Group Blog
 
All blogs
 

พิพิธภัณฑ์หอย ภูเก็ต (Phuket Sea Shell museum & shop)

พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ก่อตั้งขึ้นโดยคุณสมนึก ปัทมคันธิน ผู้ซึ่งสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับเปลือกหอย คุณสมนึกเริ่มศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง รวมถึงรับซื้อและแลกเปลี่ยนเปลือกหอยจากคนภูเก็ต ผู้สนใจหอยทั่วไป จากเรืออวนลาก จากชายฝั่งที่ต่าง ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ทำให้มีเปลือกหอยแปลกใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงคิดสร้างพิพิธภัณฑ์เปลือกหอยขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องหอยแก่บุคคลทั่วไป ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล กล่าวว่าที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาของเอกชนที่ดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาในเมืองไทย เปิดให้เข้าชมครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2540

ภายในอาคารได้จัดแสดงเปลือกหอยเป็นหมวดหมู่อย่างสวยงาม จำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ หอยเบี้ย เป็นหอยที่คนนิยมสะสมมากที่สุด มีโครงสร้างโค้งมน ผิวเปลือกเป็นมันวาวคล้ายกระเบื้องเคลือบ หอยเต้าปูน เป็นหอยมีพิษ มีเปลือกเป็นทรงกรวย มีสีสัน ขนาด และลวดลายที่หลากหลายมาก หอยสังข์หนามหรือหอยหน้ายักษ์ เป็นหอยทะเลกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด เป็นหอยฝาเดี่ยว มีหนามขึ้นเป็นแนวรอบตัว และหอยสังข์จุกพราหมณ์ อาศัยอยู่ตามพื้นทรายปนเลนนอกแนวชายฝั่ง พบในประเทศไทยเพียงสองชนิด หอยแต่ละกลุ่มที่จัดแสดงมีทั้งเปลือกหอยที่พบในน่านน้ำไทย เช่น จากภูเก็ต สตูล กระบี่ ระนอง และเปลือกหอยจากหลายประเทศทั่วโลก เช่น จากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ่าวเม็กซิโก แอฟริกาใต้ ฯลฯ มีทั้งเปลือกหอยที่หายากมากและที่พบเฉพาะถิ่น หอยทุกตัวมีป้ายบอกชื่อ ลำดับชั้นทางวิทยาศาสตร์ และคำบรรยายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น ไข่มุกสีทองหนัก 140 กะรัต พบด้านฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ฟอสซิลหอยกาบสองฝาอายุนับร้อยล้านปี หอยสังข์ที่ใช้ในพิธีมงคล ไมโครเชลล์หรือกลุ่มหอยที่ตัวเต็มวัยมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่า นอกจากนี้ยังมีแอมโมไนต์ขนาดใหญ่ที่เกือบเท่าล้อรถ หอยดึกดำบรรพ์สายพันธุ์ต่าง ๆ รวมทั้งหอยพิสดารเปลือกหมุนเวียนซ้าย(หันจุกหรือยอดเข้าตัว หอยปรกติจะหมุนเวียนขวา) ไข่มุกหอยสังข์ทะนาน หรือหอยที่พบเป็นครั้งแรกในโลกที่เมืองไทยเช่น หอยเต้าปูนระนอง เป็นต้น

ที่มา : ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย

Picture



หอยเชลล์ (Family Pectinidae)







หอยนมสาวน้ำลึก



หอยนมสาว: เป็นหอยตระกูลใหญ่ มีจำนวนมากกว่า 600 ชนิด เปลือกมีความหนา และมีเนื้อมุกชั้นใน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามแนวหินชายฝั่งและกินอาหารประเภทสาหร่าย หรือตะไคร่ทะเลที่ขึ้นอยู่ทั่วไป รวมไปถึงสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่อาศัยอยู่ในแนวสาหร่ายทะเลเช่นกัน



หอยทากต้นไม้



หอยไส้ไก่



หอยนางรมยักษ์ (Family Gryphaeidae):



หอยมือแมว, หอยมือเสือ, หอยแครง



หอยแครง, หอยกาบนางฟ้า



หอยหนามทุเรียน, หอยหนามดอกไม้





หอยเต้าปูน













เปลือยหอยที่ผิดธรรมชาติ



หอยเงาะมงกุฎ : จัดอยู่ในตระกูลเดียวกันกับหอยสังข์พิธีมงคล
หอยสังข์ :



หอยแสงอาทิตย์น้ำลึก : พออาศัยอยู่ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งไปจนถึงระดับน้ำลึก เปลือกชั้นในมีชั้นของมุก กินอาหารประเภทตะไคร่และสาหร่ายทะเล
หอยตาวัวหนาม : อาศัยอยู่ในพื้นที่ทรายละเอียดปนเลนในระดับน้ำลึก จึงสร้างหนามที่กระจายวงออกรอบตัวเปลือกเพื่อพยุงตัวไม่ให้จมลงไปในพื้นเลนได้ พบได้ที่หมู่เกาะญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์



หอยหัวใจ :



หอยหมวก, หอยหลังเต่า



หอยเบี้ย :







หอยสังข์ยักษ์, หอยสังข์จีน :



หอยสังข์ :





ฟอสซิลแอสเดอโรเซอรัส



ฟอสซิลหอยจุ๊บแจงยักษ์



หอยสังข์หนาม



ไข่มุกสีทองจากหอยสังข์ทะนาน : มีน้ำหนักประมาณ 140 กะรัต ได้จากเรืออวนลากน้ำลึกประมาณ 40 - 80 เมตร ทางฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต, ประเทศไทย



หอยมือเสือยักษ์ : เป็นหอยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแล้วใช้เหงือกกรองอาหาร รวมถึงยังมีรูปแบบการดำรงชีพแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับสาหร่ายเซลล์เดียวชนิด Zooxananthellae เช่นกัน โดยสาหร่ายจะอาศัยอยู่ในชั้นเนื้อเยื่อส่วนนอกของเนื้อหอยทำหน้าที่สังเคราะห์แสงและสร้างอาหารให้กับหอย และหอยก็จะเป็นที่อยู่อาศัยคุ้มกันภัยให้กับสาหร่ายด้วย



หอยโข่งทะเล, หอยรังนก :





หอยเท้าช้าง, หอยกระต่าย





หอยเม็ดขนุน



หอย ???:



หอยจุกพราหมณ์



หอยมือนาง, หอยแมงป่อง



หอยสังข์ปีก



กุ้งมังกร



หอยฉมวก, หอยสังข์ตีนนก



หอยทากต้นไม้



หอยตาเสือ



หอยแต่งตัว, หอยแสงอาทิตย์




 

Create Date : 13 กันยายน 2557    
Last Update : 13 กันยายน 2557 18:54:48 น.
Counter : 4727 Pageviews.  

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต (Phuket Aquarium)

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต (Phuket Aquarium) website

เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการจัดแสดงพันธุ์น้ำนานาชนิดทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. (Phuket Aquarium Open every day between 8:30 – 16:30)

ตำแหน่ง: 7.804542,98.407716

Picture





ปลาดาว



กุ้งพยาบาล Scarlet Cleaner Shrimp



กุ้งตัวตลก Harlequin Shrimp: เป็นกุ้งสวยสุดชนิดหนึ่งของแนวปะการัง เป็นกุ้งหายาก กุ้งชนิดนี้กินดาวทะเลเป็นอาหาร โดยขึ้นเกาะอยู่บนดาวทะเล ใช้ก้ามเล็กค่อยๆ แทะกิน บางครั้งอาจตัดแขนดาวทะเลออกมากินเป็นชิ้นๆ มักพบอยู่เป็นคู่เสมอ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 5 เซ็นติเมตร



ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ Giant Moray: อาศัยตามแนวปะการังนอกฝั่ง ลักษณะเด่นคือส่วนหัวมีสีน้ำตาลเหลือง มีจุดสีดำเล็กๆกระจายทั่วทั้งส่วนหัวและมีจุดสีดำขนาดใหญ่ที่ช่องเปิดเหงือก ในปลาตัวเต็มวัยจะมีจุดลายคล้ายของเสือดาวกระจายทั่วไปบนลำตัว อาจทำอันตรายต่อนักดำน้ำได้หากยุแหย่ให้ตกใจ ขนาดโตเต็มที่ 250 ซม.



ปลาดุกไฟฟ้า : ปลาดุกไฟฟ้าชนิดนี้มีขนาดใหญ่ที่สุด โตเต็มที่ได้ราว 1.22 เมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งต้องเลี้ยงเดี่ยวๆ เพียงตัวเดียวเนื่องจากเป็นปลาที่ก้าวร้าว ซ้ำยังสามารถปล่อยไฟฟ้าใส่ปลาชนิดอื่นได้อีก



ปลาไหลไฟฟ้า : ปลาไหลไฟฟ้ามีอวัยวะสร้างกระแสไฟฟ้า จำนวน 3 คู่ที่ท้องเมื่อจะล่าเหยื่อ สมองจะส่งคำสั่งผ่านระบบประสาทที่ซับซ้อนเพื่อเปิดระบบสร้างกระแสไฟฟ้า ทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเซลล์ในแบตเตอรี่รถยนต์ แต่ในปลาไหลไฟฟ้ามีเซลล์ลักษณะนี้ 5,000 - 6,000 เซลล์ทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากถึง 500 - 600 โวลล์ เทียบได้กับไฟฟ้า 1 แอมแปร์ หรือ 500 วัตต์ กระแสไฟฟ้าขนาดนี้สามารถทำให้เสียชีวิตได้



ปลาหมอทะเล



สุดท้าย




 

Create Date : 08 กันยายน 2557    
Last Update : 8 กันยายน 2557 3:41:23 น.
Counter : 1603 Pageviews.  

เมืองเก่า ภูเก็ต (Mueang Kao, Phuket)

เดินชมเมืองเก่าภูเก็ต
การเดินชมเมืองเก่าภูเก็ต ... เสน่ห์แห่งชิโนโปรตุกีส เป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การศึกษายิ่ง เพราะจะได้สัมผัสกับสถาปัตยกรรมที่สวยงาม วิถีชีวิต และที่สำคัญ อาหารที่อร่อยเลื่องชื่อ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 4.6 กิโลเมตร โดยมีช่วงของการแวะพักถึง 6 ช่วง
ช่วงที่ 1 ถนนภูเก็ต ถนนรัษฎาและถนนระนอง
จุดเริ่มต้นเดินชมเมืองเก่าภูเก็ต...เสน่ห์แห่งชิโนโปรตุกีส เริ่มจากศูนย์รวมข่าวพรหมเทพ พิพิธภัณฑ์โรงแรมถาวร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา วงเวียนสุริยเดช จนถึงบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน)

ช่วงที่ 2 ถนนพังงา ถนนภูเก็ต และถนนมนตรี
เริ่มจากมุมถนนระนองตัดกับถนนเยาวราช บริเวณวงเวียนสุริยเดช เดินไปตามถนนเยาวราช เลี้ยวขวาเข้าถนนพังงาจนถึงสี่แยก ตัดกับถนนภูเก็ต จะพบกับศาลเจ้าแสงธรรม โรงแรมออนออน ตึกเก่าถนนพังงา อาคารธนาคารนครหลวงไทย ไปจนถึงอาคารไปรษณีย์โทรเลข

ช่วงที่ 3 ถนนถลาง
นับเป็นถนนสายประวัติศาสตร์เก่าแก่ที่สุดสายหนึ่ง มีอาคารตึกแถวเก่าที่มีรูปแบบเดิมเกาะกลุ่มกันมากที่สุด โดยเฉพาะลักษณะการเปิดช่องทางเดินหรือหง่อคากี่เอาไว้เหมือนในอดีต มีตึกแถวคูหาอยู่ทั้งสิ้น 141 คูหา





คริสเตียนสถานกับศาลเจ้าไหหลำ
















ตึกตั้งแต่ปี ค.ศ.1889


รถโดยสาร



ถนนถลาง ช่วงดึก (ประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง) ก่อนหน้านี้มาประมาณ 3 ทุ่ม เปิดไฟสวยกว่านี้แต่ไม่ได้เอากล้องมาถ่ายไว้...เสียดายเหมือนกัน







ช่วงที่ 4 ถนนกระบี่ และถนนสตูล
เริ่มจากถนนกระบี่ จะพบความสวยงามของอาคาร พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว โรงเรียนภูเก็ตกุลธิดา โรงพยาบาลสิริโรจน์เดิม สามารถชม อังมอเหลา คฤหาสน์พระพิทักษ์ชินประชา และบ้านคุณประชา ตัณฑวณิช













ช่วงที่ 5 ถนนดีบุก ถนนเยาวราช ตรอกสุ่นอุทิศ และซอยรมณีย์
ช่วงนี้เริ่มจากแยกถนนดีบุกตัดกับถนนสตูล จะพบกับคฤหาสน์ต้นตระกูลตัณฑเวสบ้านหลวงอำนาจนรารักษ์ เดินตามถนนดีบุก ถนนสายย่านบ้านนายเหมืองเก่า จนถึงสี่แยกตัดกับถนนเยาวราช เมื่อเลี้ยวขวาเข้าถนนเยาวราช จะสัมผัสกับบรรยากาศตึกเก่าและอาหารว่างยามบ่ายในตรอกสุ่นอุทิศ หากย้อนกลับมาสี่แยกเลี้ยวเข้าถนนดีบุก อีกช่วงหนึ่งจะเข้าสู่ซอยรมณีย์

ซอยรมณีย์











ช่วงที่ 6 ถนนเทพกระษัตรี
เป็นช่วงสุดท้ายในการเดินชมเมืองเก่าภูเก็ต อาจแวะชมบ้านเก่าแล้วย้อนออกมาตามถนนเทพกระษัตรีย์อีกครั้ง จนไปสิ้นสุดเส้นทางที่คฤหาสน์ตระกูลหงษ์หยก บริษัทอนุภาษและบุตรจำกัด

ที่มา: www.phuket.go.th




 

Create Date : 07 กันยายน 2557    
Last Update : 7 กันยายน 2557 16:24:58 น.
Counter : 1684 Pageviews.  


rangsitk4
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add rangsitk4's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.