กันยายน 2564

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
 
 
All Blog
5 อาหารเสริมกับการกระตุ้นสิว

เคยมีใครบางคนกำลังประสบกับการเกิดสิวขณะรับประทานอาหารเสริมหรือเปล่าค่ะ สิวสามารถเกิดขึ้นหรือทำให้รุนแรงขึ้นได้ด้วยอาหารเสริม แม้แต่อาหารเสริมที่ดูเหมือนไม่มีพิษภัย 

ผู้ร้ายหลักที่ก่อให้เกิดสิวคือ อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของวิตามิน B6,B12, ไอโอดีน,เวย์ โปรตีน,คอลลาเจนและอาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่อาจปนเปื้อนด้วยยา Anabolic androgenic steroids (มีผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาประมาณ 50% ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและหลายคนต่อสู้กับสิวที่อธิบายไม่ได้)

1.ไอโอดีน

 สิวที่เกิดจากไอโอดีนเป็นสิวที่มีลักษณะตุ่มนูน สีแดง บนใบหน้าและลำตัวส่วนบน  ไอโอดีนสามารถทำให้สิวที่มีอยู่รุนแรงขึ้น ไอโอดีนพบได้ในอาหารเสริมสาหร่ายเคลป์(Kelp)นอกเหนือจากวิตามินและแร่ธาตุอีกมากมาย

2. เวย์โปรตีน

 เวย์โปรตีนเกี่ยวข้องกับสิวตุ่มหนองที่พบในลำตัวและใบหน้า  เวย์โปรตีนผลิตมาจากนม ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนทรงกลมที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตชีส  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเวย์โปรตีนเป็นที่นิยมสำหรับการเพาะกายของวัยรุ่นอเมริกา 

เวย์โปรตีนส่งเสริมการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ เพราะอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่ให้สารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน  ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเวย์โปรตีนจะพบผลข้างเคียงคือ เกิดสิวที่มีลักษณะตุ่มนูน สีแดง และตุ่มหนอง สิวประเภทนี้มักพบในนักเพาะกายชายที่ใช้อาหารเสริมเวย์

3.วิตามิน B6,B12
อาหารเสริมวิตามิน B6 และ B12 ปริมาณสูงนำไปสู่สิว Monomorphic แม้ว่าจะไม่ทราบสาเหตุของโรค Monomorphic (รอยโรคจากสิวมีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกัน)อาหารเสริมที่มีวิตามิน B6 และ B12 ปริมาณสูงอาจทำให้สิวที่มีอยู่แย่ลง ซึ่งพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย  

 วิตามินบี 12 ยังแสดงให้เห็นว่า ช่วยการเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจนของแบคทีเรีย Propionobacterium Acnes(P.acne)ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่อยู่เบื้องหลังการเกิดสิว

4.Anabolic-androgenic steroids(อนาบอลิก แอนโดรจินิก 
สเตียรอยด์)

การเกิดสิวที่เกิดจาก Anabolic androgenic steroids (AAS) จัดเป็นสิวรุนแรงที่สุดที่เกิดจากอาหารเสริม  นักเพาะกายมักใช้ AAS เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ  แม้ว่าจะเป็นการไม่ใช้สเตียรอยด์โดยตรง
แต่สเตียรอยด์มักมีอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับการเพาะกายทั่วไป

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา(FDA) มีการศึกษาผลิตภัณฑ์อาหารเสริม 776 รายการ  พบว่า 89.1% ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสร้างกล้ามเนื้อปนเปื้อนด้วยสเตียรอยด์สังเคราะห์  นอกจากนี้ยังพบว่า AAS ทำให้สิวที่มีอยู่รุนแรงขึ้น

สเตียรอยด์ (Steroids) เป็นชื่อเรียกโดยย่อของกลุ่มยาที่มีชื่อเต็มว่า Anabolic Androgenic Steroids หรือเรียกว่า Anabolic Steroids เป็นยาที่สังเคราะห์เลียนแบบสเตียรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับ
เทสโทสเตอโรนในการช่วยให้กล้ามเนื้อเจริญเติบโต ด้วยการฉีดสารสเตียรอยด์เข้าไปในกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ หรือรับประทานทางปาก 

สเตียรอยด์ (Steroids) คือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ต้านการอักเสบ ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ กดภูมิคุ้มกัน ในปัจจุบันวงการแพทย์ได้นำสเตียรอยด์มาใช้รักษาอาการเจ็บป่วย หรือแม้แต่ใช้ในวงการเสริมความงาม

สเตียรอยด์แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ดังนี้
1.คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ซึ่งเป็นการสังเคราะห์เลียนแบบสเตียรอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้น โดยหวังผลในส่วนของฤทธิ์ต้านการอักเสบในร่างกาย 

แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
1.ยาสเตียรอยด์ที่ใช้ภายนอก (External Use) เช่น ยาหยอดตา ยาพ่นจมูก ยาสูดพ่นทางปากและยาทาผิวหนัง หวังผลการรักษาให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่
2.ยาสเตียรอยด์ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย (Systemic Use) หวังผลการรักษาให้ออกฤทธิ์ทั่วร่างกายทุกระบบ เช่น ยาฉีดและยารับประทาน ส่วนใหญ่มักใช้ลดการอักเสบภายในหรือเพื่อกดภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคภูมิแพ้ตนเอง (SLE) หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินหายใจอักเสบเรื้อรัง และอาการภูมิแพ้ทางผิวหนังหรือทางเดินหายใจที่รุนแรง เป็นต้น

2.ยาอนาบอลิก-แอนโดรจีนิก สเตียรอยด์(Anabolic Androgenic Steroid: AAS หรือเรียกว่า อนาบอลิก สเตียรอยด์

โดยปกติแล้วฮอร์โมนสเตียรอยด์จะถูกผลิตออกมาเองตามธรรมชาติจากต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็กที่อยู่เหนือไตทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญ ๆ ในร่างกายอีกหลายชนิด เช่น อะดรีนาลีน(Adrenaline )คอร์ติซอล (Cortisol)ฯลฯ
สเตียรอยด์ยังถูกมาผลิตเป็นยารักษาโรค และอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ อีกด้วย

ในประเทศไทย อนาบอลิก สเตียรอยด์ที่เป็นยาสังเคราะห์จะมีทั้งแบบรับประทานและฉีด มักจะถูกใช้กับนักกีฬาเพาะกายหรือคนที่อยากเพิ่มกล้ามเนื้อให้มีขนาดใหญ่ในเวลาไม่นาน

เทรนเนอร์ท่านหนึ่งเปิดเผยว่า เคยใช้อนาบอลิก สเตียรอยด์แบบเร่งด่วน โดยจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพก  สัปดาห์ละ 1 ครั้งและเพิ่มเป็น 4 ครั้งต่อสัปดาห์เมื่อใกล้ถึงช่วงฤดูแข่งขัน(เพาะกาย)จนครบ 6 เดือนแต่ได้หยุดใช้อนาบอลิก สเตียรอยด์อย่างสิ้นเชิง เมื่อตรวจเลือดพบว่า ค่าไตมีการทำงานมากกว่าปกติถึง 3 เท่า ค่าตับสูงขึ้น มีโปรตีนรั่ว(กรวยไตอักเสบ) ที่สำคัญมีคนในโรงยิมตาย 2 คน

แต่ในคนที่อายุยังน้อยประมาณ 25 ปีบางคน มีการฉีดสารอนาบอลิก สเตียรอยด์ต่อเนื่องหลายปี ค่าตับไตอยู่ในเกณ์ปกติ มีเลือดข้นหนืด หนวดเครายาวเร็วกว่าปกติ 

ผลข้างเคียงของอนาบอลิก สเตียรอยด์คือ  สิวขึ้น หนวดเครายาวเร็วเลือดข้น หงุดหงิดง่าย ผิวหนังไหม้ ผมร่วง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

กลุ่มเภสัชจัดการปัญหาสเตียรอยด์ ได้ตรวจสอบเวย์โปรตีนที่สั่งมาจากร้านค้าออนไลน์และโรงยิม พบว่า มีหลายยี่ห้อที่ปริมาณโปรตีนไม่ตรงกับฉลากโภชนาการและปนเปื้อนยาอนาบอลิกสเตีย
รอยด์(Oxymetholone,Otanozolol)มากกว่า 25% โดย 3 ใน 5 
เป็นยี่ห้อที่มีอย.

16 มิ.ย.2564 นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เผยผลทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเวย์โปรตีน เพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคให้ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน และได้รับความปลอดภัยจากสินค้าหรือบริการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ 

โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเวย์โปรตีน จำนวน 9 ตัวอย่าง จากร้านค้าทั่วไปและร้านค้าออนไลน์ ช่วงเดือนมกราคม 2564 เพื่อทดสอบสารอนาบอลิก สเตียรอยด์ (Anabolic - Androgenic Steroids) ซึ่งเป็นยาที่นิยมกันในหมู่นักกีฬาเพาะกาย และทดสอบหาปริมาณโปรตีน (ร้อยละของน้ำหนัก) ว่าเป็นไปตามการกล่าวอ้างบนฉลากหรือไม่

จากผลสำรวจพบว่า ไม่พบสารอนาบอลิก สเตียรอยด์ แต่พบโปรตีน (ร้อยละของน้ำหนัก) ไม่ตรงตามฉลาก คือ น้อยกว่าร้อยละ 30 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเวย์โปรตีนยี่ห้อหนึ่ง กลิ่นมอคค่า ทดสอบพบโปรตีน ร้อยละ 38.8 แต่ฉลากระบุว่ามีโปรตีน ร้อยละ 83.33 และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อหนึ่ง รสช็อกโกแลต ทดสอบพบโปรตีนร้อยละ 26 แต่บนฉลากระบุว่ามีโปรตีน 62.5

อนาบอลิก สเตียรอยด์ เป็นกลุ่มสารเคมีที่มีโครงสร้างเป็นสเตียรอยด์และมีฤทธิ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อ สารกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ทำหน้าที่ให้ร่างกายเก็บกักกรดอะมิโนซึ่งเป็นวัตถุดิบโดยตรงในการสังเคราะห์โปรตีนได้มากขึ้น เรียกว่าเป็น ‘positive nitrogen balance’ เพิ่มกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน เพิ่มกระบวนการสังเคราะห์เม็ดเลือดแดง ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม อนาบอลิก สเตียรอยด์ เป็นสารเคมีที่ดัดแปลงโครงสร้างมาจากฮอร์โมนเพศชายตามธรรมชาติคือ เทสโทสเตอโรน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่อนาบอลิค สเตียรอยด์จะมีผลที่คนใช้ไม่ค่อยจะอยากได้เท่าไร นั่นก็คือ สิวหนอง ผิวมัน หัวล้าน หากใช้ระยะยาวนานอาจจะมีเต้านมโต

ดร.เจมส์ มอสส์แมน จากมหาวิทยาลัยบราวน์ของสหรัฐฯและศาสตราจารย์อัลลัน เพซีย์ จากมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ของอังกฤษ 
เผยว่าพฤติกรรมย้อนแย้งดังกล่าวพบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน และกำลังบั่นทอนความสามารถในการเจริญพันธุ์ของเพศชายในวงกว้าง

ดร.มอสส์แมนอธิบายว่า "ผู้ชายที่ใช้สารสเตียรอยด์พยายามทำให้ตัวเองกล้ามโตและดูตัวใหญ่กว่าปกติ เหมือนกับลักษณะของเพศชายที่อยู่ในขั้นสุดยอดของวิวัฒนาการ แต่แท้ที่จริงแล้ว พวกเขากำลังทำให้ตัวเองกลายเป็นสิ่งชำรุดทางวิวัฒนาการมากกว่า เพราะแต่ละคนไม่มีเชื้ออสุจิเหลืออยู่เลยแม้แต่ตัวเดียว"

การใช้สารจำพวกอนาบอลิก สเตียรอยด์ (Anabolic Steroids) ซึ่งเป็นที่นิยมกันในหมู่นักเพาะกาย ส่งผลเสียต่อความสามารถในการมีบุตรของผู้ชายอย่างมาก แม้ว่าสารดังกล่าวจะให้ผลเลียนแบบฮอร์โมนเพศชายหรือเทสโทสเตอโรน ซึ่งช่วยกระตุ้นการเติบโตของกล้ามเนื้อได้ แต่ในขณะเดียวกัน สารนี้จะทำให้ต่อมพิทูอิทารีในสมองเข้าใจผิดว่าอัณฑะกำลังทำงานหนัก จนหยุดการผลิตฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยในการผลิตอสุจิไปอย่างสิ้นเชิง

การใช้สารอนาบอลิกสเตียรอยด์ ยังพบได้มากในหมู่คนที่มีปัญหาเรื่องผมบางศีรษะล้านอีกด้วย โดย ศ.เพซีย์ บอกว่า "ปัญหานี้ยังพบได้น้อยกว่ากรณีการใช้สเตียรอยด์สร้างกล้ามเนื้อ แต่ปัจจุบันยอดขายยาป้องกันหรือรักษาศีรษะล้านกำลังเพิ่มขึ้น ทำให้เชื่อได้ว่าจำนวนผู้ชายที่มีบุตรยากจะพุ่งสูงขึ้นไปอีกในอนาคต"

"อัตราความเสี่ยงเป็นหมันของผู้ชายที่ใช้สเตียรอยด์นั้นมีมากกว่าที่เคยเข้าใจกัน เรียกได้ว่าอาจมีความเสี่ยงสูงถึง 90% เลยทีเดียว" ศ. เพซีย์กล่าว

5.คอลลาเจน

แม้ว่าอาหารเสริมคอลลาเจนจะเป็นที่รู้จักกันดีในการซ่อมแซมสภาพผิว แต่บางชนิดอาจมีซัลไฟต์ซึ่งสามารถทำให้ผิวของเราแออัดและนำไปสู่การเกิดสิวขึ้นได้

สารในกลุ่มซัลไฟด์ในอาหารส่วนใหญ่จะใช้เป็นสารกันเสีย (preservative) ที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูก ง่ายต่อการใช้งาน ช่วยยับยั้งการเจริญของยีสต์ (yeast) รา (mold) และแบคทีเรีย (bacteria) เช่น ใช้ฆ่าจุลินทรีย์ในการทำไวน์ (wine) เบียร์ (beer) และใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เกลือซัลไฟด์ เกลือโซเดียม และโปแตสเซียมของไบซัลไฟด์ (bisulfite) เมื่อถูกความร้อนจะสลายให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide : SO2) จะไปทำลายวิตามินบีเช่นกัน นอกจากนั้น ยังมี carboxylic acid และตัวอื่นๆอีก

กลไกที่แน่นอนหรือการเกิดโรคของอาหารเสริมที่ทำให้เกิดสิวไม่ชัดเจน  เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า AAS( อนาบอลิก สเตียรอยด์)ช่วยเพิ่มไขมันบนผิว และเพิ่มกรดไขมันอิสระและปริมาณคอเลสเตอรอลของไขมันเหล่านี้  AAS ยังเพิ่มความหนาแน่นของสิว Propionobacterium(P.acne)บนผิวของเรา  การตรวจชิ้นเนื้อผิวหนังอาจช่วยระบุกลไกนี้ได้ในระดับหนึ่ง












ที่มา : 

Acne Caused By Aggressive Supplements - Dr David Kaplanhttps://apdkc.com › acne-caused-by-aggre...

อาหารปลอดภัย....มีจริงหรือ ในประเทศไทย? (ตอนที่ 3) - ไทยรัฐออนไลน์https://www.thairath.co.th › ไลฟ์สไตล์ › ไลฟ์

กล้ามเช่า จากเวย์โปรตีนสู่อนาบอลิกสเตียรอยด์ - รายการไทยพีบีเอสhttps://program.thaipbs.or.th › episodes

เตือนผู้ชายใช้สเตียรอยด์เสริมหล่อ เสี่ยงเป็น "สิ่งชำรุดทางวิวัฒนาการ"https://www.bbc.com › thai › international-48432052

"เวย์โปรตีน"ไม่พบสเตียรอยด์-2ยี่ห้อปริมาณไม่ตรงฉลาก - ช่อง 8https://www.thaich8.com › news_detail

!! เต้าโต หัวเถิก อัณฑะหด ความดัน โรคหัวใจ ฯ : อันตรายของ “กล้าม ...https://mgronline.com › goodhealth › detail

“สเตียรอยด์” ฤทธิ์ครอบจักรวาล แต่หากใช้เกินจำเป็น ระวังผลข้างเคียง ...https://www.vejthani.com › 2018/06 › สเตียรอยด์ระวัง



Create Date : 29 กันยายน 2564
Last Update : 29 กันยายน 2564 18:42:30 น.
Counter : 661 Pageviews.

0 comments

แป้งปังปอนด์
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 878 คน [?]



เริ่มเขียนblog 20ก.ค55
ปัจจุบัน ( 3 มี.ค 57 ) แป้งได้มีเพจแป้งปังปอนด์ สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์แชร์ข้อมูลจาก blog ให้ท่านที่สนใจได้ติดตามอ่านอย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาโหลดเนื้อหาจาก blog ดังนั้นขออนุญาตงดตอบคำถามใดๆทางเพจและ facebook ค่ะ






หากท่านใดมีคำถามเกี่ยวกับการกินวิตามินเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและบำรุงผิวพรรณ รบกวนส่งคำถามไปยัง blog แป้งปังปอนด์ นานาสารพันปัญหา volume 5 อย่างเดียวเท่านั้นค่ะ


ขออนุญาตฝากกด like เพจแป้งปังปอนด์ เพื่อเป็นกำลังใจในการสรรค์สร้างผลงานด้วยมันสมองและสองมือพยาบาลสาวภูไท คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จบการศึกษา ปี พ.ศ 2539 จากที่ราบสูงคนนี้ด้วยนะคะ


สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการนำชื่อ " แป้งปังปอนด์ " ไปใช้เพื่ออ้างอิงหรือติดป้ายสินค้าในเวปไซด์หรือที่ใดๆหรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน " Blog แป้งปังปอนด์ " แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยการเผยแพร่เพื่อการอ้างอิงหรือนำรูปภาพไปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด




New Comments
MY VIP Friend