สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคออทิสซึม

ออทิสซึมเป็นภาวะที่เกิดจากสมองมีพัฒนาการที่ผิดแปลกออกไปจากเด็กทั่วไป โดยเป็นภาวะที่ครอบคลุมพัฒนาการหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะ (1) ด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา (2) การเข้าสังคมและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น (3) พฤติกรรมและหรือความสนใจ โดยเด็กแต่ละคนจะมีลักษณะและอาการของภาวะออทิสซึมมากน้อยแตกต่างกันไป และอาจเปลี่ยนไปได้เมื่อเด็กโตขึ้น หรือเมื่อสมองมีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลง

อุบัติการณ์

ประเทศสหรัฐอเมริกามีการคาดการณ์ว่า ในเด็กทุกๆ 150 คน จะมีเด็ก 1 คนที่แสดงอาการในเครือข่ายของโรคออทิสซึม โดยจะพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 4-5 เท่า สำหรับในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขคาดว่า มีบุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะออทิสซึมแล้วประมาณ 180,000 ราย หรือประมาณ 1 รายใน เด็ก 1,000 คน แต่อัตราความถี่นี้น่าจะต่ำกว่าตัวเลขจริง เนื่องจากความเข้าใจของของภาวะนี้ในประเทศไทยยังมีจำกัดมาก

สาเหตุ

สาเหตุของโรคออทิสซึมนี้ยังไม่ชัดเจน และมีหลายทฤษฎีที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้เสนอออกมา ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติในยีน ผลกระทบจากสารเคมีในสภาพแวดล้อม ปฏิกิริยาตอบรับกลุ่มวัคซีน MMR ความผิดปกติในลำไส้ ฯลฯ แต่สาเหตุที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ นักวิจัยพบว่า สมองของเด็กที่เป็นออทิสซึมนั้นมีการพัฒนาที่ไม่ปกติ รวมไปถึงขนาดของสมองบางส่วน การเชื่อมโยงกันของเซลล์สมอง และอัตราการเจริญเติบโตของขนาดสมองโดยรอบดัวย ขณะนี้ห้องวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นนำทั่วโลกจึงกำลังพยายามค้นหาบ่อเกิดของออทิสซึมอยู่ ทำให้มีความหวังว่า อีกไม่นานนักวิทยาศาสตร์คงจะค้นพบกลุ่มสาเหตุที่แท้จริงของออทิสซึมได

้ลักษณะของออทิสซึม

ออทิสซึม เป็นภาวะทางการพัฒนาการที่พบบ่อยเป็นอันดับ 3 รองลงมาจากภาวะสติปัญญาล่าช้าและภาวะ Cerebral Palsy(CP) หรือภาวะสมองอัมพาต แต่ผู้ปกครองและครูส่วนใหญ่ของเด็กทั่วไปยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของออทิสซึมเพียงพอที่จะสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เด็กยังเล็ก แม้แต่กุมารแพทย์บางท่านยังสำคัญผิดว่าสัญญาณแรกของออทิสซึมเป็นการพัฒนาการทั่วไปของเด็กเอง

ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของออทิสซึมมีมากมายหลายรูปแบบ และอาจจะมีความแตกต่างกันระหว่างเด็กแต่ละคนและอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วคือ ลักษณะนี้อาจเปลี่ยนแปลง หายไป หรือเกิดขึ้นมาใหม่ได้ตามพัฒนาการของเด็ก อย่างไรก็ดี ลักษณะหลักของออทิสซึมสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1) พัฒนาการทางการใช้ภาษาและการสื่อสารที่มีข้อจำกัด 2) พัฒนาการด้านปฏิสัมพันธ์ และการเข้าสังคมที่มีข้อจำกัด 3) พฤติกรรมการเล่นหรือความสนใจที่หมกมุ่น หรือซ้ำซ้อน
โดยสรุป ลักษณะที่ท่านผู้ปกครองควรสังเกตในเด็กเพื่อรายงานกุมารแพทย์ประจำตัวของลูกน้อย ก็คือ

การใช้ภาษาและการสื่อสาร

* เมื่ออายุ 1 ปี ยังไม่ส่งเสียงกูๆ กาๆ
* เมื่ออายู 18 เดือน ยังไม่พูดเป็นคำ
* เด็กหยุดพูดหลังจากเริ่มพูดเป็นคำแล้ว
* ในเด็กที่ไม่พูด ไม่มีการใช้สีหน้า ท่าทาง หรือใช้เสียงทดแทนการพูดไม่ได้
* ไม่ทำท่าทางเพื่อประกอบการสื่อสาร เช่น โบกมือลา ชี้นิ้ว หรือส่ายหัว
* พูดท่องจำจากสิ่งที่เคยได้ยิน โดยไม่มีความหมาย

การเข้ากับผู้อื่น

* ไม่แสดงทีท่าสนใจผู้อื่น แม้แต่บุคคลคุ้นเคย
* ไม่หันหน้าเมื่อถูกเรียกชื่อ
* ไม่สบตา
* ไม่เข้าใจน้ำเสียง สีหน้า หรือท่าทางของผู้อื่น
* ไม่รับทราบถึงความรู้สึกของผู้อื่น หรือไม่เข้าใจว่าพฤติกรรมของเขาจะมีผลกับบุคคลรอบข้างอย่างไร
* ไม่สนใจที่จะเล่นกับเด็กคนอื่น

การเล่นที่หมกมุ่นซ้ำซ้อน

* แสดงพฤติกรรมซ้ำไปซ้ำมา และมีการเล่นหรือความสนใจในของเล่นที่ไม่ปกติ เช่น ชอบหมุน
ของเล่น เรียงของเป็นแถว วิ่งเป็นวงกลมซ้ำๆ หรือกลับไปกลับมา ชอบนั่งโยกตัว วิ่งตามขอบกำแพง และมองเส้นจากหางตา เป็นต้น หากบุตรหลานของท่านมีอาการบางอย่างดังที่กล่าวมาข้างต้น ท่านควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเด็กเพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วนทันที อย่ารีรอ เพราะการรู้เร็วจะทำให้เด็กได้ประโยชน์จากการรับบำบัดที่เร็วด้วย นอกจากนี้ลักษณะที่ได้กล่าวมาเหล่านี้อาจแสดงถึงภาวะรุนแรงอื่นๆ ที่ไม่ใช่ออทิสซึมได้ ซึ่งการวินิจฉัยที่ถูกต้องจะช่วยให้ท่านผู้ปกครองสามารถเลือกวิธีการบำบัดหรือรักษาได้เหมาะสมที่สุดภาวะในเครือข่ายออทิสซึม

ภาวะในเครือข่ายออทิสซึม (Autism Spectrum Disorders)

มีอยู่ด้วยกัน 3 อย่าง ซึ่งในแต่ละภาวะ ลักษณะของออทิสซึมที่เด็กแสดงจะมากน้อยและรุนแรงแตกต่างกันออกไป ดังนี้

1) ภาวะออทิสติก/ออทิสซึม (Autistic Disorder) ภาวะออทิสติกหรือออทิสซึม คือชื่อที่ถูกใช้เมื่อเด็กแสดงอาการทั้ง 3 กลุ่มหลักที่กล่าวมาเบื้องต้น

2) แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger's Syndrome) ภาวะแอสเพอร์เกอร์หรือแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มอาการที่คล้ายภาวะออทิสซึม โดยบุคคลที่มีภาวะนี้จะมีข้อจำกัดทางการเข้าสังคมและอาจมีความสนใจหรือพฤติกรรมที่หมกมุ่น ซ้ำซ้อน แต่แตกต่างไปจากออทิสซึม เด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์จะไม่มีข้อจำกัดด้านภาษาหรือการพูด และเด็กกลุ่มนี้หลายๆ คนมีไอคิวที่เท่ากับหรือมากกว่าเด็กทั่วไปด้วย

3) ภาวะทางพัฒนาการแบบครอบคลุม หรือ Pervasive Development Disorder Not Otherwise Specified (เรียกย่อๆ กันทั่วไปว่า PDD-NOS) เด็กที่มีภาวะ PDD-NOS จะมีลักษณะบางด้านของออทิสซึม แต่ไม่ครบตามเกณฑ์การวินิจฉัยของออทิสซึมที่กำหนดไว้ คือมีลักษณะของออทิสซึมน้อยถึงน้อยมาก แต่เด็กก็ยังคงต้องการการบำบัดแบบเดียวกับที่ใช้ในกลุ่มเด็กที่มีภาวะออทิสซึมด้วย

การบำบัด

แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีการรักษาออทิสซึมให้หายขาดได้ แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า เด็กที่ได้รับการบำบัดอย่างเคร่งครัด ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการได้รับการบำบัดเบื้องต้น(Early Intervention) ตั้งแต่ยังเล็กนั้น เด็กจะสามารถพัฒนาทักษะได้มากกว่าเด็กที่ได้มารับการบำบัดเมื่อโตแล้ว และถึงแม้ว่าการบำบัดออทิสซึมจะมีอยู่หลายทฤษฎี แต่ก็มีอยู่ 3 แนววิธีหลักๆ คือ

1) พฤติกรรมบำบัด หรือ Behavioral Approach ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น Applied Behavior Analysis (ABA), Discrete Trial Training(DTT), Pivotal Response Training(PRT), Picture Exchange Communication System(PECS) , Treatment and Education of Autistic and Related Communication-handicapped Children(TEACCH), ฯลฯ โดยแผนบำบัดจะมีหลักสูตรที่เจาะจง ซึ่งประยุกต์มาจากทฤษฎีพฤติกรรมและการให้รางวัล เด็กจะเรียนรู้จากการสอนที่มีระบบอย่างสม่ำเสมอและเคร่งครัด ข้อดีของพฤติกรรมบำบัดก็คือเด็กจะเรียนรู้เร็ว สามารถนั่งเรียนได้ ตอบสนองคำสั่งได้ และการฝึกสอนโดยครูประจำตัวเป็นไปได้ง่าย ข้อเสียคือ สิ่งที่เด็กเรียนรู้อาจไม่สามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ เด็กหลายรายจะแสดงการตอบสนองต่อคำสั่งในลักษณะเหมือนกับการท่องจำ เด็กส่วนใหญ่ยังมีปัญหาการเข้าสังคม และเด็กหลายรายจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เพราะแนวบำบัดนี้ผู้ใหญ่จะเป็นคนนำ

2) พัฒนาการบำบัด หรือ Developmental Approach เช่น Developmental, Individual-Difference, Relationship-Based(DIR) / Floortime, Relationship, Development Intervention(RDI), the Hanen Program, the Son-Rise Program, ฯลฯ แผนบำบัดจะมีหลักสูตรที่เปิดตามความต้องการของเด็กแต่ละคน โดยเด็กจะถูกสอนระหว่างการเล่นกับครูประจำตัว และบทเรียนจะถูกรวมไว้ในกิจกรรมสัมพันธ์ต่างๆ ที่เด็กทำกับผู้อื่น ข้อดีของพฤติกรรมบำบัดก็คือ เด็กจะสนุกกับการเรียน และเริ่มแสดงความสนใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้พฤติกรรม การเข้าสังคมของเด็กมีการพัฒนามากขึ้น ข้อเสียคือ วิธีการสอนจะไม่เหมือนวิธีการสอนในห้องเรียนทั่วไป ซึ่งอาจทำให้เด็กต้องใช้เวลาในการปรับตัวมากเมื่อเข้าไปเรียนในห้องเรียนร่วม นอกจากนี้ยังต้องใช้เวลานานในการฝึกสอนนักบำบัด เพราะการจะบำบัดด้วยวิธีนี้ได้ นักบำบัดจะต้องเข้าใจและปรับแบบการสอนตามลักษณะของแต่ละคน

3) ชีวเวชบำบัด หรือ Biomedical Approach เช่น Medication (การรักษาด้วยยา) โดยใช้ตัวยา atypical antipsychotic บางชนิด เช่น Risperdal ซึ่งนำมาใช้เพื่อลดพฤติกรรมรุนแรงของเด็กออทิสซึม หรือยาชนิดอื่นที่ใช้เพื่อช่วยอาการโรคลมชัก โรคสมาธิสั้น หรือโรคอื่นๆ

สำหรับ เด็กออทิสซึมทุกคน ไม่ว่าจะบำบัดรักษาด้วยวิธีใดก็ควรเป็นการบำบัดแบบเคร่งครัด และมีเวลาที่เด็กได้เรียนรู้ทั้งตัวต่อตัวและแบบกลุ่ม คือโดยรวมแล้วจะต้องมีเวลาบำบัดอย่างน้อย 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในเด็กเล็ก และ 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในเด็กประถมเป็นต้นไป นอกจากนี้การฝึกกิจกรรมบำบัด (occupational therapy) และอรรถบำบัด (การฝึกพูดและสื่อสาร/speech therapy) ก็ควรถูกรวมไว้ในแผนบำบัดด้วย

การบำบัดทางเลือก นอกจาก 3 แนวดังกล่าวข้างต้นแล้ว ปัจจุบันยังมีวิธีการบำบัดทางเลือกแบบอื่นๆ (Alternative Treatments) ที่แพร่หลาย แต่ยังไม่ได้รับการรับรองจากสมาคมแพทย์ว่าปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพอีกด้วย อาทิ การงดอาหารบางประเภท เช่น อาหารจำพวกที่มีสาร Gluten หรือโปรตีนจากข้าวสาลี และสารCasein ที่อยู่ในอาหารจำพวกนมเนย การทำ Chelation Therapy คือการถ่ายสารบางชนิดที่เชื่อว่าเป็นพิษออกจากร่างกาย และการฝังเข็ม ฯลฯ โดยวิธีเหล่านี้อาจได้ผลกับเด็กบางคน แต่ไม่ได้ผลกับเด็กบางคน ดังนั้นก่อนที่จะเลือกใช้วิธีการรักษาเหล่านี้ ผู้ปกครองจึงควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดจนแน่ใจว่าจะไม่มีผลร้ายต่อเด็ก

อนาคตของบุคคลที่มีออทิสซึม

บุคคลที่มีออทิสซึมบางคนสามารถทำงานและใช้ชีวิตอย่างมีอิสระ สามารถแต่งงานมีลูกได้อย่างคนทั่วไป แต่ในบางคน ออทิสซึมก็มีผลกระทบมากต่อพัฒนาการโดยรวมของเขา ซึ่งทำให้เขายังต้องการความช่วยเหลือต่อไปเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ด้วยเหตุนี้ผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญจึงควรร่วมมือกัน เพื่อบำบัดและเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตให้กับเด็กที่มีภาวะนี้ตั้งแต่พวกเขายังเล็ก เพื่อเขาจะสามารถใช้ชีวิตในวิถีที่ใกล้เคียงกับบุคคลทั่วไปมากที่สุดนั่นเองที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณได้มากมายกว่าที่คิด




ข้อมูลจาก
//www.healthtodaythailand.com/


Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2555 10:57:49 น. 5 comments
Counter : 1139 Pageviews.

 
วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร

ฝึกฝนตนเองให้มีความเพียร ตลอดไป...นะคะ





โดย: พรหมญาณี วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:11:20:28 น.  

 
สวัสดีตอนเที่ยงวันครับคุณกบ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:12:17:30 น.  

 
kobnon Health Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
---------------------
แวะมาโหวตให้กับความรู้มีสาระค่ะคุณกบ


โดย: เรือนเรไร วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:23:27:20 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:5:50:11 น.  

 
emoemoemo

ขอบคุณคุณกบที่แวะไปทักทายกันนะคะ
พักนี้มีอาการขี้หลงขี้ลืมเดี๋ยวจำชื่อคนได้เดี๋ยวจำไม่ได้
ถึงวัยเร็วจังเลยค่ะ ชักจะกังวล


โดย: หอมกร วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:9:09:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
27 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.