Group Blog
ธันวาคม 2559

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
หลวงปู่บุญกู้เทศนาวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๙ อาหาเรปฏิกูล
 
หลวงปู่บุญกู้เทศนาวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๙
อาหาเรปฏิกูลบรรพ, อาการ ๓๒, อสุภะกรรมฐาน
 
 
หลวงปู่เทศนาสอนว่า..
- เมื่อเห็นว่าอาหารหน้าตาสวย อาหารชั้นดี เลิศ กลอ่มหอมหวล เราก็ดูแล้วอยากกิน น่ากินไปหมด
- ให้ลองตักเข้าปากเคี้ยวๆดู
- แล้วคายออกมาดู
- อาหารที่เรามองว่าสวยงาม หน้าตาน่ากิน ชั้นดีเลิศหรู แพงๆนั้น เมื่อเข้าปากเรากินเข้าไปมันก็เป็นอย่างที่เราคายออกมาดูอย่างนั้นแหละ
 
เมื่อคายอาหารที่เคี้ยวในปากนั้นออกมาแล้วเราสามารถกลืนกินกลับเข้าไปในปากในคอในท้องใหม่ได้อีกไหม เอาแค่ตักเข้าปากเราไปแม้ยังไม่ทันเคี้ยวแล้วคายออกมาดู เราจะรังเกียจมันไหมที่มันมีหน้าตารูปร่างอย่างที่เราคายออกมานั้น ทั้งๆที่คายออกมาจากปากตนแท้ๆ และทั้งๆที่อาหารที่มีหน้าตาอย่างนั้นแหละที่ร่างกายเราใช้ดูดซับเอาพลังงานไว้เลี้ยงชีพ เลี้ยงกายให้อยู่ต่อได้ นั่นและ..คือสิ่งที่อยู่ในกายเราที่เรียกว่า..อาหารใหม่
 
อาหารที่สวยน่ากิน มีกลิ่นหอมหวลชวนชิม มีรสชาติดีๆ แพงๆ หรูๆ เมื่อเราตักเข้าปากเคี้ยวกิน มันเป็นแบบนั้น
 
อาหารต่างๆที่ไม่มีพิษ ไม่มีโทษภัย ที่มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เราคายออกมานั้นแหละ ที่ร่างกายเราต้องการดูดซับเอาพลังงานและสารอาหารจากมัน.. ซึ่งไม่ใช่ร่างกายเราไปดึงเอาพลังงานและสารอาหารทั้งหลายจากรูปร่างหน้าตาที่งดงามของอาหาร กลิ่นที่หอมหวลของอาหาร สีที่ดูสวยน่ากินของอาหาร วัตถุดิบที่ราคาแพงของอาหาร รสชาติที่ชอบใจของอาหารใดๆเลยทั้งสิ้น
เมื่อถูกดูดซับเอาพลังงานและสารอาหารแล้ว ก็จะถูกขับออกมาเป็นอาหารเก่า คือ ขี้ในไส้ในรู้ทวารเรานั้นแหละ
 
แล้วท่านก็สอนให้เอาลงอาการ ๓๒ ประการ ลงอสุภะกรรมฐาน เห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน
 

- เมื่อเราฟังเทศนาจากหลวงปู่บุญกู้แล้วน้อมนำมาปฏิบัติสืบต่อ ทำให้เราหวนระลึกถึงคำสอนในกรรมฐานอาหาเรปฏิกูลจาก พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ๒ ท่าน ในสมัยบวชเณรและบวชพระดังนี้คือ..
 
๑. สมัยที่บวชเณร กับหลวงปู่นิล มหันตปัญโญเถระ แล้วออกธุดงค์ไปกับพระสุรศักดิ์ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ๆที่พาเราบวชเณร ซึ่งในสมัยนั้นได้กราบลา หลวงปู่นิล มหันตปัญโญเถระ พระอุปัชฌาย์ เพื่อขออนุญาตท่านออกธุดงค์ สมัยนั้นเพราะยังเด็กจึงได้ขอของดีดวงปู่นิลด้วย เพราะเณรเพื่อนบอกว่าหลวงปู่มีเยอะ(ตอนนั้นคิดในใจว่าคงได้พระกริ่ง พระสมเด็จ พระเก่าขลังๆ หรือพระคาถาดีๆเมตตามหานิยม)..
 
เมื่อเราได้เข้าไปขอของดีหลวงปู่นิลท่านจึงหัวเราะแล้วสอนเราว่า..
ของดีในโลกนี้นอกจากพุทโธไม่มีหรอก..เอาพุทโธนี้แหละไปของดีที่สุดในโลกแล้ว
 
    เราก็ผิดหวังนิดๆ เพราะตอนนั้นยังไม่รู้อะไรมาก รู้แค่บวชเฌรต้องไม่ผิดศีล ๑๐ แล้วต้องถือเอาศีลพระบางข้อด้วย บิณฑบาตร กรรมฐานทุกวัน รู้แค่นี้เท่านั้น เพราะรู้อย่างนี้สมัยนั้นจึงได้สมาธิบ่อยเพราะไม่คิดอะไรมากมายเกินกว่าพุทโธ แล้วเราจึงได้ขอเอาพระผงรูปเหมือนหลวงปู่ติดตัวไปด้วยแล้วกราบไหว้ทุกคืนก่อนทำสมาธิโดยการ หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ" ตามที่หลวงปู่นิลให้มา
จากนั้นก็ออกธุดงค์เดินทางจากจากวัดป่าโกศลประชานิระมิต อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น (วัดหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ) ไปบ้านยายไปหาหลวงปู่อินตองที่วัดป่าวีระธรรม บ้านอุ่มเหม้า อ.พังโคน จ.สกลนคร เพราะท่านเป็นญาติทางแม่และเป็นที่เคารพรักบูชาของชาวบ้านและครอบครัวเราตั้งแต่เราจำความได้ (วัดนี้ผีเยอะมากๆดังรบกวนทั้งคืนแต่เราก็จำอยู่กุฏิท้ายวัดตรงป่าช้าของวัดเพราะตอนที่อยู่วัดหลวงปู่นิล เณรเพื่อนได้พาไปเจริญมรณัสสติที่เมรุและเบ้าฝีงศพผีตายโหงที่วัดทุกวัน พร้อมทั้งไปวัดสาขาที่วัดป่าภูเหล็กน้อนที่นั่นทั้งวัดมีพระองค์เดียวคือหลวงตาภูซึ่งหลวงปู่นิลได้ให้มาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งวัดเป็นป่าช้าและโรงเหล็กตีดาบนักรบเก่ามีผีเยอะมากเจอเห็นจนชินที่จะกลัว แต่ละกุฏิอยู่ในป่าห่างกันอย่างต่ำก็ 300-500 ม. เราจึงชินกับป่าช้า)
ซึ่งเวลาที่ญาติโยมถวายภัตราหารแล้วเสร็จ ก่อนจะฉันจังหันเช้า(ฉันมื้อเดียว) หลวงปู่อินตองได้แสดงธรรมเทศนาแก่ญาติโยม แล้วสอนอาหาเรปฏิกูลบรรพ
 
๒. สมัยที่บวชพระ กับพระอาจารย์สุจินต์ ธัมมะวิมล ที่วัดป่าสมเด็จ(วัดป่าอาสภาวาส) อยู่หลังโรงเรียนบ้านลาน ต.บ้านลาน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ท่านเป็นลูกศิษย์ของพระพุฒาจารย์อาจ อาสโก ท่านจะสอนกรรมฐานให้แก่พระและเณรในวัดทุกเช้า และสอนกรรมฐานหลายๆอย่างให้แก่เราตั้งแต่พุทโธ ยุบพอง เดินจงกรม วิธีปรับจิตให้เข้ากรรมฐานได้ง่าย (วัดนี้เป็นป่าช้าเก่ามีศพฝังอยู่ทุกพื่นที่ตารางนิ้วในวัด ตกกลางคืนเหมือนได้ยินเสียงร้องหวีดบ่อยๆเวลากลางคืน พอเข้ากรรมฐานตามที่หลวงพ่อท่านสอนจนได้สมาธิแล้วแผ่เมตตาไปไม่มีประมาณเสียงนั้นจึงหายไป) 
ซึ่งเวลาที่ญาติโยมถวายภัตราหารแล้วเสร็จ ก่อนจะฉันจังหันเช้า(ฉันมื้อเดียว) ขณะนั้นเป็นช่วงเข้าพรรษาหลวงหลวงพ่อได้แสดงธรรมเทศนาแก่ญาติโยม แล้วสอนอาหาเรปฏิกูลบรรพ
 
..จากที่เคยปฏิบัติตามที่หลวงปู่อินตองและหลวงพ่อสมจิตท่านทั้งสองสอนเราเหมือนกัน จนทำให้ตอนนั้นมีจิตรู้ว่าที่เราฉันข้าวนี้เพียงเพื่อเลี้ยงชีพให้ยังกายนี้อยู่ได้เท่านั้นเอง ทั้งตอนบวชพระและบวชเณร
 
ซึ่งท่านทั้งสองได้สอนง่ายๆให้เราเห็นอาหาเรปฏิกูลได้จากการฉันในบาตรที่ตักอาหารที่ญาติโยมถวายแล้วตักรวมๆระคนกันในบาตรได้เห็นว่า..
    "ข้าวในบาตรนี้มีหน้าตาอย่างไร
เมื่อตักกินเข้าปากกลืนกินลงไป
อาหารใหม่ในท้องเราก็มีหน้าตาเหมือนอาหารในบาตรที่เรากำลังตักฉันอยู่นี้แหละ
กายเราต้องการอาหารไว้เลี้ยงพยุงมันให้อยู่ไปตามกาลเท่านั้นไม่มีเกินกว่านี้เลย”
 
..เมื่อเราหวนระลึกถึงช่วงเวลานั้นคำสอนและการปฏิบัติในตอนนั้น และความรู้สึกในตอนนั้นได้ พร้อมน้อมลงใจร่วมกับคำสอนของหลวงปู่บุญกู้ตามที่เราพอจะจดจำระลึกได้ในวันนี้ ประกอบกับการเจริญอาการ ๓๒ ลงอนัตตา ที่หลวงพ่อเสถียร ถิรญาโณ ท่านสอนแก่เราไว้..
..จึงเห็นชัดแจ้งใจขึ้นดังนี้ว่า..หากเราเจริญอาหาเรปฏิกูลนี้ เราเคี้ยวไปติดที่รสชาติหรือหน้าตาอาหาร ให้เรานึกถึงอาหารที่เราเคี้ยวๆแล้วคายออกมาดูนี้แหละ
 
- หากชอบใจรสชาติ ก็ให้เรารู้ว่าเราติดรสชาติอาหารแบบนี้ เราเจริญใจเพราะด้วยรสอย่างนี้ ติดรสอร่อยแบบนี้ แต่ที่จริงแล้วที่กายเราต้องการจะดูดซับพลังงานเพื่อเลี้ยงชีพเลี้ยงกายให้คงอยู่นี้กลับไม่ใช่อาหารที่มีรสชาติที่นุ่มลิ้น เลิศรสอย่างนั้น กลับไม่ใช่รสชาติที่ร่างกายเราต้องการแต่เป็นเพียงอาหารที่มีหน้าตาอย่างที่เราเคี้ยวแล้วคายออกมาดูนั้นแหละ ที่ร่างกายเราต้องการดูดซับเอาพลังงานมันมีหน้าตาแบบที่เราคายออกมานั้นแหล
 
- หากชอบใจที่หน้าตาอาหาร ก็ให้เรารู้ว่าเราพอใจติดใจอาหารที่มีหน้าตาน่ากินแบบนี้ๆ งดงามแบบนี้ เป็นระเบียบแบบนี้ แต่ที่จริงแล้วที่กายเราต้องการจะดูดซับพลังงานเพื่อเลี้ยงชีพเลี้ยงกายให้คงอยู่นี้กลับไม่ใช่อาหารที่มีหน้าตางดงามนี้ กลับเป็นอาหารที่มีหน้าตาอยย่างที่เราเคี้ยวแล้วคายออกมาดูนั้นแหละ อาหารไม่ว่าจะหน้าตางดงามแค่ไหน พอตักเข้าไปไปมันก็เป็นแบบนี้เหมือนกันหมด อาหารที่ร่างกายเราต้องการดูดซับเอาพลังงานมันมีหน้าตาแบบที่เราคายออกมานั้นแหละ
 
 

เห็นอนิจจัง
..ขนาดอาหารหน้าตาสวยๆดีๆ มีกลิ่นชวนชิม มีรสเลิศ แต่สิ่งทั้งปวงก็ไม่เที่ยง ย่อมปรุงแต่งแปรปรวนดับสูญไป มีเพียงอาหารใหม่ที่เกิดขึ้นมาในกายเรานี้อันมีหน้าตารสชาติและกลิ่นดังคำข้าวที่เราคายออกมาดูนั้น แล้วก็ปรุงแต่งแปรปรวนดับสูญไป เป็นเพียงอาหารเก่าที่มีในลำไส้ในช่องทวารเป็นขี้ที่รอขับออกมาจากร่างกาย..สุดท้ายเป็นเพียงของไม่งามน่ารังเกียจ น่าขยะแขยง ไม่ควรดู ไม่ควรชม ไม่ควรรักษา
..แม้อาหารใหม่หรืออาหารเก่านั้นก็แปรปรวนเปลี่ยนไปเรื่อยไม่ใช่อันเดิม ไม่ใช่อย่างเดิม นี่ขนาดมันอยู่ในกายเราแท้ๆมันยังไม่เที่ยงเลย แล้วภายนอก ผม ขน เล็บ ฟัน หนังเป็นต้น มันจะอยู่ยั่งยืนได้อย่างไรเล่า แล้วจะนับประสาอะไรกับภายนอกนั้น อาหารที่เห็นภายนอก ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง ภายนอกที่เราว่าเลิศว่างามว่าดีก็ย่อมจะล่วงพ้นจากความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความเสื่อมสูญไปไม่ได้ ดังนี้..
 
..ดังนั้นแล้วควรแล้วหรือที่เราจะติดใจในหน้าตาของอาหาร หรือกลิ่มที่หวลของอาหาร หรือรสชาติเลิศล้ำของอาหาร หรือวัตถุดิบที่แพงๆของอาหารเหล่านั้น เรายังจะติดตรึงในอาหารด้วยประประการเหล่านั้นอยู่อีกรึ เพราะสุดท้ายไม่ว่าอาหารจะดีสวยหรูงดงามแค่ไหน หอมหวลแค่ไหน อร่อยแค่ไหน ราคาแพงแค่ไหน เลิศหรูหายากแค่ไหน มันก็เป็นเพียงอาหารใหม่ในกายเราดั่งคำข้าวที่เราเคี้ยวแล้วคายออกมาดูนี้ แล้วก็เป็นอาหารเก่าที่ถูกดูซับพลังงานและสารหาอาหารต่างๆถูกขับออกมาเป็นขี้เท่านั้น
 

 
..หากจำภาพอาหารที่เราเคี้ยวไม่ได้ ก็ค่อยเคี้ยวๆแล้วคายออกมาดูหน้าตามันใหม่ว่าเป็นยังไง แล้วเราจะกลืนกลับเข้าไปได้ไหม..
 
- หากกลืนกินกลับเข้าไปใหม่ไม่ได้ ก็เอาทิ้งไปเสีย..
..ให้พึงรู้ว่านี้ อาหารที่หน้าตาน่ากิน กลิ่นที่หอมหวลชวนอยาก รสที่นุ่มลิ่นชุ่มใจ ที่เราเพิ่งตักเข้าปากไปแท้ๆเมื่อสักคู่นี้ พอเราคายออกมามันก็มีหน้าตาอย่างที่เห็นนี้แหละ แล้วเรายังจะพิศมัยในอาหารอันโอชะ เลิศรส หอมหวล งดงามเจริญตาอันใดได้อีกเล่า เพราะสุดท้ายแล้วมันก็เป็นได้แค่อาหารที่เราเพิ่งคายออกมานั้นเอง
..และทั้งๆที่เราเพิ่งคายออกมาจากปากตนเองแท้ๆกลับกินต่อไม่ได้ กลืนกลับเข้าไปใหม่ไม่ลง ในร่างกายเราก็มีของแบบนั้นอยู่เต็มท้อง เต็มกระเพาะและลำไส้ แล้วในกายเรานี้จะยังมีสิ่งใดให้ยึดว่างดงามไม่น่าเกลียด ว่าเป็นตัวตนของเราได้อีกเล่า เราหรือที่เป็นกองอาหารที่เพิ่งเคี้ยวเข้าไปเหล่านั้น
..แล้วให้ตักอาหารมาราดรวมแล้วคนๆคลุกเคล้ามันให้เป็นอันเดียวกัน แล้วมองดูก็อาหารที่เมื่อเราเคี้ยวแล้วกลืนลงท้องมันก็เป็นแบบนี้แล แค่นี้แหละที่ร่างกายต้องการ ไม่มีอื่นอีก หาใช่หน้าตาหรือรสชาติใดๆไม่
..อุปมาด้วยจานนั้นเป็นท้อง ข้าวในจานนั้นเป็นอาหารใหม่ที่เราตักกินเคี้ยวในปากแล้วกลืนลงท้องไป เมื่ออยู่ในท้องมันเป็นแบบนั้นแหละ จะอาหารที่รักที่ชัง รสชาติที่รักที่ชัง เมื่อลงในท้องในกายเรามันก็เป็นเหมือนดั่งกับข้าวที่เราคนรวมกันในจานนี้เท่านั้น
(พระป่าท่านฉันข้าวในบาตรก็เพื่อกรรมฐานอาหาเรปฏิกูลบรรพกองนี้)
 
- หากกลืนกินกลับเข้าไปใหม่ได้โดยที่ไม่ติดใจไรๆ เราก็ไม่ติดที่หน้าตาและรสชาติของอาหารในขณะเวลานั้นๆแล้ว
..ให้พึงรู้ได้จากการเคี้ยวกลืนกินกลับคืนไปนั้นว่า อาหารที่มีหน้าตารสชาติอย่างที่เราเคี้ยวกลับคืนไปนั้น ไม่ได้ทำให้เราตาย แต่กลับทำให้เราอิ่มท้องพยุงชีวิตและร่างกายนี้ให้ยังอยู่ต่อไปได้ ดังนี้แล้วการพยุงกานดำรงชีพอยู่ของเรานั้นไม่ใช่ที่หน้าตาปละรสชาติของอาหารอย่างเห็นได้ชัดเจน ร่างกายเราต้องการแค่สิ่งที่ไม่เป็นพิษที่สามารถดูดซับเอาพลังงานและสารอาหารต่างๆเอาไปหล่อเลี้ยงกายได้ก็เท่านั้นเอง แล้วก็กินอาหารต่อไปด้วยนึกถึงอารมณ์นั้น
..แล้วให้เริ่มกินอาหารโดยการตักเอาสิ่งที่เราจะกินทุกอย่างมาราดคนๆกวนๆใส่รวมกัน มองดูให้เห็นว่าสิ่งที่อยู่ในถ้วยจานเบื้องหน้านั้นแหละคือสิ่งที่ิอยู่ในกายเราอันเรียกว่า อาหารใหม่ ทุกครั้งที่กินก็ให้รู้ทันทีว่านั่นคืออาหารใหม่อันเป็นอาการ ๓๒ ในกายเรานี้ ในร่างกายคนทุกคนเป็นแบบนั้น
..แม้ร่างกายของเราหรือใครอันที่หนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบที่เรามองว่างดงามนี้ ถายในหนังอันหุ้มไว้อยู่นั้นก็เป็นดังอาหารใหม่นี้แลไม่มีสิ่งใดน่าใครน่าปารถนา
..หนังหุ้มกองเศษอาหารใหม่(กองเศษเนื้อ, เศษผัก, เศษข้าว, เศษเครื่องแกง, เศษแป้งที่บดย่อยคนรวมๆกัน)
..อาหารเก่า(กากจากอาหารที่ถูกดูซับพลังงานและสารอาหารแล้ว คือ ขี้)
..เมื่อปารถนาจับต้องสัมผัส สูดดม ครอบครองมันไป ก็เหมือนเราปารถนาครอบครองสัมผัส โอบกอด จูบดม ลูบเลียกองอาหารใหม่ที่มันคลุกคนถูกเคี้ยวให้ย่อยบดรวมระคนกันโดยดูไม่ออกเลยว่ามีอะไรในนั้นบ้าง เป็นที่น่ารังเกียจยิ่ง ที่เราโง่หลงไหลอยู่ในหนังที่หุ้มเศษกองอาหารที่น่ารังเกียจนี้เท่านั้นเอง แม้กายเราเองก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน
 
..ครูบาอาจารย์ท่านแจ้งชัดแทงตลอดแล้วในอาหาเรปฏิกูลนี้ ท่านจึงเห็นเป็นเพียง "หนังหุ้มขี้" ดังนี้
 

เห็นอนัตตา
..ในร่างกายเราก็มีของแบบนั้นอยู่เต็มท้อง เต็มหลอดอาหาร เต็มกระเพาะและลำไส้ แล้วในกายเรานี้จะยังมีสิ่งใดให้ยึดว่างดงามไม่น่าเกลียด ว่าเป็นตัวตนของเราได้อีกเล่า ก็ถ้าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเราแล้ว เราหรือที่เป็นกองอาหารหรือคำข้าวที่เพิ่งเคี้ยวกลืนลงท้องเข้าไปอยู่ในกายเป็นอาหารใหม่เหล่านั้น เราหรือที่เป็นอาหารเก่าที่ถูกดูดซับพลังงานและสารอาหารแล้วถูกขับออกมาทางช่องอากาศคือรูทวารหนักที่เรียกว่า “ขี้” นั้น
..ก็ถ้าอาหารใหม่หรืออาหารเก่ามันเป็นเรา เป็นตัวตนของเราแล้ว เราก็ต้องเป็นคำข้าวที่เคี้ยวเข้าไปนั้น เป็นขี้ที่ถูกขับออกมาทางช่องอากาศคือรูทวารหนักนั้นๆ 
..เมื่อมันถูกขับออกมาจากร่างกายแล้วทำไมเรายังไม่ตาย ทพไมเรายังมีชีวิตอยู่ได้อีกหนอ ก็ไม่เห็นว่าจะมีเราอยู่ในอาหารใหม่หรืออาหารเก่าเหล่านั้นเลย แล้วจะเอาสิ่งใดมาพูดได้ว่ากายนี้อาการทั้ง ๓๒ แระการนี้เป็นเรา เป็นตัวตนของเราได้อีกเล่า
..เราหรือที่เป็นอาหารใหม่ เราหรือที่เป็นอาหารเก่าคือขี้ ก็ถ้าเราไม่ใช่อาหารใหม่หรืออาหารเก่าคือขี้แล้วร่างกายนี้จะเป็นเรา เป็นตัวตนของเราได้อย่างไรเล่า ดังนั้นร่างกายนี้จึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา สักแต่มีไว้อาศัยเพื่อทำบารมีความดี และ ทาน ศีล ภาวนา เท่านั้น ดังนี้
 
 
(อาหาเรปฏิกูลบรรพ ลงอาการ ๓๒ ลงอสุภะกรรมฐาน)
 

 
** อาหาเรปฏิกูล นี้..ไม่ใช่ว่าเพราะรู้ว่าตนติดรสชาติเพลิดเพลินในรสแล้วคายทิ้ง ไม่ใช่ติดในรูปอาหารแล้วคายทิ้ง
** แต่ท่านให้พิจารณาระลึกรู้ตามรู้ทันว่าตนยังติดในรสหรือหน้าตาอยู่แบบนี้อยู่เท่านั้น
** ส่วนที่ให้คายออกมานั้น คือ ให้คายมาพิจารณาดูอาหารใหม่ในกาย ดูอาหารที่เราตักเข้าปากไปมันเป็นยังไง ดูอาหารที่ร่างกายเราต้องการดูซับพลังงานมันเป็นแบบไหน ไม่ใช่ที่รสชาติล้ำเลิศหรือหน้าตาที่งดงามของอาหารที่ร่างกายเราต้องการ แต่เป็นอาหารที่มีหน้าตาและรสชาติอย่างที่เราคายออกมาดูนั้นแหละที่ร่างกายเราต้องการเลี้ยงชีพ
 
 
ตัก
เคี้ยว
คาย
พิจารณา
 
หรือ
 
คลุกๆคนๆกวนๆรวมกันในจานเดียว
อาหารใหม่ในท้อง
 
 
** อาหารเก่า คืออาหารใหม่ที่ถูกดูดซับเอาพลังงานแล้วเหลือเป็นกากส่งออกมาทางช่องอาการ คือ รูทวาร รูก้น รูตูดเรานี้เอง ออกมาเป็นขี้นั้นแหละ
 


 



Create Date : 21 ธันวาคม 2559
Last Update : 8 มกราคม 2563 9:41:34 น.
Counter : 1162 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]