เทคนิคการซื้อตั๋วเครื่องบินถู๊กถูก(2)



เทคนิคที่ใช้นอกจากตามที่ skyscanner แนะนำแล้ว ยังมีเทคนิคของตัวเอง ขอเล่าสู่กันฟัง เผื่อใครสนใจนำไปใช้
1. ค้นหาตั๋วจากหลายๆ travel website แล้วเปรียบเทียบราคา ข้อควรระวังคือ เห็นถูกอย่าพลีพลาม อย่ารีบซื้อ อ่านเงื่อนไขและพวก comment ดีๆ ก่อนซื้อ
2. ค้นหาแบบไม่เจาะจงวันเดินทาง ให้ web แสดงข้อมูลออกมาเป็นช่วงเวลา เราจะเห็นว่าวันไหนตั๋วถูกควรเดินทาง ส่วนใหญ่จะเป็นวันจันทร์ หรืออังคาร
3. ซื้อที่ละเที่ยว ถ้าพบว่าถูกกว่าซื้อไปกลับ ซึ่งอาจจะได้จาก ต่าง travel website และ คนละสายการบิน
4. ทำ cheap ticket alert กับ travel website หรือลงทะเบียนให้tส่งข้อมูลแจ้ง หากมีตั๋วถูกของสถานที่ที่ต้องการไป
5. ซื้อตั๋วล่วงหน้า บางที่อาจจะนานมาก ซึ่งบางคนไม่เห็นด้วย เอาเงินไปกองไว้กับสายการบิน
6. หมั่นเข้าไปส่องราคาตั๋วบ่อยๆ
7. ซื้อตั๋วผ่าน app บนมือถือ ได้ราคาถูกกว่า บน คอมพิวเตอร์

มีข้อพึงระวัง การซื้อตั๋วทาง Internet

1. website ที่เราไม่เคยใช้บริการ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ จาก comment ต่างๆ ก่อนตัดสินใจจ่ายเงินผ่าน online ด้วยเคยเจอ website หนึ่งตั๋วไปที่เดียวและ สายการบินเดียวกัน แต่ราคาถูกกว่าที่อื่นเป็น 10,000 แรกก็ตาโตกับของถูก แถมคืนตั๋วได้อีก สติมาเลยดูข้อวิจารณ์พบว่าคนที่เคยซื้อมีปัญหามากมาย เลยกลับไปใช้ website ที่ใช้ประจำ
2. ประวัติการบริการของสายการบินนั้นๆ โดยเฉพาะ low-cost การเลือกของถูกบางทีเจ็บสาหัส ผู้เขียนเคยจองตั๋วถูกบินในประเทศ New Zealand เลือกสายการบินนี้เพราะถูกสุด ถึงเวลาไปสนามบินซึ่งต้องบินไปสนามบิน International เพื่อต่อ flight กลับไทย เข้าไป check in สายการบินบอกมีปัญหาด้านเทคนิค ไม่บินเอาดื้อๆ บอกเขาว่าเราจะต้องไปต่อเครื่อง จะให้ทำงัย พนักงานบอกว่าให้ไปรถทัวร์ แล้วมองหน้าเฉยๆ พร้อมบอกจะคืนเงินให้ทีหลัง รับผิดชอบอย่างสูงสุดต่อลูกค้ามาก ผลต้องไปซื้อตั๋วสายการบินประจำชาติ ราคาแพงกว่าเท่าตัว ส่วนเงินที่จะคืนกว่าจะได้ 2 สัปดาห์ โดยต้องทำเรื่องขอคืนที่วุ่นวาย คนที่นั่นบอกว่าสายการบินนี้คนนิวซีแลนด์ ไม่มีใครใช้บริการหรอก
3. อ่านรายละเอียด เงื่อนไขต่างๆของตั๋วนั้นดีๆ โดยเฉพาะ low-cost น้ำหนัก จำนวนชิ้นของสัมภาระ ประกัน การจ่ายค่าตั๋วด้วยบัตรเครดิต ระบบการ check in การทำ seat reservation บางเรื่องพลาดไปหมายถึงค่าปรับหรือต้องจ่ายเพิ่ม ถ้าไม่แน่ใจโทรไปถาม ส่วนใหญ่โทรฟรี แม้สำนักงานจะอยู่ต่างประเทศก็ตาม
ประสบการณ์ซื้อตั๋วเครื่องบินของตัวเอง มักจะเลือก full-service ด้วยบางครั้งเปรียบเทียบแล้ว low –cost ไม่ถูกกว่า full –service หรือถูกกว่าเพียงเล็กน้อย เพราะราคาตั๋วที่ถูกนั้น คือตั๋วอย่างเดียวจริงจริ๊ง เราต้องจ่ายหลายอย่างเพิ่ม ทั้งระยะหลังยังมีวิธีผลักภาระให้ผู้ซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น
• ต้องจ่ายเพิ่มถ้าใช้บัตรเครดิต
• ถ้าเราต้องการตั๋วเป็นกระดาษ เราต้อง print เอง ไม่มีprinter ทำอย่างไร จะมีข้อมูลบนมือถืออย่างเดียวไม่ได้ เคยเจอว่าไปถึงเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ขาย Sim ทำปุ่มกดเปิดเสีย มือถือเดี้ยงไปเลย เปิดไม่ได้ การมีตั๋วกระดาษจึงอุ่นใจ
• ซื้อค่าน้ำหนัก ยิ่งไปต่างประเทศต้องมีแน่ๆ ขาไปไม่มีน้ำหนัก แต่ใครจะไปเที่ยวแล้วไม่ซื้อของ ขากลับก็มีแน่ๆ
• ค่าประกันการเดินทาง(ไม่ใช่ประกันการเจ็บป่วยตลอดเวลาเดินทาง อันนี้เราต้องซื้อเองอยู่แล้ว)
สายการบิน full-service มีความสะดวกสะบายที่คุ้มค่าเงินกว่า สภาพเครื่องบินดีกว่า ยิ่งเป็นสายการบินที่เพิ่งจะเปิดตลาด สายการบินแถบตะวันออกกลางหรือสายการบินที่ได้รางวัลสายการบินดีเด่นอะไรทำนองเนี่ยะ อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะ
ยังงัยก็ตามการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของสายการบิน low-cost ทำให้มีข่าวว่าสายการบิน full-service คิดจะปรับตัวในลักษณะ จัดให้บริการต่างๆ บนเครื่องเป็นตัวเลือกสำหรับผู้โดยสาร ใครต้องการอะไร ก็เลือกซื้อเป็นอย่างๆไป แต่ก็ไม่ทราบมีสายการบินใดเริ่มแล้วหรือไม่อย่างไร










Create Date : 22 มิถุนายน 2561
Last Update : 22 มิถุนายน 2561 13:33:17 น.
Counter : 484 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 3444784
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มิถุนายน 2561

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30