"นายหน้า" 6 ประเภท



“นายหน้า” หนึ่งในอาชีพผู้ช่วยที่จะมาเป็นคนกลางให้เราขายบ้านสะดวก รวดเร็ว เเละง่ายขึ้น ใครคิดจะขายบ้านหลังเเรก ไม่มีช่องทาง หรือไม่มีเวลา การฝากขายกับนายหน้าดูเป็นทางเลือกที่ไม่เลวเลย จะได้ดำเนินการจัดการขั้นตอนยุ่งๆ ไปได้ ถือเป็นอาชีพที่รายได้ดีไม่น้อยเลย วันนี้เราเลยพามารู้จักกันว่านายหน้าที่เราเห็นๆ กันนั้นมีกี่ประเภท อะไรบ้างนะ

1.นายหน้าพื้นบ้าน
เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดเพราะทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย ค่าใช้จ่ายก็น้อย จึงไม่กระทบต่ออาชีพหลัก โดยคนที่จะสร้างรายได้ได้แบบเป็นกอบเป็นกำก็มักจะเป็นคนที่เป็นที่รู้จักในชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าของร้านค้า นายหน้าพื้นบ้านจะทำงานกันอย่างง่ายๆ อาจติดต่อผู้ซื้อผู้ขายบ้านโดยตรงหรือใช้ระบบเครือข่ายการบอกต่อกันมา แม้ปัจจุบันจะถูกนายหน้ากลุ่มใหม่ๆแย่งตลาดในเขตกรุงเทพฯไปบ้าง แต่ก็ยังถือว่ามีอิทธิพลต่อการซื้อขายบ้านทั่วประเทศอยู่มากทีเดียว

2.นายหน้าตัวแทน
กลุ่มนี้ถือว่ามีสิทธิเหนือนายหน้าทั่วไปเพราะเป็นตัวแทนของผู้ซื้อหรือผู้ขายโดยตรง อาจได้รับมอบหมายมาหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับอสังหาฯที่จะซื้อขายด้วย หรือถ้าเป็นตัวแทนฝ่ายผู้ซื้อก็อาจเป็นเพื่อน ที่ปรึกษา หรือฝ่ายจัดซื้อของผู้ซื้อ นายหน้าตัวแทนจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการเจรจากับนายหน้าทั่วไปที่ติดต่อเข้ามาโดยแบ่งค่านายหน้ากันตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่ถ้าผู้ซื้อและผู้ขายไม่เข้ามาดูแลผลประโยชน์ของตัวเองอย่างใกล้ชิด ก็อาจเสียผลประโยชน์ให้นายหน้าของตนเองโดยไม่รู้ตัวได้

3.นายหน้าวิชาชีพ 
เป็นนายหน้าที่เกิดขึ้นในยุคหลัง ทำงานอยู่ในเมืองที่เจริญแล้ว เรียนรู้วิธีการทำงานอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานคล้ายนายหน้าโบรคเกอร์ นายหน้าวิชาชีพจะให้บริการผู้ซื้อและผู้ขายแบบครบวงจรตั้งแต่ทำสัญญาไปจนถึงวันโอนกรรมสิทธิ์ นายหน้าประเภทนี้ต้องมีความรู้เป็นอย่างดี ให้ข้อมูลเปรียบเทียบกับลูกค้าได้ รวมทั้งมีความรู้ขึ้นพื้นฐานที่จำเป็นอย่างความรู้ด้านภาษาและกฎหมาย ถือเป็นนายหน้าที่มีโอกาสเข้ามาแทนที่นายหน้าพื้นบ้านในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดใหญ่ๆได้

4.นายหน้าบริหารโครงการ 
ทำงานในรูปบริษัทหรือนิติบุคคลโดยทำงานกันเป็นทีม มีพนักงานประจำฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ฝายสินเชื่อ รับบริหารการขายให้เจ้าของโครงการจัดสรรทุกประเภท นายหน้าระบบนี้มีที่มาหลากหลาย เริ่มจากบริษัทนายหน้าต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจนี้นานแล้ว เริ่มตั้งแต่บริหารโครงการคอนโดและหันไปบริหารโครงการประเภทอื่นๆเพิ่มแล้วแตกตัวเป็นบริษัทลูกมาทำธุรกิจเดียวกัน หรือแตกตัวมาจากทีมงานขายของโครงการต่างๆ นายหน้าบริหารอาจมีการทำตลาดหลายแนวทาง และเงื่อนไขการทำงานกับผู้ขายก็มีหลายวิธีด้วย

5.นายหน้าโบรคเกอร์
ทำธุรกิจในรูปนิติบุคคล คนทั่วไปเรียกว่าโบรคเกอร์ เป็นนายหน้าที่ไม่ได้ทำงานด้วยตัวเองเพราะเป็นนิติบุคคล แต่ใช้ระบบบริหารบุคลากรที่เป็นพนักงานขายให้ทำงานแทน เริ่มมีให้เห็นอย่างชัดเจนในช่วงยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในกรุงเทพมหานครและจังหวัดหรืออำเภอที่มีคำเจริญมากๆ มีระบบให้บริการลูกค้าทุกฝ่ายแบบครบวงจรคล้ายนายหน้าอิสระ แต่มีความน่าเชื่อถือกว่า และสามารถให้บริการด้านอื่นได้ด้วยเพราะมีพนักงานหลายฝ่ายคอยให้บริการอยู่

6.นายหน้าสมทบ 
เป็นพนักงานขายอสังหาฯที่ทำงานภายใต้สังกัดของนายหน้าโบรคเกอร์ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้เพราะทุกคนจะได้รับการฝึกให้มีความรู้ภายใต้การควบคุมของโบรคเกอร์ต้นสังกัด แนวทางการทำงานไม่ต่างจากนายหน้าอิสระมากนัก ใช้มาตรฐานการทำงานที่เป็นระบบสากล เน้นเรื่องการให้ความสะดวกแก่ลูกค้า และถือเป็นกำลังหลักในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนระบบนายหน้าโบรคเกอร์

ที่มา : หนังสือ Professional Broker เรียนลัดอาชีพ ‘นายหน้า’




Create Date : 06 กันยายน 2561
Last Update : 6 กันยายน 2561 17:19:51 น.
Counter : 309 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 4741480
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



บ้านมือสอง คอนโดมือสอง
บ้านให้เช่า คอนโดให้เช่า
ลงประกาศขายบ้าน ประกาศขายบ้านฟรี



คำนวณสินเชื่อ (แบบง่าย)
คำนวณสินเชื่อ (กราฟ)
สินเชื่อที่เหมาะกับคุณ
อัตราหนี้สินต่อรายได้

กันยายน 2561

 
 
 
 
 
 
1
2
3
5
8
9
13
15
16
17
18
21
22
23
26
29
30
 
 
All Blog