ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
OSPF process id บน Cisco router ตอนที่ 3: ตอน 1 network 2 routing protocol (EIGRP and OSPF)

หลังจากที่กล่าวถึง "OSPFprocess id บน Cisco router ตอนที่ 1 และ 2" ไปแล้วนั้น เราจะพบว่าทั้งสองตอนจะเป็นการกล่าวถึง 1 network 1 routing protocol เช่น ใน network 1 network มีการ enable routing protocol แค่ OSPF เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรือใน network 1 network มีการ enable routing protocol แค่ EIGRP เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

แต่สำหรับในตอนที่ 3 นี้จะกล่าวถึงการ enable 2 routing protocol (EIGRP กับ OSPF) ใน 1 network โดยในตอนที่ 3 นี้จะเป็นหลักการที่นำไปประยุกต์อธิบายตอนที่ 4 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายอีกทีหนึ่งครับ

เอาล่ะ! เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

จากรูปข้างล่าง (รูปที่ 1) จะอธิบายหลักการ configure และผลการ show routing table ดังนี้ครับ (ขอข้ามรายละเอียดบางส่วนไป เนื่องจากในบทความนี้จะไม่เน้นพื้นฐาน แต่จะเน้นเรื่อง routing แบบเฉพาะกิจครับ)


รูปที่ 1 แสดงการ enable routing protocol EIGRP และ OSPF ใน 1 network

หลักการ configure routing protocol บน router R1, R2, และ R3

ที่ router R1 enable เฉพาะ routing EIGRP:
- ที่ router R1 จะมีการ enable routing protocol เพียง routing protocol เดียวนั่นคือ EIGRP และให้ R1 อยู่ใน EIGRP AS 100
- จาก command "network" ภายใต้ router eigrp 100 บน R1 จะเห็นว่าทุกๆ interface ของ R1 จะมี IP address ที่ตรง หรือ match กับ subnet ที่ต่ออยู่หลัง command "network" นั่นก็หมายความว่า interface ทุกๆ interface ของ router R1 จะเข้าร่วมการเรียนรู้ และการประกาศ routing ด้วย routing protocol EIGRP รวมถึงการประกาศ subnet ของแต่ละ interface บน R1 ออกไปให้ router ทุกตัวที่อยู่ใน EIGRP AS 100 ทราบ

Router R1 จะประกาศ subnet ดังต่อไปนี้
- 192.168.1.0/24
- 192.168.2.0/24
- 192.168.3.0/24
ออกไปให้กับ R2 ด้วย protocol EIGRP

ที่ router R3 enable เฉพาะ routing OSPF: (ขอกล่าว R3 ก่อนครับ)
- ที่ router R3 จะมีการ enable routing protocol เพียง routing protocol เดียวนั่นคือ OSPF และใช้ OSPF process เดียวนั่นคือ OSPF process 400
- จาก command "network" ภายใต้ router ospf 400 บน R3 จะเห็นว่าทุกๆ interface ของ R3 จะมี IP address ที่ตรง หรือ match กับ subnet ที่ต่ออยู่หลัง command "network" นั่นก็หมายความว่า interface ทุกๆ interface ของ router R3 จะเข้าร่วมการเรียนรู้ และการประกาศ routing ด้วย routing protocol OSPF รวมถึงการประกาศ subnet ของแต่ละ interface บน R3 ออกไปให้ router ทุกตัวที่ run OSPF ทราบ

Router R3 จะประกาศ subnet ดังต่อไปนี้
- 10.1.1.0/24
- 20.2.2.0/24
- 30.3.3.0/24
ออกไปให้กับ R2 ด้วย protocol OSPF

ที่ router R2 enable ทั้ง EIGRP และ OSPF:
- ที่ router R2 จะมีการ enable routing protocol สอง routing protocol นั่นคือ EIGRP และ OSPF

หมายเหตุ
- Routing protocol EIGRP บน R2 จะอยู่ภายใต้ AS 100
- Routing protocol OSPF บน R2 จะใช้ OSPF process เพียง process เดียว นั่นคือ OSPF process id 300

- สำหรับ command router eigrp 100 บน R2 สามารถอธิบายได้ดังนี้
จาก command "network" ภายใต้ router eigrp 100 บน R2 จะเห็นว่า interface fa2/0 และ interface s1/0 ของ R2 จะมี IP address ประจำแต่ละ interface ที่ตรง หรือ match กับ subnet ที่ต่ออยู่หลัง command "network" นั่นก็หมายความว่า interface ทั้งสองของ router R2 จะเข้าร่วมการเรียนรู้ และการประกาศ routing ด้วย routing protocol EIGRP แต่จะประกาศเฉพาะ subnet บน interface fa2/0 และ s1/0 และ routing ที่ได้เรียนรู้มาจาก EIGRP AS 100 เท่านั้น (แต่ subnet หรือ routing อื่นๆ ที่เรียนรู้มาจาก OSPF จะไม่ถูกประกาศออกไปทาง interface fa2/0 และ s1/0)

- router R2 จะประกาศ subnet ดังต่อไปนี้เท่านั้น
- 120.2.2.0/24
- 192.168.1.0/24
ออกไปให้กับ R1 ด้วย protocol EIGRP (แต่จะไม่ประกาศ route หรือ subnet ที่เรียนรู้มาจาก OSPF ไปให้ R1 เนื่องจากเป็นคนละ routing protocol กัน)

- สำหรับ command router ospf 300 บน R2 สามารถอธิบายได้ดังนี้
จาก command "network" ภายใต้ router ospf 300 บน R2 จะเห็นว่า interface fa3/0 และ interface s1/1 ของ R2 จะมี IP address ประจำแต่ละ interface ที่ตรง หรือ match กับ subnet ที่ต่ออยู่หลัง command "network" นั่นก็หมายความว่า interface ทั้งสองของ router R2 จะเข้าร่วมการเรียนรู้ และการประกาศ routing ด้วย routing protocol OSPF แต่จะประกาศเฉพาะ subnet บน interface fa3/0 และ s1/1 และ routing ที่ได้เรียนรู้มาจาก OSPF ด้วยกันเท่านั้น (แต่ subnet หรือ routing อื่นๆ ที่เรียนรู้มาจาก EIGRP จะไม่ถูกประกาศออกไปทาง interface fa3/0 และ s1/1)

Router R2 จะประกาศ subnet ดังต่อไปนี้เท่านั้น
- 130.3.3.0/24
- 10.1.1.0/24
ออกไปให้กับ R3 ด้วย protocol OSPF (แต่จะไม่ประกาศ route หรือ subnet ที่เรียนรู้มาจาก EIGRP ไปให้ R3 เนื่องจากเป็นคนละ routing protocol กัน)

ดังนั้นจากรูปที่ 1 จะสังเกตได้ว่าผลการใช้ command show ip route เพื่อตรวจสอบ subnet ใน routing table ของ router ทั้งสามตัว (R1, R2 และ R3) จะไม่เหมือนกัน คือ R1 และ R3 จะเห็น subnet ไม่ครบทั้ง network แต่ R2 กลับเห็น subnet ครบทั้งหมด

เมื่อนำรูปที่ 1 (ใน network มีสอง routing protocol) ไปเทียบกับรูปที่ 2 (ใน network มีแต่ routing protocol EIGRP) และรูปที่ 3 (ใน network มีแต่ routing protocol OSPF) แล้วจะเห็นความแตกต่างที่ R1 และ R3 ครับ (รูปที่ 2 และรูปที่ 3 ใช้หลักการเดียวกันคือ 1 network ใช้ 1 routing protocol)


รูปที่ 2 แสดงการ enable routing protocol EIGRP เพียง protocol เดียวใน network


รูปที่ 3 แสดงการ enable routing protocol OSPF เพียง protocol เดียวใน network (แต่ 1 router ต่อ 1 OSPF process id)

สรุปได้ว่า
- หากใน network run routing protocol เพียง routing protocol เดียวแล้ว subnet ทั้งหมดใน network จะถูก update หรือถูกประกาศไปทั่วทั้ง network
- หากใน network run routing protocol มากกว่าหนึ่ง routing protocol แล้ว subnet ใดที่เรียนรู้มาจาก routing protocol หนึ่ง จะไม่ถูก update หรือประกาศไปให้กับอีก routing protocol หนึ่ง

หมายเหตุ โอกาสที่ network หนึ่ง network จะ run routing protocol มากกว่าหนึ่ง routing protocol นั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เช่นในกรณีที่ network หนึ่งใช้ routing protocol EIGRP แต่อีก network หนึ่งใช้ routing protocol OSPF ซึ่งสอง netowork นี้แยกจากกัน แต่มาวันหนึ่งสอง network นี้จำเป็นต้องเชื่อมต่อเข้าหากันแล้วจะมีวิธีการรับมืออย่างไร

แน่นอนครับวิธีที่ดูเหมือนง่ายที่สุดก็คือ ทำให้ network ทั้งสอง network ใช้ routing protocol แบบเดียวกัน (จะเลือกใช้ routing ตัวไหนก็แล้วแต่ความเหมาะสมครับ) แต่ลองนึกดูว่าถ้า network ทั้งสองเป็น network ที่มีขนาดใหญ่ และมีกระจายไปตามต่างจังหวัด ถ้าอย่างนี้วิธีที่ทำให้ network ทั้งหมดใช้ routing protocol เดียวกันนั้นค่อนข้างยาก ต้องใช้เวลาในการทำ และอาจจะต้องเดินทางไปต่างจังหวัดเพื่อ configure router ที่อยู่ต่างจังหวัด (หรืออาจจะ remote ได้)

แล้ววิธีไหนล่ะที่เหมาะสม?

วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ไม่ต้องไปแก้ routing protocol ของ network ทั้งสองให้เหมือนกันก็ได้ครับ แต่ให้ใช้ command redistribute บน router ตัวกลางที่เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสอง routing protocol แทนครับ เช่น configure บน R2 ซึ่ง command นี้จะทำให้ router ตัวกลางดังกล่าวทำการ update routing หรือ subnet ข้าม routing protocol กันได้ ท้ายสุด router ทุกตัวก็จะรู้จัก subnet ที่มีอยู่ใน network ทั้งหมด และที่สำคัญ เราสามารถคัดกรองได้ว่าจะให้ subnet ไหนถูกประกาศข้ามไป และจะไม่ให้ subnet ไหนถูกประกาศข้ามไปได้ครับ (ผูกกับ ACL)

สำหรับ command redistribute ท่านสามารถติดตามได้จากหัวข้อ

CCNP-การ Redistribute Route หรือการโยน Route ระหว่าง Routing Protocol คนละชนิดกัน


URL ดังนี้ครับ
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=likecisco&month=30-09-2011&group=3&gblog=6

สำหรับตอนที่ 3 นี้ ผมขอจบแค่นี้นะครับ

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์



Create Date : 23 มิถุนายน 2554
Last Update : 20 มกราคม 2559 0:37:57 น. 2 comments
Counter : 8913 Pageviews.  
 
 
 
 
แจ่มจริงๆ ครับ ทวนๆๆๆๆๆๆ ทวน ก.กัมปนาท("............."7สี)
 
 

โดย: Ironman IP: 119.76.14.176 วันที่: 4 เมษายน 2558 เวลา:17:42:47 น.  

 
 
 
อ่านบนความของอาจารย์แล้วเข้าใจชัดเจนครับ ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
 
 

โดย: Apiwat IP: 159.192.219.169 วันที่: 24 มิถุนายน 2562 เวลา:17:52:19 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com