สุดแต่ใจจะไขว่คว้า สุดแต่ใจจะไขว่คว้า สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
=สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ^_^ สุดแต่ใจจะไขว่คว้า=
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
19 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 
การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง



การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง

             สารเคมีเร่งน้ำยาง หมายถึง สารเคมีที่เมื่อใช้กับต้นยาง ทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้น โดยจะยืดเวลาการไหลของน้ำยางให้นานขึ้น สารเคมีเร่งน้ำยาง
ที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบันได้แก่ 2-chloroethylphosphonic acid ซึ่งมีชื่อสามัญว่า เอทธิฟอน (ethephon) ซึ่งสามารถปล่อยแก๊สเอทธิลีน (ethylene) ออกมาช้าๆ หรือการให้แก๊สเอทธิลีนโดยตรงกับต้นยางบริเวณเปลือกที่ใกล้รอยกรีดหรือเจาะ แก๊สเอทธิลีนจะกระจายและซึมเข้าสู่เปลือกชั้นใน เข้าสู่ท่อน้ำยาง
ทำให้น้ำยางสามารถไหลผ่านผนังเซลล์ได้ดีขึ้น เพิ่มปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงน้ำตาลซูโครสเพิ่มความดันภายในท่อน้ำยาง เพิ่มบริเวณพื้นที่ให้น้ำยาง ชะลอ
การจับตัวของเม็ดยางในท่อน้ำยาง การอุดตันจึงช้าลง ทำให้น้ำยางไหลได้นานขึ้น
การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง มี 4 แบบ คือ
             2.1 การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5% กับหน้ากรีดปกติ เมื่อต้องการกรีดซ้ำเปลือกงอกใหม่
                       - ทาใต้รอยกรีด โดยขูดเปลือกใต้รอยกรีด กว้าง 2.5 เซนติเมตร และทาสารเคมีเร่งน้ำยาง
                       - หยดในรอยกรีด โดยใช้สารเคมีเร่งน้ำยางที่มีความเข้มข้น 5% จำนวน 1 ส่วนผสมน้ำ 1 ส่วน หรือความเข้มข้น 10% ส่วน ผสมน้ำ 3 ส่วน หยดในรอยกรีดที่ลอกยางบนรอยกรีดออกแล้วประมาณ 3-4 หยด
                       - ทาในรอยบาก ใช้มีดกรีดยางทำแนวบากเป็นร่องตื้นๆ ขนาดกว้าง 0.5 เซนติเมตร ต่ำจากแนวรอยกรีด 2.5 เซนติเมตร และทาสารเคมี
เร่งน้ำยางในรอยบาก
             2.2 การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ความเข้มข้น 2.5% กับหน้ากรีดปกติเมื่อไม่ต้องการกรีดซ้ำเปลือกงอกใหม่
                       - ทาเหนือรอยกรีด ใช้สารเคมีเร่งน้ำยางทาเหนือรอยกรีด กว้าง 1.25 เซนติเมตร
             2.3 การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ความเข้มข้น 2.5% กับการกรีดยางหน้าสูงโดยการกรีดขึ้น
                       - ทาในรอยบาก ใช้มีดกรีดยางทำแนวบากเป็นร่องตื้นๆ ขนาดกว้าง 0.5 เซนติเมตร ให้รอยบากอยู่สูงกว่าแนวรอยกรีด 4-5 เซนติเมตร และทาสารเคมีในรอยบาก ความถี่ของการใช้สารเคมีเดือนละครั้ง
                       - ทาตามแนวตั้ง 3 แถบ ใช้มีดเก๊าจ์ขูดเปลือกเหนือรอยกรีดตามแนวตั้ง 3 แถบ กว้างแถบละ 1.5 เซนติเมตร ความยาวของแถบเป็น
ครึ่งหนึ่งของความยาวรอยกรีด และทาสารเคมีเร่งน้ำยางในแถบทั้ง 3 แถบ ความถี่ของการใช้สารเคมี 2 เดือนต่อครั้ง
              2.4 การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางชนิดแก๊สเอทธิลีน ใช้เฉพาะกับการกรีดหรือเจาะเปลือกหน้าสูง ยังไม่แนะนำให้ใช้กับต้นยางที่กรีดหน้าล่างปกติ
                       - บรรจุแก๊สเอทธิลีนในอุปกรณ์เก็บที่ติดตั้งกับต้นยาง บริเวณเปลือกหน้าสูงใกล้รอยกรีดหรือเจาะ โดยให้แก๊สเอทธิลีน 2 ครั้งต่อเดือน เมื่อใกล้โค่นให้ 3 ครั้งต่อเดือน
การเตรียมสารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5%
                       สารเคมีเร่งน้ำยางที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ส่วนมากเป็นชนิด 5% และ 10% แต่ความเข้มข้นของสารเคมีเร่งน้ำยางที่ใช้ในการกรีดที่แนะนำ
เป็น 2.5% ดังนั้นจึงต้องทำให้เจือจาง โดยผสมน้ำหรือน้ำมันปาล์ม ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ ถ้าผสมน้ำมันปาล์มให้ทาเหนือรอยกรีด ใต้รอยกรีด หรือในรอยกรีด แต่ในกรณีหยดในรอยกรีดให้ผสมน้ำ ส่วนการกรีดหน้าสูงหรือเปลือกงอกใหม่ ใช้ผสมน้ำมันปาล์มหรือสารละลายแป้งมันเป็นตัวเจือจางก็ได้ โดยมีสัดส่วน
ในการเจือจางให้ได้ความเข้มข้น 2.5% ดังนี้
                                                                     ความเข้มข้น 5% ใช้ 1 ส่วน + ตัวเจือจาง 1 ส่วน
                                                                     ความเข้มข้น 10% ใช้ 1 ส่วน + ตัวเจือจาง 3 ส่วน
                       สารเคมีเร่งน้ำยางที่ผสมกับตัวเจือจางแล้ว ไม่ควรบรรจุในภาชนะที่เป็นโลหะและต้องผสมใช้ทันที โดยผสมให้มีปริมาณพอเหมาะที่จะใช้หมด
เป็นคราวๆ เพราะเมื่อผสมแล้วไม่ค่อยอยู่ตัว
 ระบบกรีดและจำนวนครั้งของการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
                       การกรีดด้วยระบบกรีด หนึ่งวันเว้นสองวัน สามารถใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 3-4 ครั้งต่อปี การใช้แต่ละครั้งให้สังเกตผลผลิต คือจะทาครั้งต่อไป
เมื่อผลผลิตลดลงใกล้เคียงกับผลผลิตก่อนใช้ ส่วนการกรีด วันเว้นวัน สามารถใช้สารเคมีเร่งน้ำยางร่วมกับการกรีดได้ เมื่อกรีดเปลือกงอกใหม่ โดยใช้ 4-6 ครั้งต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มผลผลิตให้กับต้นยางได้ การกรีดด้วยระบบกรีด ครึ่งลำต้นวันเว้นวันร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ในระยะเปลือกงอกใหม่ สามารถเพิ่มผลผลิตร้อยละ 31-49 เมื่อเทียบกับการไม่ใช่สารเคมีเร่งน้ำยาง ส่วนการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับต้นยางก่อนโค่น สามารถใช้สารเคมีเร่งน้ำยางได้ 6-10 ครั้งต่อปี โดยหากเปลือกหน้าล่างอยู่ในสภาพสมบูรณ์ก็ใช้ทาร่วมกับการกรีดหน้าล่าง แต่หากหน้าล่างเปลือกบางหรือเสียหาย ควรใช้การกรีดหน้าสูง กรีดขึ้น ความยาว 1 ใน 3 ของลำต้น กรีดวันเว้นวัน ร่วมกับให้สารเคมีเร่งน้ำยาง ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตสูงกว่า
การตอบสนองของพันธุ์ยางต่อสารเคมีเร่งน้ำยาง
                       ยางแต่ละพันธุ์ตอบสนองต่อสารเคมีเร่งน้ำยางแตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ควรพิจารณาพันธุ์ยางประกอบด้วย เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางสูงสุด การตอบสนองของพันธุ์ยางต่างๆ เป็นดังนี้ พันธุ์ยาง BPM 1 ตอบสนองสารเคมีเร่งน้ำยางดี พันธุ์ยางสงขลา 36 PB 255 PB 260 PR 255 RRIC 110 RRIM 600 และ GT 1 ตอบสนองสารเคมีเร่งน้ำยางปานกลาง และพันธุ์ยาง BPM 24 PB 235 สถาบันวิจัยยาง 250 และสถาบันวิจัยยาง 251 ตอบสนองสารเคมีเร่งน้ำยางต่ำ
ผลกระทบที่มีต่อต้นยางจากการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
                       1. ปริมาณเนื้อยางแห้งลดลง การใช้สารเคมีเอทธิฟอนทำให้ปริมาณเนื้อยางแห้งลดลงร้อยละ 3-6 การลดลงมากหรือน้อยขึ้นกับชนิด
ของพันธุ์ยางและการใช้สารเคมีบ่อยครั้งมีผลให้ปริมาณเนื้อยางแห้งลดลงมากขึ้น
                       2. การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางบ่อยครั้งร่วมกับการใช้ระบบกรีดถี่ เช่น กรีดทุกวัน กรีดสองวันเว้นวัน หรือกรีดสามวันเว้นวัน หน้ายางสูญเสีย
น้ำมากและคุณสมบัติในการทำงานของเซลต่างๆ ในท่อน้ำยางเปลี่ยนไป ทำให้อัตราการเกิดอาการเปลือกแห้งสูงขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกัน
ระบบกรีดถี่
                       3. การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้นสูงทาบ่อยครั้งทำให้เกิดอาการเปลือกแห้งเพิ่มขึ้น พบว่าการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 5 เปอร์เซ็นต์ ทาทุกเดือนและทาทุก 15 วัน หลังจากเปิดกรีดในระยะปีที่ 2 หน้ากรีดเกิดอาการเปลือกแห้งร้อยละ 20-22
ผลกระทบของการใช้แก๊สเอทธิลีนต่อเนื้อไม้
                       การวิเคราะห์สมบัติเชิงกลของไม้ยางแปรรูป จากต้นยางอายุ 14 ปี ที่ใช้ระบบกรีดแบบเจาะร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน เปรียบเทียบกับ
การกรีดปกติเป็นเวลา 7 ปี พบว่า สมบัติเชิงกลใกล้เคียงกัน และมีค่าไม่แตกต่างกับค่ามาตรฐานของไม้ยางพารา เช่นเดียวกับการวิเคราะห์สมบัติเชิงกล
ของไม้ยางแปรรูปจากต้นยางอายุ 20 ปี ที่ผ่านการกรีดปกติและการเจาะร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีนเป็นเวลานาน 4 ปี มีสมบัติเชิงกลใกล้เคียงกัน
                       อย่างไรก็ตาม หากเจาะลึกจนถึงเนื้อไม้จะทำให้บริเวณที่ถูกเจาะเป็นแผลและมีสีคล้ำ หรือการเกิดเปลือกบวมก็ทำให้เกิดสีคล้ำบนเนื้อไม้
บริเวณดังกล่าวได้ ซึ่งเมื่อเนื้อไม้ใหม่ถูกสร้างขึ้นมาจะปิดทับส่วนที่คล้ำไว้ด้านใน ส่วนการกรีดหน้าสูงกรีดขึ้น หากกรีดบาดเนื้อไม้ก็ทำให้เนื้อไม้มีสีคล้ำ
เช่นเดียวกัน





Create Date : 19 ตุลาคม 2555
Last Update : 19 ตุลาคม 2555 5:06:07 น. 0 comments
Counter : 8055 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

bestyx
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]





เป็นคนเรียบง่าย สบาย ๆ ..คิดอะไรได้ช้า.. คิดไม่ค่อยทันคนอื่น...เขียนอะไรไม่ค่อยเป็น... เลยต้องหาสิ่งที่คนอื่นคิด สิ่งที่คนอื่นเขียน มาเก็บรวบรวมไว้อ่าน เพื่อให้ตนเองได้ฉลาดขึ้น เป็นคนที่ไม่ชื่นชอบหรือหลงใหลสิ่งใดเป็นพิเศษ ..แต่ก็ค้นหาหาไปเรื่อยๆ.. จนกว่าได้จะพบเจอ....แต่ดูเหมือนว่า ยิ่งค้นหาก็ .."ยิ่งยาก".. ที่จะพบ เพราะโลกกว้างใหญ่เกินไปที่มนุษย์ตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งจะเรียนรู้ได้หมด

Friends' blogs
[Add bestyx's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.