Group Blog
สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
นันทิยสูตร ธรรมละอกุศลอันลามก ๑๑ ประการ
นันทิยสูตร


             [๒๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้
พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์
จะเข้าจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทราบข่าวว่า
พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเข้าจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล
เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะทรงมีพระดำริว่า ไฉนหนอ แม้เราก็พึงเข้าจำพรรษา ณ
พระนครสาวัตถี เราจักประกอบการงาน และจักได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคตามกาลอัน
สมควร ณ พระนครสาวัตถีนั้น ฯ
             ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี เจ้าศากยะ
พระนามว่านันทิยะ ก็เข้าจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี ได้ทรงประกอบการงาน
และได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคตามกาลอันสมควร ณ พระนครสาวัตถีนั้น ก็สมัยนั้นแล
ภิกษุเป็นอันมากย่อมกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มี
พระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน เจ้าศากยะพระนาม
ว่านันทิยะได้ทรงทราบข่าวว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค
ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน
ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวมาว่า ภิกษุเป็นอันมาก
กระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จ
แล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่
ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร พระเจ้าข้า ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ บพิตร การที่บพิตรเสด็จมาหาตถาคต
แล้วตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ
พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร ดังนี้ เป็นการสมควรแก่บพิตรผู้เป็นกุลบุตรแล
ดูกรบพิตร กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธาย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ทุศีลย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ปรารภความเพียรย่อมเป็น
ผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มี
สติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสมาธิย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีสมาธิย่อมไม่
เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทรามย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
ดูกรบพิตร บพิตรทรงตั้งอยู่ในธรรม ๖ ประการนี้แล้ว พึงเข้าไปตั้งสติไว้ภายใน
ในธรรม ๕ ประการ ดูกรบพิตร ในธรรม ๕ ประการนี้ บพิตรพึงทรงระลึกถึง
พระตถาคตว่า แม้ด้วยเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ...
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ใน
ภายใน ปรารภพระตถาคต ด้วยประการดังนี้แล ฯ
             อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี
พระภาคตรัสดีแล้ว ... อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูกรบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้ง
สติไว้ในภายใน ปรารภพระธรรมด้วยประการดังนี้แล ฯ
             อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงกัลยาณมิตรทั้งหลายว่า เป็นลาภ
ของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีกัลยาณมิตรผู้เอ็นดู ผู้ใคร่ประโยชน์
ผู้กล่าวสอน ผู้พร่ำสอน ดูกรบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภ
กัลยาณมิตรด้วยประการดังนี้แล ฯ
             อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเรา
หนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีจิตปราศจากมลทินคือความตระหนี่ มีจาคะ
อันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนก
ทาน อยู่ครองเรือน ในหมู่สัตว์ผู้ถูกมลทินคือความตระหนี่ กลุ้มรุมแล้ว
ดูกรบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภจาคะด้วยประการดังนี้แล ฯ
             อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่าเทวดาเหล่านั้น
ได้ก้าวล่วงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษาแล้ว เข้าถึงกายอันสำเร็จ
ด้วยใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของตน
หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว ดูกรบพิตร ภิกษุผู้เป็นอสมยวิมุตย่อมไม่พิจารณา
กิจที่ไม่ควรทำของตน หรือการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว แม้ฉันใด ดูกรบพิตร เทวดา
เหล่าใด ก้าวล่วงซึ่งความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา เข้าถึงกายอัน
สำเร็จด้วยใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของ
ตน หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรบพิตร บพิตรพึง
เข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภเทวดาทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล ฯ
             ดูกรบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล ย่อมละซึ่ง
อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ย่อมไม่ถือมั่น ดูกรบพิตร หม้อที่คว่ำย่อมไม่กลับ
ถูกต้องสิ่งที่คายแล้ว ไฟที่ไหม้ลามไปจากหญ้า ย่อมไหม้ของที่ควรไหม้ ย่อมไม่
กลับมาไหม้สิ่งที่ไหม้แล้ว แม้ฉันใด อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้
ย่อมละอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ย่อมไม่ถือมั่น (อกุศลธรรมอันชั่วช้า
เหล่านั้น) ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ


จบสูตรที่ ๓




Create Date : 14 สิงหาคม 2558
Last Update : 14 สิงหาคม 2558 21:31:04 น.
Counter : 302 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]