Group Blog
สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
สัญญาสูตร(ความจำได้หมายรู้) + มนสิการสูตร(ความทำไว้ในใจ)


สัญญาสูตร(ความสำคัญมั่นหมายของใจ)

            [๒๑๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่-
*ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การ
ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น
อารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
สำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุ
ว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็น
อากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็น
วิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็น
อากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่า
เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลก
นี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึง
มีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึง
แล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
ประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่ตรอง
ตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
             อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ
โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่
ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
             พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า
ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั้นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความ
สละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน
ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมี-
*ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโป-
*ธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุ
เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึง
มีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสนัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
มีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
มีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
มีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น
อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรอง
ตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
             ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไป
หาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้น
ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การ
ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น-
*อารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็น
ผู้มีสัญญา ฯ
             ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้ การที่ภิกษุ
ได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึง
เป็นผู้มีสัญญา ฯ
             อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ
โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ
ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง
ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
             สา. ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง
ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน
ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญ
ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวง
หาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
             อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถ
กับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบ
ได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้
กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาค
ก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผม
เหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคย
มีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของ
พระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ


จบสูตรที่ ๗

            เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  บรรทัดที่ ๗๗๐๔ - ๗๗๗๓.  หน้าที่  ๓๓๕ - ๓๓๘.
//www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=7704&Z=7773&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=214
             ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[214] //budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=24&item=214&Roman=0
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
//www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๔
//www.84000.org/tipitaka/read/?index_24




มนสิการสูตร(ความทำไว้ในใจ)

            [๒๑๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้หรือหนอแล การ
ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเสียงไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรสไว้ในใจ ไม่
พึงกระทำกายไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้
ในใจ ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึง
กระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
วิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
เนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
โลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงทำ
ไว้ในใจ ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ
โดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ... ไม่พึง
กระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่
แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ ฯ
             อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
ประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ฯลฯ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ
ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ ฯ
             พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า
ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละ
คืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกร
อานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุ
ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเสียง
ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
ลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรสไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกายไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ
โผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้
ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึง
กระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่
พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรอง
ตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงกระทำไว้ในใจ ฯ

จบสูตรที่ ๘


            เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  บรรทัดที่ ๗๗๗๔ - ๗๘๑๑.  หน้าที่  ๓๓๘ - ๓๔๐.
//www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=7774&Z=7811&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=215
             ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[215] //budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=24&item=215&Roman=0
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
//www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๔
//www.84000.org/tipitaka/read/?index_24








Create Date : 14 สิงหาคม 2558
Last Update : 14 สิงหาคม 2558 21:24:39 น.
Counter : 302 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]