Amor Vincit Omnia . . . 'Cause Love Conqures Alls

AmoreVincitOmnia
Location :
กรุงเทพฯ France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Nice to see you smiling when you are reading this



I am nerdier than 74% of all people. Are you a nerd? Click here to find out!
Leave Me a Message Though
Group Blog
 
 
กันยายน 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
21 กันยายน 2549
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add AmoreVincitOmnia's blog to your web]
Links
 

 
A Bit of Mention on Game Theory






I want to say something about Game Theory instead. I think, most people have a misperception about the game theory, especially on the famous Nash Equilibrium.

(If you are playing a joke on Nash Eqlm, NASH is from Nash, Aumann, Selten, Harsanyi na krub...a guy who said this is Ken Binmore)

The most importance of Nash Eqlm is existence...The proposition of Nash (1950) is to prove the equilibrium in finite game. The proof is quite tricky...just applying Kakutani Fixed Point Theory on the Convex Space of Strategies of N players. The covex space / set is generated from the idea of mixed strategy/ probability measure on the pure strategy space of all players...so we will have the prob distribution over all space. Because the prob is ranging from 0 to 1, then it is a convex set. (idea of kakutani ft is similar to Brower but expand to N dimensions)

Game theory is not just a branch of microeconomics. Ken Binmore said 'Social science can be considered as Game'. The Game Theory attack at the heart of economic relation among agents...the general equilibrium and the core can be established on the strategic foundation of game theory (read Douglas Gale's Strategic Foundation of General Equilibrium, or chapter 18 of MWG)

The power of the game theory go beyond the imagination of many people. If you study some application of game theory, particularly the Contract Theory / Mechanism Design / Communication Game and else..you will find the idea of game has been pervasive. Good important example of it is 'revelation principle'.

If interested, we may be in touch next time.

-----------------------------------------------------

GAME OVER ดุลยภาพแห่งเกม

สมสกุล เผ่าจินดามุข กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2549

หากอยากเข้าใจว่า ทำไมสามพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชน และพรรคชาติไทย ถึงต้องเสนอให้พรรคไทยรักไทยลงนามในสัตยาบันปฏิรูปการเมือง

ทำไมเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถึงประกาศชุมนุมไม่ชนะไม่เลิก เพราะเหตุใด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถึงเลือกยุบสภา ทั้งหมดนี้สามารถอธิบายได้ด้วย "ทฤษฎีเกม" สมสกุล เผ่าจินดามุข รายงาน

โรเบิร์ต เจ.ออมานน์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮิบรูออฟเยรูซาเล็ม ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์คนล่าสุด (2005) จากการประยุกต์ทฤษฎีเกม (Game Theory) โดยแสดงให้เห็นว่า เกมที่ผู้เล่น เล่นกันซ้ำๆ สุดท้ายจะนำมาซึ่งความร่วมมือและสันติภาพ แต่สันติภาพจะเกิดขึ้นได้อย่างน้อยต้องมีสัตยาบันมาบังคับ ให้ผู้เล่นเกมแต่ละฝ่ายด้วย

ที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกม แต่ดูเหมือนนักคิดทฤษฎีเกมที่มีชื่อเสียงโดดเด่น และเป็นรู้จักกันทั่วไปคือ จอห์น ฟอร์บส์ แนส ซึ่งต้องขอบคุณภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่อง A Beautiful Mind ที่ทำให้คนทั่วโลกได้รู้จักชีวิตของแนส และการอธิบายทฤษฎีเกมอย่างง่ายๆ

"ทฤษฎีเกมเป็นการศึกษาปฏิสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์อย่างเป็นทางการอาจจะออกมาในรูปแบบคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถแบ่งแยกได้ว่าอะไรคือตัวแปรที่เลือกได้ อะไรคือตัวแปรที่เลือกไม่ได้ แต่เราต้องใส่ไว้ในการพิจารณา และยังขึ้นอยู่ว่าแต่ละผู้เล่นแต่ละคนมีความรู้อะไรบ้าง มีข้อมูลในการตัดสินใจอะไรบ้าง รวมถึงทางเลือกในแต่ละทางเลือกคืออะไร และผู้เล่นคิดอะไร" ไกรพิชิต เรืองศรีไชยะ นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยชิคาโก-มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อธิบาย

โดยเนื้อแท้ของทฤษฎีเกมนั้น เป็นการศึกษาโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่เต็มไปด้วยสูตรและสมการ แต่มักจะถูกนำมาอธิบายสถานการณ์ปฏิสัมพันธ์ของผู้เล่น ตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป เพื่อแสดงให้เห็นว่า ในแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้เล่นจะเลือกทางเลือกไหนที่เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ตัวเอง

"แนวคิดของเกมทุกเกมคือ การที่เราดูปฏิสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ หมายความว่า การตัดสินใจของฝ่ายตรงข้ามจะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของเรา ดังนั้น ภายใต้การกระทำที่เราเลือกได้ เราจะเลือกการกระทำตอบโต้แบบไหนที่เหมาะสมที่สุด" ไกรพิชิต กล่าว

แนวคิดดังกล่าวของทฤษฎีเกม สามารถนำไปอธิบายสถานการณ์ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเกมการเมือง เกมธุรกิจ การค้าระหว่างประเทศ หรือแม้กระทั่งชีววิทยา ระบบสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

แต่สิ่งที่ทำให้วิธีการศึกษาแบบนี้มีความสำคัญคือ แนวคิดเรื่องดุลยภาพ (equilibrium) เพราะการที่ผู้เล่น มีปฏิสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์กัน และเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กันไปเรื่อยๆ ในที่สุดเกมจบลง ณ จุดที่เรียกว่า ภาวะดุลยภาพ

ไกรพิชิต อธิบายว่า ดุลยภาพคือ ภาวะที่ผู้เล่นไม่ต้องการเลือก หรือไม่ต้องการเบี่ยงเบนออกจากภาวะนั้น โดยยกตัวอย่าง ผู้เล่นคนหนึ่งมีทางเลือกสามทาง และคู่ต่อสู้มีทางเลือกสองทาง ภาวะดุลยภาพคือ ผู้เล่นคนที่หนึ่งเลือกทางเลือกที่สอง ส่วนคู่ต่อสู้เลือกทางเลือกที่หนึ่ง ถ้าทางเลือกของทั้งสองฝ่ายอยู่ในดุลยภาพแล้ว ผู้เล่นทั้งสองจะไม่มีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนไปเลือกทางเลือกอื่น

ด้วยเหตุนี้ประโยชน์ของทฤษฎีเกมคือ การศึกษาดุลยภาพในปฏิสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ ทำให้เราพอคาดเดาได้ว่าผลสุดท้าย ของการปฏิสัมพันธ์จะเกิดอะไรขึ้น ผลสุดท้ายคือ ทางเลือกของทั้งสองฝ่ายที่จะทำให้การกระทำหยุดนิ่ง โดยไม่เบี่ยงเบนออกจากจุดนั้นแล้ว

"ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของทฤษฎีเกมคือ การเจรจาการค้าทวิภาคีระหว่างสหรัฐกับไทย สมมติว่าสหรัฐต้องการให้ไทยเปิดเสรีภาคการธนาคาร และเทเลคอม ขณะที่ไทยต้องการให้สหรัฐเปิดสินค้าเกษตร กับสิ่งทอ ดุลยภาพของการเจรจาการค้าทวิภาคีจึงอยู่ที่สหรัฐเปิดภาคธนาคาร และไทยเลือกเปิดสิ่งทอ

ซึ่งภาวะนี้ทำให้เกิดดุลยภาพได้ ถ้าไทยคาดการณ์ได้ว่า สหรัฐยอมเปิดภาคการธนาคาร และไทยต้องการเปิดสิ่งทอ ดังนั้น การที่สหรัฐเปิดเสรีภาคธนาคารจะไม่ทำให้ไทยไปเลือกสินค้ากลุ่มอื่น คือภาคเกษตร" นักวิจัยจากศูนย์วิจัยชิคาโก-มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าว

เท่ากับว่า ภาวะดุลยภาพที่ว่านี้คือ ภาวะที่ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดของแต่ละบุคคล ซึ่งจะไม่ต้องการเลือกทางเลือกอื่น ที่อยู่นอกดุลยภาพ ภายใต้ความเชื่อที่ว่า คู่แข่งได้เลือกกลยุทธ์ที่อยู่ในภาวะดุลยภาพแล้ว

แนวคิดนี้ได้ถูกถอดออกมาจากแนวคิดเรื่อง Nash Equilibrium ของแนส เจ้าของรางวัลโนเบล จากการเสนอแนวคิดทฤษฎีเกมเมื่อปี 1994 โดยเขาอธิบายด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ และเมื่อนำมาตีความทำให้เกิดประโยชน์ในศาสตร์สาขาต่างๆ และถึงแม้ว่า แนส ไม่ได้เป็นคนคิดคนแรก แต่เขาทำการจัดระบบแนวคิดให้เป็นแบบฉบับที่เป็นมาตรฐานขึ้นมา ทำให้แนวคิดสวยขึ้นมา

หากจะย้อนแนวคิดทฤษฎีเกมจริง สามารถย้อนไปได้ถึงบทความใน Republic ของ เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีกที่ได้เขียนไว้ความตอนหนึ่งว่า โซเครติสได้แสดงความกังวลในสถานการณ์หนึ่ง เป็นสถานการณ์ทหารกำลังหนุนรอที่จะเข้าไปสมทบแนวหน้าเพื่อขับไล่ศัตรู

ทหารที่อยู่แนวหลังอาจรอดูว่า แนวหน้าสามารถยันข้าศึกได้หรือไม่ ซึ่งถ้ากองหน้าทำสำเร็จ ตัวเขาซึ่งอยู่กองหลัง ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปสมทบ แต่ถ้าเขายังขืนอยู่ในสนามรบก็อาจมีโอกาสบาดเจ็บหรือถูกฆ่าได้ ตรงกันข้าม ถ้าเขาเห็นว่าข้าศึกมีโอกาสชนะ โอกาสที่เขาจะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตยิ่งสูงขึ้น ทางที่ดีควรหนีเอาตัวรอด เท่ากับว่า ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร การหนีเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเขา

อีกตัวอย่างของทฤษฎีเกมคือ สมัยที่คอร์เตส แห่งสเปนยกกองทัพเรือขึ้นฝั่งเม็กซิโก โดยมีกองกำลังอยู่เพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงมีเหตุผลที่ดีที่ทหารจะรู้สึกหวาดกลัวว่าจะสู้กับข้าศึกที่มีกองกำลังมากกว่าไม่ได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารคิดถอย คอร์เตสจึงเผาเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งตัดทางเลือกที่ทหารจะถอย เหลือแต่ทางเลือกเดียวคือต้องสู้ให้ชนะ กลยุทธ์ดังกล่าวมีกล่าวถึงในประวัติศาสตร์ไทยเช่นกัน สมัยที่ พระเจ้าตากสินมหาราช บุกเมืองจันทบุรี

อย่างไรก็ดี ทฤษฎีเกมในเชิงคณิตศาสตร์ถูกพัฒนาขึ้นมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองโดย จอห์น ฟอน นิวมานน์ และออสการ์ มอร์เกนสเติร์น (1944) แต่ด้วยข้อจำกัดบางประการ ทฤษฎีเกมเชิงคณิตศาสตร์ของทั้งคู่จึงมีเงื่อนไขที่เฉพาะและจำกัด

ทฤษฎีเกมแบ่งออกเป็นสองแนวคิดใหญ่ๆ คือ เกมแห่งความร่วมมือ (cooperative game) และเกมแห่งความไม่ร่วมมือ (non-cooperative game) คนที่ศึกษาเกมแห่งความร่วมมือในแง่มุมหนึ่ง รูปแบบของเกมที่ศึกษามีลักษณะ zero sum game หมายความว่าผลประโยชน์ของสองคนรวมกันเท่ากับศูนย์ กล่าวคือ ถ้าคนหนึ่งได้ อีกคนจะสูญเสียทั้งหมด

แต่ จอห์น แนส มาพร้อมกับแนวคิดเรื่องดุลยภาพที่ขยายขอบเขตเกินไปกว่าเกม "ใครชนะได้หมด ใครแพ้เสียหมด"

"แนวคิดของแนสได้ชี้ให้เห็นว่า การเล่นเกมไม่จำเป็นต้องเป็น zero sum game เสมอไป ยกตัวอย่าง การค้าระหว่างประเทศ อาจจะมองในมุมหนึ่งว่าเป็น zero sum game (คนซื้อกับคนขาย) แม้แต่ พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำเคยตั้งคำถามไว้ว่า การค้าระหว่างประเทศเป็น zero sum game หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ใช่" ไกรพิชิต อธิบาย

การค้าระหว่างประเทศเหมือนกับการสร้างเค้กขึ้นมาหนึ่งก้อน โดยเค้กก้อนนี้เป็นส่วนเกิน หรือกำไรสุทธิที่แต่ละประเทศจะได้ขึ้นมา ซึ่งถ้าไม่มีการค้า จะไม่มีกำไรสุทธิเกิดขึ้น แต่ถ้าทำการค้า กำไรสุทธินี้จะเกิดขึ้นมาทันที

แนวคิดนี้ก็เหมือนกับการซื้อของในตลาด คนซื้อมีความเต็มใจซื้อที่กิโลกรัมละ 100 บาท ส่วนคนขายยินดีที่จะขายในราคากิโลกรัมละ 60 บาทเป็นอย่างต่ำ เพราะต้นทุนที่ซื้อเนื้อหมูมาอยู่ที่ 60 บาท (เท่าทุน) กล่าวคือ ถ้าคนขายเต็มใจขายที่ 70 บาท ผู้ขายจึงมีกำไร 10 บาท ขณะที่ผู้ซื้อยินดีซื้อที่ราคา 100 บาท แต่ถ้าซื้อในราคาที่ผู้ขายเสนอกิโลกรัมละ 70 บาท ผู้ซื้อก็จะมีกำไร 30 บาททันที

ถ้าราคาตกลงกันอยู่ที่ 90 บาท ผู้ขายจะได้กำไร 30 บาท ส่วนคนขายจะได้กำไร 10 บาท แต่ถ้าไม่มีการซื้อขายกัน ต่างคนต่างได้ศูนย์ เพราะฉะนั้นความแตกต่างระหว่างความเต็มใจซื้อกับเต็มใจขาย ก็เหมือนกับเค้กก้อนหนึ่งนั่นเอง

เช่นเดียวกับการนำเอาทฤษฎีเกมมาอธิบายการเจรจาการค้าทวิภาคีระหว่างไทยกับสหรัฐ การเปิดเสรีประเทศคู่ค้าจะได้รับประโยชนทั้งสองฝ่าย แต่ใครจะได้มากได้น้อยต่างกัน ปัญหาคือ การเปิดเสรีรายการสินค้าตัวไหนจะทำให้ไทยหรือสหรัฐได้ผลประโยชน์มากกว่ากัน และต่างฝ่ายต่างยอมรับ ภาวะดุลยภาพก็คือ ภาวะที่ฝ่ายหนึ่งเปิดสินค้าตัวใดตัวหนึ่ง และอีกฝ่ายเปิดเสรีการค้าในกลุ่มที่คู่ค้ายอมรับได้ และตกลงกันได้ จะส่งผลให้ประเทศเจรจาการค้าได้ผลประโยชน์ทั้งคู่

สถานการณ์นี้ไม่ใช่สถานการณ์ที่ใครได้ประโยชน์ไปทั้งหมด หรือใครสูญเสียประโยชน์ไปทั้งหมด (zero sum game)

ในปีที่แนสได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เมื่อปี 1994 ยังมีนักทฤษฎีเกมอีกสองคน ที่ได้รับรางวัลเดียวกัน จากการนำเอาทฤษฎีเกมมาอธิบาย แต่เป็นเกมแห่งความร่วมมือ ขณะที่ทฤษฎีของแนส เป็นทฤษฎีแห่งความไม่ร่วมมือ หนึ่งในนั้นได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่ง กล่าวว่าทุกเกมที่เป็นเกมแห่งความร่วมมือ สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยกรอบการวิเคราะห์ของเกมแห่งความไม่ร่วมมือ หรือใช้สมดุลของแนสมาวิเคราะห์ได้ เพราะฉะนั้น ดุลยภาพของแนสจึงมีความสำคัญในฐานะแนวคิดพื้นฐานในการหาภาวะดุลยภาพของปฏิสัมพันธ์ในเชิงกลยุทธ์

ความแตกต่างเล็กน้อยคือ cooperative game ต้องมีองค์ประกอบส่วนเพิ่มขึ้นมา นั่นคือ ข้อตกลงที่ผู้เล่นแต่ละคนสามารถบังคับใช้ได้ในผู้เล่นแต่ละคน หารูปแบบของสัญญาที่ทั้งคู่ต้องทำตาม เพื่อลดอาวุธสงครามและอาวุธนิวเคลียร์

ต่อมา ทฤษฎีเกมได้ถูกนำมาใช้กล่าวถึงการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ของการมีปฏิสัมพันธ์ที่ต่างกัน ยกตัวอย่างที่มักถูกอ้างถึงบ่อยๆ คือ สถานการณ์ Prisoner Dilemma โดย พยายามอธิบายว่า ถ้าต่างคนต่างเล่นอย่างที่ตัวเองได้รับผลประโยชน์มากที่สุด จะทำให้ทั้งสองได้รับผลลัพธ์ที่แย่ลง แทนที่จะร่วมมือกันเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น สาเหตุที่ไม่เกิดการร่วมมือกันเพราะกลยุทธ์ที่ร่วมมือกันและได้ผลประโยชน์ร่วมกันทั้งคู่ ไม่ทำให้เกิดภาวะดุลยภาพ

"ถ้าฝ่ายตรงข้ามคิดอยากจะร่วมมือ และเราร่วมมือ เราได้ประโยชน์น้อยกว่า การเลือกไม่ร่วมมือ โดยที่ฝ่ายตรงข้ามเลือกร่วมมืออยู่ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามคิดได้เช่นกันว่า ถ้าเลือกร่วมมือ อีกฝ่ายต้องเลือกไม่ร่วมมือ เพราะฉะนั้นถ้าเลือกวิธีร่วมมือจะได้ผลประโยชน์น้อยกว่า ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดคือเลือกไม่ร่วมมือ ดุลยภาพของเกมนี้คือ ไม่ร่วมมือทั้งคู่ ซวยทั้งคู่ แทนที่จะได้ดีขึ้นทั้งคู่" ไกรพิชิต กล่าว

สถานการณ์ดังกล่าวเปรียบได้กับการลดอาวุธนิวเคลียร์ ถ้าต่างฝ่ายต่างพยายามสะสมอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมา ทำให้เพิ่มภาระให้กับงบประมาณของประเทศ แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่สะสมอาวุธนิวเคลียร์ ก็สามารถนำเงินไปพัฒนาประเทศด้านอื่นได้ แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งตัดสินใจไม่สะสมอาวุธ แต่ฝ่ายตรงข้ามสะสมอาวุธนิวเคลียร์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือ ต้องสั่งสมอาวุธ เพราะกลัวเสียเปรียบทางการทหาร ในที่สุดจึงเลือกตอบโต้ด้วยการสั่งสมอาวุธนิวเคลียร์เช่นกัน

นอกจากนี้ ยังมีสถานการณ์อื่นอีก เช่น Battle of Success โดยเรื่องมีอยู่ว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง นัดกันไปเที่ยวข้างนอก มีทางเลือกอยู่สองทางคือ สามีไปดูมวย กับไปดูบัลเล่ต์ ถ้าต่างคนต่างไป ผลประโยชน์จะเป็นศูนย์ เพราะไม่มีความสุขที่ไปคนเดียว แต่ถ้าไปด้วยกันคือสามีไปดูมวย ภรรยาก็ยอมไปดูมวยด้วย ผลประโยชน์เป็นบวก แต่สามีได้ความสุข 2 หน่วย ส่วนภรรยาได้ความสุข 1 หน่วย ตรงกันข้ามถ้าไปดูบัลเล่ต์ด้วยกัน สามีได้ความสุข 1 หน่วย (น้อยกว่าได้ไปดูมวย) ภรรยาได้ความสุข 2 หน่วย

สถานการณ์นี้เป็นปฏิสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ที่นำมาซึ่งคำถามว่า ดุลยภาพอยู่ที่ไหน สามีภรรยาจะเลือกไปดูอะไรกันแน่ ถ้าใช้แนวคิดเรื่องดุลยภาพของแนสมาอธิบาย จะเห็นว่ามีดุลยภาพมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง ดุลยภาพในที่นี้จะเกิดขึ้นเมื่อสองฝ่ายร่วมกันดูมวย หรือร่วมกันดูบัลเล่ต์ ซึ่งสถานการณ์นี้สามารถไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริงได้ในบางกรณี

แต่ประเด็นที่ผู้ศึกษาและวิเคราะห์จะต้องคำนึงถึง คือ จะพิจารณาประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างไร จากการกระทำไหน สภาวะแวดล้อมอย่างไร และกฎกติกาในการเล่นเกมคืออะไร เพราะฉะนั้นจุดแข็งทฤษฎีเกมคือ วิเคราะห์ดุลยภาพได้ในรูปแบบที่หลากหลาย และในสถานการณ์ที่ซับซ้อน แต่จุดอ่อน คือ ต้องอธิบายสถานการณ์ที่ซับซ้อนให้ชัดเจน และต้องคำนวณผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ให้ถูกต้องครอบคลุม ดังนั้น การนำทฤษฎีเกมไปศึกษาหรือวิเคราะห์สถานการณ์ใดจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง

"ทุกปรากฏการณ์ในสังคมศาสตร์ที่มีภาวะปฏิสัมพันธ์สามารถศึกษาได้ด้วยทฤษฎีเกม ทั้งเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ การเมือง นิติศาสตร์ ถ้าลองไปค้นหาในอินเทอร์เน็ตก็จะพบว่ามีการศึกษากฎหมายด้วยทฤษฎีเกมเหมือนกัน นอกจากนี้ ยังขยายไปถึงการทหาร ชีววิทยา แต่ปัญหาคนนำทฤษฎีเกมไปใช้ มีความสามารถแค่ไหน ใช้ในสถานการณ์ไหน เหมาะสมหรือไม่"

จุดอ่อนอีกอย่างของทฤษฎีเกมคือ สถานการณ์ที่มีภาวะดุลยภาพมากกว่าหนึ่งจุด ทำให้เราไม่สามารถรู้ได้ว่า สิ่งไหนจะเกิดขึ้น ดังนั้นการนำทฤษฎีเกมไปประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ผู้เชี่ยวชาญทฤษฎีเกมมองว่า นอกจากต้องศึกษาสถานการณ์ให้ชัดเจนแล้ว ยังต้องศึกษาสถานการณ์แวดล้อมด้วย ถึงจะทำให้ทฤษฎีเกมเห็นประโยชน์ได้อย่างชัดเจน

"สิ่งที่ทฤษฎีเกมจะให้ก็คือ ถ้าเรามีกรอบการวิเคราะห์ที่เหมาะสมแล้ว พอที่จะดูได้ว่า ดุลยภาพ หรือจะเกิดอะไรขึ้น การวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีเกมต้องระวังทางเลือกแต่ละทางเลือก เช่น การยุบสภา ประชาชนจะมีปฏิสัมพันธ์แต่ละแบบอย่างไร เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยอย่างไร และแต่ละทางเลือกจะมีผลประโยชน์เกิดขึ้นในทางไหนบ้าง รัฐบาลจะได้อะไร ประชาชนจะได้อะไร เราต้องหาผลประโยชน์ทั้งหมดก่อน จากการกระทำทุกๆ คู่ของการกระทำ พอคิดว่าเราได้ครอบคลุมหมด จะเห็นได้ว่ามีดุลยภาพอะไรที่น่าจะเกิดขึ้นได้" นักวิจัยจากศูนย์วิจัยชิคาโก-มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สรุป







Create Date : 21 กันยายน 2549
Last Update : 4 ตุลาคม 2549 15:50:00 น. 0 comments
Counter : 1047 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.