bloggang.com mainmenu search




แดดบ้านเรานับวันยิ่งร้อนแรงขึ้นทุกวัน ร้อนจนบางครั้งก็แอบคิดว่าประเทศไทยนี่ห่างจากดวงอาทิตย์แค่คืบหรือยังไง ทำไมถึงได้ร้อนขนาดนี้ ? ก็บ่นกันไปเรื่อย แต่เราก็ไม่สามารถดับดวงอาทิตย์ได้ใช่ไหมล่ะ ดังนั้นเราจึงต้องมองหาวัสดุอย่าเช่น ฉนวนกันความร้อน ที่จะสามารถป้องกันบ้านจากความร้อนระอุได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ฉนวนกันความร้อนคืออะไร ?

ฉนวนกันความร้อน หากจะพูดกันแบบง่ายๆเลยก็คือวัสดุที่ใช้ติดตั้งภายในตัวบ้าน เพื่อป้องกันความร้อนไม่ให้ผ่านเข้าสู้ภายในได้ เพื่อรักษาอุณภูมิให้ตัวบ้านเย็นสบายแบบไม่ต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศ โดยฉนวนกันความร้อนสามาถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักได้แก่


ฉนวนที่ดูดซับความร้อน

ฉนวนกันความร้อนแบบดูดซับความร้อน ได้แก่ ระบบพ่นเยื่อกระดาษ , ฉนวน P.E. POLYEFHYLENE FOAM , ฉนวนกันความร้อนแบบใยแก้ว , ระบบโฟม PU เป็นฉนวนที่จะมีฟองอากาศเล็กๆอยู่ภายในจำนวนมาก โดยฟองอากาศภายในนั้นจะทำหน้าที่ดักจับความร้อนจากภายนอก ไม่ให้ลอดผ่านเข้าสู่ภายในตัวบ้าน และยังมีคุณสมบัติดูดซับเสียงได้เป็นอย่างดีอีกด้วยค่ะ


ฉนวนที่สะท้อนรังสีความร้อน

ฉนวนกันความร้อนแบบสะท้อนรังสี อาทิเช่น ฉนวน AIR BUBBLE และ ฉนวน ALUMINIUM FOIL มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนให้ออกไปจากตัวบ้าน ไม่ได้กักเก็บความร้อนไว้กับตัวแบบฉนวนกันความร้อนแบบดูดซับ ทำให้ความร้อนไม่สามารถเข้าสู่ตัวบ้านได้ ปรับอุณภูมิบ้านให้เย็นสบาย ช่วยประหยัดพลังงานในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อทำความเย็น


ลักษณะของฉนวนกันความร้อนที่ดี

ฉนวนกันความร้อนที่ดีนั้น จะต้องมีคุณบัติดูดซับหรือสะท้อนความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำการติดตั้งได้ง่ายและเหมาะสมกับลักษณะของตัวบ้าน ไม่แปลงสภาพเมื่อโดนความร้อนเป็นระยะเวลานาน และที่สำคัญจะต้องกันน้ำและความชื้นได้ดีอีกด้วยค่ะ


เลือกฉนวนกันความร้อนคุณภาพ ราคาเหมาะสม

หากคุณต้องการเลือกฉนวนกันความร้อนเพื่อนำมาใช้ปกป้องตัวบ้าน ปรับอุณภูมิภายในบ้านให้เย็นสบาย ในราคาที่ไม่แพงมากนัก โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเลือกฉนวนกันความร้อน ที่สามารถติดตั้งไว้บนฝ้าเพดาน หรือหลังคาบ้าน เพราะเป็นส่วนที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างของตัวบ้านมากนัก


ฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดานนั้น สามารถทำการติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว ฉนวนกันความร้อนยิ่งมีความหนา ก็ยิ่งสามารถกันความร้อนได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าหากคุณมีงบประมาณที่เพียงพอ คุณควรติดตั้งทั้งฉนวนกันความร้อนแบบดูดซับความร้อน และ สะท้อนความร้อนควบคู่กัน เพื่อปกป้องตัวบ้านจากความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Create Date :18 พฤศจิกายน 2559 Last Update :18 พฤศจิกายน 2559 17:17:58 น. Counter : 4598 Pageviews. Comments :0