ตุลาคม 2566

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ยาลดไขมันในเลือดมีคุณอนันต์และผลข้างเคียงมหันต์
"ยาลดไขมัน” เป็นชื่อที่ใครหลายคนรู้จักดีเพราะถูกจ่ายมาเวลาเจาะเลือดแล้ว “ไขมันสูง” หลายท่านรู้สึกว่าปลอดภัย (เพราะหมอสั่งเอง) หลายท่านรู้สึกว่าสบายใจเพราะเหมือนได้กินเกราะป้องกันไขมันเอาไว้ดุจดั่งได้ Safety net กันภัยให้ชีวิต

มีรายงานผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ จากยาลดไขมันโผล่มานับตั้งแต่มีการผลิตยานี้ขึ้น จนคณะนักวิจัยอดรนทนไม่ได้ต้องลุกขึ้นมาเก็บข้อมูลจากคนไข้ 83,880 คน แล้วตีพิมพ์ผลนี้ ลงในวารสารการแพทย์ชื่อดังอย่าง European Journal of Preventive Cardiology ชี้ว่า ยาลดไขมันเพิ่มความเสี่ยง “เบาหวาน” กำเริบได้ ด้วยกลไกที่ทำให้น้ำตาลเพิ่มในเลือด หนำซ้ำยังมีรายงานอาการข้างเคียงอย่าง ปวดเนื้อตัว นอนไม่หลับ คลื่นไส้ มึนศีรษะ ฯลฯ จากผู้ใช้

ไม่ได้ห้ามรับประทานหากมีข้อบ่งชี้ แต่ปรารถนาให้ทราบว่า 
ยาลดไขมันมี 2 ด้าน ดังนั้นก่อนจะกินขอให้ได้รู้ข้อมูลต่อไปนี้สักนิด

1.ยาลดไขมันไม่ใช่คำตอบเสมอไป ท่านสามารถลดไขมันด้วยวิธีธรรมชาติได้ในช่วงแรกที่ไขมันเริ่มสูง
2.ยาลดไขมันไม่จำเป็นต้องกิน “ตลอดชีวิต” เสมอไป 
ที่จริงแล้ว แนวทางการคุมไขมันประการแรกคือ ดูแลการ “กิน” และ “อยู่” ให้ดีก่อน ปฏิวัติตัวเองให้ได้ (Substantial lifestyle change) จะช่วยให้ท่านไม่ต้องกินยา

3.ยาลดไขมันมาพร้อมอาการเสี่ยง ได้แก่ ปวดหัว ปวดตามตัว นอนไม่หลับ ร้อนวูบวาบ คลื่นไส้ ท้องผูก ทั้งยังอาจส่งผลต่อความจำและทำให้สับสนได้

4.ยาลดไขมันมาพร้อมความเจ็บที่พบได้คือ “ปวดตามตัว” จากการออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ (Statin myopathy) พบบ่อยที่สุดคือ อาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนแรง ปวดหลังส่วนล่าง ปวดกล้ามเนื้อใกล้เคียง ปวดเอ็นและตะคริวของกล้ามเนื้อในเวลากลางคืนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ เช่น หน้าท้อง 
ในรายที่รุนแรงมากถึงขั้น “กล้ามเนื้อสลาย" (Rhabdomyolysis) ซึ่งพบได้

5.ยาลดไขมันเสี่ยงทำร้ายตับ ทำให้ตับทำงานหนัก พบเอนไซม์ในตับสูงขึ้นได้ในหลายท่าน ดังนั้น จึงควร “ตรวจเลือด” ดูการทำงานตับเมื่อทานยาลดไขมัน

6.ยาลดไขมันมีผลทำให้ลดวิตามินในร่างกาย โดยเฉพาะยาลดไขมันกลุ่มสแตตินที่มีผลกดการสร้าง “โคคิวเท็น” ซึ่งเป็นวิตามินสำคัญที่สร้างจากตับ เนื่องจากยาลดไขมันออกฤทธิ์ที่ตับโดยตรง เทคนิคคือ ท่านอาจหาโคคิวเท็นรับประทานเสริมได้

ข้อนี้แป้งเคยเห็นแพทย์บางท่านสั่งยาลดไขมันให้คนไข้ พร้อมแนะนำให้กิน Q10 ร่วมด้วยคะ

7.ยาลดไขมันกินเพื่อป้องกันโรค มีความเชื่อที่มาจากบางงานวิจัยว่า ยานี้สามารลดอัตราตายโดยรวมในโรคอย่างหัวใจ โรคตับและมะเร็งบางชนิดได้ แต่จริงๆ แล้วไม่เสมอไปครับ มีเทคนิคการนำเสนอที่ชวนให้ดูเหมือนป้องกันได้มากโดยใช้เปอร์เซนต์ที่ไม่ใช่แบบสมบูรณ์แท้ทางสถิติ (Absolute risk statistics)

8.เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน เพราะยาอาจไปทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ท่านที่มีความเสี่ยงเบาหวานหรือเป็นเบาหวานอยู่แล้วจึงต้องระวังให้ดี ในเรื่องนี้ FDA จึงให้บริษัทผู้ผลิตยาพิมพ์คำเตือนข้างฉลากไว้ด้วย

9.โรคหัวใจไม่ได้เกิดจากไขมันสูงเสมอไป มีข้อมูลที่น่าสนใจโดยผู้เชี่ยวชาญจาก UCLA ชี้ว่า คนที่หัวใจวายถึง 75% มีระดับไขมันปกติ ส่วนผู้สูงวัยที่เสียชีวิตนั้นก็มีจำนวนมากที่ “โคเลสเตอรอลต่ำ”

10.ยาลดไขมันขายดิบขายดีเพราะส่วนหนึ่งจาก Guideline ทางการแพทย์ที่ให้จ่ายยาลดไขมันใน “วงกว้าง” มากกว่าเดิม โดยให้คลุมไปถึงคนปกติที่ยังไม่มีโรคหัวใจด้วย พูดง่ายๆ คือ ให้คนที่ยังไม่ป่วยกินยาด้วย!

สรุปฝากไว้อีกนิดคือ กินได้ถ้าจำเป็น ยาทุกชนิดมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าจำเป็นต้องแลกข้อดีกับข้อเสียจำนวนมากมายมหาศาล
ก็อาจไม่คุ้มกัน

ควรตระหนักไว้ว่า “สุขภาพดีไม่ได้มาจากการกินยาเสมอไป” หากแต่ใช้การปฏิวัติชีวิตใหม่ด้วยตัวท่าน ซึ่งนั่นคือ พระเอกที่แท้จริง ไม่ใช่ยา เป็นต้นว่า ถ้าปรับไลฟ์สไตล์ลดน้ำหนัก จนไขมันและความดันลงเป็นปกติแล้ว ยาลดไขมันก็ไม่จำเป็นเสมอไป ชีวิตจะได้ไม่ต้องผูกติดกับยาชั่วกัปกัลป์

หมายเหตุ 

1.ภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจและการเสียชีวิต ยากลุ่มสแตติน(Statin)เป็นทางเลือกแรกในการรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติและถือเป็นรากฐานสำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ในการป้องกันทั้งในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ 

2.นพ. กฤษดา ศิรามพุช ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรวัฒน์ (American Board of AntiAging Medicine) จะมีความคิดเห็นแตกต่างกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและหลอดเลือด ในเรื่องของยาลดไขมัน ดังนั้นโปรดใช้วิจารณญาณนะคะ




ที่มา :
บทความโดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช,พบ.(จุฬาฯ)



Create Date : 20 ตุลาคม 2566
Last Update : 20 ตุลาคม 2566 18:30:56 น.
Counter : 243 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

แป้งปังปอนด์
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 878 คน [?]



เริ่มเขียนblog 20ก.ค55
ปัจจุบัน ( 3 มี.ค 57 ) แป้งได้มีเพจแป้งปังปอนด์ สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์แชร์ข้อมูลจาก blog ให้ท่านที่สนใจได้ติดตามอ่านอย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาโหลดเนื้อหาจาก blog ดังนั้นขออนุญาตงดตอบคำถามใดๆทางเพจและ facebook ค่ะ






หากท่านใดมีคำถามเกี่ยวกับการกินวิตามินเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและบำรุงผิวพรรณ รบกวนส่งคำถามไปยัง blog แป้งปังปอนด์ นานาสารพันปัญหา volume 5 อย่างเดียวเท่านั้นค่ะ


ขออนุญาตฝากกด like เพจแป้งปังปอนด์ เพื่อเป็นกำลังใจในการสรรค์สร้างผลงานด้วยมันสมองและสองมือพยาบาลสาวภูไท คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จบการศึกษา ปี พ.ศ 2539 จากที่ราบสูงคนนี้ด้วยนะคะ


สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการนำชื่อ " แป้งปังปอนด์ " ไปใช้เพื่ออ้างอิงหรือติดป้ายสินค้าในเวปไซด์หรือที่ใดๆหรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน " Blog แป้งปังปอนด์ " แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยการเผยแพร่เพื่อการอ้างอิงหรือนำรูปภาพไปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด




New Comments
MY VIP Friend