Group Blog
มิถุนายน 2559

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
อิทธิบาท ๔ และ วิธีเจริญอิทธิบาท ๔





  กลับสารบัญ


อิทธิบาท ๔


         อิทธิบาท ๔  คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณเครื่องสำเร็จประสงค์, ทางแห่งความสำเร็จ, หรือบาทฐานแห่งอิทธิหรือความสำเร็จด้วยดี  อันมี ๔ ประกอบด้วย

 ๑. ฉันทะ ความพอใจ ความรักใคร่ ความยินดีในสิ่งนั้น  เป็นความหมายในทางกุศล ที่หมายถึง ความรักงาน ความรักในกิจที่ทำ
         ๒. วิริยะ ความพากเพียร ความพยายามในสิ่งนั้น
         ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ ความฝักใฝ่ ความสนใจในสิ่งนั้น
         ๔. วิมังสา
ความหมั่นสอดส่องการพิจารณาหาเหตุหาผลในสิ่งนั้น

         ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องสัมพันธ์กัน  และแต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน  เป็นเหตุเป็นผลเกื้อหนุนกัน  กล่าวคือ เมื่อมี ฉันทะ ความยินดีความรักในกิจหรืองานที่กระทำา ย่อมทำให้เกิดวิริยะ ความเพียรความพยายามในกิจหรืองานนั้น   เมื่อมีความเพียรเกิดขึ้น จึงย่อมต้องเกิด จิตตะ ความฝักใฝ่ ความสนใจหรือเอาใจใส่ต่อสิ่งนั้น  เมื่อฝีกใฝ่ใส่ใจย่อม วิมังสา สอดส่องหรือพิจารณาในสิ่งนั้นอย่างหาเหตุหาผลหรือกอปด้วยปัญญานั่นเอง  อิทธิบาทจึงเป็นคุณอันวิเศษที่เกื้อหนุนให้ประสบความสำเร็จในกิจหรืองานต่างๆ  พระองค์ท่านจึงตรัสว่า เป็นบาทฐานเครื่องแห่งความสำเร็จ อันมีเหล่าเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้ เป็นเครื่องหนุนหรือองค์ประกอบในการทำให้เจริญขึ้นในอิทธิบาท ๔

จักไม่ย่อหย่อนเกินไป  ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก

          อิทธิบาท ๔ จึงเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมาย

พระไตรปิฎก

เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์ หัวข้อที่ ๕๐๘

ได้อรรถกถาธิบายไว้ดังนี้

         คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การสำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง ความกระทำให้แจ้งความเข้าถึงซึ่งธรรมเหล่านั้น

         คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์  สังขารขันธ์  วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น

         คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ  เจริญ  ทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่านั้น  ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒

ปุพพสูตร

(พระไตรปิฏก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๙)

วิธีเจริญอิทธิบาท ๔

วิธีเจริญอิทธิบาท ๔


[๑๑๓๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่

ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ของการเจริญอิทธิบาท.

    [๑๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่า

ฉันทะ ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป  ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก

และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น

เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น  เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น  เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น

กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น   กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น

เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่.

    [๑๑๓๘] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า

วิริยะ ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป  ไม่ต้องประคองเกินไป  ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก

และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น

เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น  เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น  เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น

กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น

เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่.

    [๑๑๓๙] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขารดังนี้ว่า

จิต ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป  ไม่ต้องประคองเกินไป  ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก

และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น

เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น   เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น  เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น

กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น

เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตใจให้สว่างอยู่.

    [๑๑๔๐] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร  ดังนี้ว่า

วิมังสา ของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป  ไม่ต้องประคองเกินไป  ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปไปในภายนอก

และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น

เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น  เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น  เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น

กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น  กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น

เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

    [๑๑๔๑] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง.....ฯลฯ.

    [๑๑๔๖] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมกระทำให้แจ้ง

ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบ สูตรที่ ๑

(พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)


วิภังคสูตร

วิธีเจริญอิทธิบาท ๔

             [๑๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทสมาธิและปธานสังขารดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น  เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น  เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น  เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น  กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น  กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น  เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิต ให้สว่างอยู่ ย่อม เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสา ของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น  เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น  เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น  เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น  กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น  กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น  เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

             [๑๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน?ฉันทะที่ประกอบ ด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไป.

             [๑๑๘๑] ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคองเกินไป.

             [๑๑๘๒] ก็ฉันทะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน.

             [๑๑๘๓] ก็ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก.

             [๑๑๘๔] ภิกษุมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น  เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างไร? ความสำคัญในเบื้องหลังและ เบื้องหน้า อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้วกระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

             [๑๑๘๕] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณากายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องล่างแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

             [๑๑๘๖] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วย เพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

             [๑๑๘๗] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร? อาโลกสัญญา (ความสำคัญในแสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่อย่างนี้แล.

             [๑๑๘๘] ก็วิริยะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่าวิริยะที่ย่อหย่อนเกินไป.

             [๑๑๘๙] ก็วิริยะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคองเกินไป.

             [๑๑๙๐] ก็วิริยะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุต ด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิริยะหดหู่ในภายใน.

             [๑๑๙๑] ก็วิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? วิริยะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่าวิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกฯลฯ

             [๑๑๙๒] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร อาโลกสัญญา อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.

             [๑๑๙๓] ก็จิตที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนเกินไป.

             [๑๑๙๔] ก็จิตที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุต ด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคองเกินไป.

             [๑๑๙๕] ก็จิตที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยถีนมิทธะสัมปยุตด้วย ถีนมิทธะ นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน.

             [๑๑๙๖] ก็จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? จิตที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภ กามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ

             [๑๑๙๗] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.

             [๑๑๙๘] ก็วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไป.

             [๑๑๙๙] ก็วิมังสาที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคองเกินไป.

             [๑๒๐๐] ก็วิมังสาที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมป- *ยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน.

             [๑๒๐๑] ก็วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ              [๑๒๐๒] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก.

             [๑๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้ อำนาจทางกายไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้.

             [๑๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบ สูตรที่ ๑๐


มหัปผลสูตร

อานิสงส์ของการเจริญอิทธิบาท

[๑๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้ว

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงมี

ผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและ

ปธานสังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเรา จักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ใน

ภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้า

ฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น

เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวัน

ก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ

ด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเรา จักไม่ย่อ

หย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมี

ความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด

เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น

กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไร

หุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำ

ให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้

ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด

พรหมโลกก็ได้.

[๑๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้

ย่อมกระทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย

ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบ สูตรที่ ๒

--------------


ความหมายของสมาธิและปธานสังขาร ในอิทธิบาท ๔

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์ ในหัวข้อที่ ๕๐๗)

สมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต  ความดำรงอยู่แห่งจิต  ความมั่นอยู่แห่งจิต  ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต  ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป  ความสงบ  สมาธินทรีย์  สมาธิพละ  สัมมาสมาธิ  อันใดนี้เรียกว่า สมาธิ

ปธานสังขาร เป็นไฉน  การปรารภความเพียรทางใจ  ความขะมักเขม้น  ความบากบั่น  ความตั้งหน้า  ความพยายาม  ความอุตสาหะ  ความทนทาน  ความเข้มแข็ง  ความหมั่น  ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย  ความไม่ทอดทิ้ง ฉันทะ..... ความไม่ทอดทิ้งธุระ  ความประคับประคองธุระไว้ด้วยดี  วิริยะ  วิริยินทรีย์  วิริยพละ  สัมมาวายามะ  อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร 







Create Date : 08 มิถุนายน 2559
Last Update : 8 มิถุนายน 2559 14:07:13 น.
Counter : 648 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]