ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
Parameter Bandwidth บน Interface คืออะไร ต่างจาก Clock Rate หรือ Speed อย่างไร

Parameter Bandwidth บน Interface [(config-if)# bandwidth xxx] คืออะไร 

หลายๆ คนยังไม่เข้าใจ หรือยัง งงๆ มา ผมจะเหลา (เล่า) ให้ฟัง - ชงมุกเอง ตบเอง เด๋วไม่มีใครช่วย   
เอาล่ะมาเริ่มเลย:

R1(config)# interface Serial 1/0
R1(config-if)# bandwidth xxxx

bandwidth ต่างกับ clock rate บน interface Serial อย่างไร?

R1(config)# interface Serial 1/0
R1(config-if)# clock rate XXXX

======================================

R1(config)# interface FastEthernet 0/0
R1(config-if)# bandwidth xxxxx

bandwidth ต่างกับ speed บน interface FastEthernet อย่างไร?

R1(config)# interface FastEthernet 0/0
R1(config-if)# speed xxx

========================================

คำตอบคือ:
Parameter Clock Rate บน Interface Serial และ Parameter Speed บน Interface FastEthernet คือ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจริงๆ ซึ่งการเปลี่ยนค่าเหล่านี้ในแต่ละครั้งอาจจะมีผลทำให้ link up/down ได้ 
และที่สำคัญ Clock Rate บน Interface Serial (ในกรณีที่ต่อใช้งานกับ Lease Line) มันคือ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจริงๆ ที่ CSU/DSU (หรือพวก Modem) จ่ายออกมาให้กับ Router นั่นคือ เงินๆ ทองๆ ที่เราตกลงกับทาง Service Provider ว่าจะเช่าวงจร Speed เท่าไหร่ 
------------------------------------------------------------------------------------------

คำถามต่อมา:
แล้ว Parameter Bandwidth คืออะไร 

คำตอบคือ:
Bandwidth เป็น Parameter ที่เอาไว้ให้ routing protocol อย่างเช่น OSPF และ EIGRP ใช้ในการคำนวณ metric หา The Best Path ในกรณีที่มีหลายๆ Path ไปยัง destination network เดียวกัน
------------------------------------------------------------------------------------------

ถ้าถามว่า:
บน interface FastEthernet 0/0 set Speed 100 Mbps แต่ set Bandwidth เป็น 1,000 Mbps ได้ไหม 
คำตอบคือ:
ได้ครับ

ถามว่า: เวลา routing protocol อย่างเช่น OSPF กับ EIGRP จะคำนวณ The Best Path แล้วมันจะใช้ค่าไหนระหว่าง Speed กับ Bandwidth 
คำตอบ ก็คือ ใช้ Parameter Bandwidth ครับ

===================================================
และถ้าถ้าถามว่า: 
บน Interface Serial 1/0 set Clock Rate 64 Kbps แต่ set Bandwidth 2 Mbps ได้ไหม 
คำตอบก็เหมือนเดิม คือ:
ได้ครับ
ถามว่า: เวลา routing protocol อย่างเช่น OSPF กับ EIGRP จะคำนวณ The Best Path แล้วมันจะใช้ค่าไหนระหว่าง Clock Rate กับ Bandwidth 
คำตอก็คือ: ใช้ Parameter Bandwidth ครับ

ทำไม routing protocol ถึงไม่เอา speed จริงๆ มาคำนวณ The Best Path ล่ะ?
คำตอบคือ: เวลามีการ setup speed บน link FastEthernet แล้ว link จะ up/down หรือเวลาให้ Service Provider เปลี่ยน Clock Rate แล้วจะมีเรื่อง เงินๆ ทองๆ แล้วการเปลี่ยน Clock Rate แต่ละครั้งก็ทำให้ link ต้อง down ไปแป๊ป 

ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการปรับจูน metric เพื่อที่จะหลอกลวง routing protocol ให้ไปเลือก The Best Path ที่เราต้องการแล้ว Parameter Bandwidth จึงเหมาะสมที่สุดครับ 
==================================================

เป็นอันจบนะครับ ขอให้ระวังให้ดีนะครับ จะได้ไม่สับสน

สำหรับเรื่องการคำนวณ Metric ของ OSPF ท่านสามารถเข้าไปอ่านได้ใน blog ที่ผมเขียนได้ตาม link นี้ครับ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=30-09-2011&group=3&gblog=8

KoChaiwat (โก้-ชัยวัฒน์)



Create Date : 20 มีนาคม 2558
Last Update : 24 มีนาคม 2558 8:49:17 น. 1 comments
Counter : 7750 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณครับอาจารย์ วันนี้ไล่เก็บหมดเลย
 
 

โดย: Ironman IP: 119.76.14.176 วันที่: 4 เมษายน 2558 เวลา:15:20:56 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com