ข้อควรระวัง "จุดต่อ" ของโครงสร้าง




หลายคนคงเคยฟังข่าวเหตุการณ์หลังคาจอดรถของบ้านหลังหนึ่งถล่มลงมาเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ เเละเกิดคำถามข้อสงสัยถึงสาเหตุอะไรที่ทำให้หลังคาถล่มลงมาได้ วันนี้เราจะพามาวิเคราะห์กัน!
        เมื่อลองวิเคราะห์ในเชิงวิศวกรรมโครงสร้างจากข่าว บวกกับใช้วิธีหยุดภาพข่าวเพื่อดูรายละเอียดการถล่มที่เกิดขึ้น โดยภาพที่ถ่ายจากมุมต่างๆ เเละรายงานข่าวว่าหลังคาที่ถล่มมีจุดยึดเพียง 3 จุด เเละเเต่ละจุดมีน็อตเหล็ก 2 ตัว รวมทั้งสิ้นมีน็อตเหล็ก 6 ตัว (คำเรียกน็อตเหล็กลักษณะนี้คือพุกเหล็ก)
        ที่นี่พอมาดูลักษณะการหลุดถล่มของหลังคาไม่ใช่เกิดจากการขาดของพุกเหล็กเต่อย่างใด เพราะตัวพุกเหล็กยังติดอยู่กับโครงหลังคาเหล็กที่หลุดลงมา เเต่เป็นการหลุดรูดของพุกเหล็กจากรูคอนกรีตคานระเบียง ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่าเมื่อใช้งานนานวัน เนื้อคอนกรีตเกิดเเตกยุ่ยขึ้นจากเเรงที่พุกกระทำ เเละโครงสร้างหลังคาที่เป็นโครงเหล็กกับการเทแผ่นพื้นหลังคาด้วยคอนกรีตทำให้มีน้ำหนักมาก
        เมื่อรับเเรงจากการใช้งานนานเข้า เเละยังโดนฝนตกลงหลังคา น้ำก็ระบายได้ช้า ยิ่งเพิ่มน้ำหนักมากขึ้นไปอีก  ถึงจุดที่รับน้ำหนักไม่ไหว ก็หลุดพังลงมา
นอกจากนี้ส่วนของเสาอีกด้านที่รับหลังคาก็น่าจะมีขนาดไม่ใหญ่มากจึงหักลงมา ทำให้แผ่นหลังคาตกลงมาติดพื้น
       ในเชิงวิศวกรรมเเล้วโครงสร้างที่มีน้ำหนักมากอาจใช้ทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่พุกเหล็กเเทนได้ โดยวิศวกรอาจออกแบบจุดรับด้วยการให้ฝังเเผ่นเหล็กที่มีขาเชื่อมติด (เรียกว่าแผ่นเหล็กพร้อมหนวดกุ้ง) ไว้ในคานคอนกรีตขณะเทคอนกรีต แล้วจึงนำโครงหลังคามาเชื่อมกับแผ่นเหล็กที่ฝังไว้ ซึ่งจะมีความแข็งแรงมากกว่าการนำแผ่นเหล็กมาเจาะรูและยิงพุกยึด
        แต่ในกรณีที่ไม่ได้ฝังแผ่นเหล็กไว้ก็มีวิธีการใช้พุกที่เรียกว่าพุกเคมี ซึ่งลักษณะของพุกเคมีคือการเจาะรูคอนกรีตและใส่หลอดแก้วที่บรรจุเคมีประเภท Epoxy ไว้ภายใน จากนั้นจึงตอกพุกเหล็กและปั่นด้วยสว่านเข้าไปให้หลอดแก้วแตก เคมีที่อยู่ในหลอดแก้วก็จะแห้งแข็งจับยึดพุกเหล็กและเนื้อคอนกรีตเข้าด้วยกัน ไม่มีทางที่จะรูดออกจากรูได้



        จากรูปคือลักษณะของพุกเคมี ซึ่งในการก่อสร้างบางครั้งลืมเสียบเหล็กก็ต้องใช้พุกเคมีมาใช้และเสียบเหล็กเข้าในหลอดพุกเคมี ส่วนปัญหาอีกด้านหนึ่งของบ้านหรืออาคารโดยทั่วไปที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการต่อเติมพื้นที่ นั่นคือการทรุดตัวของส่วนต่อเติมเมื่อเทียบกับโครงสรางเดิม ซึ่งการต่อเติมไม่ว่าจะทำอย่างไรก็มีโอกาสทรุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้างของช่างแต่ละคน
        ในความเป็นจริงแล้วโครงสร้างที่สร้างขึ้นทุกประเภทจะเกิดการทรุดตัว แต่การทรุดตัวของโครงสร้างที่ได้ออกแบบโดยวิศวกรโครงสร้างจะทรุดลงในอัตราที่ตํ่าจนอาจสังเกตไม่พบ และเมื่อทรุดตัวถึงจุดหนึ่งก็จะหยุดการทรุดตัว
        ยิ่งมีการสร้างต่อเติมโครงสร้างเพิ่มเติม แต่ไม่สามารถใช้เสาเข็มที่มีความยาวเท่ากับโครงสร้างหลักแล้ว การทรุดตัวย่อมเกิดขึ้นมากกว่า เหตุผลคือเรื่องของการรับนํ้าหนักของเสาเข็มเป็นการรับนํ้าหนักด้วยแรงเสียดทานของพื้นผิวเสาเข็มกับดินที่เสาเข็มฝังอยู่


ที่มารูปภาพ : https://www.arkarnsin.com




Create Date : 20 กันยายน 2561
Last Update : 21 กันยายน 2561 17:35:07 น.
Counter : 1486 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 4741480
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



บ้านมือสอง คอนโดมือสอง
บ้านให้เช่า คอนโดให้เช่า
ลงประกาศขายบ้าน ประกาศขายบ้านฟรี



คำนวณสินเชื่อ (แบบง่าย)
คำนวณสินเชื่อ (กราฟ)
สินเชื่อที่เหมาะกับคุณ
อัตราหนี้สินต่อรายได้

กันยายน 2561

 
 
 
 
 
 
1
2
3
5
8
9
13
15
16
17
18
21
22
23
26
29
30
 
 
All Blog