....ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะคน......
Group Blog
 
 
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
28 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
บ่อทำบ่อเลี้ยงปลาคาร์ฟ กันดีกว่า

ปลาคาร์ฟ



บ่อปลาคาร์ฟ





ได้ลงเรื่องบ่อกรองไปแล้ว ต่อไปนี้เป็นการทำบ่อเลี้ยงปลาคาร์ฟในบ้าน จะพยายามกล่าวถึงวิธีทำแต่ละขั้นตอนและปัญหาที่พบเสมอๆ ท่านที่อยากทำบ่อเลี้ยงปลาก็คิดและตัดสินใจให้ดี ว่าท่านรักและต้องการเพียงใด ไม่ใช่แค่ชอบหรืออยากมีเฉยๆ ได้ไปไม่นานก็ปล่อยทิ้งหรือขาดการเอาใจใส่ เรื่องเล็กน้อยแต่ก็ต้องหาข้อมูลให้ดี จะได้จัดการได้เองในบางกรณี อย่างเช่น บ่อกรองอุดตัน เพราะเศษใบไม้ ระบบน้ำหมุนเวียนไม่ได้ การแก้ปัญหาก็คือการป้องกัน เช่นบริเวณใกล้บ่อไม่ควรปลูกต้นไม้ที่ใบร่วงง่าย หรือปลูกได้แต่ต้องคอยดูแลช้อนเศษใบไม้ขึ้นทุกวัน หรือถ้ามีการอุดตัน ก็แค่ดึงเศษใบไม้ออก ถ้า คุณอยากมีบ่อปลาแต่คุณไม่พยายามศึกษา ปล่อยให้เป็นภาระของคนอื่น คุณอย่าทำเลยไม่แฮปปี้สักนิด



ขั้นตอนการทำบ่อเลี้ยงปลาคาร์ฟในบ้าน



บ่อปลาคาร์ปต้องมีองค์ประกอบดังนี้

1 สะดือบ่อ

2 ท่อน้ำล้น

3 ท่อน้ำทิ้ง

4 ท่อเติมน้ำ

5 มุมตั้งเครื่องพ่นอากาศ หรือ หัวเจ็ทพ่นน้ำเพิ่มฟองอากาศ

6 ทางน้ำกลับ

7 ที่ให้อาหารปลา

8 ที่ยืนหรือที่นั่งชมปลา



ในที่นี้จะสมมุติขนาดของบ่อปลา ไว้ที่ 2x3 เมตร เพื่อสะดวกในการคำนวณให้เห็นชัดเจน

1 การกำหนดรูปร่างลักษณะของบ่อ เป็นแบบสี่เหลี่ยม หรือไม่จำกัดรูปทรง ให้วางแปลนคร่าวๆในกระดาษ ขนาด 2 x3 เมตรโดยใช้มาตราส่วน ที่กำหนดขึ้น เพื่อง่ายต่อการคำนวณหาจำนวนเสาเข็ม การตอกเข็มในขั้นต่อไป



รูปร่างบ่อปลา



2 ความลึกของบ่อ ต้องมีความสัมพันธ์กัน บ่อเลี้ยงปลาไม่ควรลึกหรือตื้นเกินไป บ่อกว้างยาวขนาดนี้ ขุดลึก ถึง 1 เมตรตามที่ว่ากัน ก็เหมือนหลุมหลบภัยมากกว่า มันน่ากลัวมากกว่าน่าดู ยิ่งความลึกถึง 1.5 เมตร เลิกคุยกันไปเลย ถ้ากว้าง 15 เมตร ยาว 25 เมตรไม่ว่ากัน ไม่ต้องกลัวว่าปลาจะอยู่ไม่ได้ เลี้ยงไว้ดูไม่ได้เลี้ยงไว้ขาย บ่อขนาดนี้ลึก 60-70 เซนติเมตรก็โอแล้ว

ที่เตือนไว้ตรงนี้เพราะกลัวใจคุณ เห็นบ่อที่ขุดแล้วยังไม่มีน้ำใส่ มันจะลวงตาว่าไม่ลึก แล้วจะสั่งให้เพิ่มความลึกไปเรื่อยๆ การทำแบบนี้ไม่เป็นผลดีเลย เพราะความลึกของบ่อที่เพิ่มขึ้นหมายความว่าต้องเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานด้วยไม่ว่าจะป็นจำนวนเสาเข็มหรือขนาดของเหล็กเส้น จะต้องคำนวณใหม่หมด ไม่งั้นปัญหาที่ตามมา ให้เดาเอาเองแล้วกัน เกิดแล้วมันแก้ยากนะบ่อแตกร้าวน่ะ

3 ในแบบแปลนคุณตีตารางช่องละ 1 เมตรทำเครื่องหมายกำกับตำแหน่งหัวเข็มเอาไว้ การคำนวณหาจำนวนเสาเข็มมีวิธีการคิดดังนี้ ทุกระยะ 1 เมตรเสาเข็ม 1ต้น คือ 1ต้นต่อ 1ตารางเมตร ใช้เสาปูนหกเหลี่ยมกลวงความยาว 2 เมตร บ่อนี้ใช้เสาเข็มจำนวน 6 ต้น

4 เมื่อได้แบบแล้วก็เริ่มลงมือทำโดยเอาเชือกฟางมาขึง เหมือนในแบบ แล้วเอาปูนขาวโรยตามรูปร่างบ่อเช็คระดับขอบบ่อว่า บ่อจะอยู่เหนือพื้นดินเท่าไร และจะขุดลงไปลึกเท่าไร ในที่นี้ อยู่เหนือพื้นดิน 10 เซนติเมตร ก็ขุดลึกลงไป 50 เซนติเมตร แต่ให้ขุดเพิ่มอีก15 เซนติเมตร เพื่อวางท่อและเทพื้นบ่อ รวมการขุดต้องขุดลึก ลงไปในดิน 65 เซนติเมตร ความกว้างและความยาวต้องขุดเผื่อไว้มากกว่าขนาดจริง +10 เซนติเมตรคือต้องขุด 2.10 X 3.10 เมตร

5 ตอกเสาเข็ม ตามตำแหน่งตามแบบที่หาไว้แล้ว ให้หัวเข็มอยู่ที่ระดับ -65เซนติเมตร



การผูกเหล็กโยงหัวเข็มเข้าด้วยกัน

6 ก่อนจะผูกเหล็กเทพื้นให้วางท่อน้ำเข้าออก ก่อน สะดือบ่อเป็นจุดต่ำสุดมีหน้าที่ดูดถ่ายของเสียจะต้องขุดดินวางท่อต่อกับสะดือบ่อให้เสร็จเป็นสิ่งแรก ตัวแอ่งสะดือ จะทำเป็นรูปกรวยคือก้นแคบปากกว้าง เหมือนตัว V ขนาด 8”x8” ก้น 5”x5”แล้วเดินท่อ PVC ขนาด 4” ไปยังบ่อกรอง สะดือบ่อต้องใส่ตะแกรงเหล็กเพื่อกันเศษใบไม้และปลาลอดเข้าไปในท่อ สะดือบ่อ ถ้าใช้ปั๊ม 11/2 แรงใช้ท่อ PVC 2-4” ถ้าปั๊ม 2 แรงใช้ท่อ 4” ถ้าปั๊ม 3 แรงใช้ท่อ5”

7 น้ำออก

7.1 น้ำออกท่อที่ 1 จากสะดือบ่อที่วางท่อไว้จะเป็นท่อไหลไปบ่อกรองห้องที่1 เวลาวางท่อpvc ต้องวางให้ได้ระดับจากพื้นบ่อเลี้ยงปลาไปยังบ่อกรอง(คงจำได้ว่าพื้นบ่อกรองจะอยู่ต่ำกว่าพื้นบ่อเลี้ยง )

7.2 น้ำออกท่อที่2 คือตัวควบคุมระดับน้ำในบ่อ จะใช้ท่อpvc21/2”เป็นท่อน้ำล้นวางที่ระดับ -30เซนติเมตร ใส่ข้องอไม่ทากาว และต่อไปยังท่อระบายน้ำ
แสดงท่อน้ำล้น



8 น้ำเข้า

8.1 ท่อน้ำจะวิ่งเข้าบ่อกรองห้องสุดท้าย ไหลวนกลับมาบ่อเลี้ยง

8.2 น้ำเข้าท่อที่2 ติดหัวเจ็ทให้น้ำกับอากาศ พุ่งออกมาเป็นฟองอากาศในบ่อ ช่วยเพิ่มอ็อกซิเจนให้กับปลาให้พอเพียง และแรงดันน้ำที่พ่นออกมาจะช่วยให้น้ำในบ่อไหลเวียน เศษอาหารและขี้ปลาจะวนไปรวมกันที่สะดือบ่อ และถูกดูดไปยังบ่อกรองต่อไป ให้วางท่อน้ำเข้าต่ำกว่าท่อน้ำล้น 10 เซนติเมตร





9 ผูกเหล็กเทพื้นคอนกรีตและผนัง

เมื่อวางท่อน้ำเข้าออกแล้ว เริ่มผูกเหล็กเทพื้นโดยใช้เหล็กเส้น 3หุนเต็ม (เหล็กเส้นมีอย่างไม่เต็มเรียกสามหุนเบา)ผูกตะแกรงเหล็กห่าง 25x25 เซนติเมตร (ส่วนผนังและพื้นบ่อกรองใช้เหล็กสามหุนผูกระยะห่าง 15x15 เซนติเมตร) เทคอนกรีตที่มีอัตราส่วนผสม ปูน:ทราย:หิน =1:2:4 การผสมปูนควรผสมน้ำยากันซึมเข้าไปด้วยทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเท ก่อ ฉาบหรือขัดมัน การเทพื้นบ่อให้เผื่อผูกเหล็กเป็นฐานแผ่ไว้ 10 เซนติเมตรจากพื้นที่ขนาดบ่อจริง เพื่อก่ออิฐหรือเทแบบ ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้ขนาดที่ต้องการ



10 ผนังบ่ออาจใช้การก่ออิฐมอญตามรูปบ่อ แทนการใช้ไม้แบบ แต่จะเป็นการก่อ2ชั้น นอกใน และตรงกลางผูกเหล็กแล้วเทคอนกรีตหล่อฉาบนอกฉาบในขัดมันกันซึม บ่อปลาคาร์ปจะเป็นบ่อขัดมันเรียบทั่วทั้งบ่อไม่นิยมปูกระเบื้อง

บางทีถ้าพื้นดินเป็นดินเก่าอัดแน่นไม่มีการยุบตัวก็ใช้ดินเป็นแบบได้ คือด้านในก่ออิฐตามรูปบ่อ ด้านนอกแต่งดินให้เรียบ ผูกเหล็กผนังวางตรงกลางระหว่างดินกับอิฐ แล้วกรอกปูนหล่อผนังฉาบอิฐขัดมันกันซึม หลังจากบ่อและปูนแห้งให้หล่อน้ำทิ้งไว้ในบ่อประมาณ 1/3 ของบ่อ กันปูนล่อนแตก



ใส่น้ำแช่บ่อทิ้งไว้สัก 2อาทิตย์ ค่อยถ่ายน้ำออก เปลี่ยนน้ำใหม่ใส่ตัวกรองในขั้นตอนนี้ เพราะถ้าใส่วัสดุกรองตอนเสร็จใหม่แล้วแช่บ่อทิ้งไว้ ตะกอนปูนจะเข้าไปจับในตัวกรองโดยเฉพาะแผ่นใยขัดจะถูกปูนจับตัวเต็มไปหมด ถ้าบ่ออยู่กลางแจ้งโดนแสงแดดตลอดบ่อจะมีสีเขียวบ้างเนื่องจากการสังเคราะห์แสงของสิ่งมีชีวิตที่เจือปนอยู่ในน้ำ แต่น้ำจะไม่เน่าเสียเพราะมีการกรองที่ดีและไม่มีกลิ่น ต่อไปถ้าพื้นที่บ่อได้ร่มเงามากขึ้น น้ำจะค่อยๆใสแจ๋วเป็นตาตั๊กแตน ระยะเวลาในการกรองอย่ามองข้าม ระบบจะทำงานเมื่อคุณเดินเครื่องระบบ ควรติดตั้งเครื่องตั้งเวลาทำงานของปั๊มให้ปิดเปิดตามเวลาที่คุณต้องการ หากปล่อยให้หยุดนิ่งนานๆเปิดที ทุกอย่างจะถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่า

สุดท้ายการคำนวณจำนวนปลาที่จะนำมาเลี้ยงในบ่อ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับบ่อน้ำด้วย และต้องคำนวณว่าขนาดของบ่อสามารถรองรับและเลี้ยงปลาได้กี่ตัว การเลี้ยงปลาน้อยเกินไปยังดีกว่าการเลี้ยงปลามากเกินไป ปลาจะได้อยู่ได้อย่างสบายใจ ไม่แออัดยัดเยียดเป็นปลากระป๋อง หลักการคำนวณแบบคร่าวๆก็คือ ปลาที่มีขนาดลำตัวยาว 5เซนติเมตร ต่อพื้นที่ทุกๆ 1 ตารางเมตรของผิวน้ำ สำหรับบ่อที่เราสร้างเสร็จบ่อนี้เลี้ยงปลาได้ 6 ตัว

สำหรับที่ยืน ที่นั่งให้อาหารปลาชมปลา ก็แล้วแต่อัชฌาศัย จะเป็นพื้นไม้ ระเบียงไม้ ศาลา ก็ว่ากันไป

หวังว่าคงสมใจท่านทุกคนที่สนใจในการทำบ่อปลาแล้วนะ ไม่รู้ตัวว่าที่เขียนไปท่านจะเข้าใจได้มากน้อยเพียงใด อ่านแล้วก็แสดงความคิดเห็นมาบ้าง จะได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นต่อไป

จาก //www.suansavarose.com/index.php?mo=3&art=183478






แก้ปัญหาเรื่อง น้ำในบ่อปลาคาร์ฟเขียว หรือเสีย
เนื่องจากช่วงนี้กำลังเลี่ยงปลาคาร์ฟในบ่ออยู่ เนื่องจากบ่อเลี่้ยงปลา ดัดแปลงมาจากสระว่ายน้ำ จึงไม่ได้วางระบบอะไรเลย มีแต่ถ่ายน้ำเข้าและถ่ายน้ำออก และระบบน้ำพุเล็ก ๆ พอใส่น้ำได้ ซักอาทิตย์ น้ำในบ่อก็เขียวแล้วหล่ะ ตอนนี้ก็เลยหาวิธีการที่จะแก้ปัญหาน้ำเขียวอย่างไรดี ก็สอบถามร้านเลี่ยงปลา และหาข้อมูลทาง อินเตอร์เน็ต พอจะได้วิธีแก้ปัญหาสรุปได้ดังนี้ (แต่ไม่รับประกันว่าจะแก้ปัญหาได้ ยังไงก็ค่อย ๆ นำวิธีการไปทำตามดู)

1. ให้หาถังน้ำมาเจาะรู แล้วนำที่กรองน้ำแบบฟองน้ำ ร่วมกับลูกบอล (เรียกว่า Bio Ball) ใส่ในถังน้ำ แถ้วดูดน้ำใส่ถัง เพื่อเป็นการกรองน้ำ อันนี้วิธีการแบบ Basic แต่ผมลองดูแล้วแก้ปัญหาตะกอนหมักหมม ได้ระดับนึง แต่แก้ปัญหาน้ำเขียวยังไม่ได้


2. อันนี้ยังไม่ได้ทดลอง พอดีไปเจอในบทความกระทู้ net เค้าแนะนำมาว่าให้ ใช้ใบยูคาลิปตัสแก่ ๆ แห้ง ๆ มาทิ้งไว้ในบ่อ ตะไคร้จะไม่มี แต่น้ำจะออกสีน้ำตาลใส ๆ แทน (ปลาไม่ตาย) พอใบเริ่มน้ำก็ให้ช้อนทิ่ง


3. วิธีนี้ก็ไปเจอในเวปมา เค้าบอกว่า

ปัญหาน้ำเขียวในบ่อปลาคาร์พ

จากที่กล่าวอยู่ตอนก่อนกว่า เมื่อมีน้ำ มีอาหารพืช คือ ปุ่ยไนเตรทหรือแอมโมเนีย มีแสงแดดก็จะเกิดพืชน้ำ โดยธรรมชาติ ในบ่อน้ำธรรมชาติหรือบ่อปลาคาร์พ ก็มีสภาพเหมือนกัน คือ น้ำจะเขียว น้ำเขียวเกิดจากขบวนการของธรรมชาติ โดยเกิดสาหร่ายเซลเดียวสีเขียวแขวนลอยอยู่ในน้ำ ทำให้น้ำเขียว น้ำเขียวเป็นขบวนการของธรรมชาติ ที่จะทำสะอาดจนสิ่งที่ชีวิตอาศัยอยู่ได้ โดยการใช้พืชมาทำการใช้สารที่สิ่งมีชีวิต เช่น ปลาขับถ่ายออกมา เช่น แอมโมเนีย ยูเรีย เป็นต้น สำหรับบ่อปลาคาร์พ เมื่อท่านสร้างบ่อใหม่ๆบ่อปลาของท่านจะเกิดน้ำเขียวระยะหนึ่ง ประมาณ 30-180 วัน แล้วแต่คุณภาพของบ่อกรอง ถ้าบ่อกรองใหญ่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของบ่อเลี้ยงก็จะใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน ถ้าบ่อกรองเล็ก เช่น 30 เปอร์เซ็นต์หรือต่ำกว่าก็อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า 6 เดือน หรือมากกว่านี้ บ่อปลาคาร์พที่สร้างใหม่ น้ำจะเขียวไปสักระยะหนึ่ง เพราะจะเกิดสาหร่ายเซลเดียว มาใช้ปุ๋ยไนเตรทที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในระบบการกรอง ที่กล่าวมาข้างต้น ต่อมาที่ผนังบ่อเลี้ยงปลา พื้นบ่อเลี้ยงปลาจะเกิดตะไคร่น้ำ หรือสาหร่ายเซลขึ้นมา ตะไคร้น้ำหลายเซลเกิดขึ้นที่ผนังบ่อ และพื้นบ่อ จะไปแย่ปุ๋ยไนเตรทกับพวกสาหร่ายเซลเดียว ตัวการที่ทำให้น้ำเขียว เมื่อตะใคร่หลายเซลเพิ่มมากขึ้นๆ ก็จะทำให้สาหร่ายเซลเดียวตัวการที่ทำให้น้ำเขียวขาดอาหารจนหายไปในที่สุด น้ำในบ่อปลาของท่านก็จะใสสมความตั้งใจ


Create Date : 28 กันยายน 2553
Last Update : 3 ตุลาคม 2553 8:01:16 น. 5 comments
Counter : 10993 Pageviews.

 
ขอบคุณมากน่ะค่ะที่ให้ความรู้เรื่องบ่อปลาอยากทำอยู่เหมือนกันค่ะแล้วจะเสนอเข้าที่ประชุมเย็นนี้เลยเรา


โดย: sweetten01 IP: 125.26.71.211 วันที่: 28 กันยายน 2553 เวลา:10:57:42 น.  

 
โอ้วข้อมูลเยี่ยมอีกแล้วครับพี่...กำลังออกแบบจัดสวนน้ำอยู่เลยอ่านแล้วได้ข้อมูลและไอเดียดีๆอีกแล้วครับ ขอบคุณที่หาข้อมูลมาแบ่งปันกันอ่านนะครับ


โดย: Thandagra วันที่: 28 กันยายน 2553 เวลา:17:50:51 น.  

 
ดีใจมากที่นำมาแล้วมีประโยชน์กับเพื่อนๆ มีกำลังใจที่จะหามาเพิ่มให้อีกเรื่อยๆค่ะ ขอบคุณค่ะ


โดย: ปุ๋ยกะแมงปอ วันที่: 28 กันยายน 2553 เวลา:19:29:57 น.  

 
ถ้ามีปลาซ็อคเกอร์ในบ่อปลาคราฟ จะมีปัญหาเรื่องน้ำเขียวมั๊ยคะ


โดย: kanoon IP: 14.207.124.35 วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:15:26:46 น.  

 
yhsurfhgerkjdhgdygu


โดย: truy2hewer IP: 125.25.126.249 วันที่: 1 กันยายน 2555 เวลา:18:53:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ปุ๋ยกะแมงปอ
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ปุ๋ยกะแมงปอ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.