Group Blog
พฤศจิกายน 2565

 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
รู้จักโลก รู้โลกุตระ



 

รู้จักโลก รู้โลกุตระ

พระอริยะสัจ ๔ สำหรับปุถุชนน้อมนำมาปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางให้ใจน้อมไปในโลกุตระ

- ธรรมชาติของความเป็นโลก คือ การดำรงชีพอยู่ด้วยสมมติกิเลสตัณหา เพราะต้องการสุข สัตว์เมื่อดำรงชีพอยู่ด้วยการอุปาทานว่าสิ่งใดสุข(ไม่ว่าจะเป็นขันธ์ ๕ สิ่งของเครื่องใช้ทางโลก เครื่องอวยความสะดวก ของอยู่ ของกิน สิ่งปรนเปรอตนทั้งปวง) สัตว์ก็ต้องการสิ่งนั้น ก็แสวงหาสิ่งนั้น ก็ดิ้นรน ก็ช่วงชิง ก็ป้องกัน จึงเกิดความไม่สมปารถนา พบเจอสิ่งอันไม่เป็นที่รัก พรัดพราก จึงเกิดความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน อัดอั้น คับแค้นกายใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจทั้งหลาย นี่คือทุกข์ คืออาการของทุกข์ นี่คือ ทุกขอริยะสัจ

ถ้าแสดงธรรมกับปุถุชนต้องแสดงอย่างสมมติ มีสมมติ ได้สมมติ รักษาสมมติ แต่การทำ การได้มา การรักษาในสมมติของเขานั้นต้องโดยชอบธรรมนี้แล

 

ทกข์ ควรกาหนดรู้ (ทุกข์ คือ โลก ธรรมชาติของความเป็นโลก)

- คือ การดำรงชีพอยู่ด้วยสมมติกิเลสของปลอม

สมทัย ควรละ (สมุทัย คือ โลก สิ่งที่เป็นโลก)

- คือ สมมติกิเลสของปลวม

นิโรธ ควรท่าให้แจ้ง (นีโรธ คือ โลกุตระ ธรรมชาติความเป็นโลกุตระ)

- คือ การดำรงชีพอยู่โดยพ้นจากสมมติกิเลสของปลอมแล้ว

มรรค ควรเจริญให้มาก (มรรค คือ โลกุตระ สิ่งที่เป็นโลกุตระ, ธรรมทางเข้าสู่โลกุตระ)

- คือ รู้เห็นตามจริงต่างหากจากสมมติ ทำจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน ไม่ติดใจข้องแวะโลก

 

(.)*จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย (.)

(.)*ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์*(.)

(.)*จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค(.)*

(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)



(.)*ทุกข์ คือ มีใจครอง*(.)

(.)*สมุทัย คือ ไม่รู้*(.)

(.)*นิโรธ คือ ไม่มีใจครอง*(.)

(.)*มรรค คือ ทำความรู้แจ้งเห็นจริง*(.)




..อาโลกะสัญญา..

- อย่าไปติดใจข้องแวะอะไรมันแค่สังขาร แค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบตามปกติทั่วไป แล้วทำอาโลกะสัญญา

- จิตเราปกติสว่างไสวเหมือนดวงอาทิตย์ สว่างไสวเหมือนพระจัทร์เมื่อวันดเพ็ญ อาศัยกิเลสที่จรมาหรือกิเลสที่เกาะกุมทับถมในจิตปะทุขึ้นเหมือนเปลวไฟในดวงอาทิตย์ ทำให้ใจเราเศร้าหมอง การสละคืนกิเลสเป็นการทำความบริสุทธิ์ให้จิต

- ทำใจเป็นปฏิฆะต่อธัมมารมณ์ทั้งปวง แล้วสละคืนธัมมารมณ์เครื่องเศร้าหมองจิต ยังจิตให้สว่างไสวใสเย็น ไม่เศร้าหมอง ไม่เร่าร้อน

- จิตที่บริสุทธิ์นี้ ท่านอุปมาเหมือนเด็กที่ไร้เดียงสา ไม่เคลือบแครง แต่ไม่ใช่ว่าการเป็นเด็กคือจิตบริสุทธิ์

- อวิชชานี้มีมาแต่เดิมแล้ว ไม่ก่อนไม่หลังด้วยสัญญา คือความสำคัญมั่นหมายของใจต่ออารมณ์ความรู้สึก คือความกำหนดหมายรู้อารมณ์ความรู้สึกต่างๆทั้งปวงที่จิตรู้ การที่จิตมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเอง จิตเห็นธัมมารมณ์ทั้งปวง จิตจะรู้เห็นตามจริงว่า ธัมมารมณ์เป็นเพียงสมมติ และเห็นสมมติในธัมมารมณ์

- จิตคลายอุปาทานธัมมารมณ์อันเศร้าหมองที่รายล้อมจิต นี้เกาะกุมจิตนี้ ก็ได้ชื่อว่าความบริสุทธิ์ของจิต

- เมื่อจิตปราศจากธัมมารมณ์เครื่องเศร้าหมอง จิตจะเบา ผ่องใส มีความแช่มชื่น รื่นรมย์ซาบซ่านปะทุขึ้น ข้อนี้เรียกปิติสัมโพชฌงค์ เมื่อธัมมารมณ์เครื่องเศร้าหมองดับ ปิติ ปัสสัทธิ สุข เกิดทันมีเพราะไม่มีเครื่องร้อยรัดหน่วงตรึงจิตอีก (นักอภิธรรมเขาเรียกโสภณะเจตสิก)

- จิตที่เหลือเป็นฐิติภูตัง คือ จิตคลายอุปาทานลงไม่เกาะเกี่ยวด้วยธัมมารมณ์ได้แล้ว ..จิตจะเห็นชัดธัมมารมณ์ ..แล้วทำโยนิโสมนสิการกับความไม่มีอะไรเลยนั้นว่า.. สมมติเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นธรรมดา แล้วดับไป ไม่มีอื่นอีก จะเหลือทิ้งไว้แค่ความสืบต่อในสัญญา คนเรานี้โง่หนออยู่กับสิ่งไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน อยู่กับสมมติเพียงเท่านี้ ไม่ควรให้อุปทานโดยแท้ ..นี้เรียกเห็นไตรลักษณ์แท้ ไม่แค่การกำหนดหมายรู้อารมณ์ให้เป็นไตรลักษณ์โดยนึกคิดจับความรู้สึกเอา

- จิตสละคืนธัมมารมณ์ มันทำการสำรอกออก นี้เรียกจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ หรือ จิตเห็นจิต ถึงความว่าง ความไม่มี ความสละคืน



Create Date : 05 พฤศจิกายน 2565
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2565 7:54:13 น.
Counter : 566 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]