ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
VLAN ตอนที่ 1



ก่อนที่ท่านจะอ่านเอกสารนี้ ท่านควรจะพอมีความรู้เรื่อง Broadcast Domain มาบ้างนะครับ

สำหรับการท่านที่ต้องการรู้ว่า Switch เรียนรู้ MAC address ได้อย่างไร ท่านสามารถเข้าไปดูได้ตาม link ข้างล่างนี้ครับ และให้ดูที่ VDO หัวข้อ 
Vol 6: Switch ทำงาน และเรียนรู้ MAC address อย่างไร? 
Vol 7: Switch สร้าง MAC table ได้อย่างไร (เป็นภาคต่อจาก Vol 6) 
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=31-05-2014&group=8&gblog=3

VLAN เป็น feature ที่ถูกเพิ่มเข้ามาใน switch ที่สามารถถูก managed ได้ หรือที่เราเรียกกันว่า managed switch  

ประโยชน์ของ VLAN โดยหลักๆ แล้ว
มันเกิดขึ้นมาเพื่อแบ่ง หรือแยก Broadcast Domain โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การแบ่ง Broadcast Domain ใน Switch ตัวหนึ่งๆ


บางท่านที่ไม่เคยศึกษาเรื่อง Broadcast Domain ก็อาจจะไม่เข้าใจว่า Broadcast Domain คืออะไร ดังนั้น ผมจะยกตัวอย่างกรณีศึกษา หรือ use case ให้ ดังนี้ครับ

กรณีศึกษา อย่างเช่น เรามี swich อยู่ตัวนึง ซึ่งมี port 48 port
- วันแรกของการใช้งาน: เรามี PC แค่ 20 เครื่อง สำหรับแผนก A อยู่ในวง subnet 10.1.1.0/24 ซึ่งต่ออยู่บน switch 48 port ตัวนี้ และยังเหลือ port ที่ยังไม่ได้ใช้งานอีก 28 port
- 3 เดือนผ่านไป: เรามีแผนกใหม่ (แผนก B) เกิดขึ้นมา มี PC อีก 10 เครื่องที่อยู่ในวง subnet 172.16.1.02/4 

คำถามคือ: หากเราต้องการ switch สักตัวมาใช้กับ PC ใหม่ 10 เครื่อง สำหรับแผมก B (subnet 172.16.1.0/24) เราจะมีวิธีการอย่างไรบ้าง?

วิธีที่ 1:
ซื้อ switch ตัวใหม่มาใช้กับแผนก B (subnet 172.16.1.0/24)
(ไม่ได้ใช้ switch 48 port ตัวเก่า ที่เหลือ port อีกตั้ง 28 port)

วิธีที่ 2: คือ พยายามเอา switch 48 port ตัวเดิม มาใช้งานกับแผนกใหม่ (แผนก B) โดยเอา port ที่เหลือ (เหลือ 28 port) มาใช้กับ แผนก B (subnet 172.16.1.0/24)

จากวิธีที่ 1 แล้ว เราจะเห็นได้ว่าเป็นการแบ่ง Broadcast Domain อย่างชัดเจน เพราะเราใช้ Hardware Swtich คนละตัว ดังนั้นหากมี PC ในแผนก A ที่อยู่ switch 48 port ปล่อย traffic แบบ broadcast ออกมาแล้ว,
traffic นั้นย่อมจะไม่ไปรบกวนกับ PC อีก 10 เครื่องของ แผนก B ที่อยู่บน switch ตัวใหม่
แต่วิธีที่ 1 นี้ ถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรแบบไม่คุ้มค่า

แต่สำหรับวิธีที่ 2 แล้ว ถ้ามองในมุมของการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าแล้ว ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ทว่าหาก PC เครื่องใด เครื่องหนึ่งใน 20 เครื่อง ของแผนก A ปล่อย traffic แบบ broadcast ออกมาแล้ว,
traffic นั้นย่อมจะไปรบกวนกับ PC อีก 10 เครื่องของ แผนก B ที่อยู่บน switch 48 port ตัวเดียวกัน

ถึงตรงนี้ จึงเกิดคำถามว่า:
จะทำอย่างไร ให้เราสามารถใช้ ทรัพยากร switch 48 port ให้คุ้มค่า ในขณะที่เราสามารถแยก Broadcast Domain ระหว่าง แผนก A และแผนก B ไม่ให้ broadcast traffic มารบกวนกันได้?
(หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การนำข้อดีของวิธีที่ 1 กับวิธีที่ 2 มารวมกันนั่นเอง)

คำตอบ คือ การใช้ VLAN 

สำหรับตอนที่ 1 ขอจบแต่เพียงเท่านั้นครับ สำหรับ VLAN ตอนที่ 2 ตาม link นี้ครับ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=11-02-2018&group=3&gblog=62

โก้-ชัยวัฒน์







Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2561
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2561 17:03:19 น. 0 comments
Counter : 15503 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com