Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

 
มิถุนายน 2563
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
30 มิถุนายน 2563

หุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล


เมื่อบริษัทหนึ่งต้องการสร้างโรงไฟฟ้ามูลค่า 3000 ล้านบาท
หากต้องรอจนกระทั่งบริษัทมีเงินสดครบก็คงใช้เวลาหลายปี
แถมพอลงทุนไปเงินก็หมดบริษัท ไม่เหลือให้ใช้จ่ายหมุนเวียน
ดังนั้นก็เหมือนกับการสร้างบ้าน เรามีเงินดาวน์แล้วก็ผ่อนเอา

บริษัทจะใช้เงินสดเพียง 30% ของมูลค่าโครงการ จากนั้นก็ไปกู้แบงค์
ดอกเบี้ย 5% สักสามปี ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงเพราะโครกงารยังไม่เสร็จ
แต่เมื่อผ่านไปจนกระทั่งเข้าสู่ช่วงการจ่ายกระแสไฟฟ้า บริษัทก็จะไม่ยอม
เสียดอกเบี้ยแพงๆ อีกต่อไป ก็จะขอกู้จากคนทั่วไปโดยตรง

เราเรียกว่าการออกหุ้นกู้ ซึ่งหากบริษัทมี rating ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการเปิดเผยงบดำเนินการอย่างโปร่งใส
ก็จะทำให้บริษัทจัดอันดับเรทติ้งให้เครดิตได้ดี เริ่มจากที่ AAA+
ซึ่งเรียกว่าความเสี่ยงต่ำที่สุด ได้แก่พันธบัตรรัฐบาล

เพราะไม่เคยมีประเทศไหนอยู่ๆ ไปแล้วล่มสลาย รัฐบาลเมื่อขอกู้ไป
ก็มีความสามารถที่จะจัดเก็บภาษีมาคืนเงินกู้ได้อยู่ดี ความเสี่ยงจึงแทบไม่มี
จัดเรื่อยไปจนกระทั่งถึง D ซึ่งเป็นสถานะสุดท้ายที่บอกว่า default คือ
บริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้นผิดนัดชำระดอกเบี้ยไปแล้ว และอาจจะไม่มีเงินต้นมาคืน

ซึ่งแต่ละสถานะที่ได้รับจะสะท้อนถึงดอกเบี้ยที่บริษัทจะยินยอมจ่าย
ยิ่งอันดับเรทติ้งดี ก็จะให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนน้อย
ในการลงทุนระดับตัวบุคคลกำหนดให้ลงทุนได้ไม่เกินระดับ A-



ซึ่งจะกำหนดไว้ตั้งแต่นายหน้าผู้แทนการขายเลยว่า
คนทั่วไปไม่มีสิทธิ์ซื้อหุ้นกู้ที่มี rating ต่ำกว่านี้ ต่อให้คุณมีเงินก็ตาม
แต่หากเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่สินทรัพย์มากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป
และกองทุนอาจจะลงทุนถึง BBB- ซึ่งยังคงเป็น investment grade

ในช่วงนี้หุ้นกู้ที่โด่งดังคงไม่พ้นเรื่องหุ้นกู้การบินไทย
ที่คงทำให้สมาชิกสหกรณืหลายคนคงกระอัก เมื่อบริษัทขอเข้าสู่สถานะ
การปรับโครงสร้างองค์กรต่อศาลล้มละลายกลาง ทำให้ต้องหยุดจ่ายดอกเบี้ย
และที่สำคัญไปกว่านั้น สหกรณ์ที่ดีจะต้องหักเงินส่วนนี้เป็นหนี้สงสัยจะสูญไว้ก่อน
ทำให้ในปีนี้หลายๆ สหกรณ์คงได้รับดอกเบี้ยที่น้อยลง ทำไมถึงเกิดเรื่องเช่นนี้

จากสหกรณ์ที่ผมเป็นสมาชิกอยู่จ่ายดอกเบี้ยปีละมากกว่า 7%
ทั้งที่ดอกเบี้ยเงินกู้ก็ต่ำกว่านั้น แถมมีเงินคืนจากดอกเบี้ยเงินกู้อีก
ซ้ำร้ายไปกว่านั้นมีแต่คนฝากแต่คนกู้น้อยมาก ไหนจะค่าจ้างและโบนัสเจ้าหน้าที่อีก
แล้วพวกเค้าสร้างผลตอบแทนมากขนาดนั้นได้อย่างไร

ไม่ยากที่จะเข้าใจ หากเปิดงบดุลที่สหกรณ์แจกให้ในการประชุมทุกปี
ตัวเงินที่เป็นทุนเรือนหุ้นของสกหรณ์นั้นมีไม่มากเท่าไหร่
แต่ที่มากเป็น 4 เท่าของเงินก้อนนี้คือเงินที่สหกรณ์รับฝากเป็นออมทรัพย์
ดอกเบี้ยไล่ตี้งแต่ 2.25 ถึง 3% ซึ่งเป็นเงินสุทธิ เพราะดอกเบี้ยนี้ไม่เสียภาษี



สหกรณ์นำเงินก้อนนี้ไปหาผลตอบแทนโดยการซื้อหุ้นกู้ของบริษัทต่างๆ
ที่อาจจะให้ผลตอบแทน 4-5% จากนั้นก็เอาหุ้นกู้เหล่านี้ไปค้ำประกัน
เพื่อขอเงินกู้จากธนาคารมาซื้อเงินกู้ชุดใหม่ได้อีกรอบ นั่นคือวิธีการ
ที่ทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์ต่างๆ สามารถจ่ายเงินปันผลที่สูงมากได้

โดยข้อจำกัดเดียวก็คือ หุ้นกู้เหล่านั้นต้องมีอันดับเรทติ้งไม่ต่ำกว่า A-
ตามข้อบังคับของกรมส่งเสริมสหกรณ์ นั่นเองจึงเป็นที่มีของการเข้ามา
มีส่วนเกี่ยวข้องกับหุ้นกู้การบินไทย ซึ่งในขณะนั้นเป็นรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งได้รับการค้ำประกันเงินกู้ที่ออกโดยรัฐบาล

นั่นคือเป็นความเสี่ยงที่หลายคนไม่รู้ รู้แค่ถ้ามีเงินฝากเท่านี้
ปีหนึ่งจะได้ปันผลเท่าไหร่ ดังนั้นไม่มีการลงทุนอะไรที่ไม่มีความเสี่ยง
เพียงแต่คุณจะรู้หรือไม่รู้ก็เท่านั้น ผมก็อยากจะลองซื้อหุ้นกู้อยู่เหมือนกัน
ทั้งที่มันอาจจะได้ผลตอบแทนพอๆ กับการเอาเงินไปฝากสหกรณ์

เพราะดอกเบี้ย 3% นี่ต้องโดนหักภาษีอีกร้อยละ 15 เหลือจ่ายจริง 2.5%
แต่เพราะเป็นคนอยากรู้อยากเห็นนี่ล่ะ เหลืออย่างเดียวคือเงินที่ต้องมี
เพราะหุ้นกู้ขายที่ 100,000 บาทและทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
และใช่ว่ามีเงินอย่างเดียวจะซื้อได้

วันที่ออกขายวันแรกนั้นคุณต้องไปนั่งรอธนาคารเปิด เพื่อจะได้เข้าไปเป็นคนแรก
แจ้งจุดประสงค์พร้อมเงินสดหรือเงินในบัญชี ให้เจ้าหน้าที่สาขาแข่งกันคีย์ข้อมูล
เพื่อแย่งชิงโควตาที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะหุ้นกู้ของบริษัที่เป็นที่เชื่อถือ



ดังนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาด คุณจึงควรไปขอจองโควตากับธนาคารไว้ก่อน
ถ้าโชคดี แม้จะเป็นผู้ฝากรายย่อย เค้าอาจจะใจดีจดชื่อคุณไว้ใน list ก็ได้
แล้ววันจริงค่อยมาชำระเงิน ในวันที่ออกขายแบบไม่ต้องลุ้นจะดวงดีได้หรือเปล่า
บางบริษัทก็โหดกว่านั้นอย่างปูนซีเมนต์ไทยที่ขายให้เฉพาะผู่ที่ถือหุ้นกู้ฉบับเก่า

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างในช่วงวิกฤติโควิท 19 ก็คือ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ หรือ BSF
วงเงิน 400,000 ล้านบาท ซึ่งนั่นทำให้หลายคนในโลกออนไลน์เข้ามาวิจารณ์ข่าว
ว่าเป็นการเอาเงินของชาติมาอุ้มคนรวย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก็เป็นเรื่องของทุกคน

เรื่องของหุ้นกู้มีผลกระทบต่อคนส่าวนใหญ่ โดยบางครั้งเราก็อาจจะไม่รู้ตัว
เช่น กรณีของสมาชิกสหกรณ์โรงพยาบาลตำรวจที่แห่กันไปถอนเงินออก
นั่นก็เป็นผลมาจากเรื่องของหุ้นกู้การบินไทย ที่คนไม่เชื่อมั่นในระบบ
หรือข่าวการปิดกองทุน eastspring ของ TMB เนื่องจากมีคนขายกองทุนออก

ดังนั้นหากไม่มีการเข้ามาดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะทำให้
ระบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่ต้องอาศัยหุ้นกู้หล่อเลี้ยงนั้นพังลง
และอาจจะเกิดความตะหนกไปกว่านั้น ที่คนอาจจะถอนเงินจากธนาคาร
โดยความไม่รู้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในระบบเศรษฐกิจ

ซึ่งโชคดีที่จนถึงวันนี้ ยังไม่มีบริษัทใดต้องเข้ารับการช่วยเหลือจากกองทุนนี้
หากคุณเคยลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ที่เชื่อกันว่า มีความเสี่ยงต่ำ
วิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า หุ้นกู้ที่ดูปลอดภัยก็อาจจะไม่
เป็นหน้าที่ของนักลงทุนเอง ที่จะต้องศึกษาหาความรู้ และอยู่ไปกับมัน



คนไทยมีเงินแค่ไหนดูได้จากพันธบัตรรัฐบาลรุ่นพิเศษเราไม่ทิ้งกัน
ที่ให้ดอกเบี้ย 2.4% สำหรับอายุการถือ 5 ปี และ 3% สำหรับรุ่น 10 ปี
มูลค่ารวม 50,000 ล้านบาท ที่ขายหมดได้ภายในเวลาสัปดาห์กว่าๆ
ซึ่งความจริงแล้วอาจจะหมดเร็วกว่านั้น ถ้าไม่ได้กำหนดว่า

ในสัปดาห์แรก ซื้อได้เฉพาะคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
และจะเห็นได้ชัดกว่านั้น ในพันธบัตรรุ่นถัดมาที่รัฐเห็นว่า
การขายพันธบัตรก็สามารถใช้การขายออนไลน์ได้ ตัดปัญหาไปหลายๆ อย่าง
โดยในรุ่นเราไม่ทิ้งกัน รัฐบาลขายผ่าน application Bond direct

จนล่าสุดมาขายผ่าน application เป๋าตังค์ วงเงินพันธบัตร 200 ล้านบาท
ซึ่งขายหมดได้ในเวลาที่หลายคนคงคิดไม่ออก ว่าจะเป็นไปได้อย่างไร
บอกใบ้ได้ว่า ใช้เวลาเพียงในหลักของวินาทีเท่านั้นเอง

ตอนนี้ผมยังไม่มีตังค์ก็ได้แค่ลงทุนผ่านกองทุนรวม SCBSFF เท่านั้นเอง
ซึ่งใช้เวลาขายกลับมาเป็นเงินสดในเวลา T+1 อ้อ ลืมเล่าอีกอย่างว่า
แม้การซื้อหุ้นกู้หรือพันธบัตรจะเป็นการลงทุนในระยะยาว
แต่หากมีความจำเป็นเราสามารถนำไปขายที่ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ได้

แต่เป็นการขายแบบที่เรียกว่าตลาดรอง คือธนาคารเป็นนายหน้า
ที่จับคู่กันระหว่างผู้ซื้อและผุ้ขายให้มาเจอกันแล้วรับส่วนต่างของราคาไป
เช่นหุ้นกู้ 1000 บาทดอกเบี้ย 3% ระยะเวลาเหลือ 3 ปี ก็ควรมีราคา 1009 บาท
แต่ผู้ซื้อจะขอลดเหลือเท่าไหร่ ก็แล้วแต่ผู้ขายจะพอใจราคาที่เสนอมาหรือเปล่า



Create Date : 30 มิถุนายน 2563
Last Update : 30 มิถุนายน 2563 14:40:46 น. 2 comments
Counter : 809 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณภาวิดา คนบ้านป่า


 
ต่ะก่อนตอนเป็นนักลงทุนรู้น้อยกว่าที่เขียนมาให้อ่านนี้อีก
แต่ก็ผ่านมาแล้วค่ะ
มองย้อนกลับไป น่ากลัวเนาะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 30 มิถุนายน 2563 เวลา:16:26:46 น.  

 
ไม่เก่งเรื่องการเงิน แต่ชอบอ่านเพื่อเรียนรู้
แล้วจะจำได้นานแค่ไหนคงต้องขึ้นอยู่กับวัย
ที่ความจำเหลือน้อยมากแล้วค่ะ

ตอนนี้ลูกก็ซื้อหุ้นกู้แบบนี้ไว้ให้สองแห่ง
ได้ดอกเบี้ยไม่มากเท่าไรแต่ก็ยังดีกว่าฝากธนาคาร
ก็คงต้องเสี่ยงกันไปบ้าง

ขอบคุณที่เขียนเรื่องนี้นะคะ
น่าสนใจมากค่ะ



โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า วันที่: 1 กรกฎาคม 2563 เวลา:10:04:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]