อักษรภาพ ประดิษฐ์เอง ตำนานกำเนิดสรรพสิ่งแต่งเอง และอะไรๆ ที่ไม่น่าเชื่อแต่ก็ทำได้เองนะคร้าบ
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
16 กันยายน 2553

นิทานธรรมะ ตำนานกำเนิดเสาหลักเมืองคู่

นิทานธรรมะ ตำนานกำเนิดเสาหลักเมืองคู่

ปกติ เรามักเห็นเสาหลักเมืองมีหลักเดียว แต่เสาหลักเมืองของกรุงเทพฯ เป็นเสาหลักคู่ ในสมัยรัชกาลที่หนึ่ง ได้สร้างเสาหลักเมืองหนึ่งเสา และในสมัยรัชกาลที่สี่ได้สร้างเสาคู่กันขึ้นอีกหนึ่งเสา โดยมี “เทวรูป” องค์เล็กองค์หนึ่งอยู่ที่ยอดหัวเสาด้วย ดังจะเล่าต่อไป

ทำไมต้องมีสองเสา? (หมิง = ตะวัน + จันทรา)
เสาเอกเสาเดียวไม่ได้หรือ หรือถ้าต้องมีมากกว่าหนึ่งเสา ทำไมไม่ใช่สามเสา ทำไมต้องสองเสา คำตอบน่าจะหมายถึง “ทางโลก และ ทางธรรม” ดุจโลกเรา ก็มีพระอาทิตย์และพระจันทร์, กลางคืนและกลางวัน, ทางโลกและทางธรรม สิ่งตรงข้ามคู่กันอยู่ ดังนี้ การมีเสาหลักเมืองคู่จึงน่าจะหมายถึง ความมั่นคงเป็นหลักทางโลก หนึ่ง และความมั่นคงเป็นหลักทางธรรม อีกหนึ่ง รวมเป็นสองเสาดังกล่าว อนึ่ง ทางโลกกับทางธรรมก็อยู่บนโลกเหมือนกัน แต่บางครั้งอาจไปกันไม่ได้ เหมือนพระอาทิตย์กับพระจันทร์ก็ไม่ขึ้นพร้อมกัน ผลัดกันอยู่กลางวันและกลางคืนเท่านั้น (ยกเว้นกรณีพิเศษ) เช่น ถ้าทางโลกเจริญมากก็อาจส่งผลให้เกิดความไม่สงบ, ความวุ่นวาย, สิ่งยั่วยุ, การหลงผิด, อบายมุข ฯลฯ มาก นี่จึงกล่าวว่าทางโลกและทางธรรม ใกล้มากก็กระทบกันมาก จึงจำต้องแยกห่างกันบ้าง เว้นวรรคสักหน่อย เสาหลักเมืองจึงต้องมีสองเสาดังนี้ อนึ่ง หากเมืองกรุงเทพฯ เป็นทางโลกแล้ว ก็ไม่ควรให้ทางธรรมเข้าไปกระจุกตัวอยู่ด้วย เพราะความแออัดจอแจ และการทำสิ่งผิดศีลธรรมมากมายในกรุงเทพฯ นั้น อาจบันดาลให้เทพเจ้าพิโรธ และล่มเมืองก็เป็นได้ ดังที่ได้ปรากฏในบันทึกของชาวอีสานว่าพระพุทธเจ้าทรงไปประทับรอยพระบาทไกลจากเมือง พระราชาทรงถามว่าเพราะเหตุใด ท่านก็ตรัสตอบว่าเนื่องจากรอยพระบาทจะมีเทพทรงฤทธิ์ดูแล ถ้าใกล้เมืองมากเกินไป ความวุ่นวายของเมืองจะทำให้เทพพิโรธและบันดาลให้เมืองล่มจมได้ อนึ่ง การมีเทพเทวดาอยู่ร่วมกับมนุษย์มีข้อดี แต่มนุษย์ก็ต้องเข้าใจเทวดาด้วยว่ามีความต้องการอย่างไร ดังนั้น คนปกติ จึงไม่สร้างศาลในบ้านกัน เพราะในบ้านเป็นสถานที่ส่วนตัวที่ทำอะไรก็ได้ ทั้งดีและไม่ดี ถ้าสร้างศาลในบ้านก็อาจทำสิ่งรบกวนเทวดาได้ เขาจึงเลือกสถานที่ห่างไกลเพื่อสร้างศาลบรรพชนก็ดี ศาลเทพเจ้าก็ดี หรือแม้แต่ปราสาทหินที่บูชาเทพเจ้าก็ดี ยังจะต้องตั้งอยู่บนยอดเขาห่างจากเมือง ดังเช่น ปราสาทหินเขาพระวิหาร เป็นต้น ไม่นิยมสร้างไว้ในบ้านกัน นี่เพราะความเข้าใจถึงความแตกต่างของความเป็นอยู่ของเทพเทวดาและมนุษย์ว่ามีความต้องการที่แตกต่างกันนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ถ้าบ้านใดเป็นพราหมณ์ทั้งบ้าน หรือทั้งตระกูล การมีเทพเจ้าในบ้านก็ไม่แปลก ดังในอดีตที่พราหมณ์ทั้งหลาย ยังมีเทพเจ้าศักดิ์สิทธิในบ้านกัน ทว่า นั่นต้องเป็นผู้เข้าใจเทพเจ้าด้วย แต่มนุษย์ปัจจุบันมีความเข้าใจเทพเทวดาน้อย กรุงเทพฯ จึงเป็นอย่างที่เห็น ความวุ่นวายกำลังรบกวนเทพเทวดาที่ประจำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลเมืองอยู่จำนวนมาก ยังความวุ่นวายให้เกิดขึ้นแก่บ้านเมืองไม่รู้จักจบสิ้นดังกล่าว

ศูนย์กลางทางโลก ศูนย์กลางทางธรรม
นัยยะปริศนาธรรมเรื่อง “เสาหลักเมืองคู่” ที่ผู้เขียนได้ตีความว่าเป็นเสาหลักทางโลกและเสาหลักทางธรรมนั้น เมื่อพิจารณาต่อยอดแล้วอาจหมายความไปถึงการมีศูนย์กลางด้านการปกครองทางโลก และการปกครองทางธรรมที่แยกกันด้วยเนื่องจากทางโลกและทางธรรมอาจไปด้วยกันไม่ได้ทั้งหมดดังกล่าว จึงจำต้องแยกศูนย์กลางทางธรรมออกมาจากเมืองกรุงเทพที่วุ่นวายนั้นให้เทพเทวดาทั้งหลายได้อยู่ในเมืองที่สุขสงบ อนึ่ง ศูนย์กลางทางโลกคงไม่สามารถย้ายได้ เพราะเมืองกรุงเทพฯ เจริญมานานแล้ว คงไม่มีใครยอมละทิ้งสมบัติย้ายออกมาแม้ทราบว่าน้ำทะเลกำลังหนุนท่วมในวันใดในหนึ่งข้างหน้าก็ตามแต่ศูนย์กลางทางธรรมยังพอย้ายได้ ไม่ยากนัก กล่าวคือ ขอเพียงผู้ทรงธรรม อาศัยห่างจากในเมืองกรุงเทพ แล้วโปรดเทพเทวดาอยู่ในเมืองที่สงบสุขเงียบๆ ย้ายเทพเทวดาที่พิโรธมนุษย์ออกมาโปรดไปเรื่อยๆ ก็จะช่วยให้ศูนย์กลางทางธรรมเกิดขึ้นได้ไม่ยาก ดังที่พระฯ หลายรูปได้กระทำมาแล้ว อนึ่ง เทพเทวดาที่ดูแลเมือง และเริ่มพิโรธมนุษย์ สมควรได้รับการโปรดและฝ่ายตรงข้ามที่ต้องการทำลายเมืองก็ควรได้รับการโปรดเช่นกันจึงสมดุล




 

Create Date : 16 กันยายน 2553
0 comments
Last Update : 16 กันยายน 2553 9:47:27 น.
Counter : 368 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ฉันนะ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add ฉันนะ's blog to your web]