เรียนจบใหม่วางแผนซื้อบ้านยังไงดี ?


ไม่ว่าจะทำงานมาแล้วหลายปีหรือคนเพิ่งจบใหม่เริ่มทำงานไม่นาน หากตัดสินใจจะซื้อบ้านด้วยเงินผ่อน (กู้ธนาคาร) ก็ต้องวางแผนการเงินด้วยกันทั้งสิ้น ยิ่งเตรียมการล่วงหน้านานเท่าไหร่ก็ยิ่งดี ฉะนั้นคนที่เรียนจบและเริ่มทำงานถ้าสามารถวางแผนการเงินได้ตั้งแต่ตอนนั้นก็จะยิ่งดี 




ออม 10% ใช้จ่ายไม่ควรเกิน 50% 
อันดับแรกที่ต้องพิจารณาคือค่าใช้จ่ายที่จำเป็น กำหนดไว้ไม่ควรเกิน 50% ของรายได้ เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าของใช้ส่วนตัว เป็นต้น และต้องออมเงินให้ได้อย่างน้อย 10%  
นอกจากนี้ต้องจัดสรรเงินอีกไม่เกิน 40% ของรายได้ไว้เป็นค่างวดผ่อนบ้านด้วย (เพราะหลักการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารส่วนใหญ่กำหนดอัตราค่าผ่อนชำระต่องวดไม่เกิน 30-40% ของรายได้)
ดังนั้นสำหรับคนเรียนจบใหม่ที่สตาร์ทเงินเดือนขั้นต่ำประมาณ 20,000 บาท และกำลังเตรียมตัวจะซื้อบ้านหรือคอนโดฯ ก็ไม่ควรจะมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเกิน 10,000 บาทต่อเดือน เพราะจะต้องสำรองเงิน 40% ของรายได้ หรือประมาณ 8,000 บาทไว้จ่ายเป็นค่างวดผ่อนบ้าน
        นอกจากนี้ต้องไม่ลืมว่าธนาคารจะปล่อยกู้ไม่เกิน 80-85% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน ดังนั้นเงินส่วนต่างของค่าบ้านอีก 15-20% เราต้องเก็บออมเอาไว้ก่อน
ประเมินเบื้องต้นถ้ามีรายได้ 20,000 บาท จะสามารถซื้อบ้านหรือคอนโดฯ ได้ในราคา 1.4 ล้านบาท แต่วงเงินกู้ที่จะได้รับอนุมัติจากธนาคารจะอยู่ที่ 1.1 ล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นผู้กู้จะต้องเก็บเงินออมไว้ประมาณ 280,000 บาทสำหรับจ่ายเป็นค่าผ่อนดาวน์ หากทำได้แบบนี้เรื่องกู้ซื้อบ้านก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป 

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากค่าบ้าน

  สำหรับคนกู้ซื้อบ้านนอกจากค่าใช้จ่ายหลักๆ ที่ต้องผ่อนชำระรายเดือนให้ธนาคารแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงินจำนวนไม่น้อยที่ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าเช่นกัน เพื่อจ่ายให้กับกรมที่ดินบ้าง หรือจ่ายให้กับธนาคารในระหว่างยื่นกู้ด้วย เช่น 
* ค่าใช้จ่ายกับโครงการ เช่น เงินจองซื้อและค่าสัญญา ค่าเงินกองทุนส่วนกลาง ค่าประกันมิเตอร์น้ำ-ไฟและค่าประกันภัย เป็นต้น 
* ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมไว้จ่ายให้กับกรมที่ดินในวันโอน เช่น ค่าจดจำนอง 1% ของเงินกู้ ค่าธรรมเนียมการโอน 2% และค่าอากร 0.5% 
* ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับธนาคาร เช่น ค่าประเมินหลักทรัพย์ 2,000-4,000 บาท เบี้ยประกันอัคคีภัยที่จะเรียกเก็บล่วงหน้า 3-5 ปี รวมถึงเบี้ยประกันสินเชื่อ MRTA (ในบางกรณี)
* ค่าตกแต่ง ค่าเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงค่าขนย้ายเข้าบ้านใหม่ เป็นต้น  
        นอกจากค่าใช้จ่ายเหล่านี้ที่ต้องเตรียมเก็บไว้ล่วงหน้าแล้ว ยังมีเงินอีกส่วนหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม นั่นคือวงเงินสำรองล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งควรเตรียมไว้เพื่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ถูกให้ออกจากงานกะทันหัน จะได้นำเงินก้อนนี้มาผ่อนชำระไปพลางๆ ระหว่างหางานใหม่
        ดังนั้นเบ็ดเสร็จแล้วหากซื้อบ้านประมาณ 1.4-1.5 ล้านบาท เราอาจต้องมีเงินก้อนเก็บไว้เต็มที่ถึง 400,000 บาท ถ้าทำได้แบบนี้ก็สบายใจหายห่วงได้ แต่ถ้าทำไม่ได้หรือเก็บได้ไม่ถึง หากเกิดเหตุไม่คาดคิดโอกาสที่จะถูกฉุดเข้าวงจร “หนี้” ก็อาจเป็นไปได้




Create Date : 05 พฤศจิกายน 2561
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2561 17:01:20 น.
Counter : 469 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 4741480
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



บ้านมือสอง คอนโดมือสอง
บ้านให้เช่า คอนโดให้เช่า
ลงประกาศขายบ้าน ประกาศขายบ้านฟรี



คำนวณสินเชื่อ (แบบง่าย)
คำนวณสินเชื่อ (กราฟ)
สินเชื่อที่เหมาะกับคุณ
อัตราหนี้สินต่อรายได้

พฤศจิกายน 2561

 
 
 
 
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
17
18
19
20
24
25
26
27
30
 
 
All Blog