สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

โรคปอดบวม

loaocat


โรคปอดบวมเป็นโรคที่มีการติดเชื้อในปอด ทำให้ส่วนย่อยที่สุดของปอดที่เรียกว่าถุงลม ซึ่งเป็นส่วนที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้น มีหนองมาบรรจุอยู่ การทำงานของปอดจึงเสียไป สาเหตุ


โรคปอดบวมเกิดจากการติดเชื้อได้หลายชนิด ได้แก่


  1. เชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยได้แก่ เชื้อ Pneumococcus อื่นๆ เช่น เชื้อ Klebsiella เป็นต้น
  2. เชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ เชื้อไวรัสซาร์ส (SARS virus) เชื้อหัด เป็นต้น
  3. เชื้อในกลุ่ม Mycoplasma
  4. เชื้ออื่นๆ เช่น เชื้อ Pneumocystis jelovaci ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบในผู้ป่วยเอดส์ หรือเชื้อรา เป็นต้น


การเกิดโรค กลุ่มเสี่ยง และการติดต่อ


      การเกิดโรคปอดบวมมีความแตกต่างกันไปตามเชื้อก่อโรค โดยปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ เกิดจากการสำลักเอาเชื้อโรคแบคทีเรียที่อยู่ในปากหรือช่องคอของผู้ป่วยเองลงไปในปอด ดังนั้นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อด้วยวิธีนี้ได้ง่ายก็คือคนที่ฟันผุ หรือเหงือกอักเสบ รวมถึงคนที่มีความรู้สึกตัวไม่ดี คนที่มีโอกาสสำลักง่าย นอกจากนี้ถ้าผู้ป่วยได้รับเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในกระแสเลือด ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบได้เช่นกัน แต่พบน้อยกว่า


      ส่วนโรคปอดบวมจากเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ โดยอาจจะติดต่อมาจากคนใกล้ชิด เนื่องจากเชื้อไวรัสจะไม่พบในร่างกายตามปกติ แต่ผู้ป่วยจะได้รับเชื้อโดยการสูดหายใจเอาเชื้อที่ล่องลอยปะปนอยู่ในอากาศเข้าไป เพราะคนที่เป็นไข้หวัดอยู่จะมีเชื้ออยู่ในเสมหะ เมื่อไอ จาม หรือหายใจรดกัน เชื้อไวรัสในเสมหะก็สามารถแพร่กระจายไปอยู่ในอากาศทำให้ติดต่อไปยังผู้อื่นได้ง่าย ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดจึงถือเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน


สำหรับเชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อรา เชื้อ Pneumocystis jelovaci นั้น พบเฉพาะในผู้ป่วยที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติเท่านั้น


      อย่างไรก็ดี การที่คนๆ หนึ่งจะเป็นโรคปอดบวมหรือไม่ และมีความรุนแรงเพียงใดนั้น จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ถ้าเป็นเด็กและผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกาย ชนิดและปริมาณเชื้อโรคที่เข้าสู่ปอด เพราะถ้าร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันดี แม้จะมีเชื้อโรคเข้าสู่ปอด ก็อาจจะไม่เป็นอะไร แต่ในคนที่มีร่างกายอ่อนแอ มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง สูบบุหรี่ โรคภูมิแพ้ หอบหืด ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายผิดปกติ เช่น เบาหวาน ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ดื่มเหล้า เป็นต้น ก็จะมีโอกาสติดเชื้อโรคชนิดที่รุนแรงกว่า ซึ่งหากเชื้อมีปริมาณมากและรุนแรงเกินกว่าที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะกำจัดเชื้อโรคได้ทัน ก็จะเกิดเป็นโรคปอดบวมขึ้น โดยเด็ก ผู้สูงอายุ และคนที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญของโรคปอดบวม


อาการชวนสังเกต


      อาการของผู้ป่วยโรคปอดบวมแต่ละรายอาจจะแตกต่างกันได้อย่างมาก ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ และพื้นฐานสุขภาพของผู้ป่วย เช่นเดียวกับการติดเชื้ออื่นๆ ทั่วไป แต่โดยมากผู้ป่วยมักมีไข้สูง บางรายมีอาการหนาวสั่นด้วยในช่วงแรกๆ ร่วมกับอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น มีอาการไอมาก โดยมักเป็นการไอแบบมีเสมหะ และผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของไข้หวัดนำมาก่อนได้


      นอกจากนี้ผู้ป่วยมักมีอาการหอบเหนื่อย หายใจเร็ว และตรวจพบระดับออกซิเจนในเลือดต่ำอยู่ได้บ่อยๆ เนื่องจากปอดมีหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีออกซิเจนพอเพียง แต่โรคปอดบวม ทำให้เนื้อปอดของผู้ป่วยอักเสบ เกิดหนอง และเซลล์ที่อักเสบขังอยู่ในถุงลม การทำงานของปอดจึงเสียไป อาการหอบเหนื่อยจึงถือว่าเป็นข้อสังเกตสำคัญ เพราะถ้ามีโรคหรือความผิดปกติเฉพาะทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไข้หวัด คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ผู้ป่วยมักไม่มีอาการหอบเหนื่อย บางรายอาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกแปลบๆ เวลาหายใจเข้า ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้ว่ามีเยื่อหุ้มปอดอักเสบร่วมด้วย


      สำหรับโรคปอดบวมจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ในระยะแรกจะมีอาการแบบไข้หวัดปกติ แต่มีอาการรุนแรงกว่า เช่น มีไข้สูง ปวดเมื่อยตัวมาก ไอมาก และเริ่มมีอาการหอบตามมา


      ส่วนในผู้ป่วยเด็กมักมีไข้สูง กินไม่ได้ ท้องอืด กระสับกระส่าย ปวดท้อง ร้องกวนผิดปกติ หรือาจจะชักได้ ที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้สูงอายุ เพราะอาจมีอาการทางระบบหายใจไม่ชัดเจน ไข้ก็ไม่ค่อยขึ้น แต่อาจมาด้วยอาการอื่น เช่น ซึมลง กินไม่ได้ ท้องอืด จึงต้องระวังเป็นพิเศษ


อาการเร่งด่วนควรพบแพทย์


      ถ้าพบลักษณะต่อไปนี้ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที


      1. อัตราการหายใจเร็ว ซึ่งเป็นอาการที่มีความสำคัญและตรวจพบได้ไม่ยาก เช่น ในเด็กเล็กที่หายใจหอบ หายใจลำบาก ถ้าเป็นมากอาจพบว่ามีจมูกบานเวลาหายใจ หรือบริเวณชายโครงหน้าอกบุ๋ม ส่วนในผู้ใหญ่จะมีอาการเหนื่อยมากขึ้น ซึ่งสามารถตรวจสอบด้วยการนับอัตราการหายใจได้ โดยอัตราการหายใจของผู้ใหญ่ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 16-20 ครั้งต่อนาที ถ้าเร็วกว่านี้ถือว่าหอบ ซึ่งถ้าเป็นมากจะพูดไม่เป็นประโยค พูดได้เป็นคำๆ เท่านั้น หรือนอนราบไม่ได้ เวลาหายใจอาจมีเสียงดังครืดคราดจากเสมหะที่คั่งค้างอยู่ ขับออกไม่ทัน สำหรับในเด็กจะมีเกณฑ์อัตราการหายใจปกติที่ต่างออกไปคือ ถ้าอายุ 0-2 เดือน หายใจเกินนาทีละ 60 ครั้ง อายุ 2 เดือนถึง 1 ขวบ หายใจเกินนาทีละ 50 ครั้ง และอายุ 1-5 ขวบ หายใจเกินนาทีละ 40 ครั้งจะถือว่าหอบ โดยในเด็กเล็กอาจหายใจมีเสียงดังได้ง่ายกว่า เพราะหลอดลมไม่แข็งแรง ตีบแคบง่ายกว่า


      2. การขาดออกซิเจน สามารถสังเกตได้จากเล็บ ริมฝีปาก ลิ้น ซึ่งตามปกติควรจะมีสีชมพูแดง ก็จะเปลี่ยนเป็นสีออกม่วง เขียว


      3. อาการอื่นๆ เช่น ซึมลง กินไม่ได้ มีสัญญาณบ่งถึงการขาดน้ำ เช่น ปากแห้งมาก ปัสสาวะเข้มและออกน้อยลง หน้ามืดวิงเวียน มือเท้าเย็น เป็นต้น


      4. ผู้ป่วยมีอาการเหมือนไข้หวัดแต่ไข้ไม่ลงภายใน 4 วัน ก็ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน



การวินิจฉัยโรคปอดบวม


      สามารถทำได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด ส่วนการตรวจเพิ่มเติมที่สำคัญ คือการเอกซเรย์ปอด เพราะผู้ป่วยโรคปอดบวมแทบทุกรายจะพบความผิดปกติจากภาพเอกซเรย์ปอด นอกจากนั้นก็จะเป็นการตรวจเพื่อหาเชื้อที่เป็นต้นเหตุ เช่น การตรวจเสมหะ การเพาะเชื้อจากเสมหะ และจากเลือด เป็นต้น


วิธีการรักษา


      วิธีการรักษาจะอยู่กับความรุนแรงของโรค ดังนี้


      - ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่มากแพทย์อาจรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยการให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมกลับไปรับประทานที่บ้าน พร้อมกับแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวอื่นๆ เช่น การดื่มน้ำมากๆ เพราะในรายที่มีไข้สูง ผู้ป่วยจะเสียเหงื่อมาก และมักรับประทานอาหารได้น้อย มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งหากขาดน้ำจะทำให้เสมหะข้นเหนียวขึ้น จึงควรเช็ดตัวเพื่อให้ไข้ลด ร่วมกับการให้ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ และควรพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงควรสังเกตอาการต่อ เพราะถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 3 วัน ไข้ไม่ลด หรือกลับแย่ลง เช่น มีอาการหอบ ควรกลับไปพบแพทย์อีกครั้ง


      - สำหรับรายที่มีอาการรุนแรงแพทย์ก็จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล เช่น หอบ หายใจมากกว่า 30 ครั้งต่อนาที มีภาวะการขาดออกซิเจน ขาดน้ำ มีปอดบวมหลายตำแหน่ง หรือมีแนวโน้มว่าจะมีอาการรุนแรงขึ้น หรือเป็นผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ที่ไม่มีคนดูแลอยู่ที่บ้าน บ้านไกลเดินทางไม่สะดวก หรือรายที่รักษาแบบผู้ป่วยนอกแล้วไม่ดีขึ้น


โรคแทรกซ้อน


      โรคปอดบวมอาจเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ ตามมาได้ เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบติดเชื้อ หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด ปอดแฟบ ฝีในปอด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบเฉียบพลัน โลหิตเป็นพิษ ความดันโลหิตต่ำหรือภาวะช็อก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วป้องกันอย่างไรไม่เป็นปอดบวม


      1.ลดความเสี่ยงไม่ให้เป็นกลุ่มเสี่ยงซะเอง ด้วยการ
      - ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
      - ลดความเสี่ยงต่อการสำลัก เช่น ไม่ดื่มเหล้า
      - หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือคลุกคลี และไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
      - ถ้าเป็นไข้หวัด มีน้ำมูก ไอจาม ควรใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนแออัด
      - ล้างมือให้สะอาดภายหลังสัมผัสสิ่งของหรือผู้ป่วย
      - ดูแลสุขภาพร่างกายโดยรวมให้แข็งแรงอยู่เสมอ
      - กินอาหารที่มีประโยชน์
      - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
      - รักษาร่างกายให้อบอุ่น
      - พักผ่อนให้เพียงพอ
      - ไม่เครียด ไม่หมกมุ่นกับเรื่องต่างๆ มากเกินไป
      - ไม่แก้ปัญหาโดยพึ่งพายาเสพติดรวมทั้งบุหรี่ เหล้า
      - ควรรับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่องในรายที่มีโรคประจำตัว


      2.การฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ รวมถึงปอดบวมจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งโดยทั่วไปแนะนำให้ฉีดในคนที่อายุมากกว่า 65 ปี หรือในรายที่เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต สำหรับในเด็กก็ควรต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ เช่น วัคซีนสำหรับโรคหัด ไอกรน


 


 









กรอบสวยๆจากคุณ lozocat
ข้อมูลจาก
//www.healthtoday.net/thailand/disease/diisease_127.html


loaocatloaocat




 

Create Date : 29 ตุลาคม 2554
8 comments
Last Update : 29 ตุลาคม 2554 8:15:47 น.
Counter : 1101 Pageviews.

 

แวะมาเยี่ยมเยียนและอ่านความรู้ดีๆ ค่ะ

 

โดย: วิสกี้โซดา 29 ตุลาคม 2554 8:51:05 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณกบ มีเรื่องดีดีมาสาระมาบอกไม่เคยขาดเลยน่ะค่ะ

 

โดย: ภูผา กะ วาริน 29 ตุลาคม 2554 9:26:16 น.  

 

อ้าว...น้ำท่มหรอค่ะ
เป็นกำลังใจให้น่ะค่ะ
แล้วมันก็จะผ่านไป สู้ สู้

 

โดย: ภูผา กะ วาริน 29 ตุลาคม 2554 9:59:31 น.  

 

ใช่ครับคุณกบ

ปีนี้นนทบุรีโดนน้ำท่วมหนักจริงๆครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 29 ตุลาคม 2554 10:35:06 น.  

 

ขอบคุณครับที่นำมาฝาก และให้กำลังใจแก่ผู้ประสบอุทกภัยทุกท่านครับ
สนใจเรื่องดวงชะตาอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้

 

โดย: ไกรศรี (ไกรศรี ) 29 ตุลาคม 2554 11:55:35 น.  

 

สวัสดีครับน้องกบ

มาให้กำลังใจครับ กับทุกคนที่ถูกภาวะน้ำท่วมคุกคามบ้านเรือน ไงก็ต้องสู้ๆนะครับ ไม่นานเดี๋ยวน้ำก็ไปเองละ

 

โดย: ปลายแป้นพิมพ์ 29 ตุลาคม 2554 14:52:24 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
----------------------------------
แวะมาทักทายก่อนนอน ด้วยความคิดถึงหวังว่าคุณกบ สบายดีนะคะ

 

โดย: เกศสุริยง 29 ตุลาคม 2554 23:30:31 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ






 

โดย: กะว่าก๋า 30 ตุลาคม 2554 6:05:09 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
29 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.