Group Blog
 
All blogs
 
เบื่อกันหรือยังกับไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009 ? มาฟังข้อมูลจากหมอเพิ่มกัน

................................. ต่อมาเป็นของคุณหมอค่ะ ยาวหน่อย แต่ถ้าค่อยๆอ่านจะเข้าใจอะไรเพิ่มอีกเยอะเลยค่ะ



คำตอบเรื่องไข้หวัดมรณะ จาก หมอพิสนธิ์ จงตระกูล





ผมเห็นว่าบทความนี้ซึ่งได้รับการ forward ค่อนข้างแพร่หลายในอินเตอร์เน็ตเป็นบทความที่ดี


ข้อความสีดำด้านล่างเป็นเรื่องที่มารดาของผู้ป่วยเขียนบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับไข้
หวัดใหญ่ 2009



แต่ในฐานะของแพทย์ ผมได้ "เขียนแทรกระหว่างบรรทัด" เป็นข้อความสีน้ำเงินตัวเอียงด้านล่าง


เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบรายละเอียดและข้อเท็จจริงบางอย่างเพิ่มเติมด้วย


เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่คลาดเคลื่อน




นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล


วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โครงการฉลาดใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibotics Smart Use)


สำนักงานโครงการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา



14 กค. 2552


pisonthi@yahoo.com




1. อย่าเชื่อข้อมูลของ สธ. .. เรากับลูกก็ป่วย ตอนนี้ก็ยังอยู่ที่ รพ. ข้อมูลที่ Under Report มีอีกเยอะมาก อย่าง case ของเราก็under เหมือนกัน



การรายงานผลโรคไข้หวัดใหญ่ เป็น under report เสมอ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการตรวจว่าเป็นไข้หวัดใหญ่จริงหรือไม่ ประเด็นจึงไม่ได้อยู่ที่ควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ แต่อยู่ที่การรับรู้ข้อมูลว่า มันต้องเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และตัวเลขที่แท้จริงจะต้องสูงกว่านี้ ซึ่งในวันที่ 10 กค. ก็มีรายงานในหน้าหนังสือพิมพ์แล้วว่าจำนวนผู้ป่วยในประเทศไทยอาจมีมากถึง 190,000 รายแล้ว รวมทั้งตัวเลขผู้ป่วยในสหรัฐอเมริกาอาจมีมากถึง 1 ล้านรายแล้ว เป็นต้น



2. เรื่องของเรื่อง ลูกเรา (6 ขวบกว่า) ป่วยก่อน เมื่อ 2 วันก่อนเค้ามีอาการปวดหัวรุนแรงและไข้สูงมาก ให้ทานยาลดไข้ ไข้ก็ไม่ยอมลดลง เช็ดตัวก็แล้วทำอย่างไรๆ ไข้ก็ไม่ลดลง เราเลยตัดสินใจพามา รพ. เมื่อพบหมอ



คำแนะนำ อาการที่กล่าวมาเป็นอาการปกติของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจมีไข้สูง (ไข้หมายถึงอุณหภูมิตั้งแต่ 38.0 C ไข้สูงอาจหมายถึงอุณหภูมิมากกว่า 39.0 C) ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ไอ จาม น้ำมูก เบื่ออาหาร ท้องเสีย อาเจียน (สองอาการหลังนี้พบได้ในไข้หวัดใหญ่ 2009 ได้บ่อย ซึ่งพบได้น้อยในไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล) การตัดสินใจไปพบแพทย์ได้แก่


มีอาการที่แลดูว่าป่วยมาก (หากมีไข้สูง แต่เล่นได้ กินอาหารได้ ไม่ซึม ยังไม่แลดูว่าป่วยมาก ไม่จำเป็นต้องไปหาหมอ

ไข้ไม่ลดลงภายใน 72 ชั่วโมง

หากเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ให้ไปพบแพทย์ในทันทีที่มีไข้ เพราะการให้ยาต้านไวรัสจะมีประโยชน์สูงสุดหากให้อย่างรวดเร็วเช่นภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังเริ่มป่วย (ไม่ใช่นับจากวันที่เริ่มมีไข้)

มีอาการของการติดเชื้อที่อวัยวะสำคัญได้แก่ที่ปอด จะมีอาการไข้สูง ไอมาก หายใจลำบาก หอบ เจ็บหน้าอก หรือการติดเชื้อที่สมองจะมีไข้สูง ซึม ปวดศีรษะอย่างรุนแรงและไม่ยอมหายไป อาเจียน ชัก หมดสติ


หากมีอาการที่ชวนสงสัยต้องรีบไปพบแพทย์ทันที ผู้ป่วยรายนี้มีไข้เพียง 4 ชั่วโมงก็ไปพบแพทย์แล้ว



3. เรายืนยันกับหมอว่าเราจะขอทำ Screen Flu (เป็นการ Screen หาความเสี่ยงเบื้องต้น) การทำ Screen Flu หมอจะทำให้เฉพาะผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ เช่นคลุกคลีกับผู้ป่วยโดยตรง แต่ลูกเราไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทุกคนที่บ้านแข็งแรงดี โรงเรียนก็รักษาสุขอานามัยอย่างดี เราไม่พาลูกไปในที่ชุมชนและไม่ให้ว่ายน้ำในสระมาเดือนกว่าแล้ว จึงไม่ควรจะติดเชื้อได้ แต่ถึงอย่างไรเราก็ยืนยันกับหมอว่าเราจะขอ Screen


การ screen จะบอกได้แต่เพียงว่าเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไม่ ซึ่งอาจบอกได้ด้วยว่าเป็นสายพันธุ์ A หรือ B แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็น H1N1 (สายพันธุ์เดิม) H1N1 (สายพันธุ์ใหม่) หรือ H3N2 โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องตรวจ


ลืมบอกไปว่าลูกเรา (และเราด้วย) ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ (ธรรมดา) ไปเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมานี่เอง ดังนั้นโอกาสที่จะเป็นไข้หวัดใหญ่ธรรมดาคงจะไม่มีแน่ๆ และเมื่อผล Screen ออกมาในครั้งนั้นปรากฎว่าลูกเราเป็น Negative (หมายถึงไม่ติดเชื้อในกลุ่มของ H1N1)



การฉีดวัคซีนจะป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ชนิด AH1N1 (สายพันธุ์เดิม) ชนิด AH3N2 และชนิด Influenza B ไม่สามารถป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่นได้ รวมทั้ง AH1N1 (สายพันธุ์ใหม่ 2009) ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วจึงยังอาจเป็นไข้หวัดใหญ่ได้อยู่เพราะวัคซีนไม่สามารถป้องกันโรค
ได้ 100% และไม่จำเป็นว่าหากเป็นไข้หวัดใหญ่หลังฉีดวัคซีนจะต้องเป็น AH1N1 สายพันธุ์ใหม่ 2009 อย่างแน่นอน เพราะยังมีไวรัสไข้หวัดใหญ่อีกมากมายหลายชนิดที่กระจายอยู่ทั่วไป


หากผลออกมาเป็น Negative มีความหมายว่าตรวจไม่พบไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิด A และชนิด B ไม่ใช่ "ไม่ติดเชื้อในกลุ่มของ H1N1" ตามที่เข้าใจ



4. เราและหมอยังไม่นิ่งนอนใจ เราเลยขอหมอ Admit เพื่อความสบายใจ เนื่องจากลูกเราไข้สูงมาก (โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 39องศา) คุณหมอให้เราพักที่โรงพยาบาลตามที่เรา Request


การ admit ไม่มีประโยชน์กับผู้ป่วยทั่วไปที่มีอาการน้อยถึงปานกลาง รวมทั้งผู้ป่วยที่เพิ่งมีไข้มาเพียง 4ชั่วโมง การนอนโรงพยาบาลนอกจากเสียค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อเด็กในการรับเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่อาศัยอยู่ในโรงพยาบาล เด็กยังอาจเจ็บตัวเพิ่มขึ้นจากการให้นํ้าเกลือและการเจาะเลือด ยารักษาไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่ยาฉีด หากจำเป็นต้องใช้ยาผู้ป่วยสามารถใช้ยาเองได้ที่บ้าน โดยไม่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาล


5. และเมื่อถึงตอนเช้าคุณหมอมาเยี่ยมและขอนำเชื้อไปทำ Screen Flu อีกเป็นครั้งที่ 2 เรายินดีตามที่หมอเสนอ เพราะหมอให้ความเห็นว่า เมื่อการตรวจครั้งแรกนั้น ระยะห่างระหว่างการจับไข้กับการตรวจห่างกันแค่ 4 ชั่วโมง อาจจะยังไม่ปรากฎการติดเชื้อให้เห็นชัด แต่ถ้าไข้ยังสูงขนาดนี้ขอตรวจอีกครั้งเพื่อความชัวร์ดีกว่า


เนื่องจากความคลาดเคลื่อนด้านความไวและความเจาะจงของการตรวจ (หมายความว่าการตรวจ screening(ได้ผลภายใน 20 นาที) ไม่ได้มีความแม่นยำ 100%) หากการตรวจให้ผลบวกอาจไม่ได้เป็นไข้หวัดใหญ่จริงได้~1% (specificity 99%) หากการตรวจให้ผลลบ ยังอาจเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ประมาณ 50% (sensitivity 50%)ไม่เกี่ยวกับว่าตรวจหลังมีไข้เพียง 4 ชั่วโมง


ในทางตรงกันข้ามการตรวจเร็วจะให้ผลบวกง่ายขึ้นเพราะเป็นช่วงที่มีไวรัสมากในร่างกาย โดยเฉพาะขณะมีไข้สูงจะมีไวรัสปลดปล่อยออกมามากที่สุด แต่การตรวจช้าเช่นผ่านไป 72 ชั่วโมงแล้วค่อยตรวจอาจตรวจได้ผลลบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปริมาณไวรัสเริ่มลดลง การตรวจscreening จึงมีประโยชน์น้อย และบางโรงพยาบาล (เช่นรพ.จุฬาฯ จะไม่แนะนำให้ตรวจเลย)


หากต้องการผลการตรวจที่แม่นยำมากขึ้น ต้องตรวจด้วยวิธี RT-PCR (ได้ผลภายใน 2 ชั่วโมง แต่มักรายงานผลภายใน 1 วัน) หรือเพาะเชื้อในไข่ (ได้ผลใน 2-6 วัน) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายหลายพันบาท โรงพยาบาลส่วนใหญ่ตรวจไม่ได้ต้องส่งตัวอย่างไปตรวจยังห้อง lab ของโรงเรียนแพทย์บางแห่งที่เปิดให้บริการ ซึ่งเมื่อมีผู้ส่งไปตรวจจำนวนมาก ห้อง lab นั้นก็จะทำไม่ทัน และรายงานผลช้าลงเรื่อยๆ การตรวจ confirmed จึงควรสำรองไว้ใช้กับผู้ป่วยอาการหนักหรือผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น


การที่เด็กยังคงมีไข้สูงอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปเพียง 1 วันนั้น ผู้ปกครองไม่ควรกังวลมากจนเกินไป เพราะในเด็กเกือบทั้งหมดไข้จะลดลงเองภายใน 48 ชั่วโมง แม้ไม่ได้รับยาต้านไวรัส หรือการรักษาใดๆ


การตรวจให้เกิดความชัวร์ ก็ดูเหมือนจะไม่จำเป็นในกรณีนี้ เพราะการตัดสินใจให้ยาต้านไวรัส ตัดสินที่อาการว่าอาการหนักหรือไม่ (เช่นอาเจียนรุนแรง ซึม มีเสียงผิดปกติที่ปอด) และเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ถ้าเด็กมีอาการไม่รุนแรงและไม่เป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ไม่ควรใช้ยาต้านไวรัส (เพราะยามีผลข้างเคียง ราคาแพง และจะทำให้เกิดการดื้อยาหากใช้พร่ำเพรื่อ) ดังนั้นการตรวจ screening จึงแทบไม่มีผลต่อการตัดสินใจว่าจะให้ยาหรือไม่ กล่าวคือถ้าอาการหนัก เป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง แต่ผล scrrening ให้ผลลบ ก็ควรให้ยาในทันที เพราะผลที่เป็นลบเชื่อถือไม่ได้


การให้ยาต้านไวรัสจะมีประโยชน์สูงสุดหากให้อย่างรวดเร็วเช่นภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังเริ่มป่วย ไม่มีข้อมูลว่าการให้ยา oseltamivir ช้ากว่า 40 ชั่วโมงจะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด การให้ยาเร็วจะช่วยลดระยะเวลาการเป็นโรคลงได้ประมาณ 1 วัน ดังนั้นถ้าจะให้ผลการตรวจมีผลต่อการตัดสินใจให้ยาควรตรวจแบบ confirm test เช่นตรวจด้วยวิธี RT-PCR ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มป่วยและติดตามให้ได้ผลมาภายใน 24 ชั่วโมง



6. เมื่อผลตรวจออกมา ลูกเรา Positive จริงๆ และหมอถามเราว่าต้องการส่งตรวจหา 2009 ต่อหรือเปล่า แต่เราปฏิเสธเพราะทั้งหมอและเรารู้อยู่แล้วว่าลูกเราติดเชื้อแน่ๆ (เค้าไม่มีทางเป็นไข้หวัดใหญ่ธรรมดา เพราะเพิ่งฉีดวัคซีนไป และข้อบ่งชี้ค่อนข้างเด่นชัด)


เมื่อผลการตรวจออกมาเป็น positive บอกได้แต่เพียงว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ (อาจเป็นชนิด A หรือชนิด B อาจเป็นสายพันธุ์ใดก็ได้ เช่น H1N12009 H1N1 ที่ระบาดประจำปี H3N2 หรือแม้แต่ H5N1) ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่แน่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยรายนี้ไม่มีประวัติ close contact กับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โอกาสที่จะเป็นแน่ๆ จึงยิ่งน้อยลงไปอีก (Close Contact หมายถึง อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยในระยะน้อยกว่า 1 เมตร เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง)

ผู้ป่วยรายนี้ยังอาจเป็นไข้หวัดใหญ่ธรรมดาได้อยู่ แม้ฉีดวัคซีนแล้ว เพราะ


วัคซีนมีประสิทธิผลประมาณ 70-80% (ไม่ได้ป้องกันได้ 100%)

หากเด็กมีอายุน้อยกว่า 9 ปี และฉีดวัคซีนเข็มนี้เป็นปีแรก โดยไม่ได้ฉีดกระตุ้นเข็มที่สอง โอกาสที่วัคซีนจะป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แทบจะไม่มีเลย

แม้ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม การป้องกันโรคก็ไม่ได้เกิดขึ้น 100%



ในภาษาทางการแพทย์ผู้ป่วยรายนี้จึงไม่ใช่ Confirmed Case (ติดเชื้อแน่ๆ) เป็นได้เพียง Suspect (ชวนสงสัย)หรือ Possible Case (อาจเป็นไปได้) เท่านั้น



ถ้าผล Screen Flu ออกมาเป็น Positive จะมีความหมายว่า มีโอกาสติดเชื้อด้วยกัน 3 ตัวคือ H1N1 ไข้หวัดใหญ่ธรรมดา, H1N1 ไข้หวัดใหญ่ 2009, และตัวสุดท้ายคือ H2N3 ซึ่งคนไทยไม่ค่อยเป็น



หาก screening flu ออกมาเป็น Positive จะมีความหมายว่าติดไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A หรือ B (ซึ่งมีรวมกันจำนวนนับไม่ถ้วน รวมทั้งอาจเป็นไข้หวัดนก H5N1 ได้ด้วย เพราะไข้หวัดนกเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิด A) ไม่ใช่ตามที่กล่าวมา



ข้อมูลด้านล่างเป็นข้อมูลในประเทศไทยระหว่าง มค.-ตค. 2551 พบว่าไวรัสชนิด A และ B พบได้เท่าๆ กัน ส่วนชนิด A ที่พบบ่อยคือ H3N2 ไม่ใช่ H1N1 ดังนั้นสำหรับไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลคนไทยจึงติดเชื้อไวรัสชนิด B และ H3N2 บ่อยกว่า H1N1

ซึ่งถ้าติดเชื้อตัวใดตัวหนึ่งใน 3 ตัวนี้ วิธีรักษาจะเหมือนกันทั้ง 3 ตัว ดังนั้นถ้าผลการตรวจออกมาเป็น Positive หมอจะถามว่าต้องการให้ส่งตรวจ Final เพื่อดูว่าเป็นไข้หวัด 2009 หรือไม่ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกประมาณ 2,500 บาท แต่หมอก็จะบอกว่าแต่อย่างไรก็ตามวิธีการ treat ก็เหมือนกันกับไข้หวัดใหญ่ตัวอื่นๆ อยู่แล้ว



การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แต่ละสายพันธุ์ย่อย มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ไม่ใช่เหมือนกันทั้ง 3 ตัวตามที่กล่าวมา



ก. H1N1 ตามฤดูกาล (seasonal flus) ในประเทศไทยเชื้อ 100% จะดื้อต่อ oseltamivir ต้องใช้

zanamivir ในการรักษาจึงจะได้ผล

ข. H1N1 2009 (สายพันธุ์ใหม่) ยังไม่ดื้อต่อ oseltamivir สามารถเลือกใช้ยา oseltamivir หรือ zanamivir ได้ทั้งคู่ (ขณะนี้ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ยังรักษาได้ด้วย oseltamivir แต่ในอีกหลายเดือนข้างหน้าไม่แน่ว่าจะรักษาได้ เพราะเชื้อไข้หวัดใหญ่ดื้อต่อ oseltamivir เร็วมาก และอาจดื้อได้ขณะกินยาอยู่)

ค. H3N2 และ Influenza B รักษาได้ด้วย oseltamivir หรือ zanamivir



ดังนั้นหากจะรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ให้ได้ผลดีในประเทศไทย จึงควรให้ยาดังนี้



** ถ้ารู้แต่ว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ (ไม่รู้ชนิด) ควรใช้ zanamivir

** ถ้ารู้ว่าเป็น Influenza A แต่ไม่รู้ว่าเป็นสายพันธุ์ย่อยใด ควรใช้ zanamivir

** ถ้ารู้ว่าเป็น AH1N1 สายพันธุ์ที่พบตามฤดูกาล ควรใช้ zanamivir

** ถ้ารู้ว่าเป็น AH1N1 สายพันธุ์ใหม่ ใช้ oseltamivir หรือ zanamivir ได้ทั้งคู่

** ถ้ารู้ว่าเป็น H3N2 หรือ Influenza B ใช้ oseltamivir หรือ zanamivir ได้ทั้งคู่



หมายเหตุ oseltamivir ยี่ห้อ Tamiflu และ zanamivir ยี่ห้อ Relenza มีราคาใกล้เคียงกัน ประมาณ 1000 บาทต่อการรักษา 1 คอร์ส ( 5 วัน) แต่ oseltamivir ที่ผลิตโดยองค์การเภสัชฯ ชื่อ GPOA-Flu มีราคาถูกกว่า Tamiflu มากกว่าครึ่งหนึ่ง



7. และเมื่อเราไม่ส่งตรวจเพื่อ Final ข้อมูลของลูกเราก็จะไม่ถูกส่งไปที่ สธ. และอยากจะบอกว่า วันที่ลูกเรามา รพ. นั้น เชื้อได้เข้าไปถึงหูชั้นในและโพรงจมูกแล้ว ซึ่งระยะเวลาจับไข้กับการพบหมอห่างกันเพียง 4 ชั่วโมง ซึ่งอยากจะเตือนทุกท่านว่าเชื้อตัวนี้แรงและแพร่เร็วมาก อย่านิ่งนอนใจถ้าท่านหรือบุตรหลานของท่านมีไข้สูง ปวดศรีษะมาก ขอหมอตรวจเพื่อให้ละเอียดเลยดีกว่าค่ะ



ข้อเท็จจริงที่ควรทราบก่อนที่จะกล่าวว่า เชื้อตัวนี้แรงและแพร่เร็วมาก จากตัวอย่างที่คุณแม่ได้กล่าวถึงการแพร่ของเชื้อไวรัสไปยังหูชั้นในและโพรงจมูก ก็คือ ขณะเป็นหวัด แม้แต่หวัดธรรมดา ที่เรียกว่า common cold ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดก็จะมีการลุกลามของไวรัสเข้าไปยังโพรงจมูกทำให้โพรงจมูกอักเสบจา
กเชื้อไวรัส จึงเป็นเหตุให้เรียกชื่อหวัดธรรมดาอีกชื่อหนึ่งว่าโรค rhinosinusitis ซึ่งมีความหมายว่าโรค จมูก (rhino) และไซนัส (sinus) อักเสบ (-it is) ซึ่งการรักษาก็คือการปล่อยให้หายเองโดยไม่ต้องใช้ยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะรักษาการอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสไม่ได้ การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนในไซนัสหลังการเป็นหวัด (หวัดทุกชนิดรวมทั้งไข้หวัดใหญ่) มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ร้อยละ 5-10 โดยมักเกิดขึ้นหลังจากเริ่มมีอาการหวัดแล้ว 10-14 วัน เชื้อที่ได้เข้าไปถึงโพรงจมูกภายใน 4 ชั่วโมงหลังมีไข้ในกรณีนี้จึงเป็นไวรัสและไม่ต้องรักษาหากไม่ได้มีอาการรุนแรงเพราะจ
ะหายไปพร้อมกับอาการอื่นของไข้หวัดใหญ่



ในอีกกรณีหนึ่งผู้ป่วยเด็กที่เป็นหวัดก็อาจมีอาการของหูชั้นกลางอักเสบจากเชื้อไวรัส
ได้ (โดยไม่เรียกว่าเชื้อแรงหรือแพร่เร็ว) เพราะเป็นธรรมชาติและธรรมดาของเชื้อไวรัสหวัดที่อาจทำให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบ



แนวทางการรักษาคือการเฝ้าดูอาการ 72 ชั่วโมง หากไม่ดีขึ้นจึงตัดสินใจให้ยาปฏิชีวนะ ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบอาจมีอาการของหูน้ำหนวกจากการติดเชื้อแบคทีเรียตามหลังการเป็นหวัด (หวัดทุกชนิดรวมทั้งไข้หวัดใหญ่) ได้ประมาณร้อยละ 30 และมักเกิดขึ้นภายใน 3-8 วันหลังเริ่มเป็นหวัด เชื้อที่ได้เข้าไปถึงหูชั้นในภายใน 4 ชั่วโมงหลังมีไข้ในกรณีนี้จึงเป็นไวรัสและไม่ต้องรักษาหากไม่ได้มีอาการรุนแรงเพราะจ
ะหายไปพร้อมกับอาการอื่นของไข้หวัดใหญ่



คำว่าอย่านิ่งนอนใจหากมีไข้สูง ปวดศีรษะมาก เป็นคำเตือนที่ดี เพราะนอกจากมีโอกาสเป็นไข้หวัดใหญ่แล้วยังอาจเป็นโรคอื่นเช่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้
ด้วย ซึ่งจำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย แต่หากมีไข้สูงและปวดศีรษะ แต่อาการทั่วๆ ไปอย่างอื่นยังเป็นปกติ เช่น ไม่ซึม เล่นได้ กินอาหารได้ ไม่อาเจียน ไม่นอนซม อาจเฝ้าดูอาการไปก่อนได้ โดยไม่ต้องรีบไปหาหมอ การที่ทุกคนแตกตื่นและรีบไปหาหมอในทุกอาการจะทำให้หมอไม่มีเวลารักษาโรคอื่นได้อีกนอ
กจากผู้ป่วยโรคหวัด



8. หลังจากเรามาเฝ้าลูกเพียงแค่วันเดียว ปรากฎว่าเราเริ่มมีอาการปวดเมื่อยตามตัวและเป็นไข้ ไอไม่หยุด เราจึงรีบไปตรวจปรากฎว่าเราก็ติดเชื้อเหมือนลูกแต่ที่น่ากลัวคือเราเป็นไข้แค่ 3 ชั่วโมงแต่เมื่อไปตรวจ ปอดของเราเริ่มมีอาการติดเชื้อแล้ว ถ้าทิ้งไว้นานกว่านี้อาจจะเป็นปอดอักเสบ หรือโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นๆ ได้



ระยะฟักตัวของไข้หวัดใหญ่คือ 1-4 วันคุณแม่จึงมีอาการหลังมาเฝ้าลูกเพียงแค่วันเดียว (แต่เชื้อแพร่กระจายได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมงก่อนเป็นไข้) ประโยคที่ว่า ปอดของเราเริ่มมีอาการติดเชื้อแล้ว ประโยคนี้น่าสงสัยมากเพราะหากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ไปที่ปอดจริง จะเรียกว่าปอดอักเสบในทันที ไม่ควรมีประโยคต่อมาที่กล่าวว่าถ้าทิ้งไว้นานกว่านี้อาจจะเป็นปอดอักเสบ นอกจากนั้นผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่ไวรัสลุกลามไปที่ปอดจัดเป็นผู้ป่วยอาการหนัก ซึ่งผู้ป่วยจำนวนมากที่เสียชีวิตก็เกิดจากการลุกลามของไวรัสไปที่ปอดนั่นเอง แต่มักเกิดขึ้นกับผู้มีปัญหาสุขภาพบางประการเช่นเป็นเบาหวาน โรคหัวใจ หากมีสุขภาพสมบูรณ์ดี มักจะไม่ลุกลามไปที่ปอด(หมายความว่าอาจไปปอดได้ แต่พบไม่บ่อย) ผู้ป่วยที่มีอาการของปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส จะมีไข้สูงไม่ลดลงง่ายๆ และไม่ควรหายอย่างรวดเร็วภายใน 24-48 ชั่วโมง



9. วันนี้เป็นวันที่ 3 ที่เราอยู่ รพ. อาการของลูกดีขึ้นมาก และจะกลับบ้านวันนี้แล้ว ส่วนเรายังอ่อนเพลียอยู่ ยังมีอาการปวดตามตัวอยู่บ้าง แต่ดีขึ้นจากเมื่อวานเยอะมาก และคงจะขอหมอกลับบ้านพร้อมลูกเลย



ถ้าผู้ป่วยเด็กรายนี้เข้ารพ.วันจันทร์ วันที่สามที่อยู่รพ.ก็เป็นวันพุธ หมายความว่าอาการของเด็กดีขึ้นมากภายในเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง ซึ่งเป็นธรรมชาติของโรคที่มักมีไข้สูงในวันแรกและไข้มักจะลดลงจนเป็นปกติหรือเกือบปก
ติภายใน 48 ชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้ยาต้านไวรัส ในขณะที่คุณแม่มีอาการหลังจากลูกประมาณ 1 วัน (ระยะฟักตัวของโรค 1-4 วัน) และในวันที่ลูกจะออกจากโรงพยาบาลคุณแม่ก็มีอาการดีขึ้นจากเมื่อวานเยอะมาก คงหมายถึงไม่มีไข้แล้ว อาการไอคงจะลดลง เหลือแต่อาการปวดตามตัวอยู่บ้าง แสดงว่าอาการไข้ของคุณแม่ก็หายเร็วมาก โดยหายในเวลาสั้นกว่า 48 ชั่วโมง



10. อยากเตือนว่า ไข้หวัด 2009 ติดง่าย ป่วยไว ลุกลามไว ติดเชื้อไว แต่รักษาง่าย หายไว ถ้ารีบรักษาภายใน 48 ชั่วโมง ดังนั้นถ้าท่านหรือคนใกล้ชิดท่านป่วยมีไข้ ปวดศรีษะ ปวดตามตัวและไอ อย่านิ่งนอนใจ รีบตรวจโดยด่วนเลยค่ะ



ผู้เขียนพูดถูกที่กล่าวว่า ไข้หวัด 2009 ติดง่าย ส่วนคำว่าป่วยไวตรงกับระยะฟักตัวของโรคซึ่งอยู่ที่ 1-4 วัน ลุกลามไว อันนี้ได้ทำความเข้าใจไว้ด้านบนแล้ว



ติดเชื้อไว อันนี้ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไร แต่รักษาง่าย ข้อความที่ถูกต้องคือ คนไข้ส่วนใหญ่หายได้เอง โรคนี้จึงไม่ต้องรักษา แต่หากมีอาการรุนแรงและจำเป็นต้องใช้ยา ปัจจุบันยังมียาให้ใช้อยู่ เพราะเชื้อยังไม่ดื้อยา



คำแนะนำสำหรับทุกท่าน




1. อย่าตื่นตระหนกกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จนเกินเหตุ [/color]แต่ต้องตื่นตัว


2. การระมัดระวังตัวตามคำแนะนำที่ทราบกันทั่วไปแล้ว น่าจะป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อได้


3. ถ้าติดเชื้อจริง เกือบทุกคนจะหายเป็นปกติ


มีเพียงประมาณ 1% ที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากมีอาการมาก หรือเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมียารักษาได้


4. ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงทุกคนควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี


เพราะเชื้อดื้อยามากกว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009


5. ถ้าเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี ต้องฉีดวัคซีน 2 เข็ม ในปีแรกที่เริ่มฉีด


6. การตรวจ screening ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำ


7. อย่าใช้ยาปฏิชีวนะเป็นอันขาดในโรคไข้หวัดใหญ่


เพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่เป็นแบคทีเรียชนิดดื้อยา ซึ่งจะรักษาได้ยาก

ที่มา: ชุมชนคนเหมือนกัน


Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2553 15:33:03 น. 3 comments
Counter : 4680 Pageviews.

 
แวะมาเยี่ยม...ขอบคุณสำหรับสาระดีๆที่นำมาฝากครับ


โดย: **mp5** วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:10:50 น.  

 
หลับก่อนครับ

ไม่ชอบชื่อไข้หวัดใหญ่

เวลาผ่านไปใครจะจำปีได้

ว่าเป็นยังไง


โดย: jejeeppe วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:20:21:05 น.  

 
เพิ่งผ่านพ้นจากการเป็นไข้หวัดมหญ่ถึงขั้นต้อง admit เลยคะเพราะหายใจไม่ออกถึงขั้นเกือบหอบเวลาที่เหนื่อยเพราะไอ หรือพูดเยอะมากๆ ไปนอนรพ. มาเนื่องจากมีอาการไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A แต่ไม่รู้สายย่อย เพราคงไม่ได้ถูกส่งตรวจอย่างที่บอกกันไว้จริง ทำให้ไม่มีข้อมูลจริงสักทีในเมืองไทยว่าเป็นจริงเท่าไหร่ สายพันธฺุ์อะไรกันบ้าง ซึ่งรพ.ที่ไปตรวจเองนั้นหมอบอกว่ามีคนป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่เยอะมากที่มานอนรพ.


โดย: Mako IP: 110.49.234.232 วันที่: 6 มกราคม 2556 เวลา:9:46:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

rangsitk4
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add rangsitk4's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.