ต่อเติมบ้านอย่างไร? ให้ถูกกฎหมาย




ซื้อบ้านมือสองมาเเล้ว เเต่มีหลายส่วนที่อยากปรับแก้ หรือต่อเติมเพิ่มขึ้น เเต่เรื่องการต่อเติมเนี่ยอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าเราศึกษาไม่ดี อาจผิดกฎหมายก็ได้!! เเถมอาจได้รับโทษเพิ่มอีก เพราะตามกฎหมายกำหนดว่าการดัดแปลงอาคาร โดยมิได้รับอนุญาตมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
        ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กำหนดให้ผู้ที่จะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน หรือให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมทั้งดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ก็ใช้ได้ ซึ่งตามกฎหมาย (กฎกระทรวง ฉบับที่ 11)
        เเล้วแบบนี้เราจะสามารถต่อเติมหรือปรับแก้บ้านเราได้อย่างไรกัน แบบไหนถึงจะทำได้และถูกต้องตามกฎหมาย..ดังนั้นเรามาดูการต่อเติมแบบไหนที่ไม่ถือว่าการกระทำต่อไปนี้เป็นการดัดแปลงอาคารกันดีกว่า
1.การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม เว้นแต่การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ หรือที่เรียกกันว่าเป็นโครงสร้างของอาคาร (ถ้าโครงสร้างเดิมนี้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณเกิดเป็นสนิมผุกร่อน ถ้าเปลี่ยนใหม่ก็ต้องขออนุญาตก่อน แม้จะใช้วัสดุอุปกรณ์ ขนาด จำนวนเท่ากันก็ตาม)
2.การเปลี่ยนส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิมหรือวัสดุชนิดอื่น ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ (ส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้างอาคาร) แต่หากเกินก็ต้องยื่นขออนุญาต ควรให้วิศวกรเป็นผู้คำนวณ
3.การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ ไม่จำเป็นต้องยื่นขออนุญาตแต่อย่างใด
4.การลดหรือขยายเนื้อที่ของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งให้มีเนื้อที่น้อยลงหรือมากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน
5.การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคาให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน ไม่ต้องยื่นขออนุญาต
6.การเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้านจากแบบเดิมเป็นแบบใหม่ เช่น การเปลี่ยนผนังบ้าน จะต้องไม่ขัดกับกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติอื่น ๆ ด้วย กล่าวคือ หากของเดิมที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ให้ต้องสร้างเป็นผนังกันไฟ แต่ไปเปลี่ยนเป็นผนังธรรมดาอย่างนี้ก็ผิด หรือจากผนังทึบของอาคารชั้น 3 ซึ่งห่างจากเขตที่ดินของคนอื่นไม่ถึงสามเมตร แต่กลับไปเจาะทำประตูหน้าต่าง หรือที่ระบายลมด้านนั้นก็ไม่ได้ ผิดข้อบัญญัติ หรือกรณีการทำหลังคาคลุมพื้นชั้นล่าง แม้ว่าเนื้อที่จะเพิ่มขึ้นไม่ถึง 5 ตารางเมตร แต่ถ้าหลังคานั้นทำให้ที่ดินที่เป็นที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมลดน้อยลงไปกว่าร้อยละ 30 ก็ถือเป็นการขัดข้อบัญญัติ ทำไม่ได้เช่นกันนะ
        รู้ข้อกำหนดเเล้วว่าต่อเติมแบบไหนที่ไม่ผิดกฎหมาย ส่วนถ้าเกิดไม่เเน่ใจหรือคิดว่าจะปรับปรุงเพิ่มจากที่กำหนดไว้ อาจลองปรึกษาวิศวกร สถาปนิกได้ เพื่อความสบายใจ ความปลอดภัยของบ้าน เเละคนที่อยู่อาศัย


ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์



Create Date : 25 กันยายน 2561
Last Update : 25 กันยายน 2561 16:44:16 น.
Counter : 414 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 4741480
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



บ้านมือสอง คอนโดมือสอง
บ้านให้เช่า คอนโดให้เช่า
ลงประกาศขายบ้าน ประกาศขายบ้านฟรี



คำนวณสินเชื่อ (แบบง่าย)
คำนวณสินเชื่อ (กราฟ)
สินเชื่อที่เหมาะกับคุณ
อัตราหนี้สินต่อรายได้

กันยายน 2561

 
 
 
 
 
 
1
2
3
5
8
9
13
15
16
17
18
21
22
23
26
29
30
 
 
All Blog