Group Blog
สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
สังคัยหสูตรที่ ๑-๒ (สำรวมระวังใน..ผัสสายตนะ,อายตนะ)




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

ฉฬวรรคที่ ๕

สังคัยหสูตรที่ ๑

             [๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน
ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ผัสสายตนะ
๖ ประการเป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลไม่
ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่
รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ฯ

             [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลฝึกฝนดี
คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ผัสสายตนะ ๖
เป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี
รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ
๖ ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อม
นำสุขมากมาให้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ

             [๑๓๐]    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖
                          นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์
                          บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวังอายตนะเหล่านั้น บุคคล
                          เหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่
                          บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจและเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึง
                          บรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเสียใจว่า รูปไม่น่ารัก
                          ของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ยินเสียงที่น่ารัก
                          และเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก และพึง
                          บรรเทาโทสะในเสียงที่ไม่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่า เสียงไม่
                          น่ารักของเรา (เราได้ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ดมกลิ่น
                          ที่ชอบใจอันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารัก
                          ใคร่ พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่
                          พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่ ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย และ
                          ลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความ
                          ติดใจ และไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย ถูกสัมผัส
                          ที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้า
                          แล้ว ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่างๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่
                          เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้าย
                          เพราะผัสสะอะไรๆ นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา มีความ
                          สำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุ
                          ให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวกเวียนอยู่ ก็บุคคล
                          บรรเทาใจ ที่ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษา
                          ใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วใน
                          อารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น จิตของบุคคลนั้น
                          อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหนๆ
                          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว
                          ย่อมเป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ ฯ


จบสูตรที่ ๑







พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

สังคัยหสูตรที่ ๒

             [๑๓๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตร มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์สดับแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว
หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรมาลุกยบุตร ในการที่เธอขอโอวาทนี้ในบัดนี้ เราจักบอกกะพวก
ทหรภิกษุทำไม ก็ท่านใดแก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ย่อม
ขอโอวาทโดยย่อ เราจักบอกแก่เธอนั้น ฯ

             [๑๓๒] มา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์แก่แล้ว  เป็นผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคตโปรด
แสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด ไฉนข้าพระองค์พึงรู้ถึงพระภาษิตของพระผู้มี-
*พระภาค พึงเป็นผู้ได้รับพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฯ
             พ. ดูกรมาลุกยบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปที่พึงรู้แจ้ง
ด้วยจักษุเหล่าใด เธอไม่เห็นแล้ว ทั้งไม่เคยเห็นแล้ว ย่อมไม่เห็นในบัดนี้ด้วย
ความกำหนดว่า เราเห็น มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด
หรือมีความรักในรูปเหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหูเหล่าใด เธอไม่ได้ฟังแล้ว ทั้งไม่เคยได้ฟังแล้ว
ย่อมไม่ได้ฟังในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ฟัง มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี
ความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในเสียงเหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูกเหล่าใด เธอไม่ได้ดมแล้ว ทั้งไม่เคยได้ดม
แล้ว ย่อมไม่ได้ดมในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ดม มิได้มีแก่เธอด้วย
เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในกลิ่นเหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้นเหล่าใด เธอไม่ได้ลิ้มแล้ว ทั้งไม่เคยได้ลิ้มแล้ว
ย่อมไม่ได้ลิ้มในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ลิ้ม มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี
ความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในรสเหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายเหล่าใด เธอไม่ได้ถูกต้องแล้ว ทั้ง
ไม่ได้เคยถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ได้ถูกต้องในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราถูกต้อง
มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในโผฏฐัพพะ
เหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจเหล่าใด เธอไม่ได้รู้แล้ว ทั้งไม่ได้
เคยรู้แล้ว ย่อมไม่รู้ในบัดนี้ด้วย  ความกำหนดว่า เรารู้ มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี
ความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในธรรมารมณ์เหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ

             [๑๓๓] พ. ดูกรมาลุกยบุตร ก็ในธรรมเหล่านั้น คือ รูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอ
จักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ใน
อารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้ง เธอจัก
เป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในธรรมทั้งหลาย คือ รูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอ
จักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์
ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้งแล้ว เธอจักเป็น
เพียงแต่ได้รู้แจ้งแล้ว ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่
ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูก
โทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักไม่พัวพัน
ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบ หรือในธรรมารมณ์ที่ได้
รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกอื่นก็ไม่มี ในระหว่างโลกทั้งสอง
ก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

             มา. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารว่า

             [๑๓๔]    สติหลงไปแล้วเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็น
                          นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ
                          ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
                          ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
                          สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติ
                          หลงไปแล้ว เพราะได้ฟังเสียง บุคคลเมื่อใส่ใจถึงเสียงเป็น
                          นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ
                          ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีเสียงเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
                          ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
                          สั่งสมทุกข์อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลง
                          ไปแล้วเพราะได้ดมกลิ่น บุคคลเมื่อใส่ใจถึงกลิ่นเป็นนิมิต
                          ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีกลิ่นเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น
                          และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์
                          อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว
                          เพราะลิ้มรส บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรสเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิต
                          กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่
                          มีเวทนาอันมีรสเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอัน
                          อภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
                          บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว เพราะ
                          ถูกต้องโผฏฐัพพะ บุคคลเมื่อใส่ใจถึงโผฏฐัพพะเป็นนิมิต
                          ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีโผฏฐัพพะเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
                          ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
                          สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน
                          สติหลงไปแล้วเพราะรู้ธรรมารมณ์ บุคคลเมื่อใส่ใจถึง
                          ธรรมารมณ์เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
                          ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีธรรมารมณ์
                          เป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสา
                          เข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า
                          ห่างไกลนิพพาน ฯ

             [๑๓๕]    บุคคลนั้นเห็นรูปแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย มี
                          จิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไป
                          และไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป
                          ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้
                          นิพพาน บุคคลนั้นได้ฟังเสียงแล้ว มีสติไม่กำหนัดในเสียง
                          ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความ
                          ติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อได้ฟังเสียงและเสวย
                          เวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้น
                          เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
                          บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นแล้ว
                          มีสติไม่กำหนัดในกลิ่นทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวย
                          อารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้น
                          เมื่อดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์
                          ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสม
                          ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้น
                          ลิ้มรสแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรสทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัด
                          เสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคล
                          นั้นเมื่อลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสม
                          ทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่
                          สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคล
                          นั้นถูกต้องผัสสะแล้ว มีจิตไม่กำหนัดในผัสสะทั้งหลาย
                          มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อถูกต้องผัสสะและเสวยเวทนาอยู่
                          ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ
                          เที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิต
                          กล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่
                          กำหนัดในธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์
                          นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้
                          ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์
                          ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสม
                          ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าใกล้นิพพาน ฯ

             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มี-
*พระภาคตรัสโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร ด้วยประการฉะนี้ ฯ

             [๑๓๖] พ. ดูกรมาลุกยบุตร สาธุๆ เธอรู้ทั่งถึงเนื้อความแห่งธรรมที่เรา
กล่าวโดยย่อได้โดยพิสดารดีอยู่แล ว่า

             [๑๓๗]    สติหลงไปเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็นนิมิต
                          ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และ
                          มีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อบุคคลสั่งสม
                          ทุกข์อยู่อย่างนี้ เรากล่าวว่าไกลนิพพาน ฯลฯ

             [๑๓๘]    บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์
                          มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่
                          ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ
                          เที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ฯลฯ เรากล่าว
                          ว่าใกล้นิพพาน ฯ

             ดูกรมาลุกยบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่กล่าวแล้วโดยย่อนี้โดย
พิสดารอย่างนี้แล ฯ

             [๑๓๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้
มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้ง
นั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท
มีความเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยว ไม่ช้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอด
เยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่
ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระมาลุกย
บุตร ได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ


จบสูตรที่ ๒





Create Date : 25 สิงหาคม 2558
Last Update : 25 สิงหาคม 2558 18:33:40 น.
Counter : 796 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]