แต่เมื่อบทความได้ตีพิมพ์เป็นผลงานของเราในวารสารระดับนานาชาติมันคือความภาคภูมิใจและนั่นเป็นผลงานของเราที่เกิดการยอมรับ ผลงานนั้นต่อยอดความคิดเพื่อไปพัฒนาสังคมและโลกใบนี้ให้น่าอยู่ขึ้น นี่คือ "ค่านิยมสำหรับนักวิชาการ" ที่แตกต่างจาก ค่านิยมทางเศรษฐกิจ ที่มุ่งเน้นที่การยอมรับบนพื้นฐานของความมั่งคั่ง
ตอนนี้ผมมาเป็นอาจารย์และกรรมการในระดับบัณฑิตศึกษา เป็นกรรมการในการอ่านบทความทางวิชาการพิจารณาคัดเลือกว่าบทความไหนสมควรได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการ ลีลาการเขียน การเชื่อมโยงและตรรกในการเขียนแบบไหนที่เหมาะสมกับการได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ลงวารสาร...เป็นสิ่งที่ผมพอตัดสินได้ไม่ยากเพราะผ่านประสบการณ์ในการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านบทความต่างๆมามาก
การเป็นคณะกรรมการจัดงานประชุมวิชาการ เป็นประธานในห้องนำเสนอผลงานวิชาการของเหล่านิสิตในระดับบัณฑิตศึกษา การเข้าร่วมประชุมทางวิชาการในระดับประเทศ นานาชาติ ในเมืองไทย และในต่างประเทศ ทำให้ผมมีมุมมองในเรื่องการนำเสนอผลงานวิชาการที่เป็นภาษาอังกฤษได้ชัดเจนมากขึ้น
สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาสำหรับนิสิตไทยและนักวิชาการหลายคนคือ กลัวการนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษเพราะพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ไม่ค่อยดีนัก ทำให้ขาดความมั่นใจในการนำเสนอผลงาน ไม่มีคนช่วยขัดเกลาภาษาให้ก่อนนำเสนอ หลายคนเลยไม่กล้านำเสนอผลงานตัวเองในเวทีระดับนานาชาติทั้งๆที่ผลงานของตนเองเป็นผลงานที่ดี เท่ากับว่าพลาดโอกาสสำคัญไป
ลูกศิษย์ที่ผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ก็หวาดผวากับเวทีนำเสนอผลงานวิชาการระดับนานาชาติเหมือนกัน เพราะกลัวจะต้องนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ กลัวจะตอบคำถามจากผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่เมื่อเป็นทางเลือกในเงื่อนไขของการขอสำเร็จการศึกษาก็จำเป็นต้องกัดฟันนำเสนอผลงานวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ....
ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาเราก็ต้องเล่นบทโค้ชฝึกความพร้อมให้ลูกศิษย์นำเสนอผลงานจนผ่านไปให้ได้สำเร็จ ผมเรียกลูกศิษย์ให้มาซ้อมการนำเสนอผลงานอย่างหนักจนมั่นใจว่าจะนำเสนอผลงานบนเวทีระดับนานาชาติให้รอดฝั่งไปให้ได้ พอถึงวันจริง...ก็นำเสนอผลงานบนเวที่ผ่านไปได้อย่างราบรื่น
เพราะเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นในการนำเสนอผลงานทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาและนักวิชาการในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง โรงเรียนสอนภาษาซีพีเอสจึงออกแบบหลักสูตร "การนำเสนอผลงานทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ" ขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนที่มีความประสงค์จะไปนำเสนอผลงานทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษในเวทีการประชุมทางวิชาการในระดับต่างๆ
จากประสบการณ์ที่คลุกคลีกับการเป็นกรรมการในการประชุมวิชาการ การเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่านพิจารณาบทความเพื่อคัดเลือกไปตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการหลายฉบับ การที่ตนเองเคยตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ผมเข้าใจในปัญหาและรู้ว่าจะช่วยแนะนำนักเรียนของโรงเรียนสอนภาษาซีพีเอสได้อย่างไร
คุณสุดาต้องไปนำเสนอผลงานทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ เธอเป็นนักเรียนของโรงเรียนสอนภาษาซีพีเอสในหลายหลักสูตร ในฐานะโรงเรียนสอนภาษาซีพีเอสที่เธอไว้วางใจ....ผมช่วยแนะนำว่าเธอควรเขียนเนื้อหาที่จะนำเสนอแบบไหน ควรมีรูปแบบการนำเสนอแบบไหน และฝึกจนให้เธอมั่นใจว่าอย่างน้อยสามารถนำเสนอบนเวทีให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
มีการซักซ้อมคำถามที่น่าจะถูกถามจากผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ และ ขอให้เธอซ้อมการนำเสนอให้ดูหลายรอบ แนะนำให้แก้ไขเนื้อหาและเพิ่มเนื้อหาบางส่วนเพื่อให้การนำเสนอสมบูรณ์ขึ้น
คุณสุดาผ่านเวทีการนำเสนอผลงานทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกไปเรียบร้อยแล้ว...แม้จะประหม่ามากพอสมควร เธอยอมรับว่าถ้าไม่มีการซ้อมในชั้นเรียนของหลักสูตรที่โรงเรียนสอนภาษาซีพีเอสนี้มาก่อนหลายครั้ง.....เธอคงจะเครียดและเกร็งจนพูดไม่ออกในเวทีจริง
อาจารย์พิมพ์ชนกสนใจในหลักสูตรการเขียนบทความทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษเพราะต้องการพัฒนาผลงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการในอนาคต อาจารย์พิมพ์ชนกจึงแวะเข้ามาสอบถามหลักสูตรนี้ที่โรงเรียนสอนภาษาซีพีเอส อาจารย์เห็นว่าเป็นหลักสูตรที่แตกต่างไปจากโรงเรียนสอนภาษาอื่นที่โดยมากสอนเน้นแต่ไวยกรณ์หรือบทเรียนสนทนา และหลักสูตร "การเขียนบทความทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ" ของโรงเรียนสอนภาษาซีพีเอสตอบโจทย์ที่อาจารย์ต้องการเรียนมาก อาจารย์จึงตัดสินใจเรียนกับโรงเรียนสอนภาษาซีพีเอส (CPS Institution)
ผมช่วยแนะนำวิธีการเขียนบทความทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษให้อาจารย์พิมพ์ชนก ให้อาจารย์รู้จักกับคำเชื่อมที่นิยมใช้ในบทความวิชาการ และประเด็นของ Tense ที่สร้างความงุนงงให้แก่ผู้เขียนบทความชาวไทย เนื่องจากภาษาไทยมักไม่ค่อยใช้กาลเหมือนภาษาอังกฤษ เมื่อคนไทยมาเขียนภาษาอังกฤษจึงนิยมแปลภาษาไทยมาแบบตรงๆซึ่งผิดไวยกรณ์และผิดหลักการในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการที่ดี ผมนั่งเขียนบทความร่วมกับอาจารย์พิมพ์ชนกโดยแปลงจากบทความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษเพื่อฝึกให้อาจารย์พิมพ์ชนกคุ้นเคยกับรูปแบบในการเขียนบทความวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ เมื่ออาจารย์พิมพ์ชนกคุ้นเคยกับสไตล์การเขียนและคำเชื่อมต่อ...ความชำนาญในการเขียนและทักษะในการเขียนก็เพิ่มขึ้น
ขั้นตอนต่อไปคือทดลองให้อาจารย์พิมพ์ชนกนำเสนอบทความเป็นภาษาอังกฤษบ้าง เพราะในเวทีประชุมวิชาการนักวิชาการต้องนำเสนอผลงานของตนเองเป็นภาษาอังกฤษ และพร้อมที่จะตอบคำถามของผู้สนใจในผลงานที่นักวิจัยท่านนั้นนำเสนอ
( โชคไม่ดีที่ Socialcam มีปัญหาในวันที่บันทึกคลิปวิดีโอนี้ ทั้งภาพและเสียงมีอาการกระตุก ภาพและเสียงไม่พร้อมกัน แต่คลิปนี้สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการด้านการใช้ภาษาในการนำเสนอผลงานวิชาการเป็นภาษาอังกฤษของอาจารย์พิมพ์ชนก)
อาจารย์พิมพ์ชนกเคยทดลองเรียนการเขียนบทความวิชาการเป็นภาษาอังกฤษด้วยตนเองจากเว็บและจากหนังสือต่างๆ แต่ปรากฏว่าการพัฒนาทักษะด้านการเขียนไม่มากอย่างที่อยากจะให้เป็น เลยตัดสินใจหาที่เรียนเพื่อจะพัฒนาทักษะในการเขียนบทความเป็นภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง สำหรับการตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตร "การนำเสนอบทความทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ" ที่โรงเรียนสอนภาษาซีพีเอส อาจารย์พิมพ์ชนกได้รับรู้ถึงพัฒนาการที่ก้าวหน้าในด้านทักษะการเขียนบทความวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ อาจารย์ประเมินตนเองว่าทักษะในด้านการเขียนบทความวิชาการมีการพัฒนามากกว่าก่อนที่จะเรียนหลักสูตรนี้ที่โรงเรียนสอนภาษาซีพีเอสประมาณ 70-80% อาจารย์พิมพ์ชนกถือว่าคุ้มค่ากับค่าเรียนของหลักสูตรที่เสียไป หลักสูตรไม่ได้เรียนจำนวนคาบมากนัก หลักสูตรถูกออกแบบมาเพียง 10 คาบ ให้กระชับและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้เรียน
เสียงสะท้อนของอาจารย์พิมพ์ชนกในคลิปวิดีโอนี้บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนภายหลังจากที่เรียนหลักสูตร "การนำเสอนผลงานทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ" ที่โรงเรียนสอนภาษาซีพีเอส
โรงเรียนสอนภาษาซีพีเอสภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทักษะด้านการใช้ภาษาของคนในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง เราออกแบบหลักสูตรที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของผู้เรียนแต่ละคน เราเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน
เรามุ่งมั่นพัฒนาหลักสูตรและวิธีการสอนของเราต่อไปเพื่อให้โรงเรียนสอนภาษาซีพีเอสเป็นโรงเรียนสอนภาษาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง
การสร้างคนที่มีคุณภาพให้แก่สังคมโดยเพิ่มทักษะด้านภาษาเป็นวัตถุประสงค์ของโรงเรียนสอนภาษาซีพีเอส ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างคนที่มีคุณภาพให้แก่สังคมคือแรงผลักดันให้โรงเรียนซีพีเอสถือกำเนิดขึ้นและเดินหน้าต่อไป
เพราะเราเชื่อว่าถ้าเราช่วยกันสร้างคนในสังคมให้มีคุณภาพ คนที่มีคุณภาพเหล่านั้นก็จะไปช่วยขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้น น่าอยู่ขึ้น แล้วประเทศก็จะน่าอยู่ขึ้น พัฒนาขึ้นตามไปด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรได้ที่
โรงเรียนสอนภาษาซีพีเอส (CPS Institution)
อาคารเทสโก้โลตัส เอ็กซ์ตร้า สาขาพิษณุโลกท่าทอง
ชั้น 1 ย่านโซนธนาคาร ติดกับร้านหนังสือซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ใกล้ศูนย์อาหาร
444 หมู่ 6 ตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทร. 055-330-404, 082-944-5397
https://www.facebook.com/CPSInstitution