หนังสือบางเล่มจากมหกรรมหนังสือฯ และการอ่าน “ความจริง”





ความตายของด็องต็อง (Dantons Tod) บทละครของการปฏิวัติฝรั่งเศส
เกอ็อร์ก บืชเนอร์(Georg Buechner) เฉิดฉวี แสงจันทร์ แปล




เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ (The God of Small Things)
อรุณธตี รอย (Arundhati Roy) สดใส แปล




คุณนายดัลโลเวย์ (Mrs Dalloway) ของ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ (Virginia Woolf)
ดลสิทธิ์ บางคมบาง แปล
อ่านเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ ที่นี่ ตรงความเห็นด้านล่างครับ




สีมากถา สมุดข่อยวัดสุทัศน์เทพวราราม โดย น. ณ ปากน้ำ
ออกมาตั้งแต่ปี 2540 ถึงวันนี้จึงขายในราคาถูกจนน่าตกใจ




แดง รวี ของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์
สนพ.ประพันธ์สาส์น พ.ศ.2514 สภาพสมบูรณ์
เป็นหนังสือราคาสูงที่สุดที่ซื้อในงานนี้

ฯลฯ



พูดถึง มหกรรมหนังสือระดับชาติ แล้ว พอดีได้อ่านคอลัมน์ “เหะหะพาที” ที่ “ซูม” เขียนไว้ในไทยรัฐ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2550 หัวข้อว่า “มหกรรมหนังสือ 2550”

“ซูม” พูดถึงงานนี้ว่าเริ่มแล้ว พูดถึงกิจกรรมต่างๆ ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็สรุปไว้ว่า

“ผมค่อนข้างมั่นใจว่าจากการรณรงค์อย่างเป็นทางการ และการกระตุ้นของสื่อทุกแขนงคงจะทำให้คนไทยเราหันมาอ่านหนังสือมากขึ้น

สังคมไทยเรากำลังพัฒนาไปสู่ "สังคมแห่งการเรียนรู้" ยิ่งขึ้นทุกๆ ปี หลังการจัดงานมหกรรมหนังสือในแต่ละปีผ่านไป...”


อ่านแล้วก็...อืม...จริงหรือครับ งานแบบนี้ “ทำให้คนไทยเราหันมาอ่านหนังสือมากขึ้น” และพาสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ยิ่งขึ้นทุกปี

อืม...งานเทกระจาดแบบนี้ช่างมีคุณูปการยิ่งใหญ่เสียจริง

ผมว่าบรรดานักการเมืองและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คงคิดแบบ “ซูม” นี่ล่ะ ความคิดแบบ “กำนันจัดงานวัด” เห็นคนมากันเยอะก็ยิ้มแก้มปริ แล้วเหมาว่าชาวบ้านมีความสุข

เห็นพ่อแม่จูงลูกมาซื้อหนังสือ ลากกระเป๋าเดินทางกันให้ควั่ก เด็กเดินแบกหนังสือตัวแอ่น เห็นแต่ละบูธมีคนเบียดเสียดแน่นขนัด รถจอดกันแน่นพรึบ

เห็นแล้วก็ “โอ๊ย...ปลื้ม คนไทยอ่านหนังสือกันเยอะจริงๆ”...แบบนี้หรือครับ?

ปกติบ้านเรามีแค่ชนชั้นกลางขึ้นไปเท่านั้นที่มีกำลังซื้อหนังสือ ตาสีตาสา ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ เขาซื้อหนังสือให้ลูกให้หลานอ่านไม่ได้หรอก หรือบางทีพวกเขาไม่มีเวลามาคิดถึงเรื่องพวกนี้ด้วยซ้ำ

มองแบบไม่หลอกตัวเอง...คนที่มาเดินซื้อหนังสือในงานแบบนี้ สถานที่แบบนี้ ก็คือชนชั้นกลางกลุ่มเดิมที่มีกำลังซื้อ และซื้อหนังสือ(บางประเภท) อ่านอยู่แล้ว กระทั่งกลายเป็นงาน “เพิ่มกำลังซื้อ” ของพวกเขาแค่นั้นเอง

หรือว่าการส่งเสริมการอ่านไม่จำเป็นต้องรวมคนกลุ่มล่างด้วย?!?!

และเมื่อมองแบบยอมรับความจริง...เจ้าภาพที่ชื่อ “สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย” ก็ฟ้องยี่ห้ออยู่แล้วว่าจัดงานนี้เพื่อขาย...ขาย...ขาย...และปล่อยหนังสือจากสต๊อก อย่ามาแต่งองค์ทรงเครื่องว่าจะ “ส่งเสริมการอ่าน” เลย เรียกว่า “ส่งเสริมการขาย” ท่าจะเหมาะกว่า

งานส่งเสริมการอ่านอีกงานที่ชื่อ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ คุ้นๆ ไหมครับว่าแต่ก่อนมีเจ้าภาพเป็นกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ และสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ สถานที่จัดงานคือ คุรุสภา เดี๋ยวนี้เป็นไงครับ ไม่รู้ท่าไหน สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯกลายมาเป็นโต้โผใหญ่ ปล่อยให้ ศธ. กับ สสส. เป็นแบ๊คอัพ เรียกว่าเอกชนชนะราชการราบคาบ พอปี 2546 ก็ย้ายงานมาที่ศูนย์สิริกิติ์ ผลคือเราแยกไม่ออกเลยว่าสองงานนี้แตกต่างกันยังไง นอกจากเป็นมหกรรมขาย..ขาย...ขาย... หรืองานเพิ่มกำลังซื้อให้คนที่มีกำลังซื้ออยู่แล้วเหมือนๆ กัน (ขนาดป้ายไฟในงานที่จัดอยู่นี้ยังขึ้นเฉยเลยว่า “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ”)

มกุฏ อรฤดี เจ้าของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ที่ถูกนักการเมืองกับข้าราชการดัดแปลงความคิดเรื่อง สถาบันหนังสือแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ไว้ในนิตยสาร way ฉบับเดือนกันยายนที่ผ่านมาได้น่าสนใจมาก

คัดมาบางตอนครับ


“ทุกครั้งที่ติดตามข่าวได้ยินเขาพูดว่า การอ่านของคนในประเทศไทยต้องเริ่มจากครอบครัว ผมก็หัวเสียทุกที(หัวเราะ) เพราะคนเหล่านี้พูดอย่างไม่เข้าใจอะไรจริงๆ...”

“ครอบครัวส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นครอบครัวแบบไหน ส่วนมากเป็นครอบครัวเกษตรกรรม ซึ่งพ่อแม่ไม่ค่อยมีความรู้ ไม่ค่อยรู้หนังสือ หรือรู้แต่ไม่ใส่ใจ อีกกลุ่มหนึ่งคือพวกหาเช้ากินค่ำ เราเอาคติพจน์อันนี้ไปพูดกับคนทุกกลุ่มเลย ไปพูดกับชาวนา เกษตรกร บอกว่าการอ่านต้องเริ่มจากครอบครัว ไปพูดกับคนงานที่ต้องตื่นเช้าตี 4 แล้วก็กลับมา 3-4 ทุ่ม กลับมาถึงลูกก็นอนแล้ว...”

“ถามว่าหนังสือสำหรับเด็กเล่มละเท่าไหร่ แล้วคุณไปบอกว่าการอ่านต้องเริ่มขึ้นจากครอบครัว นั่นหมายความว่าเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องสนับสนุนการอ่านของลูกใช่ไหม ได้เงินวันนี้ตอนเย็น 200 บาทอย่างสูงสุดเลย รวมทั้งค่ากิน ค่าอยู่ ค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้า ค่าอะไรอีกจิปาถะ วันรุ่งขึ้นก็ออกตั้งแต่ตี 5 ถามว่าจะเอาเงินและเวลาไหนมาสนับสนุนให้ลูกอ่านหนังสือ...”

“ตอนนี้เราโทษเด็กหมดเลยว่า เพราะมันไม่อ่านหนังสือ มันไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เอาอย่างนี้ว่าถ้าหากวันหนึ่งเด็กทั้งประเทศลุกฮือขึ้นมาอ่านหนังสือ เด็ก 20 ล้านคนลุกขึ้นมาอ่านหนังสือเหมือนมดปลวกเลย ถามว่าคุณจะเอาอะไรให้เขาอ่าน แล้วมันก็จะไปเจออีกปัญหาหนึ่ง...คือว่านักเขียนในเมืองไทยที่จะเขียนหนังสือให้เด็กอ่านนั้นมีกี่คน นักแปลเมืองไทยที่แปลหนังสือให้เด็กอ่านสนุก ดี ถูกต้อง มีกี่คน บรรณาธิการที่จะตรวจต้นฉบับให้ถูกต้องและดีมีกี่คน...”

“เรากำลังทำลายระบบร้านหนังสืออิสระ ที่ฝรั่งเขาเรียกว่า stand alone หมายความว่าร้านหนังสือที่ไม่มีเครือข่าย ใครสักคนหนึ่งรักที่จะเปิดร้านหนังสือ มีสตางค์ มีสถานที่ก็ไปเปิดร้าน ร้านอย่างนี้นับวันจะอยู่ไม่ได้ อยู่ไปเรื่อยๆ ก็จะต้องเลิก เพราะว่าคนส่วนใหญ่รู้ว่าพอถึงช่วงเวลาหนึ่งจะไม่มีหนังสือใหม่ออกมา รวมถึงหนังสือที่ไปซื้อตามร้านหนังสือก็ไม่ได้ลดราคา ไม่ได้ของแจกของแถม ไม่ได้อะไรทั้งสิ้น

“เพราะฉะนั้นเขาก็รอเก็บเงินจำนวนหนึ่งเพื่อที่จะไปซื้อในงาน พอทุกคนคิดเหมือนกันตรงกันอย่างนี้ คนจัดงานก็ภูมิใจว่ามีคนมาร่วมงานเป็นแสนเป็นล้านในแต่ละครั้ง แต่ว่าสิ่งที่ถูกทำลายไปก็คือระบบกลไกของการซื้อขายหาอ่านหนังสือตามปกติ...”

“การลดราคาหนังสือไม่ได้ช่วยให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น แต่คนซื้อหนังสือมากขึ้น ซึ่งเขาซื้อด้วยสิ่งล่อหลอกว่า เขาได้ลดราคาหนังสือ แต่ผลที่จะตามมันไม่ใช่ในทางที่ดี...”

“ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงขนาดใหญ่ มีประชากร 10 กว่าล้านคน มีห้องสมุดกี่แห่งที่เป็นห้องสมุดจริงๆ ครบถ้วนสมบูรณ์ ถ้าไม่นับหอสมุดแห่งชาติเพราะยืมหนังสือออกมาไม่ได้...ก็ไม่มีสักแห่งเลย น่าตกใจนะครับ เมืองหลวงของประเทศซึ่งมีประชากร 60 กว่าล้านคน แต่ไม่มีห้องสมุดที่ให้ยืมออกอย่างดีตามระบบของชาติที่เจริญแล้วแม้แต่แห่งเดียว...”

“สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายควรจะดูแลร้านขายหนังสือเล็กๆ ด้วย ไม่ว่าเขาจะเป็นสมาชิกหรือไม่ก็ตามก็ควรจะดูแลเขาด้วย เพราะว่าเป็นสิ่งสำคัญ ร้านหนังสือยิ่งเล็ก ยิ่งอยู่ไกลเท่าไหร่ ยิ่งสำคัญมากเท่านั้น ร้านขายหนังสือไม่ได้มีหน้าที่เพียงแต่รับหนังสือมาแล้วขายไปอย่างเดียว เป็นที่ประชาสัมพันธ์ เป็นที่ส่งข่าวสารของสำนักพิมพ์และนักเขียน เป็นที่ให้ทดลองอ่านหนังสือบางเล่ม เป็นที่ให้เสมือนหนึ่งเป็นห้องสมุดกลายๆ สำหรับคนไม่มีสตางค์ เป็นอะไรหลายๆ อย่าง”

“เราต้องคิดให้ไกลหน่อย อย่าไปคิดเพียงแต่ว่าปีนี้จะขายเอาจากงานที่ศูนย์สิริกิติ์กี่สิบล้าน แล้วก็รีบผลิตกัน ถามว่ามันส่งผลอะไรอีก ทุกครั้งเวลาใกล้งานสัปดาห์หนังสือฯ หรือใกล้งานมหกรรมหนังสือฯ ราคากระดาษจะสูงขึ้น กระดาษขาดตลาด เพราะทุกคนแห่ไปซื้อตอนนั้นกันหมดเลย แต่ช่วงหลังจากนั้นกระดาษจะราคาถูกและไม่มีคนใช้กระดาษ ทำให้ราคากระดาษในตลาดปั่นป่วน คุณภาพของกระดาษก็เปลี่ยนไปเพราะว่าโรงงานต้องเร่งผลิตให้ทันช่วงนี้...”


............................

เลิกมองอะไรแบบอุดมคติ ประเภทเมืองไทยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว และก็สร้างฝันสวยหรูด้วยคำพูดได้แล้วครับ มองความเป็นจริงและทำอะไรโดยยึดอิงกับความจริงกันหน่อย

ไม่งั้นอีกกี่ปีคนไทยก็ยังอ่านหนังสือปีละไม่กี่บรรทัดอยู่เหมือนเดิมนั่นล่ะ






บล็อกที่อัพพร้อมกัน : A Time for Drunken Horses เรื่องราวของ‘ชาวเคิร์ด’


Create Date : 21 ตุลาคม 2550
Last Update : 24 ตุลาคม 2550 4:15:20 น. 7 comments
Counter : 1137 Pageviews.

 
เอา 2 เรื่องนี้มาให้อ่านด้วยครับ เหมือนไม่เกี่ยวกัน แต่จริงๆ แล้วเรื่องเดียวกัน

เรื่องแรกเป็นรายงานข่าวจากคมชัดลึก หลังจากมีการจับหนังสือที่ถูกหาว่า "ลามกอนาจาร" ในมหกรรมหนังสือฯ

//www.komchadluek.net/2007/10/21/s001_164153.php?news_id=164153

งานมหกรรมหนังสือฯหนาว! สันติบาล-กระทรวงวัฒน์ตรวจยิบ พร้อมจัดเรต "พิชิตสื่อลามก"
21 ตุลาคม 2550 13:40 น.

หลังจากเมื่อต้นปีเพิ่งจะมีปัญหาการ์ตูนลามก โผล่ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา ก็เป็นข่าวคึกโครมขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อมีการจับกุม นวนิยายลามก ของบริษัทสายน้ำจำกัด โดยทางตำรวจสันติบาลผู้ดำเนินคดี ได้ตั้งข้อหาเผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์ลามกอนาจารระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีปรับไม่เกิน 6,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

และเพื่อเป็นการสรุปมาตรการความเข้มงวดของสื่อลามกในงานระดับชาติเช่นนี้เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 19 ตุลาคม ที่ห้องวีไอพีหนึ่ง ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้มีการจัดแถลงข่าวจากตัวแทน 3 หน่วยงาน ได้แก่ พ.ต.อ สุทัศน์ อันทานันท์ รองผบก.อก.บช.ส ริสรวล อร่ามเจริญ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย และ ลัดดา ตั้งศุภาชัย ผอ.เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม

พ.ต.อสุทัศน์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกับปัญหาดังกล่าว เมื่อพบว่ามีหนังสือไม่เหมาะสมในงานที่มีเด็กเยาวชนเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก จึงได้ทำการยื่นฟ้องร้านจัดจำหน่ายหนังสือจำนวน 3 บูธดังกล่าว และห้ามจัดจำหน่ายในงานอย่างเด็ดขาด และจะจัดส่งทีมเจ้าหน้าที่เป็นกรรมการร่วมเพื่อตรวจสอบดูแลหนังสือต่างๆ ในครั้งนี้และต่อๆ ไปด้วย ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า สันติบาลจะช่วยกลั่นกรองให้งานมหกรรมฯ มีแต่หนังสือที่สร้างสรรค์

ได้มีการยื่นฟ้องผู้จำหน่ายหนังสือลามกด้วยกฎหมายมาตรา 287 คือห้ามมีการผลิตหนังสือลามกอนาจารไว้เพื่อการจำหน่าย ซึ่งมีความผิดทางอาญา โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีปรับไม่เกิน 6,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตั้งแต่ช่วงปีใหม่ได้ดำเนินคดีไปแล้วประมาณ 16 สำนักพิมพ์ บางแห่งเป็นพ็อคเก็ตบุ๊คที่เสนอมุมมืดของวัยรุ่น ที่จริงก็สามารถนำเสนอได้ แต่บางบทพูดถึงการเมคเลิฟ เมื่อมีการดำเนินคดี ทางสำนักพิมพ์ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาไปในทางที่เหมาะสมขึ้น บรรทัดฐานว่าอันไหนเข้าข่ายก็ต้องดูว่าเขาบรรยายฉากเลิฟซีนอย่างไร อย่างหนังสือบางเล่มของ อีแร้ง ก็อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีเชื่อว่า หลังจากนี้ไป สำนักพิมพ์ต่างๆ จะเข้าใจดีขึ้น พ.ต.อ.สุทัศน์กล่าว

ด้านริสรวล กล่าวว่า ก่อนหน้างานมหกรรมหนังสือได้มีการจัดทำคู่มือออกระเบียบปฏิบัติการควบคุมสื่อลามก รวมทั้งออกจดหมายกำชับให้สมาชิกสมาคมฯ ไปแล้ว อีกทั้งยังมีการติดโปสเตอร์เตือนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งยอมรับว่าหนังสือมีเป็นล้านหัวข้อ สมาชิกแต่ละรายก็เป็นกันมานาน แต่เมื่อทำผิดกติกา ระเบียบของสมาคมฯ ก็จะต้องมีการลงโทษคือ ให้หมดจากสมาชิกภาพ

เรามีบูธ 918 บูธ 400 สำนักพิมพ์ สมาชิกที่มาเปิดบูธจำหน่าย เรามีหลักเกณฑ์เรื่องการผลักดันส่งเสริมการอ่าน ประชาสัมพันธ์ให้ด็กมาเลือกซื้อหนังสือ ฉะนั้นหนังสือจะต้องจรรโลงสังคม สำนักพิมพ์บางแห่งบอกว่าไม่ได้ผลิตหนังสือสำหรับเด็ก ไม่ขายให้เด็กอยู่แล้ว แต่จะทำได้แค่ไหนต้องบอกให้ชัด บ่งบอกไว้เลยว่าหนังสือเหมาะกับคนวัยไหน และยิ่งมีการจัดเรตหนังสือ สำนักพิมพ์แต่ละแห่งคงจะเห็นความชัดเจน ถ้าเรารู้ว่าสำนักพิมพ์ไหนยังผลิตหนังสือเหมือนเดิม ไม่คิดแก้ไข ปรากฏเป็นความผิดอย่างชัดเจน ก็ต้องให้หมดสภาพสมาชิก ในส่วนของร้านหนังสือทั่วไป สมาคมก็มีระเบียบชัดเจนถึงเรื่องการจำหน่ายหนังสือที่ไม่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นการดับเบิลเช็ค นายกสมาคมฯ กล่าว

ขณะที่ลัดดากล่าวว่าเครือข่ายเฝ้าระวัง ทั้งสื่อมวลชน และบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองได้แจ้งให้ทราบถึงเรื่องดังกล่าวให้ทราบ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมมีหน้าที่รักษาวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติอยู่แล้ว เมื่อพบสื่อที่ไม่เป็นไปตามบรรทัดฐาน ก็จะต้องมีการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อต่างๆ รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งจะคาดหวังให้พ่อแม่ผู้ปกครองมาเป็นผู้กลั่นกรองอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะประเทศไทยมีความหลากหลาย ทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา ใช่ว่าผู้ใหญ่ทุกคนจะมีวุฒิภาวะเหมือนกันหมด โดยขณะนี้ก็มีหลายหน่วยงานช่วยกันระมัดระวังและเร็วๆ นี้ก็จะมีศูนย์รักษาความปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อยุติการถกเถียงกัน เพราะทุกคนล้วนมีหน้าที่ปกป้องเยาวชนด้วยกันทั้งสิ้น

ด้านสุวดี จงสถิตย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการบริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด กล่าวว่า คนทำหนังสือส่วนใหญ่ต่างรู้ดีว่าธุรกิจหนังสือนั้นเกิดยาก ตายง่าย ส่วนใหญ่จึงมาทำกันด้วยอุดมคติ แต่การทำหนังสือดีๆ ต้องยอมรับว่าขายยาก คนที่ทำหนังโป๊ หนังสือโป๊จึงยังมีอยู่ในสังคม เชื่อว่านโยบายการป้องกัน เฝ้าระวังครั้งนี้จะเป็นการพัฒนาสังคมไปอีกระดับ ซึ่งขอเสนอให้มีการสอดส่องในที่อื่นๆ ด้วย เช่น สโตร์ใหญ่ๆ บางแห่งก็มีมุมขายหนังสืออย่างนี้โดยเฉพาะ

พร้อมกันนี้นางริสรวล นายกสมาคมฯ ยังแนะนำด้วยว่า ภายในงานมหกรรมที่จะจัดไปจนถึงวันที่ 28 ต.ค.นี้ มีกิจกรรมที่จัดทำเพื่อนักอ่านรุ่นเยาว์มากมาย เช่น กิจกรรมเมืองนิทานแสนสนุก นิทรรศการหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บุ๊คส์การ์เด้นท์ที่เปิดให้เอาหนังสือมือสองมาแลกกันอ่าน เป็นต้น สำหรับยอดผู้เข้าชมงานตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคมเป็นต้นมา มีประมาณ 100,000 คน โดยจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเด็ก.


โดย: แค่เพียงรู้สึกสุขใจ วันที่: 21 ตุลาคม 2550 เวลา:16:26:38 น.  

 
ส่วนเรื่องนี้นำมาจาก บอร์ดไทยไรเตอร์ โพสต์โดยคุณติณ







โดย: แค่เพียงรู้สึกสุขใจ วันที่: 21 ตุลาคม 2550 เวลา:16:36:06 น.  

 
งานหนังสือไม่ได้ไปเลยค่ะ

ความตายของด็องต็อง น่าสนใจ น่าอ่าน..


โดย: renton_renton วันที่: 22 ตุลาคม 2550 เวลา:13:57:26 น.  

 


โดย: Meursault วันที่: 24 ตุลาคม 2550 เวลา:13:14:33 น.  

 
ฟิ้ววว


โดย: กามูร์มาแระ IP: 124.120.100.50 วันที่: 24 ตุลาคม 2550 เวลา:23:59:25 น.  

 
ลืมๆ เมนต์ซะหน่อย

จริงเหมือนกันนะ หลายคนไม่ค่อยซื้อหนังสือแล้ว
เก็บตังค์ไปงานแบบนี้ปีละ 2 ครั้ง แล้วกวาดมาทีเดียว
แต่งานหนังสือที่คุรุสภายุคหลังๆ ก่อนย้ายมาก็ไม่ต่างจากนี้เท่าไหร่นะ
เน้นขายและขายและขายเหมือนกัน
ว่าแล้วก็คิดถึงบรรยากาศเดิมๆ สัก 20 กว่าปีก่อน



โดย: กามูร์อีกรอบ IP: 124.120.100.50 วันที่: 25 ตุลาคม 2550 เวลา:0:06:22 น.  

 
ปีนี้ไม่ได้ไปอีกแล้ว


อยากได้ Mrs Dalloway อ่ะ


โดย: เจ้าชายไร้เงา วันที่: 27 ตุลาคม 2550 เวลา:10:24:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แค่เพียงรู้สึกสุขใจ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




บทวิจารณ์ภาพยนตร์รางวัลกองทุน
ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ปี 2549

..............................








พญาอินทรี




ศราทร @ wordpress
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
21 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แค่เพียงรู้สึกสุขใจ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.