มกราคม 2564

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
เลือกไม่ถูกเลย คาเฟอีนให้ประโยชน์หรือโทษกันแน่
อาหารและเครื่องดื่มแต่ละชนิดจะมีปริมาณคาเฟอีนไม่เท่ากัน ซึ่งอาหารที่มีคาเฟอีนมากที่สุด คือ กาแฟ โดยกาแฟประมาณ 240 มิลลิลิตร จะมีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 95-200 มิลลิกรัม

คนทั่วไปไม่ควรบริโภคคาเฟอีนเกินวันละ 400 มิลลิกรัม ซึ่งเท่ากับการดื่มกาแฟประมาณ 4 แก้ว เครื่องดื่มชูกำลัง 2 ขวด หรือโคล่าประมาณ 10 กระป๋อง แต่ต้องระวังปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไปด้วย เพราะในโคล่า 10 กระป๋องอาจมีน้ำตาลมากถึง 350 กรัม รวมถึงกาแฟชงสำเร็จรูปมักมีน้ำตาลผสมอยู่ในปริมาณมากเช่นกัน

หากบริโภคเป็นประจำอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคอ้วนหรือโรคเบาหวานได้ ดังนั้นนอกจากปริมาณคาเฟอีนที่ต้องควบคุมแล้ว ยังต้องระวังเรื่องการบริโภคน้ำตาลส่วนเกินที่อยู่ในอาหารแต่ละประเภทด้วย

คาเฟอีนเป็นยากระตุ้นระบบประสาท ทำให้รู้สึกตื่นเต้น บางคนดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสมอยู่ เช่น ชาหรือกาแฟอาจจะทำให้นอนไม่หลับ แต่บางคนหลับได้สบาย

การที่เราไม่รู้สึกง่วงนอนนั้น ไม่ใช่จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายเสมอไป เพราะถ้าเราอ่อนเพลีย ร่างกายต้องการพักผ่อน แต่เราต้องการกระตุ้นให้ตื่น การทำงานจะไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการนอนพักผ่อนให้เพียงพอ แล้วค่อยมาทำต่อ 

การที่ร่างกายไม่ยอมพักผ่อนนั้นจะทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมเร็วกว่าปกติ การรู้สึกมีเรี่ยวแรงขึ้นมานั้นก็ไม่ใช่ฤทธิ์ของคาเฟอีนโดยตรง แต่เป็นการเอาพลังงานสำรองมาใช้ ซึ่งเมื่อถึงคราวที่เราต้องอาศัยพลังงานสำรองจริงๆ แล้วจะไม่มีเหลือ ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ ป่วยง่ายและหายยาก หรืออาจจะไม่หายเลยก็ได้

คาเฟอีนนับเป็นสิ่งเสพติด เพราะถ้าเราดื่มทุกวันแล้วงด จะมีอาการถอนยาหรืออาการขาดยา คือ ปวดหัว หงุดหงิด กระสับกระส่าย ซึมเศร้า น้ำมูกไหล คลื่นไส้ ง่วงซึม และไม่อยากทำงาน แต่ถ้าได้รับประทานยา หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเข้าไปอาการเหล่านี้ก็จะหายไป

ในปี ค.ศ.1980 สำนักงานอาหารและยา (F.D.A.) ของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศเตือนสตรีที่มีครรภ์ให้งดและลดกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อทารกทำให้คลอดออกมาไม่สมประกอบได้

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดของสหรัฐพบว่า 
การดื่มกาแฟวันละ 1-2 ถ้วย จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับอ่อนได้มากถึง 2 เท่า 
การดื่มกาแฟร้อนวันละ 3 ถ้วยหรือมากกว่านี้จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับอ่อนถึง 3 เท่า

ส่วนชามีสารชนิดหนึ่งชื่อเเทนนิน (Tannin) ซึ่งเป็นตัวทำลาย
วิตามินบีหนึ่งในอาหาร จึงไม่ควรดื่มน้ำชาร่วมกับอาหาร ถ้าใครอดไม่ได้ ควรดื่มชาหลังอาหารแล้วประมาณ1 ชั่วโมง เพื่อรอให้
วิตามินบีหนึ่งได้ดูดซึมไปก่อน 

คนที่ขาดวิตามินบี 1 จะทำให้เป็นโรคเหน็บชา มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดแสบ เสียวในขาและขาไม่มีแรง อารมณ์เสียและหงุดหงิดง่าย

การดื่มชามากๆ จะทำให้ท้องผูก แพทย์จึงมักแนะนำให้ดื่มน้ำชาในคนไข้มีอาการท้องร่วงหรือท้องเดิน แต่ไม่ใช่ดื่มเป็นเครื่องดื่มประจำวัน

การดื่มชาขณะรับประทานอาหาร จะทำให้การดูดซึมของธาตุเหล็กลดลงถึงร้อยละ 87  ส่วนดื่มกาแฟพร้อมอาหารจะลดลงร้อยละ 39 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เป็นโรคโลหิตจาง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชาและกาแฟ (ข้อมูลจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยแพทย์แคนซัสสหรัฐอเมริกา)

โทษของคาเฟอีน
1. หัวใจสั่น (หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติหรือผิดปกติ)
2.ทำให้ความดันโลหิตสูง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
3.ไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ในทางอ้อมจะทำให้เป็นโรคหัวใจวายง่ายขึ้น

4. กระเพาะอาหารผลิตกรดไฮโดรคลอริกออกมามากกว่าปกติ ซึ่งทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและโรคกรดไหลย้อน 
อีกทั้งคาเฟอีนสามารถกระตุ้นการขับถ่ายได้ด้วยการเพิ่มการหดตัวของกล้ามเนื้อของทางเดินอาหาร (Peristalsis) จึงอาจทำให้บางคนขับถ่ายดีขึ้น หรือมีอาการท้องเสีย 

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การบริโภคคาเฟอีน อาจทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนแย่ลง เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสามารถทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างคลายตัว ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของอาการกรดไหลย้อน 

5. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อาจทำให้มีก้อนซีสต์ที่เป็นเนื้องอกในเต้านมสตรี
6. ทำลายโครโมโซมในหนูทดลองและลูกหนูที่คลอดออกมาอาการไม่สมประกอบ

7. กระตุ้นระบบประสาท ทำให้นอนไม่หลับ มือสั่น ตึงเครียด อารมณ์เสียง่าย ปวดศีรษะ ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง

8.กล้ามเนื้อและกระดูกเสียหาย หากบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมน้อยลงจนเกิดภาวะกระดูกพรุน หรืออาจทำให้อัตราเมตาบอลิซึมสูงเกินไป จนเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง 

ประโยชน์ของคาเฟอีน
1. แพทย์อาจจะใช้กับเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดและหยุดหายใจแล้วกว่า 20 วินาที เพื่อช่วยกระตุ้นให้ฟื้น ซึ่งได้ผลไม่แน่นอน
2. ใช้ในห้องทดลองเกี่ยวกับการกระตุ้นระบบประสาท
3. ผสมกับยาเออร์กอท (Ergot) ในการรักษาไมเกรน
4. ช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น คาเฟอีนจะไปปิดกั้นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้ปริมาณของสารสื่อประสาทชนิดอื่นอย่าง
โดปามีนและนอร์อิพิเนฟรินเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้มีการส่งข้อมูลของเซลล์ประสาทภายในสมองเพิ่มมากขึ้น 

จากการศึกษาพบว่า คาเฟอีนอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองดีขึ้นในหลาย ๆ ด้าน เช่น อารมณ์ ความจำ การตอบสนอง ความระมัดระวัง ระดับพลังงาน และกระบวนการคิดทั่วไป 

5.ช่วยเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย โดยคาเฟอีนอาจเพิ่มระดับ
อะดรีนาลีน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ช่วยเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการออกกำลังกายอย่างหนัก และคาเฟอีนยังช่วยสลายไขมันให้เป็นพลังงานอีกด้วย นอกจากนี้คาเฟอีนยังอาจช่วยเพิ่มความทนทานและอาจช่วยให้เหนื่อยช้าลง แต่คาเฟอีนอาจไม่เพิ่มสมรรถภาพทางร่างกายในกรณีที่ต้องใช้แรงมากในระยะเวลาสั้น ๆ อย่างการยกของหรือการวิ่งเร็ว

6.ช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น โดยมีการศึกษาพบว่า คาเฟอีนจะเพิ่มอัตราการเผาผลาญในร่างกายให้มากขึ้น และมีงานค้นคว้าอื่น ๆ ที่ระบุว่า คาเฟอีนสามารถเพิ่มอัตราการเผาผลาญของคนอ้วน 10 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มอัตราการเผาผลาญของคนผอม 29 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ว่าประสิทธิภาพนี้จะลดลงในผู้ที่บริโภคคาเฟอีนในระยะยาว

7.ลดความเสี่ยงโรคซึมเศร้า คาเฟอีนอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคซึมเศร้าและลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้ โดยมีงานวิจัยพบว่า การบริโภคคาเฟอีนอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าในผู้ใหญ่ได้

 อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยบางส่วนที่เผยว่า การบริโภคคาเฟอีนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าในเด็กได้เช่นกัน

8.ลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี การบริโภคคาเฟอีนวันละประมาณ 400 มิลลิกรัม อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ 

มีการศึกษาพบว่า คาเฟอีนอาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการหดตัวของถุงน้ำดีและการไหลเวียนของน้ำดี ซึ่งอาจช่วยลดการเกิดนิ่วได้อีกด้วย

9.ป้องกันโรคเบาหวาน มีการวิจัยที่พบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 1 แก้ว อาจเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ลดลง 7 เปอร์เซ็นต์ หากดื่มกาแฟมากขึ้นอาจทำให้ความเสี่ยงลดลงไปอีก

อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนควรเป็นแบบไม่เติมน้ำตาล และไม่บริโภคคาเฟอีนมากเกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดต่อวัน และจากการค้นคว้าแม้พบว่าคาเฟอีนอาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ แต่สารชนิดนี้อาจไม่สามารถรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 อยู่แล้วได้

10.ลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์และโรคพาร์กินสัน ไม่เพียงแต่คาเฟอีนจะช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์และโรคพาร์กินสันได้อีกด้วย 

โดยโรคทั้ง 2 ชนิดนี้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง จากการศึกษาไม่พบว่าการบริโภคคาเฟอีนจะทำให้ความเสี่ยงต่อโรคพาร์กินสันลดลงได้ในผู้ที่สูบบุหรี่

11.ลดความเสี่ยงโรคตับ มีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วขึ้นไป อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับแข็งลดลงมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และบางงานวิจัยยังบอกด้วยว่าสารคาเฟอีนอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับได้ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์









ที่มา
คาเฟอีน ให้ประโยชน์ หรือโทษ - บทความสุขภาพ โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน
ww w. doctor.or. th › article › detail
คาเฟอีน มีประโยชน์หรือให้โทษต่อร่างกาย - พบแพทย์



Create Date : 20 มกราคม 2564
Last Update : 20 มกราคม 2564 0:01:56 น.
Counter : 733 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณnewyorknurse


แป้งปังปอนด์
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 878 คน [?]



เริ่มเขียนblog 20ก.ค55
ปัจจุบัน ( 3 มี.ค 57 ) แป้งได้มีเพจแป้งปังปอนด์ สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์แชร์ข้อมูลจาก blog ให้ท่านที่สนใจได้ติดตามอ่านอย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาโหลดเนื้อหาจาก blog ดังนั้นขออนุญาตงดตอบคำถามใดๆทางเพจและ facebook ค่ะ






หากท่านใดมีคำถามเกี่ยวกับการกินวิตามินเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและบำรุงผิวพรรณ รบกวนส่งคำถามไปยัง blog แป้งปังปอนด์ นานาสารพันปัญหา volume 5 อย่างเดียวเท่านั้นค่ะ


ขออนุญาตฝากกด like เพจแป้งปังปอนด์ เพื่อเป็นกำลังใจในการสรรค์สร้างผลงานด้วยมันสมองและสองมือพยาบาลสาวภูไท คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จบการศึกษา ปี พ.ศ 2539 จากที่ราบสูงคนนี้ด้วยนะคะ


สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการนำชื่อ " แป้งปังปอนด์ " ไปใช้เพื่ออ้างอิงหรือติดป้ายสินค้าในเวปไซด์หรือที่ใดๆหรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน " Blog แป้งปังปอนด์ " แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยการเผยแพร่เพื่อการอ้างอิงหรือนำรูปภาพไปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด




New Comments
MY VIP Friend