All Blog
'ประภัตร'ผุดไอเดียโซล่าร์เซลล์ช่วย'เกษตรกร'ประหยัดได้ 20-30% ต่อเดือน
'ประภัตร' ผุด ไอเดีย โซล่าร์เซลล์ช่วย 'เกษตรกร' ลดค่าไฟ ลดมลภาวะ ประหยัดได้ 20-30% ต่อเดือน เป้าหมาย 1 ล้านครัวเรือน ดันออก NFT ระดมทุนจากกองทุนต่างประเทศอย่างถูกกฎหมาย

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้พลังงานในภาคการเกษตร ภาคครัวเรือน ภาคการขนส่ง และภาคส่วนอื่นๆ เป็นจำนวนมาก เชื้อเพลิงส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีราคาแพง

จากข้อมูล พบว่ามีเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนมากกว่า 8 ล้านครัวเรือน แต่ละครอบครัวมีค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพทางการเกษตร สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าทางการเกษตรสูงขึ้น และต้องยอมรับว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาการใช้พลังงานเป็นอย่างมาก จึงมีความจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาพลังงานในภาคเกษตรโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดวิกฤตอย่างรุนแรงในไม่ช้านี้






 






 
นายประภัตร กล่าวว่า สำหรับการแก้ไขพลังงานด้านการเกษตร จากการที่ตนได้ทำงานคลุกคลีกับชาวไร่ ชาวนา มานาน ได้มองเห็นสภาพปัญหา และพยายามหาทางแก้ไขปัญหามาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับ บริษัท แคปปิตอล ทรัสต์กรุ๊ป จำกัด ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นตัวแทนบริษัทจัดการกองทุนสิงคโปร์ ในการตั้งกองทุนที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับหลักทรัพย์สิงคโปร์ ที่ได้ทำการศึกษา และวิเคราะห์เรื่องการใช้พลังงานในภาคเกษตรของประเทศไทย

จึงได้ทำการออก NFT หรือ Non-Fungible Token สินทรัพย์ดิจิตอลที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่สามารถทำซ้ำได้ ชื่อ Solar Panels NFT for Thai Farmers มูลค่า 6 ล้านอีเธอร์เรียม (Ethereum) เพื่อขายให้กับนักลงทุนสถาบันในต่างประเทศ ที่อยู่ในสิงคโปร์อย่างถูกกฎหมาย อีกทั้งยังวางแผนตั้งกองทุนเพื่อนำมาลงทุนซื้อ NFT ดังกล่าว ไว้สำหรับระบบโซล่าร์เซลล์คุณภาพสูงพร้อมติดตั้งให้เกษตรกรแต่ละครัวเรือน เพื่อใช้ทดแทนพลังงานที่มาจากน้ำมันเชื้อเพลิง
 
นายประภัตร กล่าวว่า การติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในภาคเกษตรกรได้ อย่างเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น รถไถไฟฟ้า รถไถนาเดินตามไฟฟ้า รถดำนาไฟฟ้า เครื่องสีข้าวไฟฟ้า รถแทรกเตอร์ไฟฟ้า รถเกี่ยวนวดข้าวไฟฟ้า เครื่องอบมันสำปะหลังสะอาด แบตเตอรี่ลิเธียม ปั๊มพญานาคไฟฟ้า ปั๊มบาดาลไฟฟ้า โดรนสำหรับพ่นปุ๋ย
 
นายประภัตร กล่าวว่า โครงการนี้จะสามารถช่วยประหยัดไฟ หรือลดการใช้ไฟได้ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน ทั้งนี้เบื้องต้นได้มีการเร่งหารือกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยให้เร่งศึกษาความเป็นไปได้จัดหาแนวทางดำเนินงาน แนวทางการเก็บเงิน การตรวจสอบคุณภาพระบบโซล่าร์เซลล์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับกองทุนต่างประเทศ และนักลงทุนสถาบันในต่างประเทศ นอกจากนี้ตนจะช่วยประสานกับสหกรณ์การเกษตรที่มีศักยภาพในการเป็นตัวแทนรับเก็บเงินจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการตลอดระยะเวลาการเช่าระบบโซล่าเซลล์
 
"ผมได้ตั้งเป้าหมายจะดำเนินการได้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านครัวเรือน มีเป้าหมายช่วยเกษตรกรลดค่าไฟ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ของเกษตรกรกลุ่มนี้ ได้มากกว่า 1 พันล้านบาทต่อเดือน โดยหลังจากมีการสำรวจความต้องการของกลุ่มเกษตรกรเป้าหมายเสร็จสิ้น จากบริษัทแคปปิตอลทรัสต์ฯ ตั้งเป้าที่จะจัดตั้งกองทุนมูลค่ารวม 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณมูลค่ากองทุนรวมทั้งสิ้น 1 แสนล้านบาท" นายประภัตร กล่าว
 
นายประภัตร กล่าวว่า โครงการนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มหาศาล ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง อย่างน้อยวันละ 5 ลิตรต่อครัวเรือน หรือ 10 ล้านลิตรต่อวัน หรือคิดเป็นเงิน 300 ล้านบาทต่อวัน (ราคาน้ำมันดีเซลที่ลิตรละ 30 บาทต่อลิตร) โดยเกษตรกรไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้า และค่าเชื้อเพลิง ตลอดระยะเวลา 15 - 20 ปี ซึ่งหากโครงการนำร่องประสบความสำเร็จ จะสามารถขยายผลติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ไปยังเกษตรกรทุกครัวเรือน และครัวเรือนอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในภาคเกษตร

ตนได้แนะนำบริษัทแคปปิตอลทรัสต์ฯให้พิจารณาซื้อระบบโซล่าร์เซลล์ที่มีคุณภาพสูง มีความน่าเชื่อถือระดับโลก จากบริษัท เทสล่า เพราะเชื่อว่าถ้าเกษตรกรในประเทศมีความต้องการระบบโซล่าร์เซลล์ ของบริษัท เทสล่า มากกว่า 1 ล้านครัวเรือน บริษัทแคปปิตอลทรัสต์ฯ น่าจะต่อรองเรื่องราคาให้เหมาะสมกับคุณสมบัติที่เหมาะกับเกษตรกรไทย





 




 



Create Date : 03 เมษายน 2565
Last Update : 3 เมษายน 2565 12:11:56 น.
Counter : 393 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments