เรื่องราวหลากหลายเทคโนโลยีน่ารู้เพื่อคุณ
Group Blog
 
All Blogs
 

สัญญาณสิบประการที่บอกว่าเราอาจไม่เหมาะกับงานด้านไอที

คนที่ทำงานด้านไอทีลองไปเช็คตัวเองดูครับว่ามีกี่ข้อ





 

Create Date : 30 ธันวาคม 2555    
Last Update : 30 ธันวาคม 2555 22:43:24 น.
Counter : 1136 Pageviews.  

สรุปข่าวงานวิจัยด้านไอที 29/12/2555

เขียนข่าวไว้ที่อีกบล็อกหนึ่งครับใครสนใจเชิญอ่านได้ 

//itnews.intakosum.net/2012/12/29122555.html




 

Create Date : 30 ธันวาคม 2555    
Last Update : 30 ธันวาคม 2555 22:39:36 น.
Counter : 1309 Pageviews.  

เบื้องหลัง Siri ของ Apple หรือจะคืองานวิจัยของนักวิจัยไทย?

เขียนไว้ที่อีกบล็อกหนึ่งและเอามาแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ที่นี่อ่านด้วยครับ //sarunblog.intakosum.net/2012/10/siri-apple.html




 

Create Date : 27 ตุลาคม 2555    
Last Update : 27 ตุลาคม 2555 12:46:55 น.
Counter : 2035 Pageviews.  

เครื่องโยนข้าวโพดคั่วเข้าปาก???

หลังจากไม่ได้อั๊พบล็อกนี้มาซะนาน วันศุกร์รถติด ๆ แบบนี้กลับถึงบ้านแล้วมาอ่านเรื่องเบา ๆ คลายเครียดกันดีกว่าครับ พอดีอ่านเจอในข่าวจาก C|NET พวกเราคงเคยกินข้าวโพดคั่ว (popcorn) กันใช่ไหมครับ ส่วนใหญ่เวลากินก็ใช้มือหยิบขึ้นมาเอาเข้าปาก  หรือบางคนอาจพิสดารกว่านั้นเล็กน้อยคือโยนขึ้นไปแล้วอ้าปากรับ แต่ยังไงเราก็ต้องใช้มือหยิบมันขึ้นมาใช่ไหมครับ คราวนี้ถ้ามือเราไม่ว่างล่ะ หรือถ้ามือเราสกปรกอยู่ล่ะ

มีบริษัทหนึ่งเล็งเห็นปัญหานี้ครับและคิดวิธีแก้ด้วยการสร้างเครื่องโยนข้าวโพดคั่วเข้าปากอัตโนมัติ เขาเรียกเครื่องนี้ว่า "Popinator" หลักการทำงานของมันก็คือที่เครื่องจะมีไมโครโฟนและเซ็นเซอร์อยู่ พอผู้ใช้พูดคำว่า "pop" มันก็จะคำนวณทิศทางและระยะทางระหว่างปากเราและตัวเครื่องเพื่อโยนข้าวโพดคั่วมาลงในปากเรา ลองดูวิีดีโอการทำงานของมันกันครับ


ไม่ว่าเครื่องนี้จะผลิตออกมาจำหน่ายจริงหรือไม่หรือแม้ดูว่ามันจะไร้สาระ  แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นอยู่ในของชิ้นนี้ก็คือคนที่ประดิษฐ์นี่จะต้องใช้หลักการคำนวณและหลักการทางฟิสิกส์เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะคำนวณระยะทางระหว่างปากกับตัวเครื่องแล้ว เราต้องไม่ลืมว่าข้าวโพดคั่วแต่ละชิ้นอาจมีขนาดและนำหนักต่างกัน ดังนั้นการที่เจ้าเครื่องโยนมาให้อยู่ในระยะที่คนรับจะขยับตัวเอาปากไปรับได้นี่ต้องถือว่าคำนวณได้ดีมาก


พวกเราดูแล้วเป็นไงบ้างครับอยากได้มาใช้สักเครื่องไหม ผมลองไล่ดูในคอมเมนต์จาก YouTube หลายคนก็ชอบบอกว่าคงทำให้การกินข้าวโพดคั่วสนุกสนานมากขึ้น บางคนก็ไม่แน่ใจว่านี่เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า บางคนก็บอกว่าไร้สาระ และยังบอกว่ามีแต่พวกอเมริกันเท่านั้นแหละที่จะผลาญทรัพยากรไปทำอะไรแบบนี้ แต่ผมชอบแนวคิดของคนที่เขียนข่าวนี้นะครับ เขาบอกว่าถ้าเปลี่ยนให้มันรับคำสั่งจากเสียงเห่าแทน ไอ้เจ้าเครื่องนี้น่าจะเป็นของเล่นชิ้นโปรดของน้องหมาแน่ ๆ หรือเราคิดว่าควรจะปรับมันให้ไปใช้กับอะไรได้อีกดีครับ...

ที่มา:  C|NET









 

Create Date : 21 กันยายน 2555    
Last Update : 21 กันยายน 2555 19:33:51 น.
Counter : 1676 Pageviews.  

วิศวกรซอฟต์แวร์:อาชีพยอดเยี่ยมประจำปี 2012

เมื่อวานนี้ผมได้โพสต์ลิงก์นี้ Software Engineer: 2012's Top Job ลงในเฟซบุ๊คของผม ซึ่งโดยสรุปก็คือจากการสำรวจของ careercast พบว่าอาชีพที่ยอดเยี่ยมที่สุดประจำปี 2012 คือวิศวกรซอฟต์แวร์ ในวันนี้ผมอยากจะมาขยายความหน่อยครับสำหรับคนที่อาจไม่อยากอ่านรายละเอียดเป็นภาษาอังกฤษเอง

การจัดอันดับนี้เขาไม่ได้วัดจากรายได้สูงสุดนะครับ แต่เขาวัดจากปัจจัย 5 ประการด้วยกัน คือด้านกายภาพ สภาพแวดล้อมการทำงาน รายได้ ความเครียดและแนวโน้มการได้งาน อีกประการที่อยากจะนำมาขยายความก็คือภาระหน้าที่ของวิศวกรซอฟต์แวร์จากการสำรวจนี้ครับ หน้าที่ของตำแหน่งนี้คือวิจัย ออกแบบ พัฒนาและดูแลระบบซอฟต์แวร์ตลอดจนฮาร์ดแวร์ สำหรับงานด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ   รายได้เฉลี่ยต่อปีของอาชีพนี้อยู่ที่ 88, 142 เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยก็ตกราว 2,732,402 บาท ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าอาชีพเภสัชกรที่อยู่ที่ 112,070 เหรียญสหรัฐ (3,474,170 บาท) แต่อาชีพเภสัชกรอยู่ถึงอันดับที่ 14 ครับ

คราวนี้มาดูว่าทำไมอาชีพวิศวกรซอฟต์แวร์ถึงได้การจัดอันดับยอดเยี่ยมเป็นอันดับที่หนึ่ง ก็มีเหตุผลหลัก ๆ อยู่ห้าประการครับ

  1. เวลาที่ยืดหยุ่นมาก วิศวกรซอฟต์แวร์สามารถเลือกเวลาทำงานได้ด้วยตัวเอง หรือแม้แต่อยากจะทำงานอยู่ที่บ้านก็ได้
  2. ได้ร่วมงานกับคนเก่ง ตำแหน่งนี้ต้องทำงานแบบลองผิดลองถูก ซึ่งก็จะดึงดูดพวกที่ชอบแก้ปัญหาแบบมีหลักการ จากการสำรวจมองว่าคนพวกนี้คือคนเก่ง และคนที่มาทำงานตำแหน่งนี้อาจไม่จำเป็นต้องจบด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์มาโดยตรง ก็คือเปิดโอกาสให้คนเก่ง ๆ จากหลากหลายสาขาเข้ามาร่วมกันทำงาน
  3. มีสภาพแวดล้อมการทำงานแบบทำงานเป็นทีม ตำแหน่งนี้จะต้องช่วยกันทำงานเป็นทีมเพื่อช่วยให้โครงการเสร็จในเวลาที่กำหนด ในข่าวนี้เขาเปรียบเทียบกับตำแหน่งนักเขียนโปรแกรมว่ามักจะทำงานคนเดียว
  4. มีโอกาสที่จะคิดสร้างสรรค์ อย่างที่บอกในข้อสองคือตำแหน่งนี้ต้องทดลองและแก้ปัญหา ซึ่งปัญหานั้นอาจไม่สามารถค้นหาคำตอบได้ง่าย ๆ จาก Google 
  5. มีอิสระที่จะทำพลาด จากข้อสองอีกนั่นแหละครับคือทดลองวิธีแก้ปัญหาที่คิดได้ ถ้ามันไม่สำเร็จก็กลับไปคิดใหม่ 

  6. อย่างไรก็ตามนี่คือการสำรวจในต่างประเทศนะครับ ผมไม่แน่ใจว่าในเมืองไทยเราเป็นอย่างนี้หรือเปล่า  ใครที่ทำงานในตำแหน่งนี้อยู่อยากจะแสดงความคิดเห็นก็ยินดีครับ


    ที่มา: Information Week




     

    Create Date : 18 พฤษภาคม 2555    
    Last Update : 18 พฤษภาคม 2555 20:54:09 น.
    Counter : 1054 Pageviews.  

    1  2  

    motokop
    Location :


    [Profile ทั้งหมด]

    ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    สวัสดีครับ สำหรับบล็อกนี้ผมก็ตั้งใจจะให้เป็นข่าวสารที่น่าสนใจทางคอมพิวเตอร์ ทั้งข้อมูลด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจ การพัฒนาโปรแกรม และงานวิจัยต่าง ๆ อาจแทรกไปด้วยเรื่องอื่นๆ บ้าง ตามแต่อารมณ์และสถานการณ์ครับ ยินดีรับความคิดเห็นของทุกคนครับ
    Visit InfoServe for backgrounds.

    เพื่อนที่กำลังชมบล็อก:

    ผู้ชมทั้งหมด:

    Friends' blogs
    [Add motokop's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.