อักษรภาพ ประดิษฐ์เอง ตำนานกำเนิดสรรพสิ่งแต่งเอง และอะไรๆ ที่ไม่น่าเชื่อแต่ก็ทำได้เองนะคร้าบ
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
11 ตุลาคม 2553

นิทานธรรมะ ตำนานกำเนิดผ้าจีวร

นิทานธรรมะ ตำนานกำเนิดผ้าจีวร

ผ้าจีวรที่พระสงฆ์ใช้ครองกันอยู่ในปัจจุบันมีที่มาจากการแต่งกายดั้งเดิมตามตระกูลของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นตระกูลกษัตริย์ไม่ใช่ตระกูลพราหมณ์ ซึ่งในสมัยโบราณกษัตริย์แถบสุวรรณภูมิจะทรงเครื่องแต่งกายต่างจากพราหมณ์ คือ จะทรงสบงเหมือนพระและไม่ใส่เสื้อ (สมัยโบราณไม่นิยมใส่เสื้อเพราะอากาศร้อน) ดังนั้น พระสงฆ์ยุคแรกไม่ได้ใส่อังสะ แต่สมัยหลังพระสงฆ์ได้นำอังสะซึ่งเป็น “เสื้อใน” ของพระภิกษุณี มาปรับใช้ด้วย ในขณะที่พราหมณ์จะนุ่งโจงกระเบนพร้อมพาดสไบหรือผ้าผืนหนึ่งเฉวียงบ่า ดังนั้น คนไทยสมัย ก่อนคนไหนนุ่งโจงกระเบนและนิยมพาดสไบเฉวียงบ่า คือ คนที่มาจากตระกูลพราหมณ์นั่นเอง ส่วนคนไหนที่ใส่ “ผ้าถุง” ใช้เข็มขัดรัด คนนั้นจะมีเชื้อสายกษัตริย์หรือขุนนางมาก่อน อนึ่ง การไม่ใส่เสื้อนี้ได้รับการยอมรับกันในดินแดนสุวรรณภูมิว่าสุภาพแล้ว แต่ในที่อินเดีย เขาไม่นิยมคนที่ไม่ห่มดองคลุมร่างกายท่อนบนนอกจากจะเป็นพราหมณ์ ซึ่งจะแตกต่างจากพราหมณ์ในสุวรรณภูมิคือ พราหมณ์อินเดียจะไม่นุ่งเสื้อผ้า (เป็นชีเปลือย) ดังนั้น เราจะเห็นว่าการแต่งงานของพราหมณ์แบบนุ่งโจงกระเบนและพาดสไบเฉวียงบ่าจะไม่มีปรากฏในอินเดียเลย คนอินเดียแต่งกายสองแบบ คือ กษัตริย์จะห่มผ้าสาหรีก็ได้ (แต่กษัตริย์ไทย ไม่มีการห่มคลุมผ้าสาหรี) ส่วนพราหมณ์อินเดียจะไม่นุ่งอะไรเลย ไม่มีพราหมณ์อินเดียที่แต่งกายด้วยโจงกระเบนพร้อมพาดสไบเฉวียงบ่าเลย อนึ่ง ในการพาดผ้าเฉวียงบ่านี่เอง เป็นที่มาของอังสะซึ่งจะมีลักษณะตัดเฉียงพาดบ่า อันเป็นลักษณะของพราหมณ์ในดินแดนสุวรรณภูมิ ไม่ใช่พราหมณ์สายอินเดีย นอกจากนี้ วัฒนธรรมการห่มคลุมด้วย “สาหรี” นี้ ไม่ใช่วัฒนธรรมดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า สังเกตได้จาก เมื่อครั้งที่ให้พระอานนท์ออกแบบจีวร ตอนแรกพระอานนท์ทำไม่ได้ ทำไม่เป็น พระพุทธเจ้าจึงพาไปดูผืนนา พระอานนท์จึงออกแบบจีวรด้วยการสังเกตผืนนาที่ต่อเนื่องกันนั่นเอง ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า “จีวร” นี้ไม่ใช่วัฒนธรรมเดิมของพระพุทธเจ้า เป็นวัฒนธรรมของอินเดีย ซึ่งคือ “การคลุมกายด้วยผ้าสาหรี” นั่นเองเพื่อให้การเผยแพร่ธรรมของพระพุทธเจ้าจากดินแดน แถบสุวรรณภูมิเข้าสู่แถบอินเดียเป็นไปด้วยดี ได้รับการยอมรับโดยง่าย ไม่ดูแตกต่างกันเกินไป ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าพระพุทธเจ้าเกิดในแถบสุวรรณภูมิ แล้วไปศึกษากับพราหมณ์แถบอินเดียในลัทธิชีเปลือย เมื่อตรัสรู้แล้วก็ทรงนุ่งห่มให้แตกต่างจากพราหมณ์เพื่อให้รู้ว่าท่านแตกต่างจากพราหมณ์ มิใช่เดินตามพราหมณ์ดังเก่าก่อนแต่เพราะความเคยชินในวัฒนธรรมเดิม (สุวรรณภูมิ) ท่านจึงชักผ้าบังสุกุลจากศพมานุ่งห่มแบบกษัตริย์สุวรรณภูมิ คือ ตอนแรกมีแต่สบง ไม่มีอังสะและจีวร ต่อมาจึงให้พระอานนท์ออกแบบจีวรเพื่อห่มจะได้คล้ายคลึงกับเครื่องแต่งกายของกษัตริย์ ในแถบอินเดีย เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากกษัตริย์ได้โดยง่าย (ปรับตามวัฒนธรรมการแต่งกายของอินเดีย) นั่นเอง สรุปเป็นดังนี้

๑) สบง
มาจากสบงหรือผ้านุ่งในตระกูลกษัตริย์แถบสุวรรณภูมิ (ต้นตระกูลของพระพุทธเจ้า) ซึ่งคนไทยในปัจจุบันก็ยังนุ่งกันคล้ายการนุ่งห่มสงบนี้ ก็คือ “ผ้าถุง” หรือ “ผ้านุ่ง” นั่นเอง
๒) อังสะ
มาจากผ้าสไบพาดเฉวียงบ่าของพราหมณ์ในแถบสุวรรณภูมิ ซึ่งยังปรากฏให้เห็นคนไทยในปัจจุบันที่นิยมพาดสไบเฉวียงบ่าไปทำบุญที่วัดอยู่เสมอ (แต่คนอินเดียไม่พาดเฉวียง)
๓) จีวร
มาจากการห่มคลุมผ้า “สาหรี” ของชาวอินเดียเชื้อสายกษัตริย์ ซึ่งตอนแรกพระอานนท์ผู้ ออกแบบทำไม่เป็นเพราะไม่ใช่เครื่องแต่งกายในตระกูลกษัตริย์สุวรรณภูมิของตนนั่นเอง

อนึ่ง การห่มจีวรของพระสงฆ์มีสองแบบด้วยกันคือ แบบห่มคลุมกับแบบพับเฉวียงบ่า ซึ่งแบบห่มคลุมนั้นเป็นแบบที่ปรับตามวัฒนธรรมอินเดียโบราณ (คล้ายการห่มผ้าสาหรี) แต่แบบพับห่มเฉวียงบ่า (ซึ่งจะมีผ้ารัดอกด้วย) เป็นการนุ่งห่มแบบพราหมณ์ในสุวรรณภูมิที่นิยมพาดผ้าเฉวียงบ่า ซึ่งในสมัยนั้นพระสงฆ์บางรูปก็ไม่ถนัดการห่มแบบสุวรรณภูมิ เช่น พระมหากัจจานะที่มักห่มจีวรหลุดลุ่ยเพราะเป็นคนอินเดีย (จึงแตกฉานภาษาอินเดีย)



Create Date : 11 ตุลาคม 2553
Last Update : 11 ตุลาคม 2553 9:37:53 น. 0 comments
Counter : 603 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ฉันนะ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add ฉันนะ's blog to your web]