ที่ปรึกษากฎหมาย วางแผนธุรกิจ การลงทุน โดยคนไทย เพื่อคนไทย ก้าวไกลสู่ AEC
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
2 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 

Notary Public (โนตารี พับลิค) ในประเทศไทย

                ปัจจุบันนี้การทำธุรกรรมต่างๆมีมากมายหลายชนิด ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ซึ่งการทำธุรกรรมต่างๆนี้ผู้ทำธุรกรรมจะต้องแสดงตัวตนเพื่อให้คู่สัญญาเกิดความแน่ใจว่าคนที่ทำธุรกรรมด้วยนั้นเป็นตัวจริง
                 ในประเทศไทยการที่จะแสดงว่าใครเป็นตัวจริงหรือไม่นั้นสามารถทำได้โดยการแสดงหลักฐานต่างๆเช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ หรือเอกสารต่างๆที่ทางราชการออกให้และมีรูปถ่ายติดอยู่นั่่นเองครับ และในประเทศไทยการทำธุรกรรมทุกอย่างนิยมที่จะใช้สำเนาเอกสารต่างๆเป็นเอกสารประกอบทั้งสิ้น โดยให้เจ้าของเอกสารเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเอกสารเพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารจึงจะสามารถใช้เอกสารนั้นๆได้
                 แต่ในต่างประเทศในยุโรปและอเมริกาส่วนใหญ่แล้วเจ้าของเอกสารไม่สามารถรับรองเอกสารด้วยตนเองได้ จะต้องให้ Notary Public (โนตารี  พับลิค) เป็นผู้ทำการรับรองเอกสารต่างๆจึงจะสามารถนำเอกสารนั้นออกใช้ได้ เช่นเดียวกันหากมีการนำเอกสารจากประเทศไทยไปใช้ยังประเทศเหล่านี้ก็ต้องให้ Notary Public เป็นผู้รับรองเอกสารนั้นจึงจะนำไปใช้ได้
                 ในประเทศญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับ Notary Public เป็นอย่างมากโดยการจำกัดให้มีได้เพียง 108 คนเท่านั้นและต้องทำการขึ้นบัญชีเพื่อรอรับใบอนุญาต และหากคนในคนหนึ่งใน 108 คนเสียชีวิตลงก็จะเลื่อนให้ลำดับถัดไปเข้ามาทำหน้าที่แทนครับ
                 ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับ Notary Public แต่ได้มีการขึ้นทะเบียนทนายความผู้รับรองลายมือชื่อและเอกสาร (Notarial Services Attorney) ไว้ต่อสภาทนายความให้ทำหน้าที่แทน ซึ่งผู้จะทำหน้าที่นี้จะต้องประกอบอาชีพทนายความเท่านั้นจึงจะสามารถขึ้นทะเบียนได้อีกทั้ง Notarial Services Attorney ยังน่าเชื่อถือขึ้นเนื่องจากสามารถตรวจสอบความมีตัวตนได้เพราะได้ขึ้นทะเบียนไว้ต่อสภาทนายความแล้ว ทำให้ปัจจุบันนี้ Notarial Services Attorney ของประเทศไทยเป็นที่นิยมในการรับรองเอกสารที่จะนำไปใช้ต่างประเทศหรือรับรองการมีตัวตนของบุคคล และเป็นที่ยอมรับของหลายๆประเทศไปแล้วครับ แต่ก็ยังมีบางประเทศที่สามารถให้ทนายความในประเทศไทยรับรองเอกสารแทนได้อยู่ครับ
                 สิ่งที่ผมทราบเพิ่มเติมก็คือในอนาคตประเทศไทยอาจจะมีการร่างกฎหมาย Notary Public ขึ้นมาใช้และจะทำให้ Notarial Services Attorney ได้รับการเลื่อนฐานะมาเป็น Notary Public ครับ
                 ขณะนี้ Notarial Services Attorney ในประเทศไทยมีจำนวนประมาณ 6,000 คนเท่านั้นและผมก็เป็นหนึ่งใน Notarial Services Attorney จำนวนนั้นครับ
                 หากต้องการสอบถามข้อกฎหมายหรือการขอใบอนุญาตต่างๆก็สอบถามได้ทาง E-Mail หรือ Facebook ได้ตลอดและผมสัญญาว่าจะตอบทุกคำถามครับ

ทนายกอร์น SGG Law Group

www.strandgreatgeorge.com

https://www.facebook.com/Strandandgreatgeorge

pongsakorn.m@strandgreatgeorge.com




 

Create Date : 02 กรกฎาคม 2556
2 comments
Last Update : 2 กรกฎาคม 2556 12:25:31 น.
Counter : 3362 Pageviews.

 

Hi
//www.darinkamontano.com/
//www.awfmmellowtouch.net/
//www.rajasthantour-travels.com/
[url=//www.darinkamontano.com/]canada goose jacka[/url]

 

โดย: canada goose jacka IP: 31.41.217.112 21 ธันวาคม 2556 2:07:57 น.  

 

พี่ครับสอบถามหน่อยครับ Notary Public ตามที่ผมสอบถามกับทางสภาทนาย เขาจะจัดอบรม 2 วัน ซึ่งมันจะมีเทสด้วย แล้วผมอยากทราบว่า

เนื้อหาเป็นยังไง ยากไหม ?
อบรม แล้วจัดสอบเลย จริงไหม มันเร็วขนาดนั้นเลยเหรอ ?
คนสอบผ่านกี่คนครับอย่างรอบพี่ ขออัตราส่วนทีครับ ?
เนื้อหาข้อสอบเป็นยังไง มีตัวอย่างไหมครับ ?

รบกวนพี่ทีครับ ผมว่าจะอบรมของปีหน้าครับ

 

โดย: amam IP: 157.7.52.183 9 ตุลาคม 2558 14:30:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


SGGLAW
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




ยินดีให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ธุรกิจ และการลงทุนทุกประเภทครับ
Friends' blogs
[Add SGGLAW's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.