กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
29 พฤศจิกายน 2566
space
space
space

เกวละ สันสกฤตเป็น ไกวัลย์

พระเจ้าอีกแนวหนึ่ง  450


"ไกวัลยธรรม" คือ "พระเจ้า"

     คำว่า God ในศาสนาคริสต์ ตรงกับความหมาย ของคำว่า "กฏ" ในพุทธศาสนา เพราะคำว่า "กฏ" มีความหมาย ตรงกันกับ "กะตะ" (กต) คำลงท้ายด้วย "ตะ" มีการออกเสียง ใกล้เคียงกับภาษาฝรั่ง เช่น ในคำว่า "มะตะ" กับ mortal ซึ่งแปลว่า "ตาย" ในความหมายนี้ พอจะอนุโลมได้ว่า คำว่า God มาจากคำว่า "กฏ" หรือ กะตะ ของฝ่ายตะวันออก (๑๖๓)

     สิ่งที่เรียกว่า "กฏ" หมายถึง "ไกวัลยธรรม" อันมีลักษณะ คือ อยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง เป็นแม่ของสิ่งทั้งปวง เป็นที่ไหลออกมา ของสิ่งทั้งปวง แล้วควบคุมสิ่งทั้งปวง เป็นสิ่งที่มีอยู่ ทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ อันมีลักษณะ ตรงกันกับ สิ่งที่เรียกว่า God ซึ่งหมายถึง พระเจ้า ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า "ไกวัลยธรรม" คือ "พระเจ้า" (๑๖๔)

"ไกวัลย์" มีลักษณะเป็นกฏ

     คำว่า "ไกวัลย์" อันหมายถึงสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลา ทุกกิริยาอาการ ได้แก่ สิ่งที่เรียกว่า "กฏ" ดังกล่าวแล้ว แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ

     กลุ่มแรก หมายถึง กฏแห่งสามัญญลักษณะ

     กลุ่มสอง หมายถึง กฏแห่งอิทัปปัจจยตา

     กลุ่มสาม หมายถึง กฏแห่งอริยสัจ ๔

     กฏเหล่านี้ เป็น "พระเจ้า" ที่ไม่มีตัวตน และมีอำนาจเหนือสิ่งทั้งปวง. (๙๗)

ไกวัลยธรรม ที่เป็นกฏแห่งอนัตตา

     อาการของสภาวะทุกข์ ที่หมายถึง ความที่สิ่งทั้งปวง ไม่อาจตั้งอยู่ในสภาวะเดิม แม้ขณะเดียว นั่นคือ ลักษณะของความเป็น "อนัตตา" ได้แก่ อาการที่สิ่งทั้งปวง ไหลไป ชนิดที่ ไม่มีอะไรมาหยุดยั้ง บังคับได้ โดยเหตุนี้ จึงกล่าวว่า "สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา" คือ ไม่ใช่ตัวเราของเรา. (๑๑๔)

     สิ่งทั้งหลาย ทั้งที่เป็นภายนอก และภายใน ย่อมมีสภาพเป็น "อนัตตา" อย่างเท่าเทียมกัน แต่สิ่งสำคัญที่ควรสนใจ คือ อนัตตาในภายใน ได้แก่ จิตที่ถูกปรุงแต่ง ด้วยสิ่งภายนอก ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง แม้ทางกาย ก็มีลักษณะ ไหลเวียน เปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกัน ฉะนั้น การที่ มีการกำหนด ยึดถือว่า "เป็นตัวเรา ของเรา" จึงเป็นความยึดถือ ที่ผิดความจริง เป็นลักษณะ ของความเขลา ที่สำคัญผิดยึดถือในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเราของเรา ว่าเป็น "ตัวเรา ของเรา" (๑๑๕)

     ตามนัยที่กล่าวมานี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า การเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ เพราะมีลักษณะที่อิงอาศัยกัน หรือจะเรียกว่า มีความหมายเดียวกันก็ได้ ต่างกันแต่เพียงอาการเท่านั้น โดยเหตุนี้จึงกล่าวว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน". (๑๑๖)

     กฏแห่งสามัญญลักษณะ เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ตลอดเวลา มันเป็น"ธรรมธาตุ" อยู่อย่างนั้น ไม่เกี่ยวกับการเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้น ของพระตถาคต ดังที่ทรงตรัสว่า "ตถาคต จะเกิดขึ้น หรือ ตถาคต จักไม่เกิดขึ้น ธาตุนั้นมีอยู่แล้ว" ดังนี้ (๑๑๗)

กฏแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นพระเจ้า !!!

     การเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือเห็นพระเจ้าองค์จริง เป็นการเข้าไปอยู่กับพระเจ้าแล้ว ไม่มีทุกข์เลย ความเป็นพระเจ้าของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือ สภาวะที่เป็นไกวัลย์ (๑๑๘)

     มองย้อนหลังไป  ไม่รู้แต่ครั้งไหน  ก็จะพบแต่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มองไปข้างหน้า ก็พบความไม่รู้จักจบสิ้นของกฏอันนี้ มองขึ้นข้างบน มองลงข้างล่าง มองไปรอบตัว ก็จะเห็นว่า กฏอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตั้งอยู่อย่างไม่รู้จบ เต็มไปหมด ในพื้นที่อย่างไม่มีขอบเขต กฏนี้จึงได้นามว่า "ไกวัลย์" (๑๑๙)

     เมื่อมองเห็นความจริงอย่างนี้ ย่อมทำให้มีการปล่อยวางความยึดถือ ในสิ่งทั้งปวง เพราะเห็นว่า ไม่มีอะไรจะจับฉวยเอาได้ เพราะไปยึดมั่นเข้าเมื่อไรเป็นทุกข์ทุกที เมื่อมีการเห็นถูกต้องอย่างนี้เท่านั้น ที่จะเรียกได้ว่า เป็น "นิพฺพานสปฺปายธรรม" คือ ธรรมเป็นที่สบายแก่ พระนิพพาน เป็นผู้มีความหวัง ต่อการเห็นพระเจ้า มีความหวัง ที่จะได้อยู่กับพระเจ้า นั่นคือ เป็นการง่าย ต่อการเข้าถึงนิพพาน (๑๒๐)

 

(กฎคือพระเจ้า)
 
https://www.facebook.com/photo?fbid=2040033169684966&set=gm.1396149634308169&idorvanity=800582937198178

     ศาสนาเชนมีคำสอนที่ใกล้เคียงกับพุทธศาสนา เป็นศาสดาร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า

    นิครนถนาฎบุตร   คณาจารย์เจ้าลัทธิคนหนึ่งในจำนวนครูทั้ง  ๖   มีคนนับถือมาก  มีชื่อเรียกหลายอย่าง  เช่น  วรรธมานบ้าง  พระมหาวีระบ้าง  เป็นต้น  ศาสนาเชน  ซึ่งยังมีอยู่ในประเทศอินเดีย
      

     เกวละ (สันสกฤตเป็น ไกวัลย์) เป็นคำแสดงจุดหมายสูงสุด ที่ใช้ในศาสนาเชน (ไชนะ ของนิครนถ์), ส่วนทางฝ่ายพุทธศาสนา ในชั้นบาลียังไม่พบใช้คำนี้หมายถึงนิพพานโดยตรง เป็นแต่เรียกผู้บรรลุนิพพานว่าเกวลี” บ้าง “เกพลี” บ้าง หลายแห่ง เช่น สํ.ส. 15/656/245 เป็นต้น


https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=11-11-2023&group=88&gblog=110

     แนวคิดเรื่องพระเจ้าของมุสลิมว่าที่ท่านไม่แสดงตัว   ถ้าท่านแสดงตัวให้เห็น  คนก็ถามอีกว่าเป็นพระเจ้าจริงไหม ... แต่ท่านแสดงอำนาจผ่านร่างกาย ดีเอ็นเอ เซลล์ เป็นต้น  สิ่งเหล่านั้นเกิดเองไม่ได้  จะต้องมีผู้ควบคุมซึ่งก็คือพระเจ้า (พระเจ้าเป็นผู้ควบคุมกฎ)  

มันเป็นยังไง ชารีฟจะว่าให้ฟัง 450

ทำไมพระเจ้าไม่เผยตัวตนของพระองค์มาให้เห็น | อ.ชารีฟ วงศ์เสงี่ยม

https://www.facebook.com/watch?v=850188033567191

 


Create Date : 29 พฤศจิกายน 2566
Last Update : 4 ธันวาคม 2566 17:15:35 น. 0 comments
Counter : 221 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space