Nick Dhapana's Blog
|
||||
เตรียมไฟล์ภาพ jpg เพื่อการพิมพ์ เบื้องต้น เนื่องจากการอัพรูปขึ้น Bloggang มันวุ่นวายในการจัดการ แถมยังจำกัดขนาดไฟล์รูปไว้เล็กจิ๋วเท่าจิ๋มมด ผมเลยขี้เกียจใส่รูป อ่านแบบเนื้อๆ ไปละกันนะ ถ้าอยากอ่านเวอร์ชั่นเต็มๆ พร้อมรูป ไปที่ //adayin.asia วันนี้ว่ากันด้วยเรื่องการเตรียมภาพเพื่องานพิมพ์ภาพละกัน อาจจะเป็นเรื่องที่บางคนนึกกันไม่ถึงว่ามันจะมีปัญหาตรงไหน แต่ปัญหาเรื่องการพิมพ์ภาพนี่ ทำเอาเซียนโพสภาพบนเว็บบอร์ดตายน้ำตื้นกันมาเยอะแล้ว เพราะเทคนิคการทำภาพเพื่อพิมพ์ มันต่างกันแทบจะคนละเรื่องเลย กับการทำภาพเพื่อโพสบนเว็บ อาจจะเคยเห็นว่าภาพที่ดูดีบนหน้าจอ กลับออกมาดูไม่ได้เรื่อง เมื่ออยู่บนกระดาษ เนื่องจากเรื่องมันยาว และเยอะมาก เล่ากันให้ฟังสั้นๆ ในขั้นตอนการเตรียมภาพเข้าโฟโต้ชอปก่อนละกัน ดับเบิ้ลคลิ๊ก เพื่อเปิด RAW ด้วย Adobe Camera RAW มองลงมาที่ด้านล่าง กลางจอ ก็จะเห็น ตัวอักษรสีน้ำเงินขีดเส้นใต้ เราจะจัดการตรงนี้ก่อน คลิ๊กโลด ถึงแม้ต้นฉบับไม่ใช่ RAW อาจจะเป็น TIFF หรือ JPG ก็ตาม เราก็จะไม่โยนไฟล์เข้า Photoshop โดยตรง จะใช้วิธีคลิ๊กขวาจาก Bridge แล้วเลือกเปิดด้วย Camera Raw เช่นเดียวกัน ใครใช้ CS เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้อาจจะทำไม่ได้ก็ข้ามตรงนี้ไป แต่ถ้าทำได้ ให้ทำแบบนี้เสมอ เพื่อรักษาไฟล์ต้นฉบับเอาไว้ โดยไม่ให้ถูกแตะต้อง เพราะการปรับแต่งใน ACR จะไม่ได้อยู่บนไฟล์ภาพ การปรับแต่งแสงสีจะถูกเซฟไว้ในไฟล์ XMP Side Car อีกไฟล์หนึ่งที่อยู่คู่กับไฟล์ต้นฉบับ ทำให้เราสามารถย้อนกลับมาปรับไปมาได้ ย้อนกลับไปแก้ไขที่จุดเริ่มต้นก่อนปรับได้ โดยที่ไม่ต้องไปยุ่งกับต้นฉบับ เป็นวิธีที่ง่ายกว่าการเซฟต้นฉบับไว้หลายๆ เวอร์ชั่น เช่น สาวสวย.jpg แล้วก็แต่งเสร็จก็ต้องเก็บไฟล์ต้นฉบับไว้ แล้วเซฟเป็นไฟล์ใหม่แทน สาวสวยขึ้น.jpg เพื่อรักษาต้นฉบับ พอเอามาแต่งอีกรอบกลัวไฟล์เสียหายก็ต้องเซฟไว้อีกเวอร์ชั่นหนึ่งเป็น สาวสวยกว่าเดิม.jpg พอแต่งไปหลายๆ รอบก็จะเป็น สาวสวยที่สุด.jpg สาวสวยที่สุดของที่สุด.jpg สาวเริ่มไม่สวยแล้ว.jpg ไม่รู้สาวคนไหน.jpg น่าจะคนแรกนั่นแหละ.jpg และมันจะทำให้ระบบคลังภาพวุ่นวายในที่สุดโดยการมีภาพเดียวกันหลายๆ เวอร์ชั่นเป็นเข่ง แล้วจะจำได้มั้ย ว่าอันไหนเป็นอันที่ปรับแต่งล่าสุดพร้อมใช้งาน ต่อให้ใส่ตัวเลขเวอร์ชั่นก็เหอะ แน่ใจเหรอ ว่าเลขนั้นเป็นเลขสุดท้าย ไม่มีภาพเดียวกัน เลขสุดท้ายกว่าเป็นกิ๊กกัน ซ่อนอยู่ในโฟลเดอร์อื่น ซึ่งวิธีแบบที่มี xmp คู่กันไปกับ jpg จะช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ไปได้ เพราะจะมีแค่คู่เดียวตลอดไป ไม่แอบไปหลายใจที่อื่น และยังมีข้อดีอีกหลายข้อที่จะว่าต่อไป ไม่ว่าต้นฉบับจะมาอย่างไร จะเป็น RAW, jpg, tiff เราจะตั้งค่าแบบนี้เสมอ Adobe RGB, 16 Bits, 300 dpi โดยหลักการก็คือ มีต้นทุนข้อมูลเยอะไว้ก่อน จะถูกตัดทิ้งไปบ้างตอนปรับแต่ง ก็ดีกว่ามีทุนน้อย ถึงต้นทุนจริงจะเป็นแค่ sRGB, 8 bits แต่การเปิดพื้นที่ทำงานให้กว้างขึ้น ก็เท่ากับว่าข้อมูลที่จะเสียหายไป ตอนปรับแต่งก็ลดน้อยลงไปกว่าการใช้ต้นทุนข้อมูลจริงๆ มาปรับแต่ง อย่าลืมติ๊กตรง Smart Objects ด้วย จะดีตรงที่ ถ้าในระหว่างกำลังยำรูปอยู่ แล้วรู้สึกว่า ทำอะไรมาขาดๆ เกินๆ ไปสักหน่อย น่าจะปรับอย่างโน้นอย่างนี้ใน ACR ก่อนเอาเข้าโฟโต้ชอปนะ เราจะได้ย้อนมาปรับที่ ACR อีกรอบนึงง่ายๆ ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ แล้วกลับไปยำในโฟโต้ชอปต่อได้ทันที โดยไม่ต้องเริ่มจากขั้นแรกใหม่ ส่วนขนาดภาพ ก็ตามความต้องการใช้ และไม่ต้อง sharpen เพราะยังไงเดี๋ยวเราก็ไปทำอีกรอบในโฟโต้ชอปอยู่ดี เรียบร้อยแล้วก็กด OK จากนั้นจะปรับอะไรใน ACR ก็ทำได้ตามสะดวก ตามใจชอบ ไม่สอนอ้ะ ไปหัดใช้เอาเองละกัน เดี๋ยวนี้ ACR มันทำอะไรได้เยอะมั่กๆ ถ้าจะยำใหญ่ใส่สารพัดในโฟโต้ชอป ก็อย่าเพิ่งเร่งวุ้นเร่งสีตอนนี้ เราค่อยเอาไว้ไปว่ากันทีหลัง พยายามปรับเรียก Detail ที่หลุดๆ ไป ให้กลับขึ้นมาก็พอ ให้คอนทราสไม่สูง สีไม่จัดมาก ชาร์พเพ่นไม่ต้อง ภาพยังไม่สวยโฟโต้ชอปแก้ได้ แต่ถ้าภาพไม่มีดีเทลเหลือ โฟโต้ชอปช่วยไม่ได้ แต่ถ้าคิดว่าภาพนี้ไม่จำเป็นต้องทำอะไรหนักๆ ในโฟโต้ชอป อยากจะแค่ปรับแสงสีคอนทราสท์รวมๆ ก็จัดการให้สวยปิ๊งตรงนี้ไปเลยก็ได้ ไม่ต้องไปทำให้โฟโต้ชอป หรือจะเซฟ เป็นไฟล์ใหม่โดยไม่เอาเข้าโฟโต้ชอปก็ได้ กรณี jpg หรือ tiff ข้อมูลการปรับแต่งในไฟล์ XMP จะถูกเอาไปบวกกับพิกเซลของไฟล์ต้นฉบับ แล้วเซฟออกมาเป็น jpg/tiff ไฟล์ใหม่ เอาไปใช้งานต่อไปได้ หรือฟิตจัดอยากจะทำเป็น DNG, PSD ก็สามารถทำได้ ส่วน RAW ก็จะถูก Convert ไปตามปกติ ว่าจะให้ Output เป็นอะไร หรือจะยังไม่ได้ใช้อะไรตอนนี้ แค่กด Done ก็จะเซฟการปรับแต่งไว้ใน xmp ที่คู่กับไฟล์ต้นฉบับเฉยๆ ไม่มีอะไรพิสดารตรงนี้ แต่หากจะเข้า PS เมื่อปรับเรียบร้อยแล้วก็กด Open Object รูปน้องเซร่าก็จะไปเปิดในโฟโต้ชอป พอเปิดเข้าโฟโต้ชอป ดูที่ Layer จะเห็นสัญลักษณ์ Smart Object Thumbnail อยู่ ถ้าคลิ๊กตรงนี้ เราก็จะย้อนกลับไปที่ ACR เพื่อปรับแก้แสงสีได้ทุกเมื่อที่ต้องการ แต่อันดับแรกก่อนทำอะไรอื่น กด Ctrl + J ก่อนเพื่อก็อปปี้เลเยอร์นี้ไว้ เป็นตัวประกัน เผื่อแต่งแล้วเน่า อย่างน้อยก็ยังเหลือต้นทุนเลเยอร์นี้เอาไว้ทำใหม่ได้ มือใหม่อย่าลืม invisible เลเยอร์นี้ไว้ด้วย เพราะบางทีแต่งรูปเพลิน แล้วเราก็ไม่ได้ระวัง เผลอมาทำงานบนเลเยอร์นี้โดยไม่รู้ตัว และหลักการในการแต่งรูปคือ จะไม่แต่งลงบนพิกเซลของรูป การปรับต่างๆ จะอยู่บน Adjustment Layer เสมอ ร่วมกับการใช้ Mask เพื่อที่จะย้อนกลับมาปรับแก้ได้อีก และ opacity เพื่อควบคุมความหนักเบาในการปรับ ถ้าดูใน Panel Add Adjustment ในเทคนิคของผม (ของคนอื่นอาจจะต่างไป) Brightness/Contrast กับ Level จะไม่ได้ใช้ เพราะปรับด้วย Curve ร่วมกับการใช้ Mask จะได้งานละเอียดดั่งใจกว่า ปกติจะเริ่มจากการปรับแสงทั้งภาพก่อน และซ้อน Curve ขึ้นไปหลายเลเยอร์ เพื่อปรับแสงแต่ละจุดในภาพแยกกัน บางเคิร์ฟ ก็จะปรับเฉพาะบางแชนแนล ในบริเวณนั้น กับ Saturate และ Channel Mixer ก็จะทำแบบเดียวกัน กับการปรับแสง คือปรับรวมก่อน แล้วตามด้วยแยกปรับทีละจุดในภาพ ทีละแชนแนลสี อันอื่นผมใช้น้อยแฮะ หนักมืออยู่ไม่กี่อย่าง ปรับแล้วก็ซ้อนมันขึ้นไปเป็นขนมชั้นนี่แหละ ถ้าปรับเล็กๆ น้อยๆ ก็จะประมาณ สิบกว่าชั้น ถ้าต้นฉบับไม่ดี ต้องแก้ ต้องปรับเยอะ อาจจะหลายสิบ การแยกปรับยิบย่อย จะดีกว่าการปรับทั้งภาพ ที่มักจะมีอะไรหลุดๆ มานิดๆ หน่อยๆ ให้รำคาญตา พอท้ายสุดถ้าทำถูกต้องดังใจ ผม ก็จะได้ภาพแต่งเสร็จแล้ว ที่ดูเหมือนภาพที่ไม่ได้ถูกแต่งใน PS เออ... แต่งแล้วเหมือนไม่แต่ง แล้วจะแต่งไปหาอะไรวะ ตั้งหลายสิบชั้น (ตอนนี้ประชาชนที่มารอชมต่างพากันโห่ร้อง ขว้างรองเท้าขึ้นมาบนเวที) ข้อควรระวังสำหรับการแต่งภาพ เพื่อเอาไปพิมพ์ภาพ คือต้องเบามือหน่อย จะลงมือหนักเหมือนทำภาพโพสในเว็บไม่ได้ เพราะกระดาษพิมพ์ภาพมันมีภูมิต้านทานการกระทำชำเราน้อยกว่าจอภาพ ถ้าไม่แน่ใจว่าทำแค่ไหนดี ให้ทำน้อยกว่าสิ่งที่คิดว่าน้อยแล้วจะ ปลอดภัยกว่า และที่สำคัญ ไดนามิคเรนจ์ของกระดาษนั้นน้อยมาก อาจจะแค่ 5 สต็อป ในกระดาษด้าน หรืออย่างมากก็ 7 สต็อปในกระดาษมัน ในขณะที่จอภาพมีไดนามิคเรนจ์กว้างกว่านั้นเยอะ รายละเอียดส่วนมืด ส่วนสว่างของภาพที่เราเห็นสวยงามในจอ อาจจจะไม่อยู่ในกระดาษก็ได้ กลายเป็นพื้นที่ขาวโล่งๆ หรือดำสนิท เวลาแต่งภาพ จึงต้องจำกัดขอบเขตของฮิสโตแกรม มาร์คไฮไลท์ ชาโดว์เอาไว้ด้วย ว่ากว้างแค่ไหนที่จะลงไปในกระดาษได้ แค่ไหนที่จะ Clipped หรือ Blow Out แถมคอนทราสท์ในกระดาษ ก็ยังต่ำกว่าบนจอภาพนิดนึง และมักจะได้รูปมืดกว่าบนจอหน่อยนึงด้วย รายละเอียดส่วนที่จะหายไปก่อนคือ Shadow ในขณะที่บนจอ Highlight มักจะโบลว์เอ้าท์ไปก่อน เวลาแต่งภาพ จำเป็นที่จะต้องคิดเผื่อเรื่องนี้เอาไว้ เรื่องกระดาษนี่แหละ ที่ทำเอาช่างภาพเทพเก่งเรื่องโพสรูปบนเว็บ ตายคากระดาษในนิทรรศการมาแล้วทั้งเว็บ (ไม่ต้องบอกมั้งว่าเว็บไหน ) เวลาทำรูปเพื่อพิมพ์ไปแล้ว จะเห็นได้ว่ารูปที่พิมพ์ออกมาได้สวย จะเป็นรูปที่คอนทราสท์ดูประหลาดๆ กว่าปกติ แปร่งๆ ไม่สวยบนจอภาพ สีก็จะเพี้ยนๆ หน่อยๆ เพราะยังไงโอกาสเซ็ตให้ภาพบนจอ เหมือนเป๊ะกับบนกระดาษมันแทบเป็นไปไม่ได้เลยในทางปฏิบัติ ก็เลยต้องใช้วิธีปรับภาพดักทางความเพี้ยนตรงนี้ อย่างในภาพนี้ สองเลเยอร์บนสุด จะเป็นอันที่ผมใส่มาเป็นพิเศษ เพื่อรับมือกับเครื่องพิมพ์ภาพ เครื่องทางซ้ายในห้องพิมพ์ รอบประจำวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมาโดยเฉพาะ (แต่คาดว่าถึงเวลาพิมพ์จริงวันอังคาร จะต้องเปลี่ยนอีกหน่อยอยู่ดี) ทำให้ภาพบนจอดูสีสัน กับคอนทราสท์ประหลาดๆ แบบนี้แหละ แต่พอพิมพ์แล้วจะออกมาใกล้เคียงกับภาพจริงที่อยากได้ (ก็ภาพข้างบนนี่แหละ) มากที่สุด นี่ขนาดคาลิเบรททั้งจอ ทั้งเครื่องพิมพ์ และกระดาษเรียบร้อยเป็นประจำแล้วนะเนี่ย แต่พออุณหภูมิ ความชื้นในห้องเปลี่ยน ล็อตกระดาษเปลี่ยน เติมหมึกล็อตใหม่ปนล็อตเก่า หรือปริ้นเตอร์เย็นๆ เปลี่ยนเป็นอุ่นขึ้นเวลาพิมพ์เยอะๆ และอีกสารพัดปัจจัย (ที่บางทีก็ดูไสยศาสตร์ยังไงพิกล) สีภาพก็จะแปร่งไป จะคาลิเบรทกันทุกเช้า บ่ายไม่ไหว เลยต้องอาศัยพิมพ์ Test Strip ออกมาก่อน แล้วค่อยปรับในโฟโต้ชอปดักทางไว้ ก่อนพิมพ์รูปจริงจะง่ายกว่า อย่าลืมเซฟไฟล์ .psd ที่แต่งเป็นชั้นๆ แล้วเอาไว้ก่อนสักเดือน จนกว่าจะได้ภาพ และแน่ใจว่าไม่มีอะไรต้องใช้แล้วค่อยลบ อย่ารีบลบทันทีที่ได้ jpg เพราะบางทีมันก็มีอะไรที่ต้องกลับมาแก้ไข จะต้องกลับไปทำใหม่ตั้งแต่ต้น มันไม่สนุกหรอก และถ้าลบแล้ว ก็มักจะต้องมีอะไรให้แก้ทุกที แต่ถ้าเก็บไว้ มักจะไม่มีอะไรต้องกลับมาแก้ ...ชีวิตมันก็มักจะเป็นซะอย่างนั้น เสร็จแล้ว จากนั้นก็ Layer ---> Flatten Image เปลี่ยนกลับเป็น 8 bits ที่ Image ---> Mode (บางคนอาจจะต้องเปลี่ยนกลับมาก่อนหน้านี้แล้ว เพราะ16 bits มันใช้PS บางฟังก์ชั่นไม่ได้) บางคนอาจจะนิยมแต่งภาพด้วย Lab Colour แทน RGB ก็เปลี่ยนไปมาตรงนี้เหมือนกัน (และอาจจะเจอปัญหาว่า Lab Colour แต่งบน smart object ไม่ได้ไปเรียบร้อยแล้ว) จากนั้นก็ Save As เป็น JPG คุณภาพสูงสุด 12 มั้ง ท้ายสุด หากเอาไปส่งอัดรูปที่ร้าน หรือพริ้นเตอร์ไม่ได้ตั้งเป็น Adobe RGB อย่าลืมแปลง Colour Profile ก่อนนะ Edit ---> Assign Profile เลือก sRGB และฝัง ICC Profile ลงไปด้วย ถ้าเครื่องพิมพ์ใช้ไม่ได้ก็ไม่เสียหายอะไร ถ้าใช้ได้ สีจะแม่นกว่าปล่อยไปตามยถากรรม เรื่องมันก็สั้นๆ แค่นี้แหละ เล่าซะยาวเชียว รบกวนคุณน้า ช่วยดูรูปที่บล็อกโปแป้งแล้วช่วยบอกหน่อยว่าจะทำยังไงให้มันดีขึ้นอ่ะค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ โดย: popang (popang
![]() |
อะธีลาส
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Photographer, photo educator, writer and more....... อนุญาตให้ ใช้ ดัดแปลง แก้ไข ตัดต่อ ทำสำเนา เผยแพร่ อ้างอิง จำหน่าย จ่ายแจก ภาพ และบทความในบล็อกนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด เพื่อสาธารณะประโยชน์ เพื่อการศึกษา เพื่อกิจส่วนตัว และเพื่อการค้าได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตามสัญญาอนุญาตใช้งาน Creative Commons: Attribution. Website http://mister-gray.bloggang.com https://twitter.com/nickdhapana http://500px.com/NickDhapana https://plus.google.com/+NickDhapana http://nickdhapana.tumblr.com http://instagram.com/nickdhapana https://www.facebook.com/dhapana/about Skype & Email cmosmyp@gmail.com Line nickdhapana My Project's Page Public Telephone https://www.facebook.com/PublicTelephoneProject They didn't say that. https://www.facebook.com/pages/They-didnt-say-that/116827521834600 Exposure to the RIGHT https://www.facebook.com/pages/Exposure2the_RIGHT/538556252881951 Thailand Perspective Project https://www.facebook.com/ThailandPerspective Dead on Arrival https://www.facebook.com/pages/Dead-on-Arrival/666461363385961 Group Blog All Blog
Friends Blog |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
มีเบื้องต้นแล้วจะมีขั้นสูงไหมคะ
มีก็ดีใจ ไม่มีก็ไม่เป็นไรค่ะ