|
คำขับลูกอ่อน (ไทลื้อ สิบสองปันนา)
คำขับลูกอ่อน ภาพชีวิตและภูมิปัญญาไทลื้อ ในบทเพลงสำหรับเด็ก มีที่มาจากผลงานการรวบรวมเพลงเด็กไทลื้อ สิบสองปันนา ของรองศาสตราจารย์อ้ายอุ่นหลวง และอาจารย์อ้ายคำ นักวิชาการไทลื้อ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๔ ๒๕๓๗ และสำนักพิมพ์ชนชาติแห่งยูนนาน พิมพ์เผยแพร่เป็นอักษรไทลื้อใหม่ เมื่อปี ๒๕๓๘
คำขับลูกอ่อน นี้ เป็นคำขับแก้ว ที่ชาวไทลื้อ สิบสองปันนา ควรภูมิใจ เพราะเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันมีค่า แสดงให้เห็นภูมิปัญญา ของคนไทลื้อในสมัยก่อน ที่มีวิธีการอบรมกล่อมเกลาเด็ก ผ่านบทเพลงได้อย่างแนบเนียน ละมุนละม่อม ซึ่งคนไทลื้อปัจจุบันควรศึกษา และช่วยกันรักษาสืบทอดต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อผู้สนใจศึกษาภาษา วิถีชีวิตและภูมิปัญญา ของชนชาติไท

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ได้นำมาปริวรรตเป็นอักษรไทย เขียนบทนำ บทพินิจ จัดทำคำอธิบายศัพท์ และร่วมกับ รองศาสตราจารย์อ้ายอุ่นหลวง ถอดความเป็นภาษาไทย

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๓ หนา ๓๒๘ หน้า ขนาด ๑๙ x ๒๖ ซม. (๘ หน้ายก) ราคา ๒๙๐ บาท พร้อม ซีดี ๑ แผ่น บันทึกเสียงคำอ่านและขับ ของ อิอ่อน โฆษกประจำสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งมณฑลยูนนาน กับนายสราวุธ เตมีศักดิ์ และ นายเจษฎา อิ่นคำ จาก อ.เชียงคำ จ.พะเยา
ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สานิตย์ โภคาพันธ์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่แนะนำและมอบเอกสารอันมีค่ายิ่งนี้ ให้แก่ผู้จัดทำ Blog.
Create Date : 03 พฤษภาคม 2554 |
Last Update : 3 พฤษภาคม 2554 14:06:56 น. |
|
1 comments
|
Counter : 1571 Pageviews. |
 |
|
|
| |
|
|
Location :
กาญจนบุรี Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]

|
ไม่สงวนลิขสิทธิ์
เพื่อเปิดกว้างการศึกษาและเผยแพร่ภาษาตระกูลไท
ข้อมูล "ในส่วนที่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น" ยินดีให้ ลอกเลียน, ทำซ้ำ, เพิ่มเติม, แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือนำไปใช้
โดยไม่ต้องขออนุญาต หรืออ้างถึงใด ๆ ทั้งสิ้น
Copyleft
|
|
|
|
|
|
|
|