สุดแต่ใจจะไขว่คว้า สุดแต่ใจจะไขว่คว้า สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
=สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ^_^ สุดแต่ใจจะไขว่คว้า=
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
19 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 

ผลของการใช้แก๊สเอทธิลีนที่มีผลต่อยางพารา

 ผลของการใช้แก๊สเอทธิลีนที่มีผลต่อยางพารา

         ประเทศไทยมีศักยภาพด้านการผลิตและการพัฒนายางโดยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งภาคใต้จัดเป็นภูมิภาคที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกยางพารา มีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดของประเทศ แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกยางพาราได้ถูกเปลี่ยนไปปลูกปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้พื้นที่ปลูกยางพาราในภาคใต้มีแนวโน้มเริ่มลดลง ทำให้การขยายพื้นที่ปลูกยางพาราเพื่อเพิ่มผลผลิตจึงถูกจำกัดลง จึงต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพต่อครั้งกรีด (tapping efficiency) เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น เช่น RRIMFLOW,  LET และ Double Tex ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้แก๊สเอทธิลีน (ethylene) เพื่อกระตุ้นให้ต้นยางพารามีการผลิตน้ำยางได้ยาวนานขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำยางที่ได้ต่อครั้งกรีดสูงขึ้น และเริ่มมีการใช้วิธีการดังกล่าวมากขึ้น โดยใช้กับต้นยางที่มีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป จึงมีความความจำเป็นในการวิจัยเพื่อประเมินถึงผลดีและผลเสียของการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลทางวิชาการสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางในการตัดสินใจเลือก โดยที่ไม่ส่งผลเสียต่อต้นยาง คุณภาพน้ำยาง และความคุ้มทุนเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการกรีดแบบเดิมของเกษตรกร (conventional tapping system) ทำการทดลองที่สถานีวิจัยและฝึกภาคสนามเทพา คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ในยางพาราอายุ 21 ปี (พ.ศ.2553) ทดลองกับยางพาราพันธุ์ RRIM600 ใช้ระยะปลูก 3×7 เมตร ปลูกในดินร่วนปนทราย   มีค่าความเป็นกรด-ด่างประมาณ 5.5 โดยทดลองเกี่ยวกับ RRIMFLOW, LET, Double Tex และ Ethephon ที่มีต่อผลผลิตน้ำยางและการเจริญเติบโต



ผลการศึกษา

              การใช้ระบบกรีดที่มีเอทธิลีนชนิดแก๊สร่วมกับอุปกรณ์ RRIMFLOW คือ ระบบกรีดหนึ่งในแปดของลำต้น กรีดขึ้น วันเว้นสองวัน ร่วมกับอุปกรณ์ RRIMFLOW (1/8S↑1d/3 + RRIMFLOW) ให้ผลผลิตต่อครั้งกรีดสูงสุด 137.70 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด และให้ผลผลิตสะสมกรัมต่อต้นต่อปีสูงสุด 5,921.10 กรัมต่อต้น ซึ่งได้ปริมาณผลผลิตต่อครั้งกรีดและปริมาณผลผลิตสะสมสูงกว่าการใช้ระบบกรีดปกติ สำหรับระบบกรีดหนึ่งในแปดของลำต้น กรีดขึ้น วันเว้นสองวัน (1/8S↑ 1d/3) ให้ผลผลิตต่อครั้งกรีดต่ำสุด 45.54 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด และให้ผลผลิตสะสมกรัมต่อต้นต่อปีต่ำสุด 1,958.42 กรัมต่อต้น ซึ่งได้ปริมาณผลผลิตต่อครั้งกรีดและปริมาณผลผลิตสะสมต่ำกว่าการใช้ระบบกรีดปกติ

               การใช้ระบบกรีดที่มีเอทธิลีนทำให้ปริมาณเนื้อยางแห้งที่ได้มีเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำกว่าการใช้ระบบกรีดแบบปกติ แต่ช่วยลดการสูญเสียหน้ากรีดลงได้ และให้ผลผลิตต่อครั้งกรีดเพิ่มขึ้นกว่าการใช้ระบบกรีดแบบปกติ โดยที่มีอัตราการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน

                การใช้ระบบกรีดที่มีเอทธิลีนทำให้องค์ประกอบทางชีวเคมีในน้ำยางเปลี่ยนแปลงไปโดยไปลดปริมาณซูโครสและมีปริมาณของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น กว่าการใช้ระบบกรีดแบบปกติโดยเฉพาะระบบกรีดที่มีเอทธิลีนชนิดแก๊สร่วมกับอุปกรณ์ RRIMFLOW จะมีผลอย่างชัดเจน

                การใช้ระบบกรีดที่มีเอทธิลีนชนิดแก๊สร่วมกับอุปกรณ์ RRIMFLOW มีผลตอบแทนสุทธิสูงสุด (27%) มากกว่าการใช้ระบบกรีดแบบปกติทั่วไป



หมายเหตุ : คิดจากราคายางแผ่นดิบเฉลี่ยในรอบของการศึกษาราคากิโลกรัมละ 119.79 บาท

     รายได้สุทธิ = (ผลผลิตสะสม x ราคายาง) – ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

การใช้ระบบกรีดหนึ่งในแปดของลำต้น กรีดขึ้น วันเว้นสองวัน ร่วมกับอุปกรณ์ RRIMFLOW จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนี้

       ค่าอุปกรณ์ RRIMFLOW                                   = 39 บาทต่อต้น

       ค่าแก๊สเอทธิลีน 0.2 บาท/ต้น/ครั้ง ใช้ 17 ครั้ง       = 3.4 บาทต่อต้นต่อครั้ง

                                    รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด         = 42.4 บาทต่อต้นต่อปี

การใช้ระบบกรีดหนึ่งในแปดของลำต้น กรีดขึ้น วันเว้นสองวัน ร่วมกับอุปกรณ์ LET จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนี้

       ค่าอุปกรณ์ LET                                             = 39 บาทต่อต้น

       ค่าแก๊สเอทธิลีน 50 สตางค์/ต้น/ครั้ง ใช้ 23 ครั้ง    = 11.5 บาทต่อต้นต่อครั้ง

                                   รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด          = 50.5 บาทต่อต้นต่อปี

การใช้ระบบกรีดหนึ่งในแปดของลำต้น กรีดขึ้น วันเว้นสองวัน ร่วมกับอุปกรณ์ Double Tex จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนี้

       ค่าอุปกรณ์ Double Tex                                   =  39 บาทต่อต้น

       ค่าแก๊สเอทธิลีน 50 สตางค์/ต้น/ครั้ง ใช้ 17 ครั้ง     = 8.5 บาทต่อต้นต่อครั้ง

                                   รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด          = 47.5 บาทต่อต้นต่อปี

การใช้ระบบกรีดหนึ่งในแปดของลำต้น กรีดขึ้น วันเว้นสองวัน ร่วมกับสารเคมีเร่งน้ำยาง 5 เปอร์เซ็นต์ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนี้

       ค่าสารเคมีเร่งน้ำยางเอทิฟอน (5% ) 0.2 บาท/ต้น/ครั้ง ใช้ 6 ครั้ง 

                                                                    = 1.2 บาทต่อต้นต่อครั้ง

                                รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด          = 1.2 บาทต่อต้นต่อปี




 

Create Date : 19 ตุลาคม 2555
0 comments
Last Update : 19 ตุลาคม 2555 11:47:41 น.
Counter : 1550 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


bestyx
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]





เป็นคนเรียบง่าย สบาย ๆ ..คิดอะไรได้ช้า.. คิดไม่ค่อยทันคนอื่น...เขียนอะไรไม่ค่อยเป็น... เลยต้องหาสิ่งที่คนอื่นคิด สิ่งที่คนอื่นเขียน มาเก็บรวบรวมไว้อ่าน เพื่อให้ตนเองได้ฉลาดขึ้น เป็นคนที่ไม่ชื่นชอบหรือหลงใหลสิ่งใดเป็นพิเศษ ..แต่ก็ค้นหาหาไปเรื่อยๆ.. จนกว่าได้จะพบเจอ....แต่ดูเหมือนว่า ยิ่งค้นหาก็ .."ยิ่งยาก".. ที่จะพบ เพราะโลกกว้างใหญ่เกินไปที่มนุษย์ตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งจะเรียนรู้ได้หมด

Friends' blogs
[Add bestyx's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.