|
|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เศรษฐกิจพอเพียง . . . กับการสร้างความรู้ที่ไม่เพียงพอ
ระหว่างการบรรยายเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" โดย ผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่ง ( ที่ไม่ค่อยได้ดูนาฬิกาเวลาพูดเท่าไหร่ ) ในงาน "การประชุมนักเศรษฐศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่สอง" ที่ผ่านมา ผมได้เสียมารยาทคุยกับเพื่อนฝรั่งคนหนึ่งในห้องประชุม(ใหญ่)
Fred : เค้าพูดจะจบแล้วใช่มั้ย?
ผม : เค้าบอกว่า "ประการสุดท้าย" แล้วนะ . . เดี๋ยวก็คงจะจบแล้ว
Fred : งั้นผมมีคำถาม
ผม : อืม ออกไปถามดิ
(สองคนมองหน้าขำๆ กวนๆ)
Fred : บอกหน่อยได้มั้ยว่า นิยามของ "เศรษฐศาสตร์พอเพียง" (Sufficiency Economics) คืออะไร?
-----------------------------------------------------------
ผมคิดว่า "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" กับ "เศรษฐศาสตร์พอเพียง" แตกต่างกัน อย่างมาก . . .
เราควรมีแนวคิดแบบ "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" . . . แต่เราคงไม่มี "เศรษฐศาสตร์แบบพอเพียง" แน่ๆ
เพราะอะไร?
ก่อนอื่น . . ผมอยากมอง "เศรษฐกิจพอเพียง" ในมุมมองของเศรษฐศาสตร์ (แบบ hard core ก็ว่าได้) ก่อนว่า ไม่ใช่แนวคิดใหม่อะไรเลย . . . แต่สิ่งนี้ไม่ใช่ความใหม่ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่ง . . . ไม่ใช่ Innovation แต่เป็น Refocusing
สำหรับคนที่เคยผ่าน ทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การพัฒนาสมัยใหม่ (ไม่ใช่พวก growth theory เก่าๆนะครับ) เกี่ยวกับการรวมตัวของกลุ่มคน (เช่น ในชนบท) ในการรวมกลุ่มกันเพื่อน "กระจายความเสี่ยง / แบกรับความเสี่ยงร่วมกัน" (Risk-Sharing behavior) ซึ่งมีการอธิบายตั้งแต่ สาเหตุของการรวมกลุ่ม ประโยชน์ของการรวมกลุ่ม เงื่อนไขการรวมกลุ่ม และสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม . . . รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่ทำให้ "กลุ่มแตก" . . . โดยทั้งหลายทั้งปวง ยืนอยู่บนพื้นฐานที่ว่า คนเราอยู่คนเดียวแล้ว ได้ประโยชน์น้อยกว่า . . . เมื่อรวมกับแนวคิดเรื่อง "การอยู่คนเดียว" (autarky) กับ "การเลี่ยงความเสี่ยงข้ามเวลา" (intertemporal risk-sharing/ consumption smoothing) . . . ความรู้เชิงทฤษฎีเหล่านี้ที่มีการสร้าง และสั่งสมอย่างมีเหตุผล มีรากฐานที่แข็งแกร่ง เป็นความรู้ที่ส่องให้เราเห็นว่า "เราควรอยู่คนเดียวให้ดีก่อน" . . . ก่อน ที่จะไปรวมกับคนอื่น . . . และถ้าเราจะไปรวมกับคนอื่นสร้างกลุ่ม เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันแล้ว . . . ก็ควรที่จะทำให้การ "พึ่งพากัน" เกิดประโยชน์มากขึ้น เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย . . . ไม่ใช่ "ไปยืมจมูกคนอื่นหายใจ"
ไม่ว่าจะเป็นเพราะอะไรก็แล้วแต่ (อ้างได้ตั้งแต่ ระบบศักดินาในอดีต . . .การถ่ายทอดความรู้ในครอบครัว . . . หรือแม้กระทั่งการพัฒนาของระบบเศรษฐกิจไทย) สังคมในไทย (ทั้งชนบท และเมือง) อาจจะลืมเรื่อง "การทำตัวเองให้ดีก่อน" ไปแล้ว คือการพยายามทำสิ่งที่เรามีให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ก่อน . . . ก่อนที่จะไปรวมกลุ่ม พึ่งพากัน เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน
เศรษฐกิจพอเพียง . . . สำหรับผม . . . จึงเป็น Refocusing . . . การปรับจุดเน้นใหม่ ให้กลับมา "ทำตัวเองให้ดีก่อน" ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ภายใต้ระบบสังคม (จริยธรรม ศีลธรรม) ที่ยอมรับได้ (เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้. . . Pareto Efficiency)
แน่นอนครับ . . . เมื่อเราทำตัวเองให้ดีแล้ว . . . ถ้าเราจะหันหน้าไปร่วมมือกับคนอื่น . . . เราก็จะเข้าร่วมกลุ่ม ก็ต่อเมื่อ เราได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มแบบนั้น . . . เราต้องมองเห็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และการรวมกลุ่ม ก็ต้องเกิดจากความยินยอมพร้อมใจกัน . . . ไม่ใช่ถือปืนไปบังคับให้คนมาเข้าร่วม หรือยอมรับความคิดเห็นของตน . . .
-----------------------------------------------------------
แต่เราคงมี "เศรษฐศาสตร์พอเพียง" ไม่ได้แน่ๆ
เพราะอะไร?
เพราะเรายังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า "มันคืออะไร" . . .
เราไม่ควรพัฒนาอะไร ค้นคว้าอะไร ในสิ่งที่เราไม่รู้จักมันดี . . . ถ้าเราต้องการศึกษาสิ่งใด เราก็ต้องบอกให้ได้ก่อนว่ามันคือ "อะไร"
หลังจากได้ฟังหลายๆท่านพูดเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" (ซึ่งเป็นแนวคิดในการ refocusing) ไม่เห็นมีใครพูดถึง "นิยาม" (definition) ของ "เศรษฐศาสตร์พอเพียง" (sufficiency economics) เลย . . .
ถ้าเราไม่รู้ว่ามันคืออะไร เราก็ไม่มีจุดตั้งต้น
ถ้าเราไม่มีจุดตั้งต้น เราจะพัฒนา มันอย่างไร? ในทิศทางไหน?
ถ้าเราไม่มีจุดตั้งต้น เราจะวาง "แนวคิด" ที่มีเหตุผล สำหรับการพัฒนาแนวคิดนั้น ได้อย่างไร?
ยกอนุญาต ยกตัวอย่างการสร้าง "ทฤษฎีใหม่" อย่างจริงจังในวงการเศรษฐศาสตร์ นะครับ . . . ลองดูการ สร้าง "ทฤษฎี" ว่าด้วย "พฤติกรรมที่มีความสมเหตุสมผลแบบไม่สมบูรณ์" ดูสิ
เค้าเริ่มจาก ข้อสังเกตุจากทฤษฎีที่มีอยู่ เชื่อมโยงกับการทดลอง หรือข้อมูลที่เกิดขึ้น ว่ามีความ "ไม่สอดคล้องกัน" . . . การสังเกตุการณ์นี้ มีมาหลายสิบปี (ตั้งแต่ยุค 1950) . . . จนถึงปัจจุบัน เค้าตั้งคำถาม และทดลอง ถึง "สาเหตุ" ของปัญหานั้น ในหลายแง่มุม พยายามอธิภายสิ่งที่เกิดขึ้นจาก "กระบวนการใช้เหตุผล" ที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง (ณ ที่นี้ คือการวางแนวทางการวิเคราะห์ ด้วยเครื่องมือทางคณิตศาสตร์) . . . จนถึงปัจจุบัน เค้ามีสมมุติฐานมากมาย พยายามเอื้อมไปถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องของพฤติกรรมที่ ไม่สมเหตุสมผล (แต่มีแนวโน้มว่าสมเหตุสมผล) . . . เค้าพยายามเอื้อมไปถึงการทำงานของสมอง . . . ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของการใช้เหตุผล . . . นี่แหละครับ วิธีการสร้างความรู้ . . .
ไม่ใช่การสร้างความรู้แบบ พูดบ่อยๆ ให้ฟังบ่อยๆ แล้วก็จำๆกันไป . . . ยอมรับ โดยไม่ต้องถามถึง "แก่น" ของปัญญา . . . "แก่น" ของเหตุ และ ผล
ถ้าเราต้องการสร้างความรู้จริงๆ . . . ถ้าสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิด "ความรู้ใหม่" หรือ "ทฤษฎีใหม่" ได้จริง . . . เราก็ควรให้ความจริงใจ จริงจัง ในการ "วางรากฐาน" สิ่งนี้ให้สำคัญกว่านี้ ให้มากกว่านี้
แต่ถ้าเราไม่ทำสิ่งนั้น . . . ก็ควรถามตัวเองว่า "สิ่งนี้สำคัญ" เพียงพอหรือไม่ (สำหรับตัวเอง) . . . แต่ถ้าคุณตอบใครต่อใครว่า สิ่งนั้น "สำคัญเพียงพอ" แต่คุณไม่ได้จริงจังกับการวางรากฐานความรู้นั้น . . . คุณก็ควรถามตัวเองได้แล้วว่า คุณกำลัง "จริงใจ" กับสิ่งที่คุณบอกว่าสำคัญ (ในมุมมองของคุณ) หรือไม่? . . . ลองคิดดูละกัน
-----------------------------------------------------------
ผมชอบแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะ "วิถี" ในการดำเนินชีวิต . . . แต่คงไม่ใช่การสร้าง "เศรษฐศาสตร์พอเพียง" แน่ๆครับ . . . เพราะผมยังไม่รู้เลยว่า มันคืออะไร (แบบที่หลายๆคนเค้าบอกว่า เป็น "ผู้รู้" )
Create Date : 28 ตุลาคม 2549 |
Last Update : 28 ตุลาคม 2549 20:36:44 น. |
|
3 comments
|
Counter : 634 Pageviews. |
|
|
|
โดย: Boe IP: 61.47.120.245 วันที่: 28 ตุลาคม 2549 เวลา:21:06:19 น. |
|
|
|
โดย: ไม่สวยแต่จน [เรารักในหลวง] IP: 125.24.1.163 วันที่: 22 ธันวาคม 2549 เวลา:6:54:38 น. |
|
|
|
โดย: miami IP: 58.147.37.50 วันที่: 17 ธันวาคม 2550 เวลา:21:00:49 น. |
|
|
|
|
|
|
เหอๆ