กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ธันวาคม 2566
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
25 ธันวาคม 2566
space
space
space

โอ้ อนิจจัง โอย ทุกขัง




สงสัย  450


> หลักไตรลักษณ์ เป็นของกลาง ไม่ใช่ของพุทธ หรือเปล่าคะ หรือว่าพุทธเคลมเฉพาะ อริยสัจ 4

พอดีค้นเกี่ยวกับ Celtic Cross หรือ knot ของชาวเคลท์ ในยุโรป แล้วพบว่ามันมี Trinity ความหมายนึงคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป พอดีน่ะค่ะ

ชวนให้ไพล่คิดไปถึง เดี๊ยนลืมแล้วว่าเรื่องอะไร อาจจะหมายถึงเหล่าเทพี มอยเร ของศาสนากรีก ซึ่งเป็นความเชื่อคล้าย ๆ กัน ทั่วยุโรป

จนสงสัยว่า หลักไตรลักษณ์ ของพุทธ เป็นสัจธรรมกลาง ๆ ที่ปรากฏในหลายความเชื่อไหม หรือว่าเป็นพุทธ เคยไปถึงดินแดนเหล่านี้ ก่อนจะเปลี่ยนศาสนา กันน่ะค่ะ

https://pantip.com/topic/42422192


      นักปราชญ์ยิ่งใหญ่ในอดีตก่อนหน้านั้น  แม้จะเข้าใจถึงหลักอนิจจตา และทุกขตา  แต่ก็มาติดอยู่ในความคิดเรื่องอัตตา  ความเป็นอนัตตาจึงเป็นภาวะที่เห็นได้ยากมาก   พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงอธิบายความเป็นอนัตตา  ก็มักต้องทรงแสดงโดยใช้อนิจจลักษณะและทุกขลักษณะเป็นเครื่องช่วยชี้นำ  ข้อที่ว่าอนัตตตาเห็นได้ยากจนต้องใช้อนิจจตา และทุกขตาเป็นเครื่องช่วยอธิบายก็ดี การค้นพบอนัตตาเป็นความก้าวหน้าสำคัญของปัญญา และไม่ปรากฏก่อนหรือนอกพระพุทธศาสนาก็ดี  เป็นเรื่องที่พระอรรถกถาจารย์ก็ได้ตระหนักอยู่แล้ว  ดังจะยกคำกล่าวของท่านมาแสดงไว้ดังต่อไปนี้

        “แท้จริง  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เมื่อจะทรงแสดงอนัตตลักษณะ  ย่อมแสดงด้วยความไม่เที่ยงบ้าง  ด้วยความเป็นทุกข์บ้าง  ด้วยทั้งความไม่เที่ยงและความเป็นทุกข์บ้าง

        “ในข้อที่ว่านั้น  พระองค์ทรงแสดงอนัตตลักษณะ ด้วยความไม่เที่ยง ในพระสูตรนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวว่าจักขุ  (ตลอดถึงกายและใจ)  เป็นอัตตา, คำกล่าวของผู้นั้นไม่สม (เพราะว่า)  จักขุ  (ตลอดถึงกายและใจ)  ย่อมปรากฏแม้ความเกิด  แม้ความเสื่อม, ผู้มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปปรากฏนั้น  ก็จะต้องลงเนื้อความว่า  อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป, เพราะฉะนั้น  คำที่กล่าวว่าจักขุ  (ตลอดถึงกายและใจ)  เป็นอัตตานั้น จึงไม่สม.  จักขุ (ตลอดถึงกายและใจ) ย่อมเป็นอนัตตา ฉะนี้

        “พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงอนัตตลักษณะ  ด้วยความเป็นทุกข์ ในพระสูตรนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา.  ก็ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้วไซร้,  รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ (มีความบีบคั้นข้องขัด=ทุกข์) และใครๆ  ก็พึงได้  (ตามปรารถนา)  ในรูปว่า  รูปของเราจงเป็นอย่างนี้, รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้.  แต่เพราะรูปเป็นอนัตตา  ฉะนั้น  รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ (=ทุกข์)  และจึงไม่ได้  (ตามปรารถนา)  ในรูปว่า  รูปของเราจงเป็นอย่างนี้,  รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้

        “พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงอนัตตลักษณะ  ด้วยทั้งความไม่เที่ยงและความเป็นทุกข์ ในพระสูตรทั้งหลาย  เช่นที่ว่า  ภิกษุทั้งหลาย  รูปไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง  สิ่งนั้นเป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์  สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,  สิ่งใดเป็นอนัตตา  สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นอย่างนี้ว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา, มิใช่เราเป็นนั่น,  นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”

        “เพราะเหตุไร  จึงทรงแสดงอย่างนี้ ?  เพราะความไม่เที่ยง และความเป็นทุกข์เป็นสภาพปรากฏ  (คือมองเห็นได้ง่าย)  จริงทีเดียว  เมื่อถ้วย ชาม ขัน หรือวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ตกจากมือแตก  ชนทั้งหลายย่อมกล่าวว่า  “โอ้ อนิจจัง”  อย่างนี้  ความไม่เที่ยง  จึงชื่อว่าเป็นของปรากฏ, เมื่อฝีและตุ่มเป็นต้นเกิดขึ้นตามร่างกาย หรือถูกตอถูกหนามเป็นต้นทิ่มตำ  ชนทั้งหลายย่อมกล่าวว่า  “โอย ทุกข์น่ะ”  อย่างนี้   ทุกข์จึงชื่อว่าเป็นของปรากฏ  ส่วนอนัตตลักษณะ ไม่ปรากฏ คือไม่กระจ่างแจ้ง  เข้าใจตลอดได้ยาก  แสดงได้ยาก บัญญัติได้ยาก

        “อนิจจลักษณะ และทุกขลักษณะนั้น  พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ก็ย่อมปรากฏ, แต่อนัตตลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ นอกจากพระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้น, จะปรากฏก็แต่ในอุบัติกาลของพระพุทธเจ้าเท่านั้น

        “จริงอยู่  ท่านดาบสและปริพาชกทั้งหลาย  ผู้มีฤทธิ์มาก  มีอานุภาพมาก  ดังเช่นสรภังคศาสดา เป็นต้น  ย่อมสามารถกล่าวว่า อนิจจัง ทุกขัง ได้  แต่ไม่สามารถที่จะกล่าวว่า อนัตตา แม้นหากว่าท่านสรภังคศาสดาเป็นต้นเหล่านั้น  จะพึงสามารถกล่าวว่าอนัตตา  แก่บริษัทที่ประชุมกันได้แล้ว, บริษัทที่มาประชุมกัน  ก็คงจะมีการบรรลุมรรคผลได้  แท้จริง  การบัญญัติ  (ยกขึ้นมาวางให้ดู) อนัตตลักษณะ  มิใช่วิสัยของใครๆ อื่น,  หากเป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น. อนัตตลักษณะนี้เป็นของไม่ปรากฏโดยนัยดังกล่าวฉะนี้”


235 เต็มๆ  450

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=04-11-2023&group=88&gblog=40

235 นักปราชญ์ยิ่งใหญ่ในอดีตก่อนหน้านั้น  แม้จะเข้าใจถึงหลักอนิจจตา และทุกขตา  แต่ก็มาติดอยู่ในความคิดเรื่องอัตตา  ความเป็นอนัตตาจึงเป็นภาวะที่เห็นได้ยากมาก พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงอธิบายความเป็นอนัตตา  ก็มักต้องทรงแสดงโดยใช้อนิจจลักษณะและทุกขลักษณะเป็นเครื่องช่วยชี้นำ

1

- เห็นอธิบายฉีกออกไปเป็นหลายแนวหลายนัย   คงต้องบีบเอาไตรลักษณ์ตามนัยพุทธธรรมล่ะ

235 สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์

   ๑. สันตติ      บังอนิจจลักษณะ

   ๒. อิริยาบถ     บังทุกขลักษณะ

   ๓. ฆนะ      บังอนัตตลักษณะ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=03-11-2023&group=88&gblog=34



 


 




 

Create Date : 25 ธันวาคม 2566
0 comments
Last Update : 25 ธันวาคม 2566 18:02:50 น.
Counter : 149 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space