ดิวิเอ สโคป
 
 

เทพีอาเทน่า Athena

ในคณะเทพโอลิมเปียนมีเทวีพรหมจารีอยู่ 3 องค์ ทรงนามตามลำดับว่า เฮสเทีย (Hestia) เอเธน่า (Athene) อาร์เตมิส (Artemis) องค์แรกเป็นเทวีภคินีของเทพปริณายกซูส ส่วน 2 องค์หลังเป็นธิดา แต่ละองค์มีประวัติและความสำคัญดังจะกล่าวต่อไปนี้
อันเทวดาของกรีกนั้นถึงแม้ไม่ตายก็หาความรู้สึกเจ็บปวดในกายองค์ไม่ การถือกำเนิดของเอเธน่านั้น กล่าวกันว่า ครั้งหนึ่ง ซูส เทพบดีได้รับคำทำนายว่า โอรสธิดาที่ประสูติแต่มเหสีเจ้าปัญญานาม มีทิส (Metis) นั้นจะ มาโค่นบัลลังก์ ของพระองค์ ไท้เธอก็แก้ปัญหาด้วยการจับเอามีทิสซึ่งทรงตั้งครรภ์แก่นั้นกลืนเข้าไปในท้อง แต่เวลาไม่ นานนัก เทพปริณายกซูสบังเกิดอาการปวดเศียรขึ้นมา ให้รู้สีกปวดร้าวเป็นกำลัง ไท้เธอจึงมีเทวโองการสั่งให้เรียก ประชุมเทพ ทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส ให้ช่วยกันหาทางบำบัดเยียวยา แต่ความอุสาหพยายามของทวยเทพก็ไม่เผล็ดผล ซูส ไม่อาจทนความ เจ็บปวดต่อไปได้ ในที่สุดจึงมีเทวบัญชาสั่งโอรสองค์หนึ่งของไท้เธอ คือ ฮีฟีสทัส (Hephaestus) หรือ วัลแคน (Vulcan) ให้ใช้ขวานแล่งเศียรของไท้เธอออก เทพฮีฟีสทัสปฏิบัติตาม เอาขวานจามลงไป ยังไม่ทัน เศียรซูสจะแยกดี เทวีเอเธน่าก็ผุด ขึ้นมาจากเศียรเทพบิดา ในลักษณะเจริญวัยเต็มที่แต่งฉลององค์หุ้มเกราะแวววาว พร้อมสรรพ ถือหอกเป็นอาวุธ และประกาศ ชัยชนะเป็นลำนำกัมปนาทเป็นที่พิศวงหวั่นหวาดแก่ทวยเทพเป็นที่สุด พร้อมกันนั้นทั่วพื้นพสุธาและมหาสมุทร ก็บังเกิด อาการสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นอย่างใหญ่ ประกาศกำเนิดเทวีองค์นี้สนั่นไป ทั้งโลก
การอุบัติของเทวีองค์นี้ถือว่าเป็นไปเพื่อยังสันติสุขให้บังเกิดในโลกและขจัดความโฉดเขลาที่ครอง โลกจนตราบ เท่าบัดนั้นให้สิ้นไป ด้วยว่าพอเจ้าแม่ผุดจากเศียรซูส เทวีแห่งความโฉดเขลาซึ่งไม่ปรากฏรูป ก็ล่าหนีให้เจ้าแม่เข้า ครองแทนที่ ด้วยเหตุนี้เทวีเอเธน่าจึงเป็นที่นับถือบูชาในฐานะเทวีครองปัญญา นอกจากนั้น เจ้าแม่ยังมีฝีมือในการ เย็บปักถักร้อย และการยุทธศิลปป้องกันบ้านเมือง



ภายหลังการอุบัติของเจ้าแม่เอเธน่าไม่นาน มีหัวหน้าชนชาวฟีนิเชียคนหนึ่งชื่อว่า ซีครอบส์ (Cecrop) พาบริษัทบริวาร อพยพเข้าไปในประเทศกรีซเลือก ได้ชัยภูมิอันตระการตาแห่งหนึ่งในแคว้น อัตติกะ (Attica) ตั้งภูมิลำเนาก่อสร้างบ้านเรือน ขึ้นเป็นนครอันสวยงามนครหนึ่ง เทพทั้งปวงเฝ้าดูงานสร้างเมืองนี้ด้วยความ เลื่อมใสยิ่ง ในที่สุดเมื่อเห็นว่าเมืองมีเค้าจะกลาย เป็นนครอันน่าอยู่ขึ้นมาแล้ว เทพแต่ละองค์ต่างก็แสดงความปรารถนาใคร่จะได้เอกสิทธิ์ประสาทชื่อนคร จึงประชุมกันถกถึงเรื่องนี้ เมื่อมีการอภิปรายโต้แย้งกันพอสมควรแล้ว เทพส่วนใหญ่ในที่ประชุมก็พากันยอมสละสิทธิ์ คงเหลือแต่เทพโปเซดอนและเทวีเอเธน่า 2 องค์เท่านั้นยังแก่งแย่งกันอยู่

เพื่อยุติปัญหาว่าใครควรจะได้เอกสิทธิ์ประสาทชื่อนคร เทพปริณายกซูสไม่พึงประสงค์จะชี้ขาดโดยอำนาจตุลาการที่ไท้เธอ จะพึงใช้ได้ด้วยเกรงว่าจะเป็นที่ครหาว่าเข้า ข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไท้เธอจึงมีเทวโองการว่านครนั้นพึงอยู่ในความคุ้มครองของเทพ หรือเทวี ซึ่งสามารถเนรมิตของที่มีประโยชน์ที่สุดให้มนุษย์ใช้ได้ และมอบหน้าที่ตัดสิน ชี้ขาดให้แก่ที่ประชุม
เทพโปเซดอนเป็นฝ่ายเนรมิตก่อน เธอยกตรีศูลคู่หัตถ์ขึ้นกระแทกลงกับพื้น บันดาลให้มีม้าลำยองตัวหนึ่งผุดขึ้นท่าม กลางเสียงแสดงความพิศวงและชื่นชมของ เหล่าเทพ เมื่อเทพผู้เนรมิตม้าอธิบายคุณประโยชน์ของม้าให้เป็นที่ตระหนักแก่เทพ ทั้งปวงแล้ว เทพต่างองค์ต่างก็คิดเห็นว่า เทวีเอเธน่าคงไม่สามารถเอาชนะเนปจูนเสีย เป็นแน่แล้ว ถึงกับพากันแย้มศรวลด้วย เสียงอันดังแกมเย้ยหยันเอาเสียด้วย เมื่อเจ้าแม่เอเธน่าเนรมิตต้นมะกอกต้นหนึ่งขึ้นมา แต่ครั้นเจ้าแม่อธิบายถึงคุณประโยชน์ ของต้นมะกอก ที่มนุษย์จะเอาไปใช้ได้นานัปการนับตั้งแต่ใช้เนื้อไม้ ผล กิ่งก้าน ไปจนใบ กับซ้ำว่ามะกอกยังเป็น เครื่องหมายถึงสันติภาพและความรุ่งเรืองวัฒนาอีกด้วย และเพราะฉะนั้นจึงเป็นที่พึงประสงค์ยิ่งกว่าม้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายของ สงครามดังนี้ มวลเทพก็เห็นพ้องต้องกันว่า ของที่เจ้าแม่เอเธน่าเนรมิตมีประโยชน์กว่า จึงลงมติตัดสิน ชี้ขาดให้เจ้าแม่เป็นฝ่าย ชนะ

เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงชัยชนะครังนี้ เจ้าแม่เอเธน่าได้ประสาทชื่อนครนั้น ตามนามของเจ้าแม่เองว่า เอเธนส์ (Athens) และสืบจากนั้นมาชาวกรุงเอเธนส์ก็ นับถือบูชาเจ้าแม่ในฐานะเทวีผู้ปกครองนครของเขาอย่างแน่นแฟ้น
ตามที่อ่านกันมานั้น เห็นได้ว่าเรื่องนี้ใช่จะแสดงตำนานที่มาของชื่อกรุงเอเธนส์เท่านั้นไม่ หากยังเป็นตำนานกำเนิดของม้าในเทพปกรณัมกรีก และเป็นต้นเรื่อง ของการที่ชาวตะวันตกถือว่า ช่อมะกอกเป็นสัญลักษณ์ของ สันติภาพสืบ ๆ กันมาจนตราบทุกวันนี้
ยังมีอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับเทวีเอเธน่า แสดงที่มาหรือกำเนิดของสิ่งธรรมชาติสนองความอยากรู้ของคนโบราณดังจะ เล่าต่อไปนี้
ในประเทศกรีซสมัยดึกดำบรรพกาลโพ้น มีดรุณีน้อยคนหนึ่งประกอบด้วยรูปโฉมสะคราญตาน่าพิสมัย ยิ่ง จนถึงแก่ว่า ถ้านางไม่มีความหยิ่งผยองในฝีมือทอผ้าและปั่นด้ายเป็นยอดเยี่ยมเสียอย่างเดียวเท่านั้น นางก็ คงจะเป็นที่รักของเทพและ มนุษย์ทั้งมวลอย่างไม่ต้องสงสัย
แน่งน้อยมีชื่อว่า อาแรคนี (Arachne) ด้วยความลุ่มหลงทะนงตนนางสำคัญว่าไม่มีผู้ใดอีกแล้วจะมี ฝีมือเสมอกับนาง ในที่สุดจึงกำเริบถึงแก่คุยฟุ้งเฟื่องไปว่า ถึงเจ้าแม่เอเธน่าจะลงมาประกวดฝีมือกับเธอ นางก็ ยินดีจะขันสู้ไม่รอช้าเลย นางโอ้อวดดังนี้เนือง ๆ จนเจ้าแม่เอเธน่าสุดแสนจะทนรำคาญต่อไปได้ ต้องลงมาจาก เขาโอลิมปัสเพื่อลงโทษนางอาแรคนีมิให้ ใครเอาเป็นเยี่ยงอย่างสืบไป
เจ้าแม่จำแลงองค์เป็นยายแก่ เดินเข้าไปในบ้านของนางอาแรคนี และนั่งลงชวนคุย ชั่วประเดี๋ยว เดียวนางแน่งน้อยก็จับคุยถึงฝีมือตน และเริ่มโวเรื่องจะแข่งขัน ประกวดฝีมือกับเจ้าแม่เอเธน่าอีก เจ้าแม่ ตักเตือนโดยละม่อมให้นางยับยั้งคำไว้เสียบ้าง เกลือกว่าคำของนางซึ่งพูดเอาเองเป็นเหตุให้เทพเจ้าขัดเคืองจะ ทำให้นางเคราะห์ร้าย แต่นางอาแรคนี้มีจิตมืดมนมัวเมาไปในความทรนงตนเสียแล้วจนไม่แยแสต่อคำตักเตือน กลับพูดสำทับว่า นางอยากให้เจ้าแม่ได้ยินและลงมาท้าประกวดฝีมือเสียด้วยซ้ำ นางจะได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์เพื่อพิสูจน์ว่า คำกล่าวอ้างของนางเป็นความจริง เพียงใด ไม่ใช่พูดเอาเอง คำหยาบหยามนี้ยั่วโมสะเจ้าแม่ถึงขีดสุด ถึงกับ สำแดงองค์ให้ปรากฏแก่อาแรคนีตามจริงและรับคำท้านั้นทันที
ทั้ง 2 ฝ่ายจัดแจงตั้งหูก แล้วต่างฝ่ายต่างทอลายผ้าอันงามวิจิตรขึ้น เทวีเอเธน่าเลือกเอาภาพตอนเจ้าแม่แข่งขันกับเทพโปเซดอน ส่วนนางอาแรคนีเลือกเอาภาพซูส ลักพานางยูโรปาเป็นลาย ครั้นทอเสร็จ ต่างฝ่ายต่างเอาลายผ้ามาเทียบเคียงกัน สาวเจ้าอาแรคนีรู้สึกทันทีว่าของนางแพ้หลุดลุ่ย ลายรูปโคโลดแล่นลุยไปในทะเล มีคลื่นซัด สาดออกเป็นฟองฝอยกับนางยูโรปาเกาะเขาอยู่ดูอาการกึ่งยิ้มกึ่งตกใจประกอบด้วยเกศาและผ้าสไบปลิวสยายด้วยแรงลม ไม่สามารถจะเทียบกับลายรูปชมรมทวยเทพพร้อม ด้วยรูปม้าและต้นมะกอกเนรมิต ซึ่งดูประหนึ่งมีชีวิตกระดุกกระ-ดิกได้นั้นเลย อาแรคนีแน่งน้อยเสียใจนัก ทั้งเจ็บทั้งอายในความผิดพลาดของตนไม่อาจทนอยู่ได้ เอาเชือก ผูกคอหมายจะแขวนตัวตาย เจ้าแม่เอเธน่าเห็นนางจะด่วนหนีโทษทัณฑ์ไปดังนั้น จึงรีบแปรเปลี่ยนร่างของนางให้กลายเป็นแมงมุมห้อยโหนโตงเตง กับสาปนางให้ต้องปั่น และทอใยเรื่อยไปไม่มีเวลาหยุด เป็นการเตือนมนุษย์ผู้ทรนงทั้งปวงมิให้หลงไปว่าตนอาจจะเทียมเทพไดเป็นอันขาด
ตามปกติเทวีเอเธน่าประทับอยู่เคียงข้างซูสเทพบิดามิได้ขาด ด้วยซูสมักจะโปรดหารือฟังความเห็น คำแนะนำอันแยบคายของเจ้าแม่เนือง ๆ ยามมีศึกสงคราม เกิดขึ้นในโลกเจ้าแม่ขอประทานยืมโล่อันพึงสยบสยอนของเทพบิดาสพายลงมาสนับสนุน ฝ่ายที่มีเหตุผลอันชอบธรรมในการสงครามเป็นนิตย์ ดังเช่น สงครามกรุงทรอยอัน ลือลั่นนั้น เอเธน่าก็เข้าร่วมด้วย โดยยืนอยู่ข้างฝ่ายกรีก ในขณะที่เทพองค์อื่น ๆ เช่น เทวีอโฟร์ไดที่กับเทพเอเรสเข้าข้างฝ่ายทรอย เรื่องราวความสามารถในการสงครามของ เทวีเอเธน่า จึงทำให้เจ้าแม่กลายเป็นเทวีอุปถัมภ์ของบรรดานักรบ อีกอย่างหนึ่งด้วย วีรบุรุษคนสำคัญ ๆจะไม่เกิดขึ้น หากขาดความช่วยเหลือของเจ้าแม่ เอเธน่าเคยช่วย เฮอร์คิวลิส ในการทำงาน 12 อย่างตามคำสั่งของเทวีฮีร่า เคยช่วยเปอร์เซอุสสังหารนางการ์กอนเมดูซ่า ช่วยโอดีสซีอุส (หรือยูลิซิส) ให้เดินทางกลับบ้านจากยุทธภูมิทรอย อย่างปลอดภัย กับทั้งยังช่วยเหลือเตเลมาคัส บุตรชายของโอดีสซีอุสให้ตามหาพ่อจนสำเร็จ


ชาวกรีกนับถือเจ้าแม่อย่างแพร่หลายอยู่มาก ถึงกับสร้างวิหารและที่บูชาอุทิศถวายเจ้าแม่ไว้ เป็นจำนวนมากนับ ไม่ถ้วน ที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ วิหาร พาร์ธีนอน ณ กรุงเอเธนส์ ซึ่งเดี๋ยวนี้เหลือ แต่ซาก แต่ก็ยังมีเค้าของฝีมือก่อสร้าง อย่างวิจิตรพิสดารปรากฏอยู่ให้เห็น



นอกจากชื่อเอเธน่าหรือมิเนอร์วาแล้ว ชาวกรีกและโรมันยังรู้จักเจ้าแม่ในชื่ออื่น ๆ อีกหลาย ชื่อ ในจำนวนนี้มี ชื่อที่แพร่หลายกว่าเพื่อนได้แก่ พัลลัส (Pallas) จนบางทีเขาเรียกควบกับชื่อ เดิมว่า พัลลัสเอเธน่า ก็มี ว่ากันว่า มูลเหตุของชื่อนี้สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมตอนเจ้าแม่ปราบยักษ์ชื่อ พัลลัส ซึ่งไม่ปรากฏตำนานชัดแจ้ง อาศัยเหตุที่ เจ้าแม่ถลกหนังยักษ์มาคลุมองค์ คนทั้งหลายเลยพลอย เรียกเจ้าแม่ในชื่อของยักษ์นั้นด้วย และเรียกรูปประติมา หรือ อนุสาวรีย์อันเป็นเครื่องหมายถึงเจ้าแม่ ว่า พัลเลเดียม (Palladium) ในที่สุดคำว่า Palladium ก็มีที่ใช้ใน ภาษาอังกฤษถึงภาวะหรือ ปัจจัยที่อำนวยความคุ้มครองหรือความปลอดภัยให้เกิดแก่ชุมชน ทำนอง Palladium ที่ชาวโรมัน อารักขาไว้ในวิหารเวสตาฉะนั้น
เกี่ยวกับการครองความบริสุทธิ์ของเจ้าแม่ มีเรื่องเล่าว่า เทพฮีฟีสทัสหมายปองเจ้าแม่ใคร่จะได้วิวาห์ด้วย ได้ทูลขอต่อเทพ บิดา เทพบิดาประทานโปรดอนุญาต แต่ให้ฮีฟีทัสทาบทามความสมัครใจของเจ้าแม่เอาเอง เทพฮีฟีทัส ไปทำรุ่มร่ามเข้าอย่างไรไม่ปรากฏ เจ้าแม่ไม่เออออด้วย ในที่สุดฮีฟีสทัสก็เดินแบบเจ้าชู้ยักษ์ หมายจะรวบรัด ในระหว่างการ ฉุกละหุกอุตลุดนั้นของไม่บริสุทธิ์ของฮีฟีทัสตก ลงมายังพื้นโลก เป็นเหตุให้เกิดทารกผุดขึ้นมาเป็นเพศชาย เจ้าแม่รอดพ้น มลทินแปดเปื้อน แต่รับทารกไว้ในปกครอง เอาทารกบรรจุ หีบให้งูเฝ้า และฝากไว้ให้ลูกสาวท้าวซีครอปส์ดูแล โดยห้ามเด็ดขาด มิให้เปิดหีบดู แต่ลูกสาวท้าวซีครอปส์ไม่เชื่อฟัง พยายามจะเปิดหีบ ครั้นเห็นงูเข้าก็ตกใจวิ่งหนีตกเขาตาย ทารกนั้นได้ขนาน ชื่อว่า อิริคโธเนียส (Erichthonius) และดำรงชีวิตอยู่สืบมาจนภายหลัง ได้ครองกรุงเอเธนส์ ส่วนเจ้าแม่เอเธน่าก็ไม่ได้รับ การเกี้ยวพานของเทพองค์หนึ่งองค์ใดอีกต่อไปตั้งแต่บัดนั้น แม้ว่าจะมีบางตำนาน กล่าวว่าเอเธน่าเคยแอบรักบุรุษรูปงาม คนหนึ่งชื่อว่า เบลเลอโรฟอน จนถึงกับเอาอานม้าทองคำมาให้เขาในความฝัน เนื่องจาก เบลเลอโรฟอนต้องการขี่ม้าวิเศษ เปกาซัส แต่ไม่ปรากฏว่าเจ้าแม่ได้สานเรื่องราวระหว่างเจ้าแม่กับเบลเลอโรฟอนต่อไปแต่อย่างใด แต่ทว่าบุรุษหนุ่มผู้นั้นเสีย อีกที่เกิดตกม้าตายในตอนหลัง

เทวีเอเธน่ามีต้นโอลีฟเป็นพฤกษาประจำตัว และนกฮูกเป็นนกคู่ใจ...




 

Create Date : 02 สิงหาคม 2549   
Last Update : 2 สิงหาคม 2549 10:55:14 น.   
Counter : 1292 Pageviews.  


ตำนานเทพ โปเซดอน ( Poseidon )

ตำนานเทพ โปเซดอน ( Poseidon )


ในกาลก่อนครั้งที่เหล่าเทพไทแทนยังมีอำนาจอยู่นั้น ห้วงมหรรณพทั้งหลายต่างอยู่ในความปกครองของ โอเชียนัส (Oceanus) ครั้นเมื่อเหล่าเทพไทแทนพ่ายแพ้แก่ ซูส แลัว ซูสก็ได้แบ่งการปกครอง ทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนโดยเด็ดขาด ส่วนโอเชียนัสถูกลด อำนาจให้ได้ครองเพียงห้วงน้ำใหญ่ที่ไหลวนรอบโลก ซึ่งถื่อว่าไม่มีความสำคัญอะไรเลยสำหรับชาวกรีกสมัยนั้น นอกจากนี้ ทะเลยูซินีซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ทะเลดำ ก็อยู่ในความปกครองของโปเซดอนเช่นกัน


อำนาจของเทพโปเซดอน ส่วนใหญ่คือสามารถควบคุมพายุและความสงบในท้องทะเลได้โดยเด็ดขาด ยามเมื่อ ทรงรถทองคำเหนือน่านน้ำ คลื่นลมทะเลสงบเงียบเรียบลื่นไปตามล้อรถของเธอโดยตลอด (ในบางตำนานกล่าวว่า เวลาที่ เสด็จขึ้นจากประสาทใค้ทะเล ทะเลจะแหวกออกเป็นช่อง มีเสียงดังสนั่นลั่นโครมครืนนำมาก่อน แล้วราชรถทรงทองคำ เทียมด้วยม้าฝีเท้าเยี่ยมตัวใหญ่มหึมาก็ค่อย ๆ โผล่ขึ้นจากช่องน้ำแยกอย่างสง่างาม) เธอมีอาวุธที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ ประจำตัวเลยก็คือ "ตรีศูล" เมื่อใดที่ต้องการ"เขย่า"โลก ก็เพียงแต่กวัดแกว่งตรีศูลเท่านั้น ทะเลก็ปั่นป่วนเป็นบ้า เป็นเหตุให้โลกสั่นสะเทือนด้วยเหตุนี้เธอจึงได้รับสมญานามว่า "ผู้เขย่าโลก" ( Earthshaker ) ด้วย นั่นเอง
ถ้าจะกล่าวถึงอำนาจของโปเซดอนซึ่งปกครองดูแลน่านน้ำทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น ทะเลลึก ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร ละหานห้วย หรือแม้แต่เทพและนางอัปสรประจำน่านน้ำทั้งปวง ยังมีประสาทงดงามตระการตาอยู่ใต้ท้องทะเล เอเยี่ยน นอกจากที่ประทับสวรรค์ชั้นโอลิมปัสแล้ว ดังจะเห็นว่านอกจากซูสเทพบดีแล้ว ไม่มีเทพองค์ใดที่มีอำนาจเกรียง ไกรไปกว่าท้าวเธอเลยที่เห็นก็มีเพียง ฮาเดส เทพครองนรก จ้าวแดนบาดาล ซึ่งทำให้ท้าวเธอถึงกับเคยคิดครองความ เป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียวโดยร่วมมือกับเทวีฮีร่าและเทวีเอเธน่าพยายามโค่นเทพปริณายกซูสแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกซูสลง ทัณฑ์เนรเทศโปเซดอนให้มาทำงานตรากตรำลำบากบนโลกมนุษย์ในเมืองทรอยโดยต้องสร้างกำแพงกรุง ทรอยให้ท้าว เลือมมิดอน (Laomedon) กษัตริย์ในขณะนั้น


ท้าวเลือมมิดอนได้สัญญาว่าจะให้ค่าตอบแทนอย่างงดงามหลังจากที่ได้สร้างกำแพงเสร็จ ถึงแม้ว่างานดังกล่าว เป็นงานที่ยาก แต่หากด้วยในระหว่างนั้นเทพ อพอลโล (Apollo) ซึ่งถูกเนรเทศลงมาจากสวรรค์เช่นกัน แต่โดย สาเหตุต่างกัน อาสาช่วยโปเซดอนสร้างกำแพงอีกแรงด้วย โดยดีดพิณให้หินเคลื่อนไปตามอำนาจของกระแสเสียงอันไพเราะ ทำให้ทุ่นแรงไปมาก งานจึงสำเร็จลงโดยเรียบร้อยและรวดเร็ว แต่ทว่าท้าวเลือมมิดอนเป็นกษัตริย์ละโมบและคิดโกง กลับบิดพลิ้วสัญญา ทำให้โปเซดอนคิด พยาบาท จึงเนรมิตสัตว์ร้ายดังอสุรกายขึ้นจากทะเล เที่ยวไล่กินผู้คนชาวเมืองไปเป็น จำนวนมาก ชาวเมืองจึงตัดสินใจนำสาวพรหมจารีรูปงามพลีให้แก่สัตว์ร้าย โดยผูกไว้กับ โขดหินริมทะเล ตามคำแนะนำของ เจ้าพิธีผู้เข้าทรงในเมือง ปรากฏว่า สัตว์ร้ายดังกล่าวเมื่อกินหญิงสาวแล้วลงทะเลหายไป แต่มันหายไปเพียงปีเดียว ทำให้ชาวเมืองต้องทำ การพลีหญิงสาวทุกๆปี




ปีแล้วปีเล่าสัตว์ร้ายเฝ้าแต่เวียนมาตามกำหนดคำรบปีและทุกๆปีที่มันขึ้นมาก็จำต้องอุทิศสาวพรหมจารีพล ีให้เสมอ จน ในที่สุดชาวเมืองก็เห็นชอบพร้อมกันเลือกลูกสาวท้าวเลือมมิดอนเองชื่อว่า ฮีไซโอนี (Hesione) เพื่อพลีให้กับสัตว์ร้าย ฝ่ายท้าวเลือมมิดอนเองแม้จะไม่อยาก แต่ก็ขัดขวางชาวเมืองไม่ได้ จึงพยายามทุกวิถีทางที่จะช่วยลูกสาวของตน สุดท้ายจึงได้ แต่ป่าวประกาศหาชายห้าวหาญที่สามารถฆ่า สัตว์ร้ายได้ โดยสัญญาว่าจะประทานรางวัลให้อย่างงดงาม

ในขณะนั้นเอง เฮอร์คิวลิส (Hercules) ผ่านมาได้ยินข่าว จึงอาสาฆ่าสัตว์ร้ายและช่วยนางฮีไซโอนีได้พอดี เมื่องานสำเร็จท้าวเลือมมิดอนยังไม่ทิ้งนิสัย เดิม กลับเพิกเฉยต่อสัญญาที่ไห้ไว้กับเฮอร์คิวลิส เป็นเหตุให้เฮอร์คิวลิสผูกใจเจ็บ แต่เนื่องด้วยเฮอร์คิวลิสยังมีธุระอื่นที่ต้องทำ ครั้นเสร็จธุระดังกล่าวเฮอร์คิวลิสก็ได้รวบรวม สมัครพรรคพวกจำนวนหนึ่งยกเข้าล้อมกรุงทรอยและตีหักเข้าในเมืองได้ จากนั้นก็ได้จับท้าวเธอฆ่าเสีย ส่วนนางฮีไซโอนีนั้นได้ยกให้ เทลมอน (Telamon) สหายที่ ร่วมกันตีเมืองทรอยครั้งนี้

- คำมั่นสัญญาที่ท้างเลือมมิดอนประทานแก่เฮอร์คิวลิสนั้นคือ ถ้าเฮอร์คิวลิสฆ่าสัตว์ร้ายสำเร็จ จะประทาน ม้า งาม ๆ ฝีเท้าดีให้จำนวนหนึ่งตามที่เฮอร์คิวลิสประสงค์ ซึ่ง เมื่อเฮอร์คิวลิสทวงรางวัล พระเชษฐาของนางฮีไซโอนีชื่อ โพดาร์ซีส (Podarces) ได้ทูลแนะนำให้ท้าวเธอให้ปฏิบัติตามสัญญา ดังนั้นเมื่อเฮอร์คิวลิสตีเมืองทรอยแตก จึงไม่ได้ประหารโพดาร์ซึส เพียงแค่จับไว้เพื่อเรียกค่าไถ่ ซึ่งต่อมาชาวกรุงทรอยก็ได้ไถ่ถอนเอากลับคืนไปสถาปนาเป็นกษัตริย์ ทรงนามว่า เพรียม (Priam) ต่อไป

ส่วนสัญญาที่ท้าวเลือมมิดอนละเมิดกับเทพโปเซดอนคือคำบนว่าจะถวายลูกโคกระบือท้องแรกทั้งหมดเป็นเครื่องเซ่นสังเวย ณ แท่นบูชา ซึ่งการที่ท้าว เลือมมิดอนไม่แก้บนตามสัญญา ทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายดังกล่าวยังเป็นเหตุทำให้ศึกครั้งสำคัญกรุงทรอยกับกรีก โปเซดอนดำรงในฐานะอริกับกรุงทรอยนั่นเอง
เทพโปเซดอนมีมเหสีนามว่า อัมฟิตริตี (Amphitrite) เป็นธิดาของเทพแห่งธารเนเรอุส ในตอนแรก ที่เทพโปเซดอนขอวิวาห์กับนางนั้น อัมฟิตริตีไม่ยินดีด้วย นางหนีไปหลบซ่อนอยู่ที่อื่น ท้าวเธอจึงใช้ให้ปลาโลมาไปค้น หา จนกระทั่งพบและนำมาถวายพระองค์ อัมฟิตริตีจึงได้เป็นจอมเทวีแห่งมหาสมุทรเคียงคู่สวามี มีโอรสด้วยกันคือ ไทรตัน
โปเซดอนออกจะโชคดีกว่าซูสเทพบดีตรงที่มีมเหสีสงบเสงี่ยมมากกว่า เทวีอัมฟิตริตีปล่อยให้สวามีเจ้าชู้กับ สาวเจ้าอื่นได้โดยไม่หึงหวง ยกเว้นรายเดียวเท่านั้นคือรายของนาง ซิลลา (Seylla) ซึ่งเคยเป็นนางไม้สวยงามมาก ท้าวเธอหลงหัวปักหัวปำจนอัมฟิตริตีเทวีทนไม่ได้ จึงแอบลอบนำยาพิษไปโรยในสระน้ำที่นางซิลลาลงอาบประจำ ทำให้ นางกลายร่างจากสาวงามเป็นนางอสูรร้ายที่น่าสะพรึงกลัวไปทันที นับว่าเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่อัมฟิตริตีเทวี กระทำรุนแรงกับชายาของสวามี
ในรูปร่างของม้าอีกเช่นกันที่เทพจ้าวสมุทรแอบไปพิสมัยกับนางอัปสรบริวารของเทวี เอเธน่า นางนั้นคือ เมดูซ่า (Medusa) ในตำนานตอนนี้กล่าวไว้ว่า นางเป็นนางอัปสรที่สวยงามยิ่ง แต่เพราะไปหลงใหลใฝ่ฝันเทพโปเซดอนเข้า เทวีเอเธน่าจึงพิโรธโกรธเกรียว สาปให้นางมีผมเป็นงูไปทันที และทำให้นางน่าขวัญหนีดีฝ่อจน ผู้ใดเห็นเข้าจะกลายร่างเป็นหินแข็งชาไปหมด แต่เพราะการได้ร่วมอภิรมย์กับโปเซดอนในรูปร่างของม้า เมื่อวีรบุรุษเปอร์ซีอุสตัดศีรษะนางขาดออกนั้น เลือดที่กระเซ็นออก มากลายเป็นม้าวิเศษ 2 ตัว ตัวหนึ่งคือ คริสซาออร์ (Chrysaor) และอีกตัวคือ เปกาซัส (Pegasus) นั่นเอง




 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2549   
Last Update : 28 กรกฎาคม 2549 21:49:18 น.   
Counter : 1105 Pageviews.  


กำเนิดตำนาน เทพนิยายกรีก

ปฐมเหตุแห่งอุบัติของโลกนั้นปรากฏตามบทกวีของฮีสิออดกล่าวว่า ในกาลครั้งอดีตก่อนทวยเทพอุบัตินับยุคไม่ถ้วนมาแล้ว สรรพสิ่งทั้งหลายยังรวมอยู่ในกำพืดอันเดียว ซึ่งเป็นความว่างเปล่าอันปราศจากรูปเท่านั้น เรียกว่า เคออส (Chaos) เป็นความเวิ้งว้างมหึมาหาขอบเขตมิได้ ต่อมาอีกนับกัปป์ไม่ถ้วน โลกพิภพจึงผุดขึ้นเป็นประดุจฐานอันกว้างใหญ่ไพศาลเพื่อเป็นจอมมารดาของสิ่งทั้งมวล เรียกว่า จีอา (Gaea) หรือ จี (GE) ในภาษากรีก เทลลัส (Tellus) ในภาษาโรมัน มีสวรรค์ดาษดาด้วยดาวพราวแพรวล้อมรอบ ซึ่งจะเป็นที่สถิตจีรังกาลของทวยเทพสืบไป สวรรค์นึ้ตามภาษากรีกเรียกว่า อูรานอส (Ouranos) ส่วนโรมันเรียกว่า ยูเรนัส (Uranus) ถือกันวาเป็นจอมบิดาคู่กันกับจีจอมมารดร จอมบิดาและมารดานี้ประกอบด้วยทิพยภาพก็จริง แต่ก็หาสมมติขึ้นเป็นองค์เทพไม่ คงปรากฏแต่ว่ามีอิทธิฤทธิ์บันดาลให้เกิดแผ่นดินไหว ลมพายุและภูเขาไฟระเบิดได้

สถานที่สำคัญและเขาโอลิมปัส
ชาวกรีกโบราณเชื่อว่า โลกที่สร้างขึ้นตามทำนองดังกล่าวนี้มีสัณฐานแบนกลม มีประเทศของตนอยู่กลาง โดยมีห้วงสมุทรเมดิเตอร์เรเนียนแบ่งแผ่นดินออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน และทะเลนี้ต่อไปออก ทะเลดำ ซึ่งสมัยโน้น เรียกว่าทะเล ยูซินี (Euxine) 2 ทะเลนี้เท่านั้นที่เป็นทะเลที่ชาวกรีกสมัยโบราณรู้จัก ภาคเหนือสุดของพื้นพิภพนั้นเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นภูมิลำเนาของชนชาติที่ผาสุขชาติหนึ่ง เรียกว่า ชาติไฮเพอร์โบเรียน (Hyperborean) อาศัยอยู่ในถิ่น ลับแล ซึ่งจะไปทางบกหรือทางทะเลก็ไม่ถึงทั้งสิ้นอยู่พ้น เทือกเขาสูงขึ้นไปทางทิศเหนือของดินแดน เฮลลัส (Hellas) ซึ่งเป็นชื่อของประเทศกรีซสมัยโน้น ว่ากันว่าดินแดน ของชนชาติไฮเพอร์โบเรียนเป็นดินแดนที่สงบสันติสุข มีแต่ความสบายด้วยประการทั้งปวง ส่วนทางใต้ของพิภพใกล้ กับทางไหลของมหาสมุทร ก็มีชนชาติที่ผาสุขและมี คุณธรรมเช่นเดียวกับไฮเพอร์โบเรียนอาศัยอยู่อีกชาติหนึ่ง เรียกว่า อีธิโอเพียน (Ethiopion) เป็นที่โปรดปรานของเหล่าเทพยิ่งนัก ถึงแก่เหล่าเทพเคยไปร่วมพิธี พลีกรรมและงาน มหกรรมสมโภชของชนชาตินั้นเนือง ๆ
ยังมีสถานที่อีกแห่งหนึ่ง อยู่ทางฟากตะวันตกของโลกริมมหาสมุทรเรียกว่า ทุ่งอีลิเชียน (The Elysian Fields) เป็นที่ซึ่งพวกมนุษย์ที่เหล่าเทพโปรดจะได้ไปอยู่ เขาถือว่า ผู้ใดดำเนินวิถีชีวิต ด้วยคุณความดีจะได้รับกรุณาโดยเหล่าเทพพาไปให้ได้เสพอมฤตภาพ คืออยู่ค้ำฟ้าเป็นสุขตลอดกาลในที่ นั้นส่วนดินแดนใกล้เคียงแถบตะวันออก และตามริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนั้น เป็นที่อยู่ของชนชาติ ต่าง ๆ ที่ชาวกรีกรู้จัก พ้นจากดินแดนเหล่านี้ไปในทะเลตะวันตกล้วนเป็นที่อยู่ของพวกยักษ์อมนุษย์ และแม่มด ทั้งสิ้นในประเทศกรีซมีภูเขาสูงอยู่หลายลูก ที่มียอดสูงสุดได้แก่ ขุนเขาโอลิมปัส อยู่ในแถบเทสซาลี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศกรีซ มียอดสูงสุดเกือบ 2 ไมล์ หรือประมาณ 9,800 ฟุต ดู ตระหง่านเยี่ยมเทียมฟ้า ชาวกรีกโบราณถือว่ายอดเขาโอลิมปัสนี้พุ่งขึ้นไปจรดสวรรค์ทีเดียว




กำเนิดเทพกับการแย่งอำนาจ
จีกับอูรานอสเถลิงอำนาจอยู่ ณ เทือกเขาโอลิมปัส ต่อมาไม่นานก็ให้กำเนิดเทพบุตรและเทพธิดา 12 องค์ 6 องค์เป็นเทพบุตร ทรงนามตามลำดับว่า โอเซึยนัส , ซีอัส ,ครีอัส ,ไอเพอร์เรียน ,ไอแอพิทัส และโครนัส อีก 6 องค์เป็นเทพธิดา ทรงนามว่า อิเลีย ,รีอา ,ธีมิส ,ธีทิส ,เนโมซินี และฟีบี เทพและเทวีทั้ง 12 องค์นี้รวมกัน เป็นคณะ เรียกว่า ไทแทน (Titan) หรือเรียกอีกอย่างว่า ไจแกนทีส (Gigantes) ซึ่งเป็นต้นศัพท์คำว่า ไจแอนท์ แต่ละองค์ มีกายใหญ่มหึมา อูรานอสแสนจะเกรง กลัวในความมีกายใหญ่ยิ่ง และทรงพลังของเทพบุตรและเทพธิดาคณะนี้ จึงจับ ทั้งหมดโยนลงในเหวลึกใต้บาดาลมืดสนิท เรียกว่า ตรุทาร์ทะรัส (Tartarus) และจองจำ ไว้มั่นคง เพื่อป้องกันมิให้ เทพกุมารองค์ใดใช้พลังเป็นปฏิปักษ์กับไท้เธอได้
- เมื่ออูรานอสจองจำเทพทั้ง 12 องค์ไว้ ก็ตายใจว่าคงไม่มีองค์ใดหลุดหนีขึ้นมาได้ แต่เหตุจะให้คณะไทแทน ไม่ต้องถูก จองจำอยู่นานอุบัติขึ้น เนื่องจากอูรานอสกับจีให้กำเนิดเทพบุตรอีก 3 องค์เป็นเทพบุตรยักษ์ตาเดียว เรียกว่า ไซคลอปส์ (Cyclops) มีนามตามลำดับว่า บรอนทีส ,สเทอโรพีส และ อาจีส อูรานอสจับเทพบุตรทั้ง 3 โยนลงขัง ไว้ในตรุทาร์ทะรัส อีก บรอนทีสนั้นคือฟ้าลั่น สเทอโรพีสคือ ฟ้าแลบ ส่วนอาจีสคือแสงสว่างวาบ เมื่อลงไปถึงที่คุมขังจึง ทำให้เกิดแสงสว่างไปทั่วทั้ง บาดาล ช่วยให้คณะเทพไทแทนเกิดความกล้าที่จะแสวงความเป็นไท และต่อมาก็มี เทพบุตรของอูรานอสถูกโยนลงไปสมทบอีก 3 นามว่า คอตทัส ,เบรียรูส และไกจีส แต่ละองค์มีมือตั้งร้อย

เจ้าแม่จีไม่พอใจที่อูรานอสปฏิบัติกับลูก ๆ ดังนั้น แต่ห้ามเท่าใดอูรานอสก็ไม่ฟัง เจ้าแม่โกรธนักจึงลงไปใต้บาดาล ยุยงลูก ๆ ในคณะไทแทนให้ร่วมคิดกันแย่งอำนาจ บิดาให้จงได้ ในบรรดาเทพไทแทนนี้มีโครนัสน้องสุดท้องคนเดียวที่กล้าจะ ทำตาม เจ้าแม่จึงปล่อยให้หลุดจากพันธนาการ มอบเคียวเป็นอาวุธ พร้อมทั้งอวยพรให้เธอมีชัย โครนัสถืออาวุธคู่มือเข้าโจมจับบิดาโดยไม่ให้รู้ตัว แล้วขึ้นครองบัลลังก์หมายจะเป็นใหญ่ในจักรวาลชั่วนิรันดร ฝ่ายอูรานอสบันดาลโทสะกล้า จึงสาปแช่งโครนัสให้ถูก ลูก ๆ ของตัวเอง แย่งอำนาจในกาลภายหน้าเช่นกัน โครนัสไม่แยแสใน คำสาปของบิดา จัดแจงปล่อยเทพภราดรและภคินีให้เป็นไททั้งหมด ทุกองค์แสนจะปิติและรู้คุณ โครนัสในการที่หลุดพ้นจากการ จองจำได้เป็นไท จึงพร้อมใจกันยอมยกให้โครนัสเป็นใหญ่ปกครองตน โครนัสเลือกเทพภคินีองค์หนึ่งคือ รีอา เป็นคู่ครอง และปันส่วนอื่น ๆ ให้เทพภราดรภคินีปกครองโดยทั่วถึงกัน




 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2549   
Last Update : 28 กรกฎาคม 2549 21:39:10 น.   
Counter : 1131 Pageviews.  



หน้าไม้ใจเย็นยิ่ง
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




เป็นนักเดินเรือรุ่นกลางๆคือไม่อยากแก่ (ฮา)แม้จะ 32 แล้วก็ตาม ไม่ใช่เรือประมง ไม่ไปต่อตีกับใครเพราะไม่ใช่เรือรบ แต่เป็นเรือสินค้าวิ่งปุเลงๆ รับส่งอยู่แถวๆ เอเชียตะวันออกนี่เอง

4ปีนายท้าย 6ปีต้นหน รวม10ปีที่อยู่เรือ ไม่ได้เป็นต้นเรือซะทีเฮ้อ
[Add หน้าไม้ใจเย็นยิ่ง's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com