•  Bloggang.com
  • ตานก๋วยสลาก ..สลากภัตรไทยวนสระบุรี
    104จิตรกรรมฝาผนังวัดสมุหประดิษฐารามที่เขียนในราวปี พ.ศ.2443 เป็นบันทึกที่บอกเล่าเรื่องราวของชาวไทยยวน จ.สระบุรีได้อย่างดี

    105ภาพเล่าเรื่องผ้าซิ่นลายขวางลวดลายเฉพาะตัวของเผ่าพันธ์คนยวน หรือ คนโยน,โยนก ที่ถูกกวาดต้อนลงมาจากเชียงแสน   นอกจากเครื่องแต่งกายความเป็นอยู่ประเพณีดั้งเดิมที่คล้ายคลึงกันพบได้ในหัวเมืองล้านนา ได้แก่ ตานเข้าสลาก(ทาน-ข้าว-สลาก)หรือในล้านนาเรียกว่าตานก๋วยสลาก(ทาน-กระบุง-สลาก)    ประเพณีจิบอกไฟ (จุดบ้องไฟ) 

    104คนยวนสระบุรีมีประเพณีกินข้าวสลาก (กิ๋นเข้าสลาก) ที่ชมรมไทยวน จ.สระบุรี โดย อ.ทรง
    ชัย วรรณกุล ประธานชมรมและสมาชิกรวบรวมและฟื้นฟูไว้และทำเป็นครั้งคราว   เช่นในปี 2555 ได้มีการจัดงานประเพณีกิ๋นข้าวสลาก หรือ สลากภัตร ที่วัดพระยาทด   

    105เริ่มต้นด้วยภาพจิตรกรรมที่วัดสมุหประดิษฐาราม  ซึ่งเขียนขึ้นในราว พ.ศ.2443 รัชสมัยพระปิยะมหาราชเจ้า รัชกาลที่ 5   จากในภาพ ภายในกระบุงมีแตงโม กล้วย ฟักทอง 

    24 มิถุนายน 2564 

    ผู้เขียนได้ไปร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ กำนันสมจิตต์ ยะกุล ปราชญ์และผู้นำชุมชนไทยยวนบ้านต้นตาล อ.เสาไห้ จ.สระบุรี  ในงานได้พบกับ อ.ดำรงค์ เขียวสมอ  อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนองสุทธะ ต.ห้วยป่าหวาย อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี  เลขาฯ ชมรมไทยยวนจังหวัดสระบุรี และได้สอบถามเรื่องประเพณี "กินข้าวสลาก" ของชาวไทยยวนจังหวัดสระบุรีในอดีต  อาจารย์ดำรงค์ได้เล่าว่า
    "ผมนึกออกได้ลางๆ  เมื่อสักหกสิบปีก่อนชุมชนไทยยวนสระบุรีเคยจัดกันมา แต่ก็เป็นเพียงลาง ๆ ไม่ชัดเจนนัก"  
    "แต่มูลเหตุที่เลิกประเพณีนี้ เป็นเพราะนักเลงแต่ละบ้านมีการตีกัน(ทะเลาะ)  ตีกันไม่บาดเจ็บอะไรมากมายหัวร้างข้างแตกกัน  ตีฝากกันไป  เป็นอันรู้กันว่ามาดักเจอกันงานกินข้าวสลาก"  
    "แก่นแท้ประเพณีนี้ดีงาม การร่วมมือร่วมใจสามัคคีกัน  หายอดฝีมือมาจัดทำต้นสลาก  เสียสละข้าวของเงินทองมาร่วมทำบุญ"  

    และยังได้พูดคุยสัพเพเหระ ทั้งเรื่อง "ปั๊บสา" หรือ "คำภีัร์ใบลาน" ในชุมชนไทยยวนสระบุรี  โดยเฉพาะที่มีในวัดต้นตาล  ที่ อ.พิเนตร น้อยพุทธา - ปราชญ์ไทยยวนผู้ล่วงลับได้มาดำเนินการจัดเก็บไว้ให้  รวมทั้ง "คำภีร์ใบลาน" ในวัดต่าง ๆ  ในเขต อ.เสาไห้  อ.พระพุทธบาท และ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี  รวมทั้งตุ๊เจ้า(พระคุณเจ้า)ที่ร่วมเป็นเครือข่ายวัฒนธรรมมาตั้งแต่เริ่มการสืบค้นรากเหง้าตัวตนคนไทยยวนสระบุรี   

    ผู้เขียนก็ได้แต่นึกหาทาง  ทำยังไงหนอจะสืบฮีตไว้ให้ลูกหลาน  




    104ภาพขบวนแห่ประเพณีกินข้าวสลากชาวยวน จ.สระบุรี ปี พ.ศ.2555 



    99อ.ทรงชัย วรรณกุล ประธานชมรมไทยยวน จ.สระบุรี (เสียชีวิต)


    102ขบวนแห่และก๋วยรูปลักษณ์ปี พ.ศ.2555  ขบวนประกอบด้วยตุง(ธง)   ตัวก๋วยใส่เครื่องไทยทานมีเสาสูงติดธงประดับด้วยริบบิ้นสีิวิบวับสวยงามตามแบบสมัยใหม่  

    99
    99 ช่างฟ้อนกลุ่มผู้นำชุมชนสตรีบ้านต้นตาล  เจ้าของพื้นที่ตลาดต้าน้ำต้นตาล 

    102 ในก๋วยหรือกระบุงใส่ข้าวสารอาหารแห้งและผลไม้ 



    102 ละอ่อนหน้อยเชื้อสายโยนกรุ่นที่ 6 จากบ้านป่าคา  อ.เสาไห้ จ.สระบุรี   

    102
    กลุ่มผู้นำชุมชน


    107 ยวน,โยน เป็นคำเรียกตนเองของชาวโยนกนาคนครเชียงแสนในสมัยอดีต   ปัจจุบันพบในชุมชนเชื้อสายคนเหนือที่ตั้งถิ่นฐานอยู่นอกพื้นที่อาณาจักรล้านนา โดยเฉพาะกลุ่มยวนเชียงแสน - หรือชาวโยนกนาคนครเชียงแสน  หลังเมืองเชียงแสนถูกเผาทำลายชาวเมืองถูกกวาดต้อนลงมาตั้งถิ่นฐานในภาคกลาง น่าน หลวงพระบาง ในปี พ.ศ.2347  

    107 ข้อมูลจากวิกิพีเดีย 

    สลากภัต (บาลี: สลากภตฺต) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎก เป็นชื่อเรียกวิธีถวายทานแก่พระสงฆ์วิธีหนึ่ง โดยการจับสลากเพื่อแจกภัตตาหารหรือปัจจัยวัตถุที่ได้รับจากผู้ศรัทธาถวาย เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธาที่มีปัจจัยวัตถุจำกัดและไม่สามารถถวายแก่พระสงฆ์ทั้งหมดได้ 

    โดยสลากภัตนับเนื่องในสังฆทานที่มีอานิสงส์มาก เพราะถือว่าแม้จะตั้งสลากถวายกับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่จับสลากได้ ย่อมเท่ากับถวายกับพระสงฆ์ทั้งหมด เพราะสลากที่จับนั้นพระสงฆ์ทุกรูปในอารามนั้นมีสิทธิ์ได้ นอกจากนั้นสลากภัตยังเป็นหลักการในพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเท่าเทียมกันและสร้างความเป็นอันหนึ่งเดียวกันแก่คณะสงฆ์

    ในประเทศไทย มีประเพณีสลากภัต ภาคเหนือเรียกว่า ประเพณีทานก๋วยสลาก ตามวัดต่าง ๆ โดยจัดในช่วงเดือน 6 จนถึงเดือน 8 ซึ่งเป็นช่วงผลไม้อุดมสมบูรณ์[3] โดยมีการรวมตัวของคณะศรัทธาทั้งหมู่บ้านนำผลไม้และสำรับคาวหวานไปตั้งเป็นสลากถวายพระภิกษุที่นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ เป็นประเพณีใหญ่สำหรับหมู่บ้านและวัดนั้น ๆ โดยในแต่ละภูมิภาคมีรายละเอียดการจัดประเพณีแตกต่างกันไป  

     

    104 #กินเข้าสลาก #ตานสลาก #ตานก๋วยสลาก #ตานเข้าสลาก #ไทยวนเสาไห้ #สลากภัตร #ไทยวนสระบุรี 
     



    Create Date : 17 พฤษภาคม 2564
    Last Update : 24 มิถุนายน 2564 17:51:08 น.
    Counter : 1760 Pageviews.

    8 comments

    ผู้โหวตบล็อกนี้...
    คุณ**mp5**, คุณtuk-tuk@korat, คุณKavanich96

      
    แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ
    โดย: **mp5** วันที่: 17 พฤษภาคม 2564 เวลา:14:23:04 น.
      
    เหมือนบางบ้านก็พูดภาษาล้านนากันอยู่นะคะ
    โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 พฤษภาคม 2564 เวลา:14:30:11 น.
      
    **mp5** แค่แวะมาชมก็นิยมในใจ
    Tuk-tuk@korat ยังพูดกันอยู่ประมาณ 60% ค่ะ แต่เป็นภาษาเก่าที่ยังไม่มีอิทธิพลของราชสำนักสยาม จะไม่มีคำลงท้าย “เจ้า” ค่ะ
    โดย: ป้าทุยบ้านทุ่ง IP: 49.48.224.91 วันที่: 17 พฤษภาคม 2564 เวลา:14:40:50 น.
      
    เคยทราบมาเหมือนกันว่า ที่สระบุรีแถว อ.เสาไห้ พูดกำเมือง(ภาษา
    ภาคเหนือ) และมีประเพณีภาคเหนืออยู่ด้วย

    น่าชื่นชมครับที่รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีงดงามไว้
    โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 17 พฤษภาคม 2564 เวลา:15:34:53 น.
      
    ขอบคุณที่แบ่งปัน
    โดย: Kavanich96 วันที่: 18 พฤษภาคม 2564 เวลา:3:48:29 น.
      
    แวะมาเยี่ยมในวันหยุดครับ
    โดย: **mp5** วันที่: 23 พฤษภาคม 2564 เวลา:10:55:45 น.
      
    ไม่เคยทราบมาก่อนว่าสระบุรีมีประเพณีแต่งไทยเดิมด้วยสวยงามๆมากๆครับ
    โดย: สมาชิกหมายเลข 4149951 วันที่: 24 พฤษภาคม 2564 เวลา:0:14:19 น.
      
    น่าทานมากเลยค่า

    โดย: สมาชิกหมายเลข 3450494 วันที่: 26 พฤษภาคม 2564 เวลา:12:50:22 น.
    ชื่อ :
    Comment :
     *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
     

    ป้าทุยบ้านทุ่ง
    Location :
    สระบุรี  Thailand

    [ดู Profile ทั้งหมด]
     ฝากข้อความหลังไมค์
     Rss Feed
     Smember
     ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



    บ้านฉันอยู่กลางทุ่งนา มีปู่ มีย่า มีหมา มีควาย เอิงเงย
    New Comments
    พฤษภาคม 2564

     
     
     
     
     
     
    1
    2
    3
    4
    5
    6
    7
    8
    9
    10
    11
    12
    13
    14
    15
    16
    18
    19
    20
    21
    22
    23
    24
    25
    27
    28
    29
    30
    31
     
     
    All Blog