ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
OSPF process id บน Cisco router ตอนที่ 4 (ตอนจบ): ตอน 1 router 2 OSPF process id

และแล้วเราก็มาถึงปลายทางของหัวข้อ OSPF process id บน Cisco router ซะที ซึ่งในตอนที่แล้วๆ มาันั้น (ตอนที่ 1-3) ผมพยายามที่จะปูพื้นฐานหลักๆ เพื่อให้สามารถนำมาเปรียบเทียบ หรือประยุกต์เพื่อเรียนรู้ในตอนที่ 4 ที่จะอธิบายว่า OSPF process id คืออะไร เอาล่ะ! เรามาเริ่มเรียนรู้กันเลยดีกว่า

OSPF process id คืออะไร
ก่อนที่ผมจะเขียนนิยามว่า OSPF process id คืออะไร ผมขอท้าวความจากบทความในตอนที่ 3 ที่กล่าวถึงเรื่อง 1 network 2 routing protocol (EIGRP and OSPF) ดังรูปที่ 1 ก่อนครับ


รูปที่ 1 แสดง 1 network 2 routing protocol (EIGRP and OSPF)

จากรูปที่ 1 ให้สังเกตที่ router R2 จะเห็นได้ว่าเป็น router ที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง 2 routing protocol นั่นคือ อยู่ระหว่าง routing protocol EIGRP และ OSPF ดังนั้น router R2 จึงต้องมีการ enable routing protocol ทั้งสอง routing protocol (คือ ที่ R2 ต้องมีการใช้คำสั่ง router eigrp และ router ospf) แต่ที่ R1 จะมีการ enable แค่ EIGRP เพียงอย่างเดียว และที่ R3 จะมีการ enable แค่ OSPF เพียงอย่างเดียว (ผมขอละรายละเอียดบางอย่างไปนะครับ เพื่อไม่ให้บทความในตอนนี้เยิ่นเย้อ รบกวนดูรายละเอียดในตอนที่ 1-3 นะครับ เพราะจะเป็นพื้นฐานของตอนนี้)

ดังนั้นการ enable OSPF process id 2 process บน router ตัวเดียวกัน ก็เท่ากับการ enable routing protocol 2 routing protocol บน router ตัวเดียวกันนั่นเอง

อ่านถึงตรงนี้แล้ว บางท่านอาจจะงง หรือยังนึกภาพไม่ออกว่าการ enable OSPF process id 2 process บน router ตัวเดียวกัน จะเท่ากับการ enable routing protocol 2 routing protocol บน router ตัวเดียวกันได้อย่างไร งั้นเรามาลองดูรูปที่ 1 ข้างบนเทียบกับรูปที่ 2 ข้างล่างกันดูนะครับ


รูปที่ 2 แสดง router R2 enable OSPF 2 process (1 router 2 OSPF process id)

จากรูปที่ 1 และรูปที่ 2 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะได้ดังนี้

ที่ router R2
- R2 ในรูปที่ 1 จะมีการ enable routing protocol EIGRP และ OSPF
- R2 ในรูปที่ 2 จะมีการ enalbe routing protocol OSPF process id 200 และ OSPF process id 300

เมื่อเปรียบเทียบ routing protocol บน router R2 ระหว่างรูปที่ 1 และรูปที่ 2 จะได้ว่า
- routing protocol EIGRP ในรูปที่ 1 เทียบได้กับ OSPF process id 200 ในรูปที่ 2
- routing protocol OSPF process id 300 ในรูปที่ 1 เทียบได้กับ OSPF process id 300 ในรูปที่ 2

ต่อมาให้สังเกตที่ผลการ show routing table บน router R1 และ R3 ด้วย command "show ip route"
- จะเห็นว่าผลการ show routing table บน router R1 ของรูปที่ 1 และรูปที่ 2 จะให้ผลเหมือนกันคือ เห็น subnet ไม่ครบทั้งหมดเหมือนอย่าง R2
- และผลการ show routing table บน router R3 ของรูปที่ 1 และรูปที่ 2 จะให้ผลเหมือนกันคือ เห็น subnet ไม่ครบทั้งหมดเหมือนอย่าง R2 เช่นกัน

จากตรงนี้คิดว่าน่าจะเริ่มทำให้ท่านเริ่มมองเห็นภาพมากขึ้นว่า การ enable OSPF process id 2 process บน router ตัวเดียวกัน เท่ากับการ enable routing protocol 2 protocol บน router ตัวเดียวกันได้อย่างไร

จากรูปที่ 2: สำหรับเรื่อง OSPF process id บน router R1 และ R3 ที่ไม่เหมือนกับ OSPF process id บน R2 นั้น สามารถอธิบายได้ดังนี้

เนื่องจาก OSPF process id จะถูกใช้ หรือถูกพิจารณาเฉพาะบน router ตัวเดียวกันเท่านั้น เพื่อให้ router สามารถแยกแยะหรือรู้ได้ว่ามี OSPF 2 process อยู่บนตัวของมัน (router จะมองเสมือนเป็น 2 routing protocol บนตัวของมันเอง)

ดังนั้น OSPF process id ระหว่าง router จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเหมือนกัน และที่สำคัญคือ OSPF process id จะไม่ได้ถูกใช้ในการ update routing information (subnet) ระหว่าง router ที่ enable OSPF เลย

สรุป OSPF process id คือ หมายเลข process ของ routing protocol OSPF บน router ตัวหนึ่งๆ เพื่อมีไว้บ่งชี้ให้ router ตัวนั้นๆ ทราบว่าตัวมันเองมี OSPF process id อะไรใช้งานอยู่บ้าง หรือมีการ enable OSPF ไว้กี่ process นั่นเอง (OSPF process id มีความหมาย หรือมีความสำคัญเฉพาะบนตัวของ router เอง (local significance))

จากตรงนี้คิดว่าน่าจะทำให้ท่านที่เคยสงสัยเรื่อง OSPF process id คืออะไรนั้น น่าจะเข้าใจได้มากขึ้นนะครับ หากอ่านตอนที่ 4 นี้แล้วไม่เข้าใจ อาจจะลองไปอ่านในตอนที่ 1-3 ดูก่อนนะครับ เพื่อปูพื้นฐานบางอย่างก่อนจะมาถึงตอนที่ 4 นี้ครับ

ผมเองพยายามที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือให้อ่านแล้วเข้าใจง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่เนื่องด้วยการถ่ายทอดทางตัวอักษรไม่เหมือนการอธิบายด้วยวาจา ดังนั้นหากอ่านแล้วสงสัย สามารถถามมาได้นะครับ จะลองพยายามอธิบายเพิ่มเติม หรือเข้ามาแก้บทความนี้ให้อ่านง่ายขึ้น

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์



Create Date : 01 กรกฎาคม 2554
Last Update : 20 มกราคม 2559 0:37:18 น. 13 comments
Counter : 12890 Pageviews.  
 
 
 
 
ได้ความรู้มากครับ
 
 

โดย: yyy IP: 58.8.178.183 วันที่: 29 พฤษภาคม 2555 เวลา:0:24:57 น.  

 
 
 
เยี่ยมเลยครับ รออ่านบทความใหม่ๆอีกน่ะครับ
 
 

โดย: Aimar IP: 58.8.23.144 วันที่: 12 มิถุนายน 2555 เวลา:22:47:52 น.  

 
 
 
ผมมีข้อส่งสัยในรูปที่ 2 ของบทความตอนที่ 4 เนื่องจาก จากตอนที่ 1-3 ที่ได้กล่าวไว้ว่า process id ไม่เกี่ยวกับการ update routing information ซึ่งจากนี้ในบทความนี้เองมีความขัดแย้งกับสิ่งที่กล่าวมา

ซึ่งสิ่งที่ควรจะเป็นคือน่าจะได้ routing informtion ที่ R1 R2 R3 มีครบทุก subnet เพียงแต่รัน 2 process ซึ่งในรูปที่ 2 นี่เองมีไม่ครบทุก subnet ซึ่งผมมีความเข้าใจถูกหรือไม่ครับ หรือในรูปที่แสงออกมาถูกต้องแล้ว
 
 

โดย: Jai IP: 58.137.88.5 วันที่: 25 ธันวาคม 2555 เวลา:9:35:36 น.  

 
 
 
@K. Jai,
คำกล่าวที่ว่า "process id ไม่เกี่ยวกับการ update routing information" นั้น คือ ผมต้องการจะอธิบายว่า "แม้ Router ที่ run OSPF จะมี Process ID ไม่ตรงกัน ก็สามารถ form neighbor กันได้ครับได้ครับ"
เพราะในการทำ Routing Update ระหว่าง Router สองตัวที่ต่อกันตรงๆ และ run OSPF นั้น ค่า Process ID จะไม่ได้ถูก update ไปด้วย นั่นเพราะค่าของ Process ID ไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการ form neighbor ของ OSPF ครับ ดังนั้น Router ทั้งสองตัว แม้จะมี Process ID ไม่ตรงกันก็สามารถ form neighbor กันได้ครับ และหลังจากการ form neighbor กันได้แล้ว ก็จะทำการแลกเปลี่ยน routing information กันได้ครับ แต่ขอเน้นนะครับว่า Router ทั้งสองตัวที่ยกเป็นตัวอย่างนี้นั้น เป็น Router ที่ run OSPF 1 Process ID: Router 1 ตัวเท่านั้นนะครับ ยังไม่ได้เข้าเรื่อง OSPF 2 Process ID นะครับ

ส่วนรูปที่ 2 ที่แสดง R2 ทำการ run OSPF 2 Process ID นั้น ผมต้องการจะบอกว่า "Process ID จะมีผลกับตัวของ Router ตัวนั้นๆ เอง จะไม่มีผลกับ Router ตัวอื่นๆ" ครับ

การที่ Router ตัวหนึ่ง run OSPF 2 Process ID จะมีลักษณะคล้ายๆ กับ Router ที่ run 2 Routing Protocol ดังเช่นรูปที่ 1 ครับ

สำหรับ R2 ที่ run 2 Routing Protocol ดังรูปที่ 1
"Route ที่เรียนรู้มาจาก Routing Protocol หนึ่ง จะไม่ประกาศออกไปยังอีก Routing Protocol หนึ่ง โดย default" ยกเว้นเราสั่งให้มันประกาศออกไป

สำหรับ R2 ที่ run OSPF 2 Process ID ดังรูปที่ 2
"Route ที่เรียนรู้มาจาก OSPF Process ID หนึ่ง จะไม่ประกาศออกไปยัง OSPF อีก Process ID หนึ่ง โดย default" ยกเว้นเราสั่งให้มันประกาศออกไป

ส่วนรูปทั้งสอง ถ้าถามว่าผิดไหม

คำตอบคือ ไม่ผิดหรอกครับ เพราะรูปนี้ เกิดจากการ run LAB แล้วสรุปเป็นรูปให้ครับ

แต่จากคำกล่าวที่ว่า "อย่างเชื่อเพราะเขาเป็นครู" นั้น คำกล่าวนี้เป็นจริงเสมอครับ ผมจึงพยายามพิสูจน์ทุกๆ ทฤษฎีด้วยการทำ LAB

ไม่แปลกครับที่เราจะไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ครับ ผมก็เป็นเช่นนั้นครับ

ดังนั้นเพื่อความมั่นใจแล้ว ลอง run LAB ลักษณะคล้ายๆ กับรูปที่ 2 เพื่อพิสูจน์ดูนะครับ



ผมคิดว่าคำถามนี้เป็นคำถามที่ดีนะครับ และเชื่อว่าบางท่านน่าจะมีคำถามในลักษณะที่คล้ายๆ กัน เลยถือโอกาสตอบตรงนี้เลยนะครับ

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 25 ธันวาคม 2555 เวลา:16:09:47 น.  

 
 
 
@K.CHAIWAT

ขอบคุณมากครับสำหรับคำตอบ ตอนนี้ผมได้ไปลองทำแลปและได้เข้าใจเหตุและผลมากขึ้นเลยครับ

 
 

โดย: JAI IP: 58.11.195.145 วันที่: 25 ธันวาคม 2555 เวลา:23:00:31 น.  

 
 
 
K.CHAIWAT
ผมสงสัยในส่วนของ R2 จากรูปที่ 1 ครับ ที่มี 2 protocols คือ eigrp กับ ospf ในส่วนของ eigrp ที่เราประกาศ network ทำไมเราถึงต้องใส่ เป็น 120.2.2.0 0.0.0.255 ครับ ถ้าเราใส่ เป็น 120.0.0.0 จะได้ไหมครับ ขอบคุณครับ

ปล. ชอชมครับว่าเขียนให้อ่านแล้วเข้าใจได้เร็วมากครับ พอได้ลง แลปตามแล้ว เห็นภาพเลยครับ
 
 

โดย: oak IP: 180.183.129.182 วันที่: 18 พฤษภาคม 2556 เวลา:16:56:40 น.  

 
 
 
@คุณ Oak,
สำหรับ "120.2.2.0 0.0.0.255" ผมขออธิบายดังนี้ครับ
120.2.2.0 เป็น range ของ IP ที่เราสนใจ ซึ่งจะหมายถึง ตั้งแต่ 120.2.2.0 - 120.2.2.255 แต่เนื่องด้วย 120.x.x.x เป็น Class A เลยต้องใช้ Wildcard Mask เข้ามาช่วย นั่นก็คือ 0.0.0.255 ซึ่ง Wildcard Mask จะหมายถึง เราสนใจ IP อะไรบ้างที่ match ดังนั้น
"120.2.2.0 0.0.0.255" จะหมายถึง เราสนใจ IP ที่ interface บน router ว่ามี interface ไหนบ้างที่มี IP address ที่ match กับ 120.2.2.0 - 120.2.2.255 ถ้า match หมายถึง interface นั้นจะถูก enable หรือ active routing protocol eigrp ครับ
ซึ่งจากคำถามว่า "ทำไมเราถึงต้องใส่ เป็น 120.2.2.0 0.0.0.255 ครับ ถ้าเราใส่ เป็น 120.0.0.0 จะได้ไหม"
คำตอบคือ ได้ครับ ถ้าเราใช้ 120.0.0.0 ซึ่งเป็น Class A เราก็ไม่จำเป็นต้องใส่ Wildcard Mask เพราะ router มันจะสรุปไปเลยว่าเราเน้น 120.0.0.0 ทั้ง Class A คือ 120.0.0.0 - 120.255.255.255 และแน่นอนว่า interface บน router ก็อยู่ใน range แน่นอนครับ แต่การระบุเป็น range กว้างจะมีข้อเสียอยู่เรื่องนึงคือ บาง interface ที่มี IP 120.x.y.z ที่เราไม่ต้องการ enable eigrp ก็จะถูก enable ไปด้วยครับ เพราะมัน match แต่ก็ยังมีท่าแก้อยู่ครับ ก็ให้ใช้ passive-interface เข้ามาแก้อีกทีก็ได้ครับ
หวังว่าจะได้รับคำตอบนะครับ
โก้-ชัยวัฒน์
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 18 พฤษภาคม 2556 เวลา:23:35:36 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับ คุณโก้-ชัยวัฒน์ เข้าใจความหมายชัดเจนครับ
 
 

โดย: oak IP: 180.183.137.162 วันที่: 20 พฤษภาคม 2556 เวลา:11:08:27 น.  

 
 
 
ผมสงสัยว่า หาก R1 มีการรัน routing แบบ EIGRP และ R3 เป็น OSFP จะทำยังไงให้เร้าเตอร์ R1 R3 ติดต่อกันได้โดยไม่ต้องแก้ config เร้าเตอร์ใหม่ ให้มีการรัน routing เหมือนกัน ผมยังสงสัยในข้อนี้อยู่ครับ

อ้างอิงจากตอนที่ 3............................

แน่นอนครับวิธีที่ดูเหมือนง่ายที่สุดก็คือ ทำให้ network ทั้งสอง network ใช้ routing protocol แบบเดียวกัน (จะเลือกใช้ routing ตัวไหนก็แล้วแต่ความเหมาะสมครับ) แต่ลองนึกดูว่าถ้า network ทั้งสองเป็น network ที่มีขนาดใหญ่ และมีกระจายไปตามต่างจังหวัด ถ้าอย่างนี้วิธีที่ทำให้ network ทั้งหมดใช้ routing protocol เดียวกันนั้นค่อนข้างยาก ต้องใช้เวลาในการทำ และอาจจะต้องเดินทางไปต่างจังหวัดเพื่อ configure router ที่อยู่ต่างจังหวัด (หรืออาจจะ remote ได้)

แล้ววิธีไหนล่ะที่เหมาะสม?

วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ไม่ต้องไปแก้ routing protocol ของ network ทั้งสองให้เหมือนกันก็ได้ครับ แต่ให้ใช้ command redistribute บน router ตัวกลางที่เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสอง routing protocol แทนครับ เช่น configure บน R2 ซึ่ง command นี้จะทำให้ router ตัวกลางดังกล่าวทำการ update routing หรือ subnet ข้าม routing protocol กันได้ ท้ายสุด router ทุกตัวก็จะรู้จัก subnet ที่มีอยู่ใน network ทั้งหมด
 
 

โดย: AToM IP: 171.98.105.192 วันที่: 5 ตุลาคม 2557 เวลา:20:04:54 น.  

 
 
 
@คุณ AToM,
ผมไม่แน่ใจในข้อสงสัยนัก แต่เบื้องต้นเข้าใจว่าคุณสงสัยเรื่องการ redistribution ซึ่งผมได้มีการอธิบายการ redistribution แบบคร่าวๆ ไว้ตาม link นี้ครับ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=30-09-2011&group=3&gblog=6

มันไม่ค่อยละเอียดนัก แต่ก็น่าจะทำให้เห็นภาพได้บ้างนะครับ

ปล. AToM ที่คุณใช้ มันใช่ตัวเดียวกับ Any Transport over MPLS หรือเปล่าครับ

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 6 ตุลาคม 2557 เวลา:13:05:02 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับอาจารย์ สามารถนำความรู้จากบทความนี้ไปประยุกต์ใช้ในงาน ทางด้าน Network ได้เลยครับ
 
 

โดย: Apiwat IP: 159.192.219.169 วันที่: 24 มิถุนายน 2562 เวลา:18:00:56 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับอาจารย์ ขอบคุณสำหรับทุกบทความดีๆ ที่เขียนอธิบายเรื่องยากจนเข้าใจได้ง่ายๆมากครับ
 
 

โดย: แมวน้อยไข่กุ้ง IP: 101.108.223.113 วันที่: 1 มกราคม 2565 เวลา:13:31:41 น.  

 
 
 
@แมวน้อยไข่กุ้ง
ขอบคุณครับ
 
 

โดย: kochaiwat วันที่: 8 เมษายน 2565 เวลา:18:20:36 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 694 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com