เป็นยังไงครับรู้สึกอยากด่าหรืออยากเลิกใช้ Java ไปเลยไหมครับ คราวนี้ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ พิธีกรเขาให้เหตุผลว่าในสมัยก่อนที่มีการสร้างคลาสนี้ยังไม่มีแนวคิดของการที่มีชื่อ URL ที่ต่างกัน แต่อ้างถึงหมายเลข IP เดียวกัน
วิธีการแก้ไขถ้าต้องการให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมือนเดิมเสมอไม่ว่าจะต่ออินเทอร์เน็ตหรือไม่ ให้ใช้คลาสที่ชื่อ URI แทนครับ ดังนั้นโปรแกรมในตอนต้นจะต้องเปลี่ยนเป็นดังนี้ครับ
import java.net.*; import java.util.*; public class URISet { private static final String[] URI_NAMES = { "//www.google.com", "//www.ajsarun.blogspot.com", "//www.ajsarun.bloggang.com", "//ajsarun.blogspot.com", "//kisarun.multiply.com", "//www.google.com" }; public static void main(String[] args) { Set favorites = new HashSet(); for(String uriName: URI_NAMES) { favorites.add(URI.create(uriName)); } System.out.println(favorites.size()); } }
ซึ่งคลาส URI นี้จะพิจารณาโดยใช้สตริงเท่านั้น คือไม่มีการไปแปลงเป็นหมายเลข IP ใด ๆ ดังนั้นผลลัพธ์จะเป็น 5 เสมอ แต่ก็ยังเป็นการเปรียบเทียบแบบไม่สนใจตัวอักษรตัวเล็กหรือตัวใหญ่เช่นเดิมนะครับคือ //www.google.com กับ //www.GOOGLE.COM ก็ถือว่าเท่ากัน
สิ่งที่พิธีกรเขาสรุปจากปริศนานี้ก็คือ เขาบอกว่าเราไม่ควรใช้ URL กับ class SET หรือ class MAP เพราะว่ามันออกแบบมาไม่ดี ให้ใช้ URI แทน ซึ่งตรงนี้ผมว่าถ้าใครไม่ได้เขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพวกนี้ก็อาจดูจะไกลตัวไปนะครับ
import java.util.*; public class ShortSet { public static void main(String[] args) { Set s = new HashSet(); for (short i = 0; i < 100; i++) { s.add(i); s.remove(i-1); } System.out.println(s.size()); } }
คำถามคือผลลัพธ์จากโปรแกรมนี้คืออะไร a. 1 b. 100 c. Throw Exception d. None of the above
ลองมาไล่โปรแกรมดูนะครับ ถ้าไล่โปรแกรมไปตามปกติจะเห็นว่าเป็นการนำเอาตัวเลข 0 ถึง 99 ใส่ลงใน Set แต่ในการใส่ในแต่ละครั้งจะมีการเอาตัวที่อยู่ก่อนหน้าออก ถ้าลองไล่ดูที่ i = 0, จะได้ set {0} และเมื่อพยายามจะ เอา (0-1 = -1 ) ออกจาก set จะพบว่าไม่มี -1 ดังนั้นจึงไม่มีการเอาอะไรออก ในรอบแรกนี้ set จะมีค่า {0} ในรอบที่ 2 i = 1 จะได้ set คือ {0,1} และเมื่อเอา (1-1 = 0) ออกจะได้ว่า set คือ {1} ดังนั้นถ้าทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ในรอบสุดท้ายเราจะได้ set คือ {99} ดังนั้นผลลัพธ์ของโปรแกรมที่สั่งพิมพ์คือขนาดของ Set ก็จะต้องเป็น 1 แต่ถ้าลอง run โปรแกรมดูจะได้ผลลัพธ์คือ 100 ซึ่งคือข้อ b.ครับ คำถามคือทำไม... คำตอบคือตอนแรกควรจะมาเข้าใจ interface Set กันก่อน ซึ่งมีหน้าตาดังนี้ครับ Interface Set { boolean add(E e); boolean remove (Object o); ... }
ให้สังเกตุนะครับว่าสำหรับ add จะรับพารามิเตอร์เป็นประเภทที่ระบุไว้ นั่นหมายความว่าเราไม่สามารถใส่ข้อมูลประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ตั้งแต่ตอนสร้าง set ลงใน set ได้ แต่ remove พารามิเตอร์้เป็น Object ซึ่งหมายถึงจะเป็นประเภทข้อมูลอะไรก็ได้ ซึ่งก็ดูประหลาดนะครับ แต่เหตุผลหนึ่งของการทำอย่างนี้ก็คือในเรื่องของ backward compatability และเขาก็บอกว่าได้ลองคิดถึงการที่จะออกแบบให้ใช้ remove(E e) แล้วแต่ปรากฏว่ามันใช้ไม่ได้ในหลายกรณี เขายกตัวอย่างว่าสมมติว่าถ้าเราต้องการจะหาintersection ระหว่าง Set ของ Number กับ Set ของ Long ซึ่งในกรณีนี้เราจะต้องสามารถดึง object ของ Long ออกมาจาก Number ได้ เอาละครับคราวนี้ก็มาดูว่าอะไรทำให้ผลลัพธ์ไม่ได้ตามที่ต้องการ จากบรรทัด s.remove(i-1) จะเห็นว่าผลลัพธ์ของ i-1 จะเป็น int และจากคุณสมบัติ Autoboxing ก็จะทำให้ได้ผลลัพธ์เป็น object ของ Integer ให้สังเกตุว่าข้อมูลใน Set ที่เราใส่เข้าไปเป็น Short แต่เวลาจะเอาออกเราหา object ของ Integer ซึ่ง object ของ Integer และ Object ของ Short ไม่สามารถเทียบกันได้ดังนั้นการ remove แต่ละครั้ง จึงไม่มีการเอาอะไรออกจาก set ถ้าจะให้โปรแกรมนี้ทำงานตามที่ต้องการ พอจะตอบได้ไหมครับว่าต้องแก้ตรงไหน ....
ใช่แล้วครับ ต้องแก้บรรทัด s.remove(i-1) เป็น s.remove((short) (i-1)) ซึ่งจะทำให้ได้ผลลัพธ์เป็น Short สิ่งที่ได้จากปริศนา Java นี้ก็คือผลลัพธ์ของการคำนวณเกี่ยวกับจำนวนเต็มจะได้เป็น int หรือ long ดังนั้นให้หลีกเลี่ยงการใช้ short ในโปรแกรมนะครับ เขายกตัวอย่างว่ากรณีเดียวที่น่าจะใช้ short ก็คือการใช้ array ของ short เท่านั้น