Amor Vincit Omnia . . . 'Cause Love Conqures Alls

AmoreVincitOmnia
Location :
กรุงเทพฯ France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Nice to see you smiling when you are reading this



I am nerdier than 74% of all people. Are you a nerd? Click here to find out!
Leave Me a Message Though
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2549
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
4 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add AmoreVincitOmnia's blog to your web]
Links
 

 

เก็บตกจาก PET 06






เอาเรื่องมาเล่า . . . (กระทู้แนวเศรษฐศาสตร์ครับ)


เอาเรื่องมาเล่มให้ฟังครับ. . . คิดว่า สำหรับคนในวงการ อาจจะได้รับรู้ข่าว update ของวงการบ้าง

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปนั่งฟัง นั่งคุยในงาน PET 06 มา . . . งานจะออกแนวหนักวิชาการหน่อย . . . แม้ว่างานนี้จะจัดโดย APET (เจ้าของ JPET) แต่งานปีนี้ จัดที่ Hanoi, Vietnam . . . โดยมีมหาวิทยาลัย National Economic University (NEU, Hanoi Vietnam) เป็นเจ้าภาพร่วม เพื่อต้องการโปรโมทมหาวิทยาลัย และสร้างแรงจูงใจให้กับนักศึกษา และแวดวงเศรษฐศาสตร์ของประเทศเค้าเอง . . .

มีเรื่องที่อยากเล่าสองเรื่องครับ . . . เรื่องแรกเฉยๆ . . .เรื่องหลัง เศร้าๆ

เรื่องแรก . . . ตอนนี้มีงานวิจัย (ทางด้านทฤษฎี) เกี่ยวกับเรื่อง Global Warming มากครับ แล้วเครื่องมือที่ใช้ ก็น่าสนใจ (Optimal Tax Theory + Dynamics + Uncertainty + Complementarity of Private & Environmental Goods . . . pioneered by Prof. Roger Guesnerie) สำหรับคนที่สนใจเรื่องนี้ ก็ลองติดตามงาน และเครื่องมือดูนะครับ . . . น่าสนุกทีเดียว (รายละเอียดของงานติดตามได้ที่ //pet06.univ-paris1.fr/ )

นอกจากนี้ มีข่าวคราวของ "คุณปู่หนวดงาม" เจ้าของ Nobel 2005 in Economics . . . คือ ปู่ แกจะมาพูดในเมืองไทยในวันที่ 15 สิงหาคม (ที่จุฬาฯ มั้งครับ เข้าฟรี!! . . . แปลว่า เราคงไม่ได้เข้าแน่นอน เพราะไม่มีที่เหลือ) . . แกจะพูดเรื่องเดียวกับ Nobel Lecture ครับ . . . (เหมือนที่พูดในงาน PET 06 . . . แต่ที่นั่นอาจจะมีเชิงเทคนิคมากกว่านิดหน่อย) . . . แนะนำให้คนที่มีโอกาส เข้าไปฟัง "มุมมอง" ในการศึกษาของแก . . . และแนวคิดเรื่อง "ความมีเหตุผลของมนุษย์" ในความหมายของแก ในการวิเคราะห์นะครับ . . . น่าสนใจทีเดียว!!

เรื่องที่สองครับ . . .

ผมได้มีโอกาสได้ไปฟัง นักเรียนระดับป.เอก ปี 3 ของ NEU, Vietnam เสนอผลงานของตัวเอง (ในขั้นต้น) เรื่องที่เค้าทำคือ เรื่องเกี่ยวกับ Program Evaluation โดยขยายการพิจารณาเป็น Overlaping Generation + Multiple Programs ซึ่งเป็นการขยายแนวคิด และเครื่องมือที่น่าสนใจเลยทีเดียว . . .

นั่งฟังไป ก็นั่งคิดถึง การพัฒนา และการศึกษา ทางด้านเศรษฐมิติ ในเมืองไทย . . . เศร้าครับ . . . ผมไม่แน่ใจว่า มีการเรียน การสอน Microeconometrics มาน้อยเท่าใด และลึกซึ้งเพียงใด . . . แต่เดาว่า ปัจจุบัน คงไม่มีคนรู้จักเรื่องพวกนี้เท่าใดนัก . . .ไม่ต้องพูดถึงการพัฒนาทางทฤษฎีต่อไปเลย . . . เศร้า ครับ เศร้า . . .

สงสัย . . . อีกหน่อย เราคงมีอาจารย์ชาวเวียดนาม มาสอนหนังสือคนไทย แล้วแหละ . . .

ฝากไว้หน่อยนะครับ . . . นายกฯของเวียดนาม ถาม คุณปู่หนวดงามว่า

"เราจะพัฒนาประเทศอย่างไรดี" (เออ . . . ถามง่าย ตอบยากเนอะ)

คุณปู่ตอบว่า "การพัฒนาประเทศ ควรจะพัฒนาโดยทำให้สอดคล้องกับ แรงจูงใจ ของบุคคล (individual incentive) ด้วย" (เออ. . . ตอบเข้าที)

---------------------------------------------------------

แล้วผมก็มานั่งคิด แล้วก้มหน้า . . .ถอนหายใจอีกที . . . เฮ้อออ

แก้ไขเมื่อ 09 ส.ค. 49 00:20:53

-----------------------------------------------------------

ขออนุญาต แสดงความคิดเห็นส่วนตัว เกี่ยวกับ วงการเศรษฐศาสตร์ของเวียดนามนะครับ

งาน PET 06 เป็นงานทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาของ Vietnam . . . งานนี้ถือเป็นการ "จุดพลุ" ให้กับวงการเศรษฐศาสตร์ในเวียดนาม ให้มีคนสนใจ และให้ความสำคัญมากขึ้น . . .

ผมมีเพื่อน (ก่อนหน้านี้) เป็นเวียดนามบ้าง . . . ผมคิดว่า นักเรียนเศรษฐศาสตร์เวียดนาม โดยเฉลี่ย ก็เหมือน คนไทยนะครับ . . . มีเก่งมาก เก่งน้อย คละเคล้ากันไป . . . ผมคิดว่า ในระยะยาว สิ่งที่ตัดสินกันก็คือ "ระบบ"

เวียดนามตอนนี้มีข้อได้เปรียบไทยที่ชัดเจนคือ คนเก่งๆของเค้า เริ่มกลับมาช่วยชาติ . . . อาจารย์เก่งๆจากมหาวิทยาลัยดีๆ ในยุโรป และอเมริกา ก็กลับมาสร้างแรงจูงใจ และพยายามดึง "คนนอก" เข้ามา ให้รู้จัก และสร้าง contribution ให้กับวงการ ในประเทศของเค้า . . . จำนวนคนเหล่านี้ ไม่น้อยเลยทีเดียว (ผมก็เพิ่งรู้ว่า คนเวียดนาม เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์มีเยอะ และอยู่ในยุโรปเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศส. . . อ้อ มีโปรแกรมแนะนำมหาวิทยาลัย และมีงานเลี้ยงขอบคุณผู้มาร่วมงาน ในวันสุดท้ายด้วยนะครับ . . .

ส่งที่น่าสนใจคือ เค้าทำให้ใหญ่ (แบบระดับชาติ) . . . ไม่ได้แย่งกันทำ (แต่ไม่ใหญ่) อย่างที่เราอาจจะเคยเห็นกันมา

อีกประการหนึ่ง เวียดนามเค้า "รู้จักตัวเอง" ครับ . . . เค้ารู้ว่า จุดอ่อนของเค้าคือ การบริหารการคลังให้มีประสิทธิภาพ (รวมทั้งการพัฒนา "ทฤษฎี") . . . เค้าให้ความสำคัญ และใส่ใจแก้ไข และพัฒนา . . . แต่เค้าก็ผลักดันจุดแข็งของตัวเอง ซึ่งก็คือ การวิจัยที่ใช้ คณิตศาสตร์ (รวมทั้งสถิติ เศรษฐมิติ) ให้โดดเด่น สู้กับต่างชาติได้ . . . เค้าพยายามแก้ไขจุดอ่อน และก็สร้างจากจุดแข็งของตัวเอง . . .

ผมคิดว่า . . . ถ้า บ้านเรา เป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ . . .อีกประมาณ สิบปี คงมีอาจารย์ที่จด PhD จากเวียดนาม มาเสนอบทความวิชการดีๆ และมาสอน ในบ้านเรา ก็ได้ครับ . . . อย่าประมาทละกัน

-------------------------------------------------------

อ้อ . . . ฟัง ที่คุณปู่หนวดงาม แนะนำ ในเรื่องการบริหารประเทศไว้บ้าง (และทำด้วย) ก็ดีนะครับ

ปล. เพิ่งเห้นข้อความ คห2 . . . อย่าลืม ตั้ง overhead สองตัวนะครับ . . . เพราะคุณปู่ ไม่ใช้ powerpoint !!! 5 5 5 5

-----------------------------------------------------------

หลังจากที่ผมอ่านเรื่องเวียดนามที่เจ้าของกระทู้ยกมา แล้วรู้สึกเศร้าต่อวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทย

อันที่จริงก่อนหน้านั้น ประมาณ 4-5ปีก่อน ผมเขียนเตือนไว้ถึงการพัฒนากีฬาฟุตบอลของเวียดนามอย่างเป็นระบบ มีการสร้างลีกฟุตบอลและจ้างนักเตะชั้นเยี่ยมของไทย เช่น เกียรติศักดิ์ เสนาเมืองไปเล่นโดยให้ค่าตอบแทนประมาณไม่ต่ำกว่า 5แสนบาทต่อเดือน มากกว่าลีกในสิงคโปร์ที่เคยให้แก่ เกียรติศักดิ์

สำหรับเรื่องวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ของเวียดนาม ผมรู้สึกยินดีทีเพื่อนบ้านก้าวไปในทางที่ถูกคือการเน้นการวิจัย ไม่ใช่งานตีพิมพ์ทางหนังสือพิมพ์เพื่อด่าทอนักการเมืองอันเป็นที่นิยมของนักเศรษฐศาสตร์ไทยในรั้วมหาวิทยาลัยไทยทั้งรุ่นใหม่ รุ่นแก่

ผมเองเคยทั้งบ่นแรงและตรงๆ เรื่องการวิจัยในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ ก็ไม่เห็นมีอะไรดีขึ้นมา(ดูที่กระทู้นี้ //topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2006/06/H4479761/H4479761.html ) เพราะคนในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยกลับเอาคำแก้ตัวว่า นักเศรษฐศาสตร์ไทยเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ต้องหาผลประโยชน์เศรษฐกิจให้ได้มากที่สุด การรับจ้างการวิจัยเชิงประยุกต์ให้กับหน่วยงานต่างๆ จึงได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุดกว่าการวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการตามมาตรฐานสากล และการพัฒนาการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์ในรั้วมหาวิทยาลัยให้ได้มาตรฐานระดับสากล

ผมไม่แน่ใจว่าเรายังจะหวังว่าจะได้ ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูประบบวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ในรั้วมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพจากนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ได้หรือไม่ ตราบใดที่นักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ในรั้วมหาวิทยาลัยไทยยังคงมีผลประโยชน์หลักจากการรับจ้างวิจัยเชิงประยุกต์เป็นอาชีพหลักแทนการทำงานวิจัยและงานสอนหนังสือ???

จากคุณ : ปริเยศ (Pariyed)

-----------------------------------------------------------

ผมว่าอาจจะต้องพึ่งคนรุ่นใหม่ ๆ ล่ะครับ คุณปริเยศ บ่นไปก็เท่านั้นแหละ คนรุ่นอาจารย์เราบ่นไปก็เท่านั้น แต่ถ้าอาจารย์รุ่นใหม่ หรือคนรุ่น ๆ เดียวกันนี่ ก็เสนอแนะกัน ได้เลย ถ้าทำไม่ดี อนุญาตให้ด่าได้ (ด่าอาจารย์นะ) ฮาๆๆ

เรื่องงานประชุมนักเศรษฐศาสตร์ไทย นี่ไปถึงไหนแล้วครับ เล่าให้ฟังหน่อย

ผมว่าน่าจะมีคนเป็นตัวตั้งตัวตี ทำคลับนักเศรษฐศาสตร์ หรือนักสังคมศาสตร์ (Social Scientist) ในไทย แล้วก็แลกเปลี่ยนข้อมูล มีเวปไซต์ มีเปเปอร์ พูดคุยเรื่องวิชาการและเรื่องอื่น ๆ น่าจะสนุกดีครับ สร้างคอนเนคชั่นระหว่างผู้สนใจทางวิชาการในไทย นักเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ กฎหมาย สังคมศาสตร์ นักการศึกษา ฯลฯ ใครอยากทำบ้างไหม บางทีก็มีหลายประเด็นอยากคุยนะ

เช่นวันนี้อยากคุยว่า เพื่อน ๆ กำลังอ่านเปเปอร์อะไรกันอยู่ กำลังเขียนอะไรกันอยู่ มี textbook เล่มไหนแนะนำกันบ้าง มีงานใหม่ ๆ ชิ้นไหนน่าจับตามอง ฯลฯ คิดว่าถ้าได้คุยกันคงจะสนุกดี คนไทยมีความสามารถหลายคน น่าจะเอามาลิงค์กันได้ เกิดความสนใจตรงกันก็เขียนเปเปอร์ด้วยกันก็ยังได้ (สมัยนี้ออนไลน์ ไม่ต้องเจอตัวกันก็เขียนกันได้แล้ว)

แต่จะให้ตั้งกระทู้ในพันทิปตลอด ก็รู้สึกเกรงใจเหมือนกัน เพราะบางทีก็เหมือนเราคุยกันอยู่ไม่ีกี่คน

เห็นว่าไงครับ คุณ Amore Vincit และท่านอื่น ๆ

แก้ไขเมื่อ 13 ส.ค. 49 14:54:16

จากคุณ : B.F.Pinkerton

-----------------------------------------------------------

ที่ผมเหน็บนี่ เพราะว่าผมรักนะครับ 555

ผมอยากจะบอกว่า ปัญหาของวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ในไทย มันถึงจุดสำคัญแล้ว เพราะ

1)ความรู้ในการปฏิบัติงานจริงๆ เรียกร้ององค์ความรู้เศรษฐศาสตร์ที่มีมาตรฐานสูงมาปรับใช้ในการทำงาน จากเดิมที่เราคิดกันว่าความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ อยู่บนหอคอยงาช้าง เป็นของเล่นสนุกสำหรับนักเศรษฐศาสตร์วิชาการ ตอนนี้ได้มาใช้บนดินในประเทศไทยจริงๆ

ใช้ในแง่ไหนบ้าง

1.1) ด้านภาคการเงิน ตามาตรฐาน Basel 2 ที่เกี่ยวพันกับเรื่อง Risks ไม่ว่าจะเป็น Market Risks , Credit Risks และ Operation Risk อันนี้ใช้รากฐานModel ทางเศรษฐศาสตร์และคณิตศาสตร์ ภาคนี้ต้องการคนมากแต่คนทำได้น้อยต้องไปเอาคนที่เป็นวิศวกรมาทำ เกิดการบิดเบือนในการใช้ทรัพยากรมนุษย์อีก

1.2)การเขียนบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ แต่เดิมตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดหุ้นของรายย่อย บทวิเคราะห์จึงไม่จำเป็นมาก เพราะอุปสงค์ไม่มี แต่ปัจจุบัน ความต้องการบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่มีมาตรฐานสูงมีมากขึ้นเรื่อยๆ และปัจจัยมหภาคมีผลมากขึ้นทุกทีมากกว่าปัจจัยในระดับจุลภาคหรือในระดับอุตสาหกรรมอย่างในอดีต แต่ผู้เชี่ยวชาญไทยที่จะวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคบนรากฐานของแบบจำลองทางเศรษฐกิจไม่ใช่ใช้ Rule of Thumb มาวิเคราะห์มีน้อยยิ่งกว่าน้อย

1.3)ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ในสำหรับการรองรับการเจริญเติบโตของตลาดตราสารอนุพันธ์ต่างๆในอนาคต

1.4)ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่นทำแบบจำลองวิเคราะห์ ประเมินประสิทธิผล ต่างๆเป็นต้น

ปัญหาคือ คนที่จบเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย ที่จะมาทำพวกนี้ได้มีน้อย สู้คนที่จบด้านวิศวกรรมศาสตร์ไม่ได้ ดังนั้น จึงมีการโยกย้ายแรงงานที่ควรจะทำในภาควิศวกรรม ซึ่งเป็นภาคการผลิตที่สำคัญของประเทศ มาทำงานการเงินแทน

และที่สำคัญ ความรู้ที่ได้ในระดับปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย กลับมีช่องว่างที่ห่างกันมากๆกับความรู้ในระดับปริญญาโท-เอกของสถาบันการศึกษาต่างประเทศ กล่าวอย่างง่ายๆคือ เรียนเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยถ้าไปเรียนต่อระดับปริญญาโท-เอกในต่างประเทศกลับพบว่าองค์ความรู้ที่เรียนมาในระดับปริญญาตรีไม่สามารถเป็นรากฐานที่แข็งแรงพอในการเรียนต่อได้

ผมไม่แน่ใจว่า อาจารย์เศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของไทย กำลังทำอะไรกันอยู่ คงจะเพลิดเพลินกับการรับจ้างวิจัยตามใบสั่งของหน่วยงานราชการต่างๆ

เมื่อมองในแง่

สอนหนังสือมีช่องว่างทางวิชาการที่สูงกับระดับปริญญาโท-เอกในต่างประเทศ ทำให้ลูกศิษย์ที่ไปเรียนต่อต่างประเทศลำบาก

ผลงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากล คือควรจะตีพิมพ์ในวารสารวิชาการกลับไม่มี ไม่แน่ใจว่าที่ไปรับจ้างตามใบสั่งมีมาตรฐานทางวิชาการพอไหม

ลูกศิษย์จบไปทำงาน ก็ลำบากพบว่าองค์ความรู้ที่อาจารย์สอนในระดับปริญญาตรี ใช้ทำงานอะไรไม่ได้เลย และไม่มีมาตรฐานพอที่จะทำงานได้ ต้องไปเรียนเอง ค้นคว้าเอง

ผมอยากจะถามจริงๆว่า Social Welfare จากการที่นักเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยไปรับจ้างทำวิจัยและด่าทอนักการเมืองตามหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นอย่างไร

การพัฒนาประเทศถ้าปล่อยไปตาม แรงจูงใจของบุคคลจะShipหายอย่างนี้แหละครับ ตั้งแต่เรื่องฟุตบอลลีกในประเทศไทย ที่ตัดสินใจไม่ได้จะมี ลีก ไหนบ้างหรือไม่มี สู้เวียดนามไม่ได้ ประเทศสังคมนิยมจริงๆแต่ลีกฟุตบอลมีมาตรฐานดีที่สุดในกลุ่มอาเซียน โอลิมปิกวิชาการไม่ต้องพูดถึงจีน เอาแค่เวียดนาม ไทยยังห่างชั้นจากเวียดนามเยอะมาก

ก่อนที่จะอนุญาตให้แรงจูงใจของบุคคลทำงานไปตามยถากรรม อยากถามนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยว่ามีปัญญาพอที่จะออกแบบระบบไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษาเศรษฐศาสตร์ ระบบวิชาการให้มีประสิทธิภาพไหม และถ้าเชื่อว่าการพัฒนาประเทศขึ้นอยู่กับแรงจูงใจส่วนบุคคลจริง ไฉนจึงมีข้อเสนอจากงานวิจัยจากนักเศรษฐศาสตร์ในรั้วมหาวิทยาลัยไทยให้เปิดเสรี แปรรูปการผลิตจากภาครัฐไปภาคเอกชนเล่า ในเมื่อภาคเอกชนที่ไหนๆในโลกรวมทั้งรัฐวิสาหกิจทุกที่ทั่วโลก มีแรงจูงใจส่วนบุคคลที่ต้องการอยู่อย่างสบายๆ มีส่วนเกินทางเศรษฐกิจ มีการผูกขาด และผลประโยชน์ในต้นทุนต่ำรูปแบบอื่นๆ กลับถูกนักเศรษฐศาสตร์ทุกที่ในโลกแทรกแซงในนามของประสิทธิภาพ ทำลายแรงจูงใจส่วนบุคคลของภาคเอกชนให้ต้องมาพัฒนาตนเอง ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตเพราะถูกบีบให้มีการแข่งขัน ถ้าครอบครองตลาดมากจะถูกกฏหมายต่อต้านการผูกขาดเล่นงานอีก

กลายเป็นว่า วงการเดียวที่ยังมีการพัฒนาให้เป็นไปตามแรงจูงใจส่วนบุคคลคือวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทย 555
เพราะตอบสนองทั้งแรงจูงใจส่วนบุคคลผู้สอนและผู้เรียน คณะเศรษฐศาสตร์บางที่ไม่มีการบังคับเรียนคณิตศาสตร์และสถิติ บางที่อาจารย์ก็สอนด้วยองค์ความรู้เมื่อหลายสิบปีก่อนหน้านั้น ไม่มีAssigment ที่ดี ไม่มีการบังคับให้นักศึกษาต้องค้นคว้าหนักมาก อาจารย์ก็สบายมีเวลาไปรับจ้างวิจัยเชิงประยุกต์และด่าทอนักการเมืองตามหน้าหนังสือพิมพ์ นักศึกษาก็สบายไม่ต้องค้นคว้ามาก เรียนก็ง่ายๆ สบายทั้งอาจารย์ สบายทั้งนักศึกษา ตอบสนองแรงจูงใจส่วนบุคคลทั้ง 2ฝ่ายอย่างเต็มที่ 555


ในขณะที่ วงวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ของเวียดนามมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ มีการจัดสัมมนาร่วมกับJournal of Public Economic Theory เพื่อต้องการโปรโมทมหาวิทยาลัย และเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนักศึกษา และแวดวงเศรษฐศาสตร์ของประเทศเวียดนาม ไม่ใช่อย่างนักเศรษฐศาสตร์ไทยที่อ้างว่าให้พัฒนาตามแรงจูงใจส่วนบุคคล โดยเฉพาะแรงจูงใจของนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ไทยที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนโดยจะรับจ้างวิจัยเชิงประยุกต์ตามใบสั่งอย่างเดียวไม่สนใจเรื่องมาตรฐานการวิจัยในวิชาชีพวิชาการ ไม่สนใจเรื่องการสอนหนังสือและพัฒนาการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์ให้ทันต่อการพัฒนาองค์ความรู้เศรษฐศาสตร์ระดับสากล

ถ้ายังใช้ข้ออ้างแรงจูงใจส่วนบุคคลอย่างนี้อยู่ ไม่มีการคิดเป็นระบบ หรือข้อเสนอทางวิชาการว่าถ้าจะออกแบบระบบวิชาการเศรษฐศาสตร์ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพต้องทำอย่างไร มีแรงจูงใจอย่างไร ตัวใครตัวมันล่ะครับ

และน้องๆ ม.ปลายคนไหน ที่อยากเรียนเศรษฐศาสตร์แต่ไม่สามารถไปเรียนที่ต่างประเทศได้ พี่แนะนำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย //www.eng.chula.ac.th/

เพราะถ้าน้องสามารถจบจากที่นี้ได้ด้วยเกรดที่มากกว่า 2.7 น้องสามารถเรียนเศรษฐศาสตร์ที่ไหนๆในโลกได้อย่างไม่ลำบากนัก และน้องสามารถทำงานในภาคการเงินของไทยและต่างประเทศ เพราะภาคเอกชนดังกล่าวทราบดีมานานแล้ว บุคคลที่จบจากคณะดังกล่าวมีประสิทธิผลในด้านการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์และการเงินที่ดีกว่าผู้ที่จบจากคณะเศรษฐศาสตร์.
แก้ไขเมื่อ 14 ส.ค. 49 06:24:42

แก้ไขเมื่อ 14 ส.ค. 49 06:18:54

จากคุณ : ปริเยศ (Pariyed)

----------------------------------------------------------

เห็นด้วยกับข้อความก่อนของปริเยศ แต่บ่นๆไปในนี้ก็แก้ไขอะไรไม่ได้หรอกครับ ผมมองว่ามันเป็นเรื่องของโครงสร้างที่ผิดของประเทศไทยเป็นหลัก และ คนในนี้ไม่มีใครที่มีอำนาจพอที่จะไปแก้โครงสร้างนั้นได้ โครงสร้างที่ว่าผมหมายถึง โครงสร้างงานราชการไทย จะแก้ไขเรื่องนี้ให้ได้สมบูรณ์แบบถอนรากถอนโคน ต้องเริ่มที่ระบบราชการไทยก่อน (แต่ถ้าจะแก้แบบค่อยเป็นค่อยไป ให้ไปแก้ที่อาจารย์)

ผมมองว่า จ๊อบวิจัยทำเงินจะมาถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ได้ ถ้าหากเทคโนแครตในหน่วยราชการได้รับความไว้วางใจให้ทำงานวิจัยของกระทรวงนั้นๆ ในแต่ละปี ประเทศไทยให้ทุนนักศึกษาไปศึกษาระดับป.เอกเพื่อกลับมาทำงานตามกระทรวงที่ได้รับมอบหมาย แต่สุดท้าย คนที่ไปเรียนกลับมามีความรู้ ก็มานั่งทำงานเช้าชามเย็นชาม เพราะ งานน่าเบื่อ งานเดิมๆ ไม่ได้ใช้ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมามาทำงาน เทคโนแครตเหล่านี้ควรจะเป็นผู้ทำงานวิจัยของกระทรวงนั้นๆต่างหาก โดยมี อาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษา(ปรึกษาเท่านั้น ไม่ให้ทำวิจัย)และตรวจรับงานว่าได้คุณภาพตามมาตรฐานและถูกต้องตามหลักวิชาการ เงินค่าวิจัยที่มหาศาลนี้แทนที่จะไปจ้างอาจารย์มหาวิทยาลัย กระทรวงก็จะมีเงินเหลือเอาไปทำอย่างอื่นได้อีกมาก รวมทั้งการปันส่วนของงบวิจัยนี้เอาไปเพิ่มเป็นเงินเดือนให้เทคโนแครตระดับป.เอกเหล่านี้ในกระทรวง เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ทำงานในกระทรวงต่อไป ไม่ลาออกทันทีที่หมดทุนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

อีกจ๊อบงานวิจัยหนึ่งที่พุ่งเข้ามาหาอาจารย์ก็เป็นงานวิจัยจากฝ่ายเอกชน ซึ่งส่วนนี้จะต้องมี สถาบันวิจัยเอกชนหรือรัฐ เช่น TDRI ที่เข้ามารับงานจำพวกนี้ทำ สถาบันวิจัยเหล่านี้ก็เป็นอีกตลาดแรงงานหนึ่งที่คอยรองรับผู้จบป.เอกแต่ไม่อยากเป็นอาจารย์สอนหนังสือ แต่ส่วนนี้ก็ไม่ใช่แก้ได้ง่ายๆ ตราบใดที่ค่านิยมของคนไทย ยังชื่นชม อ.ดร. มากกว่า ดร. เฉยๆ งานจ๊อบเหล่านี้ก็คงจะวิ่งไปหามหาวิทยาลัยก่อนอยู่ดี อันนี้ต้องไปแก้ที่ค่านิยมคนไทย ซึ่งทำได้ยากเหลือเกิน

เมื่อโครงสร้างทั้งสองส่วนนี้ได้ปรับปรุง งานจ๊อบวิจัยไม่เข้ามหาวิทยาลัย อาจารย์ที่มุ่งหน้าจะหาเงินอย่างเดียวก็จะไม่มาสมัครเป็นอาจารย์ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่เหลือก็จะมีแต่คนที่อยากจะเป็นอาจารย์ สอนหนังสือ และ ทำวิจัย ทั้งนั้น แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ เรื่องปากท้องก็ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องสำคัญ ลำพังเงินเดือนปกติ ถ้าไม่มีเงินสนับสนุนการวิจัย อาจารย์ที่มีครอบครัวจะไม่สามารถอยู่ทำงานแบบนี้ได้ ดังนั้น มหาวิทยาลัยเองต้องมีงบสนับสนุนงานวิจัยเปเปอร์ด้วย โดยเงินที่จะสนับสนุนส่วนนี้ ก็คงต้องมาจากค่าเล่าเรียนที่จะต้องเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งถ้าตอนนี้ขึ้นค่าเล่าเรียนแพงๆ คงโดนสังคมด่า ผมเห็นว่า ยังไงก็ต้องขึ้น แต่จะจ่ายตอนนี้หรือจะจ่ายหลังจากได้งานทำก็อีกเรื่องหนึ่ง

การจะแก้ไขเรื่องนี้ต้องแก้ไขทั้งระบบใหญ่ คนในนี้ที่คุยๆกันคงไม่มีใครมีอำนาจพอจะแก้ไขอะไรแบบนี้ได้ ระบบราชการไทยเป็นอย่างนี้มาหลายสิบปี แก้อะไรก็คงไม่ได้ การที่มหาวิทยาลัยออกนอกระบบก็ไม่ช่วยอะไรเท่าไหร่ตราบใดที่กระทรวงต่างๆยังป้อนงานวิจัยเข้ามหาวิทยาลัยอยู่เสมอๆ

ส่วนเรื่องตั้งสังคมมาคุยกันทางวิชาการ ผมว่า ตอนนี้ยังไม่เวิร์คหรอก (อีกหน่อยไม่แน่) เพราะ ขนาดผมอยู่คณะ ผมเคยชวนคนหลายๆคนคุยเรื่องวิชาการ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นคุยเรื่องตลกหรือการเมืองไป มีหลายปัจจัยที่ทำให้สังคมนี้จะไม่เวิร์คตอนนี้ ที่ผมเห็นว่าสำคัญคือ คุยกันไม่ได้เพราะคุยกันไม่รู้เรื่อง ที่ว่าไม่รู้เรื่อง หมายถึง เศรษฐศาสตร์ เป็นสาขาที่กว้างมาก มีหลากหลายหัวข้อวิจัย คนที่จบมาใหม่ๆตอนนี้ก็จบกันมาหลากหลาย การที่จะให้มาตั้งวงนั่งคุยกัน คงคุยกันได้สองสามคำ แล้วก็เปลี่ยนเรื่องอย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ "อาจารย์ตอนนี้ทำวิจัยเรื่องอะไรหรือครับ? -ผมทำเรื่องนี้ๆๆอยู่ครับ --อ๋อ ครับ (อึ้ง หมดคำถามถามต่อ เพราะผมไม่รู้เรื่องที่เขาทำเลย และอาจจะไม่สนใจในเรื่องนั้นด้วย เป็นต้น)" ผมว่า สังคมที่จะมานั่งพูดคุยกันเรื่องวิชาการเต็มๆ จำเป็นต้องมีคนที่จบมาในหัวข้อเดียวกันเยอะพอควรก่อน ถ้าหนึ่งหัวข้อมีคนจบหนึ่งคน คนนั้นจะไปคุยกับใครรู้เรื่องได้เล่า สังคมก็ไม่เกิด ผมว่า ต้องรออีกซักหน่อยนะ รอให้จบกลับมามากกว่านี้ สังคมนั้นเกิดแน่นอน และผมเชื่อว่า ตัวงาน NCE จะทำให้มันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ในอนาคต(แต่ไม่ใช่ตอนนี้)

จากคุณ : บ๊อก

-----------------------------------------------------------

คุยกันมาซะยาว . . . มันถึงเป็นแรงจูงใจให้เกิด Thai (Online) Economic Community นั่นไงล่ะ หุ หุ หุ





 

Create Date : 04 ตุลาคม 2549
1 comments
Last Update : 4 ตุลาคม 2549 15:44:49 น.
Counter : 733 Pageviews.

 

หวัดดีค่า.. ^^
แพรแวะมาเยี่ยมพี่ค่ะ
ได้มาเจอเรื่องเศรษฐศาสตร์เยอะแยะเลย...

แฮะๆ เข้าทางเลยค่ะ
ถามพี่ได้มั้ยคะ ว่าเศรษฐศาสตร์เค้าเรียกอะไรกันมั่ง...

แพรยังไม่รู้เลยค่ะว่าแพรชอบอะไร อยากเรียนอะไร >.< ช่วงนี้แอบเครียด แฮะๆๆ

 

โดย: +~%Chocolate Republic%~+ 10 ตุลาคม 2549 18:26:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.