อักษรภาพ ประดิษฐ์เอง ตำนานกำเนิดสรรพสิ่งแต่งเอง และอะไรๆ ที่ไม่น่าเชื่อแต่ก็ทำได้เองนะคร้าบ
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
23 กันยายน 2553

นิทานธรรมะ ตำนานกำเนิดแม่ธาตุทั้งสี่

นิทานธรรมะ ตำนานกำเนิดแม่ธาตุทั้งสี่

แม่ธาตุทั้งสี่ ได้แก่ แม่ธรณี, แม่คงคา, แม่วาโย, แม่เตโช ผู้ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของธาตุทั้งสี่บนโลกให้สมดุล มีหน้าที่เป็นแม่ของแผ่นดิน (รัฐ) หรือเทพมารดรแห่งแคว้นนั้น ทั้งสี่องค์มีการบำเพ็ญบารมีจนกำเนิดเป็นแม่ธาตุทั้งสี่แตกต่างกัน ดังจะอธิบายต่อไปนี้

๑) แม่ธรณี
แม่ธรณีคือ ชาวพรหมโลกฝ่ายอิตถีเพศ (ฝ่ายที่ต้องมาเกิดเป็นมนุษย์เพศหญิงแต่เมื่ออยู่ในพรหมโลกจะมีแต่เพศพรหม คือ มหาบุรุษ) ที่บำเพ็ญบารมีในแบบ “แม่กาลี” มาก่อน จากนั้นได้บำเพ็ญบารมีเป็น “มารดาเลี้ยง” ของพระนิตยโพธิสัตว์องค์ใดองค์หนึ่ง จนถึงที่สุดแล้วไม่อาจควบคุมพระนิตยโพธิสัตว์ได้ ก็ตายด้วย “ธาตุดิน” จิตวิญญาณมีความยึดมั่นผูกพันกับแผ่นดินและพระนิตยโพธิสัตว์องค์นั้นๆ มาก จึงไม่กลับคืนสู่พรหมโลกได้จึงต้องประจำอยู่ภาคพื้นดิน ในฐานะ “แม่ธรณี” คอยดูแลธาตุดินบนโลกมนุษย์ จนกว่าพระนิตยโพธิสัตว์องค์นั้นๆ จะสำเร็จธรรมขั้นสูงแล้วโปรดจนหลุดพ้นจากภาวะยึดมั่นนั้นๆ ได้ อนึ่ง แม่ธรณีมีกิเลสน้อยแต่เพราะมีความโง่ทึบมาก มีอวิชชามาก จึงยังไม่อาจหลุดพ้น
๒) แม่คงคา
แม่คงคาคือ ชาวพรหมโลกที่บำเพ็ญบารมีมาคล้ายกับพระแม่ธรณีต่างกันที่ เมื่อบำเพ็ญบารมีในแบบแม่กาลีมาก่อนด้วยการเป็นแม่เลี้ยงของพระนิตยโพธิสัตว์แล้ว ถึงที่สุดจึงตายด้วย “ธาตุน้ำ” เช่น ตกน้ำตาย หรือโดดน้ำฆ่าตัวตาย จิตวิญญาณมีความยึดมั่นใน แบบเดียวกัน ต้องรอจนกว่าพระนิตยโพธิสัตว์ผู้เป็นลูกเลี้ยงจะสำเร็จธรรมขั้นสูง แล้วมาโปรดจนหลุดพ้นความยึดมั่นถือมั่นในภาวะนั้นๆ ได้ อนึ่ง แม่คงคาจะมีปัญญามากกว่าแม่ธรณี (แม่ธรณีมีปัญญาทึบ) มีใจที่เยือกเย็นกว่า แต่เมื่อรักใคร่ผู้ใดแล้วจะหลงได้ง่าย ในวรรณคดีไทยเรื่อง “แม่ปลาบู่ทอง” นั้น แม่ปลาบู่ทอง ก็คือ ผู้บำเพ็ญเป็นแม่คงคานั่นเอง
๓) แม่วาโย
แม่วาโยคือแม่ธาตุลมผู้บำเพ็ญบารมีมาในลักษณะเดียวกับแม่ธาตุทั้งสองข้างต้น ต่างกันเพียงเมื่อยามตาย จะตายด้วย “ธาตุลม” เท่านั้น อนึ่ง แม่วาโยมีลักษณะไม่ยึดมั่นตัวตนของตน ดูเปลือกนอกเหมือนล่องลอย, ไร้ลักษณ์, ไม่มีจุดยืนแต่ยังไม่หลุดพ้น เนื่องจากยังยึดมั่นความเป็นแม่อยู่นั่นเอง แม่วาโยจะปรับตัวพลิกแพลงและแปรเปลี่ยนได้ง่ายกว่าแม่คงคาเสียอีก แต่จะมีความโลภมากกว่าแม่องค์อื่นๆ คือ ได้แล้วก็ไม่พอ ยังอยากได้อีกเรื่อยๆ นอกจากนี้ แม่วาโยยังมีพลังอำนาจตรงข้ามกับแม่ธรณี ทำกิจตรงกันข้ามกันด้วย
๔) แม่เตโช
แม่เตโชคือแม่ธาตุไฟผู้บำเพ็ญบารมีมาในลักษณะเดียวกับแม่ธาตุทั้งสองข้างต้น ต่างกันเพียงเมื่อยามตายจะตายด้วย “ธาตุไฟ” เท่านั้น อนึ่ง แม่เตโชโดดเด่นด้านความมีปัญญาสว่างไสว แต่เมื่อมีความโกรธจะมีอารมณ์ดุร้ายรุนแรงมากกว่าแม่ธาตุองค์อื่นๆ บางครั้งก็ทำลายล้างเข่นฆ่าสัตว์ด้วยไฟมากมาย ดังนั้น แม่เตโชจึงมีความโกรธมากกว่ากิเลสอื่น จวบจนกว่าพระนิตยโพธิสัตว์ผู้เป็นลูกเลี้ยงได้บรรลุธรรมขั้นสูง จึงจะสามารถโปรดได้

อนึ่ง ในบรรดาแม่ธาตุทั้งสี่องค์นี้ มีหน้าที่เดียวกันคือ เป็นแม่เลี้ยงหนุนพระนิตยโพธิสัตว์ได้เป็น “พระเจ้าจักรพรรดิ” ก่อตั้งราชวงศ์หรือสร้างอาณาจักรใหม่ได้จนสำเร็จ ด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป แผ่นดินหรือรัฐทุกรัฐจะก่อเกิดและมั่นคงขึ้นมาได้ จำต้องมีแม่ธาตุเหล่านี้ มาบำเพ็ญบารมีร่วมกับพระนิตยโพธิสัตว์ ปกติ แม่ธรณีหนุนเมื่อใด พระราชาในประเทศนั้นจะเกิดได้ด้วยผลบุญ, แม่คงคาหนุนเมื่อใด พระราชาในประเทศนั้นจะเกิดได้ด้วยกาม หรือการแต่งงาน, แม่วาโยหนุนเมื่อใด พระราชาในประเทศนั้นจะเกิดได้ด้วยอาศัยความโลภหรือการแลกเปลี่ยน, แม่เตโชหนุนเมื่อใด พระราชาประเทศนั้นจะเกิดได้ด้วยการทำสงคราม โดยผู้มีบุญบารมีจะได้เกิดมาเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น จะมีแม่ธาตุทั้งสี่นั้น คอยมาหนุนอยู่ตลอด ต่อให้โปรดแม่องค์หนึ่งได้ ก็จะมีแม่องค์ต่อไป ที่กำลังกล้าแข็งกว่ามาคอยทำหน้าที่ต่อไปเป็นลำดับขั้นคือ จากแม่ธรณี, ไปแม่คงคา, ไปแม่วาโย, ไปแม่เตโช เมื่อทำกิจถึงที่สุดแล้วแม่เลี้ยงนี้ก็จะหมดกิจแล้วพร้อมหลุดพ้นไปสู่ภพภูมิที่ดีกว่าต่อไป




 

Create Date : 23 กันยายน 2553
1 comments
Last Update : 23 กันยายน 2553 9:16:58 น.
Counter : 609 Pageviews.

 

ส่วนแม่ทุรคานั้น ก็กำเนิดจากการบำเพ็ญเป็นแม่อุมาก่อน
แล้วได้สามีเจ้าชู้ ขี่เสือ (เสือผู้หญิง) กำราบสามีได้ จึง
บำเพ็ญบารมีสำเร็จเป็นแม่ทุรคา เจริญขึ้น ไม่เสื่อมลง

 

โดย: ฉันนะ (ฉันนะ ) 23 กันยายน 2553 9:18:19 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ฉันนะ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add ฉันนะ's blog to your web]