Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กรกฏาคม 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
3 กรกฏาคม 2563

โควิด 19 และเศรษฐกิจโลก


ในทางเศรษฐศาสตร์ ถ้าใครสักคนพูดว่าจะลงทุนสร้างโรงงานผลิตวัคซีน
คงเป็นเรื่องที่ไม่น่าฟัง เพราะมันคงไม่มีทางสร้างผลกำไรได้
ลงทุนสูง การผลิตยุ่งยาก องค์ความรู้ก็ซับซ้อน การควบคุมก็เข้มงวด
ไปผลิตยาพาราเซตามอลแก้ปวดหัวขาย ยังเห็นผลกำไรมากกว่า

แต่เมื่อเกิดการระบาดของไวรัส SARS-CoV-2 ทำให้คำพูดนี้เปลี่ยนไป
ฟังรายการวิทยุเรื่องหุ้น หรืออ่านกระทู้ pantip เมื่อใด ทุกคนล้วนแต่พูดว่า
วิกฤติครั้งนี้จะจบได้ เมื่อบริษัทใดบริษัทหนึ่งสามารถผลิตวัคซีนออกมา
ไม่น่าเชื่อการผลิตวัคซีนได้และใช้เวลาเท่าใด-จะเป็นตัวแปรที่สำคัญในครั้งนี้

สมัยก่อนกว่าจะได้วัคซีนมาแต่ละชนิดนั้น เรียกว่านานจนลืมไปเลย
20-30 ปีเป็นช่วงเวลาที่ประเมินไว้ในสมัยนั้น ลองนึกถึงวัคซีนไข้เลือดออกดู
จนกระทั่งมาถึงวัคซีนตับอักเสบบีที่นักวิทยาศาสตร์ปวดหัวกับมันมาก
เพราะไม่สามารถจเลี้ยงให้มันเพิ่มจำนวนในห้องปฏิบัติการได้

จนสามารถฝ่ากำแพงด้วยเทคนิคที่เรียกว่า การตัดต่อพันธุกรรม
ทำให้ย่นระยะเวลาการคิดค้นลงมาได้เหลือราว 5-10 ปี
เพราะนอกจากการคิดค้นกว่าจะได้วัคซีนที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้
ยังต้องมีการทดสอบตั้งแต่ในสัตว์ทดลองมาจนกระทั่งถึงในมนุษย์

ที่ต้องใช้กระบวนการขออนุญาต และเงินลงทุนเพ่อการวิจัยมหาศาล
นั่นเองจึงเป็นที่มาว่า ไปผลิตยาพราราเซตตามอลขายยังจะง่ายกว่า
แต่วัคซีนที่แม้จะมีแต่ขาดทุนแค่รัฐบาลแต่ละประเทศก็พยายามที่จะอุดหนุน
เพราะเป็นสิ่งที่ประชากรในประเทศ ล้วนต้องการเพื่อใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกัน

--

แนวทางการพัฒนาวัคซีนส่วนใหญ่มุ่งไปที่การกระตุ้นให้ร่างการสร้างภูมิคุ้มกันต่อ
Spike protein ที่อยู่บนพื้นผิวของตัวไวรัส ซึ่งสามารถจับกับ ACE2 receptor
บนผิวเซลล์มนุษย์ได้ แบ่งออกเป็นหลายแนวคิด ที่จะป้องกันกระบวนการนี้
Inactivated vaccine เป็นแนวคิดที่ง่ายที่สุด ใช้พื้นฐานเดิมๆ คือการนำไวรัส
มาขยายจำนวนแล้วทำให้หมดฤทธิ์ แล้วฉีดเข้าไปกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

DNA or mRNA based vaccines การใส่สิ่งที่ห่อหุ้มรหัสพันธุกรรมของโปรตีนไวรัสไว้
เมื่อเข้าสู่ร่างกาย มันจะเพิ่มจำนวนแอนติเจนให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
Recombinant subunit vaccines การสังเคราะห์ชิ้นส่วนของ spike protein
โดยวิธีการตัดต่อพันธุกรรมในเซลล์สิ่งมีชีวิต แล้วเพิ่มจำนวนให้ได้ปริมาณมากๆ

virus-based vaccines เป็นการนํายีน SAR-CoV-2 ส่วนที่เป็น spike protein
ไปฝากไว้กับไวรัสอื่นที่สามารถเพิ่มจำนวนตัวเองได้ โดยไม่ก่อโรคต่อมนุษย์
Virus-like particles เป็นการสร้างโปรตีนเลียนแบบตัวไวรัส
นำไปฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกัน

ตอนนี้มีวัคซีน 67 ชนิดที่อยู่ในช่วง pre-clinical และมีวัคซีน 8 ชนิดที่อยู่ในขั้นตอน
การทดสอบในมนุษย์ ได้แก่ mRNA vaccine ของสหรัฐอเมริกาและเยอรมันนี,
DNA vaccine ของสหรัฐอเมริกา, adeno5 ของจีน,
chimp adeno ของอังกฤษร่วมกับ seum institute ของอินเดีย
และ activated alum adjuvant whole virion อีก 2 ยี่ห้อของประเทศจีน

-

ประเทศไทยก็มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้เช่นกัน
mRNA vaccine มี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่งชาติ (สวทช)
DNA vaccine มี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวทช และ Bionet asia

Subunit vaccine มี มหาวิทยาลัยมหิดล ใบหญ้าไบโอฟาร์ม คณะเภสัชศาสตร์จุฬาฯ
Inactivated vaccine มีศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีนของมหิดล สวทช และองค์การเภสัชกรรม
Virus Like Particles vaccine มีแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และ สวทช
Viral vector vaccine มี สวทช

ทั้งหมดก็อยู่แค่ในระดับงานวิจัย ถึง pre-cinlical
ก็ไม่รู้ว่าสุดท้ายจะเป็นอย่างไร แต่น่าจะไปได้นะ เพราะเดี๋ยวนี้เราก็พัฒนาไปมาก
ระดับนโยบายก็สนใจ อาจจะเป็นไปได้ที่เราจะมีวัคซีน made in Thailand ก็ได้
แต่กว่าจะถึงวันนั้นน โรคนี้จะหายสาบสูญไปก่อนหรือเปล่าก็ไม่รู้



Create Date : 03 กรกฎาคม 2563
Last Update : 3 กรกฎาคม 2563 12:54:05 น. 2 comments
Counter : 1135 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณhaiku, คุณnewyorknurse


 
วันนี้ออกแนววิชาการแต่อ่านเพลินค่ะ

ดีที่เว้นวรรค ย่อหน้าเป็นช่วง ๆ ทำให้อ่านง่าย (ตัวหนังสือเล็กไปนิด แต่พอไหวค่ะ)


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 3 กรกฎาคม 2563 เวลา:13:18:11 น.  

 
คอยอยู่ค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 5 กรกฎาคม 2563 เวลา:15:58:58 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]




[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]