินทางสายกลางดีกว่าค่ะ คิดดี คิดชั่ว ไม่ดีทั้งนั้น ต้องคิดแบบมีสติดีกว่าจะได้ไม่เจ็บไม่ปวดนะค่ะ

หลับฝันดีนะค่ะ

 

โดย: JewNid 17 กันยายน 2548 22:44:54 น.  

 

พยายามคิดทางดีไว้ก่อนค่ะ

แต่ก็พยายามไม่ประมาท
ไม่เชื่อใครมากกว่าเชื่อตัวเราเอง

 

โดย: อยู่ไกลบ้าน 18 กันยายน 2548 0:56:41 น.  

 


ผมว่า สำคัญอยู่ที่ใจตนเอง

ถ้าใจมองอะไรว่าดี แม้จะเป็นสิ่งร้ายต่อตนเอง ก็คงไม่เป็นไร

อย่างเราหกล้ม บาดเจ็บ ก็คิดในแง่ดีไว้
อย่างเราถูกคนอื่นปาดแซงหน้าขึ้นคอสะพาน ก็คิดในแง่ดีเอาไว้

เพราะถ้าคิดตามที่เป็นจริง จะกลุ้ม จะเครียด

ผมคิดแบบนี้....

อ้อ แต่ผมไม่ชอบอ่านธรรมะ และเข้าวัดนะคับ เพียงแต่คิดอะไรในแง่ดี และรักษาศีลห้า

 

โดย: yyswim 18 กันยายน 2548 1:15:54 น.  

 

การกำหนดภาวนา หรือสติปัฎฐานสี่
หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ย่อมก่อให้เกิดวิมุติญาณทรรศนะ (ญาณปัญญา เห็นธรรมชาติตามจริง)


(ก็อปมาจากบล๊อกลูกป้ามล)

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้ เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจ ย่อมอยู่สบาย มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาดเช็ดถูเรียบร้อยปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิคือความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้น เป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบเหมือนเรือนที่มีฝาผนัง มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย มีหลังคาสำหรับป้องกันลม แดดและฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียก แดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวายเมื่อลมแดดและฝน กล่าวคือโลกธรรมแผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า สมาธิอย่างนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยี และเชือดเฉือนกิเลสอาสวะต่าง ๆ ให้เบาบางและหมดสิ้นไป เหมือนบุคคลผู้มีกำลังจับศาสตราอันคมกริบแล้วถางป่าให้โล่งเตียนก็ปานกัน

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ปัญญาซึ่งมีสมาธิเป็นรากฐานนั้นย่อมปรากฏดุจไฟดวงใหญ่กำจัดความมืดให้ปลาสนาการ มีแสงสว่างรุ่งเรืองอำไพ ขับฝุ่นละอองคือกิเลสให้ปลิวหาย ปัญญาจึงเป็นประดุจประทีปแห่งดวงใจ

“อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติ ที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีล สมาธิและปัญญาเป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกแล้วด้วยศีล สมาธิ และปัญญาย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะย่อมพบกับปิติปราโมทย์อันใหญ่หลวงรู้สึกตนว่าได้พบขุมทรัพย์มหึมา หาอะไรเปรียบมิได้ อิ่มอาบซาบซ่านด้วยธรรม ตนของตนเองนั่นแลเป็นผู้รู้ว่า บัดนี้กิเลสานุสัยต่าง ๆ ได้สิ้นไปแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว เหมือนบุคคลผู้ตัดแขนขาด
ย่อมรู้ด้วยตนเองว่าบัดนี้แขนของตนได้ขาดแล้ว

 

โดย: สุภาฯ IP: 210.246.64.5 18 กันยายน 2548 17:20:19 น.  

 

ขอเดินสายกลางเหมือนกันค่ะ
ทุกอย่างอยู่ที่ความพอดี ไม่ก้าวก่าย ไม่หาเรื่องใส่ตัว หลีกเลี่ยงปัญหา แต่พร้อมยื่นสิ่งดีๆให้กับทุกคนนะคะ จิตยังอาสาค่ะ

พอเพียงที่จะให้ชีวิตมีสุขตามอัตภาพแล้วค่ะ

 

โดย: ป้าแจ๋วแหวว 18 กันยายน 2548 20:20:49 น.  

 

 

โดย: Bluejade 19 กันยายน 2548 6:47:13 น.  

 

"เห็นตามจริง" สาธุ อนุโมทนาค่ะ

ถ้าพิจารณาจริงๆแล้ว "ความสมหวังดังที่ตั้งใจนั้นน้อยมาก หรือความสมหวังที่มีก็บิดเบือนมาจากความหวังเดิม ไม่เป็นอย่างที่เคยวาดภาพไว้เลย..เช่นการนัดหมายจะเจรจาอะไรสักอย่างหนึ่งก่อนวันนัดเราก็คิดไปสารพัดอาจตั้งความหวังไว้สูง แต่พอเวลาจริงๆ จะเป็นเหมือนที่เราคิดเป๊ะๆ แทบจะไม่เกิดขึ้นเลยนะคะสำหรับป่ามืด การคิดหวังเป็นแต่เพียงแนวทางแต่เรื่องจริงเป็นเรื่องเฉพาะหน้าจริงๆ ถ้าคนที่คิดเผื่อไว้ทั้งสองทางทั้งบวกและลบ ก็เหมือนพร้อมรับสถานการณ์ทุกอย่าง "ตามความเป็นจริงที่จะเกิด" ความสุดโต่งก็จะไม่มี ก็คือมี ไตรลักษณ์เป็นปกติระลึก ยืดหยุ่นไปตามธรรมเหตุปัจจัย ..อ่านบทความนี้แล้วทำให้คิดว่า ควรจะหัดมองโลกในทั้งสองแง่เสมอๆค่ะ และฝึกที่จะยอมรับไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ..จิตก็ไม่ส่ายหวั่นไหวมากนัก ..

"ศีล สมาธิและปัญญาเป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกแล้วด้วยศีล สมาธิ และปัญญาย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง"..ชอบบทนี้มากค่ะ ..จะเห็นเสมอบางคนเข้าใจว่า การเข้าสู่จิตเดิม คือเพียรนิ่งเข้าสู่สภาวะจิตประภัสสรนั้นคือจิตเดิมซึ่งคือหลุดพ้นจากอาสวะ..แต่ป่ามืดไม่คิดเช่นนั้นเพราะว่าถ้าถอยออกจากสภาวะนั้น ถ้ายังตอบสนองต่อผัสสะจิตไหวไปมาก็ไม่ถือว่าหลุด เพียงเข้าสู่สภาวธรรมที่เป็นไปได้เท่านั้น ..การจะหลุดพ้นจากอาสวะนั้นจะปราศจากการสะสมปัญญาไม่ได้เลย ป่ามืดจึงคิดว่า"จิตเดิม"นั้นต่างจาก "นิพพานธาตุ" ด้วยว่านิพพานธาตุนั้นเป็นธาตุรู้ที่ประกอบไปด้วยปัญญา หลุดพ้นไปได้แม้ในสภาวะปกติการใช้ชีวิต ปัญญาคือความเห็นถูกนี้จะไปขัดเกลาอุปทานเดิมที่สะสมให้ถูกต้องตามความเป็นจริง จิตนิ่งไปตามลำดับความยึดมั่นถือมั่นที่น้อยลง และหลุดไปได้ในที่สุด ..แต่อย่างไรก็ตามเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ เพราะสภาวะนั้นก็ยังไม่ไปถึงค่ะ แต่จากข้อสังเกตุ "ที่กล่าวถึง จิต และนิพพาน ซึ่งเรียกต่างกันด้วยค่ะ แต่เป็นธาตุรู้เหมือนกัน ..จึงไม่น่าจะเป็นจิตเดิมแต่เป็นจิตที่พัฒนาแล้วผ่านกระบวนการทางปัญญา

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ..

ลาสวัสดีค่ะ

 

โดย: ป่ามืด 19 กันยายน 2548 16:25:32 น.  

 

ขอมองในแง่ดีค่ะ

ให้อภัย และอโหสิกรรม

ยอมรับว่าบางครั๊งก็ยังทำไม่ค่อยได้ แต่ก็พยายามค่ะ

ของคุณค่ะ สำหรับบทความข้างบน

 

โดย: พฤษภาคม 2510 20 กันยายน 2548 0:26:52 น.  

 

สาธุ
เดินตามทางสายกลาง และทำความดีสม่ำเสมอ ถ้าคนเราไม่หวั่นไหว หลงผิดไปทำชั่วเลยก็ดีนะ
ขอบคุณกับบทความดีๆค่ะ
ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม

 

โดย: กิ่งไม้ไทย 21 กันยายน 2548 23:31:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


suparatta
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




..วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร..
..ท่านนาคารชุนะ..
วิภาษวิธี..เกริ่นนำ..ตอนจบ..

๐ สมุดเยี่ยมและบ่นได้..
**ทางลัด**
๐ สารบัญทักทาย(ทั้งหมด)
๐ ชวนคุย&ฟังเพลงปี48(ทั้งหมด)
๐ นอนดูจันทร์..(ส่วนตัว)

**log in หน่อยน่า..



Google.co.th
Friends' blogs
[Add suparatta's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.